คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พีรพล พิชยวัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 576 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินช่วยเหลือค่ารถยนต์สำหรับผู้บริหาร ไม่ถือเป็นค่าจ้างที่ต้องนำไปคำนวณค่าชดเชย
จำเลยเคยจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้แก่โจทก์ซึ่งทำงานในตำแหน่งผู้จัดการภาคใต้ ต่อมาจำเลยยกเลิกรถยนต์ประจำตำแหน่งของโจทก์เนื่องจากมีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี ตามนโยบายของจำเลย แล้วจำเลยได้จ่ายเงินให้โจทก์ในอัตราเดือนละ 20,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2545 อันเป็นวันหลังจากที่เรียกรถยนต์ประจำตำแหน่งคืนจากโจทก์เป็นต้นไป เพื่อให้โจทก์นำเงินดังกล่าวไปซื้อหรือเช่ารถยนต์สำหรับใช้งานแทนรถยนต์ประจำตำแหน่งที่เรียกคืน และจำเลยจะจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้พนักงานตำแหน่งระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไปเท่านั้น ดังนั้น รถยนต์ประจำตำแหน่งจึงเป็นสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่พนักงานที่ทำงานในตำแหน่งดังกล่าว เมื่อจำเลยเรียกรถยนต์ประจำตำแหน่งคืนแล้วจ่ายเงินเดือนละ 20,000 บาท ให้แก่โจทก์เพื่อซื้อหรือเช่ารถยนต์สำหรับใช้งานแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง จึงเป็นการจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการเช่นเดียวกัน มิใช่เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายเดือน แม้จะจ่ายเงินดังกล่าวเป็นจำนวนแน่นอนเท่าๆ กันทุกเดือน ก็มิใช่ค่าจ้างที่จะต้องนำไปรวมคำนวณจ่ายเป็นค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7640/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความประมาทของผู้ตายและการมีอำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้ร้อง
แม้บริเวณที่เกิดเหตุมีสะพานลอยทางข้าม และผู้ตายข้ามถนนในช่องเดินรถอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 104 ที่บัญญัติว่า "ภายในระยะไม่เกินหนึ่งร้อยเมตรนับจากทางข้าม ห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามทางนอกทางข้าม" การกระทำของผู้ตายดังกล่าวเป็นเพียงความผิดตามมาตรา 104 ประกอบมาตรา 147 มิใช่หมายความว่าถ้าผู้ตายฝ่าฝืนไม่ข้ามถนนตรงทางข้ามตามมาตรา 104 แล้วจะถือเป็นการกระทำโดยประมาทเสมอไป การพิจารณาว่าผู้ตายมีส่วนประมาทหรือไม่ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอื่นประกอบด้วย
ขณะเกิดเหตุเวลา 5.30 นาฬิกา ท้องฟ้งยังมืด บริเวณที่เกิดเหตุมีแสงไฟจากหลอดไฟฟ้าข้างฟุตบาทและที่ก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียซึ่งอยู่กึ่งกลางถนน ผู้ขับรถผ่านบริเวณนั้นยังต้องเปิดไฟหน้ารถซึ่งโดยสภาพไม่น่าจะมองเห็นเหตุการณ์ข้างหน้าได้ไกลเท่ากับเวลากลางวัน สภาพของถนนที่มีทางเดินรถฝั่งละ 3 ช่องเดินรถในเวลาเกิดเหตุเป็นตอนเช้ามืดของวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ รถที่แล่นบนถนนน่าจะน้อยกว่าวันปกติซึ่งทำให้ผู้ขับรถสามารถขับรถได้เร็วขึ้นกว่าวันปกติ ถนนบริเวณเกิดเหตุเป็นทางตรง การข้ามถนนไปยังอีกฝั่งหนึ่งต้องข้ามถนนถึง 6 ช่องเดินรถซึ่งรถที่แล่นไปมาในขณะนั้นน่าจะใช้ความเร็วสูงในสภาพเช่นนั้น ดังนั้น ผู้ตายควรใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการข้ามถนนเนื่องจากเป็นถนนใหญ่มีรถแล่นด้วยความเร็วสูงและเป็นเวลากลางคืนซึ่งผู้ขับรถอาจไม่เห็นคนข้ามถนนในระยะไกลที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยได้ ตรงจุดที่ผู้ตายข้ามถนนมีรถยนต์โดยสารขนาดใหญ่ของสามีผู้ตายบังอยู่อันอาจทำให้จำเลยไม่สามารถเห็นผู้ตายได้ในระยะไกล แต่เห็นในระยะกระชั้นชิดจึงไม่สามารถหักรถหลบหรือหยุดรถได้ทันเป็นเหตุให้ชนผู้ตาย ดังนั้น การที่ผู้ตายข้ามถนนใต้สะพานลอยคนข้ามจึงเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ จึงนับว่าผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายและไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4), 5 (2) และ 3 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7638/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างบทมาตราในฟ้องอาญา ศาลปรับบทความผิดได้ตามข้อเท็จจริงที่รับฟัง โดยไม่เกินคำขอ
โจทก์ฟ้องโดยอ้างบทห้ามกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 มาด้วย เท่ากับโจทก์อ้างบทห้ามการกระทำความผิดตามมาตรา 43 (4) อยู่ในตัวแล้ว โจทก์หาจำต้องระบุอนุมาตรา (4) ของมาตรา 43 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วยไม่ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิพากษาปรับบทความผิดในมาตรานั้นๆ ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4) จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7638/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษตามบทมาตราที่อ้างในฟ้อง และการปรับบทความผิดตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) บัญญัติว่า คำฟ้องจะต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องมาแจ้งชัดว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์กระบะของ อ. ที่ ค. เป็นผู้ขับได้รับความเสียหาย และอ้างบทห้ามการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 มาด้วย ซึ่งเท่ากับโจทก์อ้างบทห้ามการกระทำความผิดตามมาตรา 43 (4) อยู่ในตัวแล้ว โจทก์หาจำต้องระบุอนุมาตรา (4) ของมาตรา 43 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วยไม่ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิพากษาปรับบทความผิดในมาตรานั้นๆ ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริรงที่รับฟังได้ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (4) จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'อาคาร' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: โครงสร้างชั่วคราวที่บุคคลใช้สอยได้ถือเป็นอาคาร
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 คำว่า อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานและสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ การที่จำเลยก่อสร้างอาคารไม้ชั่วคราว โดยต่อเติมพื้นไม้และหลังคาสังกะสีมีขนาด 2.50 เมตร x 20 เมตร ออกไปทางด้านหลังของร้านอาหารซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ แม้ไม่มีลักษณะของโครงสร้างติดตรึงตราถาวรก็มีสภาพเป็นอาคารตามความหมายที่กฎหมายได้บัญญัติไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาคารไม้ชั่วคราวเข้าข่ายเป็น 'อาคาร' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แม้ไม่มีโครงสร้างถาวร
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 4 คำว่า อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานและสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ ดังนั้น การที่จำเลยก่อสร้างอาคารไม้ชั่วคราว โดยต่อเติมพื้นไม้และหลังคาสังกะสีมีขนาด 2.50 เมตร x 20 เมตร ออกไปทางด้านหลังของร้านอาหาร ฮ. ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ แม้ไม่มีลักษณะของโครงสร้างติดตรึงตราถาวรก็ตาม อาคารไม้ชั่วคราวดังกล่าวก็มีสภาพเป็นอาคารตามความหมายที่กฎหมายได้บัญญัติไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7313/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรง และการแข่งขันทางธุรกิจ
ท. มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการเขตภาคเหนือของบริษัท ฮ. มีหน้าที่บริหารงานของบริษัท ฮ. ให้สามารถผลิตสินค้าให้แก่ลูกค้าโดยมีประสิทธิภาพ รับผิดชอบโรงงานของบริษัท ฮ. ถึง 4 แห่ง แต่กลับให้ บริษัท ช. ซึ่งประกอบกิจการอย่างเดียวกันกับบริษัท ฮ. จัดตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ในบริเวณโรงงานของบริษัท ฮ. โดย อ. ภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของ ท. ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท ช. พฤติการณ์ของ ท. จึงเป็นปรปักษ์ต่อทางการค้าและเป็นการดำเนินธุรกิจแข่งขันกับบริษัท ฮ. ซึ่งเป็นนายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง บริษัท ฮ. จึงเลิกจ้าง ท. ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6980/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษหลังคดีถึงที่สุด มิใช่การใช้กฎหมายใหม่ที่บัญญัติหลังการกระทำผิด
การลดโทษตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษเนื่องในวโรกาสหรือโอกาสต่าง ๆ ภายหลังคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษแต่ละฉบับ กรณีดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่ใช้ในขณะการกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดและโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่จำเลยที่ 1 จะขอให้กำหนดโทษใหม่ได้ คำร้องของจำเลยที่ 1 ไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 3 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6685/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบกพร่องฟ้องอุทธรณ์: การไม่ลงชื่อผู้เรียงฟ้อง ส่งผลต่อการพิจารณาของศาล
จำเลยยื่นฟ้องอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้ทำความผิดตามฟ้องแล้วลงชื่อผู้อุทธรณ์และผู้เขียนหรือพิมพ์ จำเลยไม่ได้ลงชื่อผู้เรียงฟ้องอุทธรณ์ ฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะต้องมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยผู้ยื่นฟ้องอุทธรณ์แก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่กระทบสิทธิการฟ้องอาญา ยักยอกทรัพย์
การที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยกับพวกต่อศาลแรงงานภาค 5 เป็นการฟ้องเนื่องจากจำเลยกับพวกซึ่งเป็นลูกจ้างได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยกับพวกจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งซึ่งไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญา ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการ "ยอมความกัน" สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
of 58