พบผลลัพธ์ทั้งหมด 576 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6208/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การจับกุมและการแจ้งข้อหาโดยไม่มีหมายจับ ไม่ถือเป็นการจับกุมตามกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 237 ซึ่งใช้บังคับในขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นบัญญัติว่า ในคดีอาญาการจับและคุมขังบุคคลใดจะกระทำมิได้เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยผู้ถูกจับจะต้องได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับโดยไม่ชักช้า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ประกอบ พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับนั้นไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ (1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา 80 (2) เมื่อพบบุคคลนั้นกำลังพยายามกระทำความผิด หรือพบโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะกระทำความผิดโดยมีเครื่องมืออาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด (3) เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดมาแล้วและจะหลบหนี (4) เมื่อมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้ว ดังนั้น การจับบุคคลใดจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายจับตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 237 การที่จำเลยเข้ามอบตัวพนักงานสอบสวนและมีการแจ้งข้อหาแก่จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับเพราะยังไม่มีคำสั่งหรือหมายของศาล และไม่เข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ที่โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับ หรือต้องผัดฟ้องหรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2551)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2551)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ในคดีวิ่งราวทรัพย์: รถจักรยานยนต์เป็นเพียงยานพาหนะ ไม่ใช่เครื่องมือในการกระทำความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการวิ่งราวทรัพย์ จำเลยกับพวกร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดและพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม อันเป็นการบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ แต่บทบัญญัติดังกล่าวหาได้ให้ถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดด้วยไม่ การที่จำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดและพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ก็มิได้หมายความว่าจำเลยกับพวกได้ใช้รถจักรยานยนต์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการวิ่งราวทรัพย์ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยกับพวกได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยตรง และไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5921/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องพิสูจน์ความผิดของลูกจ้างตามข้อบังคับและกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิด ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าโจทก์กระทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องเงิน จำเลยจึงตักเตือนเป็นหนังสือ แต่โจทก์กลับกระทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องเงินซ้ำอีก จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจาโดยระบุเหตุผลในการเลิกจ้างให้โจทก์ทราบแล้ว การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง เป็นการทุจริตและกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ซึ่งศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วรับฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอายุงาน อัตราค่าจ้างสุดท้าย และการกระทำของโจทก์ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กระทำผิด ตลอดจนวันที่จำเลยบอกเลิกจ้างและวันที่การเลิกจ้างมีผล อันเป็นข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นหลักในการวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมครบถ้วน แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่สามารถหาหลักฐานยืนยันได้ว่าโจทก์กระทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องเงินซ้ำอีก จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดดังที่จำเลยอ้าง การเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและกำหนดค่าเสียหายให้พร้อมทั้งวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิและจำนวนค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายครบทุกประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว แม้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางจะรวบรัดไปบ้าง แต่ก็เป็นคำพิพากษาที่แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยโดยชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5811/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตามมาตรา 184 ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานฆ่าคน
จำเลยรับฝากรถจักรยานยนต์ไว้จาก ช. โดยทราบดีว่า ช. ใช้รถคันดังกล่าวเป็นพาหนะไปยิงผู้ตายและหลบหนี แล้วจำเลยซ่อนเร้นรถจักรยานยนต์ไว้ เพื่อจะช่วย ช. มิให้ต้องรับโทษตามที่ ช. ขอร้องให้ช่วยเหลือ จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 184
การที่ ช. ขับรถจักรยานยนต์ไปและใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไป รถจักรยานยนต์จึงเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง และเป็นพยานหลักฐานสำคัญซึ่งสามารถใช้พิสูจน์การกระทำความผิดได้ การที่จำเลยช่วยซ่อนเร้นรถจักรยานยนต์จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 184
การที่ ช. ขับรถจักรยานยนต์ไปและใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไป รถจักรยานยนต์จึงเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง และเป็นพยานหลักฐานสำคัญซึ่งสามารถใช้พิสูจน์การกระทำความผิดได้ การที่จำเลยช่วยซ่อนเร้นรถจักรยานยนต์จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 184
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5811/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซ่อนเร้นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 184
การที่ ช. ขับรถจักรยานยนต์ไปและใช้อาวุธปืนยิง ส. ถึงแก่ความตายแล้วขับรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวหลบหนีไปนั้น นอกจากอาวุธปืนซึ่งเป็นทรัพย์ที่ ช. ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงและถือเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีแล้วรถจักรยานยนต์ของกลางที่ ช. ใช้เป็นยานพาหนะขับไปยิง ส. และหลบหนีก็เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงเช่นกัน และเป็นพยานหลักฐานสำคัญอีกส่วนหนึ่งซึ่งสามารถใช้พิสูจน์การกระทำความผิดของ ช. ได้หากมีพยานบุคคลมาพบเห็นการกระทำความผิดดังกล่าว และจดจำลักษณะของรถจักรยานยนต์ของกลางที่ ช. ขับได้ ซึ่งต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจก็ได้ใช้เป็นพยานหลักฐานในการสืบสวนสอบสวนนำไปสู่การติดตามจับกุมตัว ช. มาลงโทษได้ ดังนั้น การที่จำเลยช่วยซ่อนเร้นรถจักรยานยนต์ของกลางไว้จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 184
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5734/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องในคดีเช็ค – การพิสูจน์หนี้และเหตุผลในการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่า ความผิดตามฟ้องเกิดที่แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต และแขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันกันจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ว่า พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดุสิตมีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 แล้ว จำเลยจะฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นอีกมิได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดุสิตได้ทำการสอบสวนแล้ว ก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนแล้วว่า จำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้เงินยืม อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ที่ว่า ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าหนี้เงินยืมดังกล่าวได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยและบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนแล้วว่า จำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้เงินยืม อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ที่ว่า ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าหนี้เงินยืมดังกล่าวได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยและบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน ตัดโค่นไม้-ครอบครองของป่าหวงห้าม ศาลฎีกาแก้ไขโทษ
ความผิดฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและฐานร่วมกันเก็บหาของป่าหวงห้ามเป็นการกระทำที่สามารถแยกเจตนาของจำเลยทั้งหกออกจากความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน เพราะเมื่อจำเลยทั้งหกร่วมกันตัด โค่น ทำลายต้นไม้และเก็บหาของป่าหวงห้ามแล้วย่อมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองทันทีโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยทั้งหกจะได้ครอบครองของป่าหวงห้ามหรือไม่ การกระทำของจำเลยทั้งหกจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ส่วนที่จำเลยทั้งหกฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ฐานร่วมกันเก็บหาของป่าหวงห้าม ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกคนละ 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุกคนละ 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ จำคุกคนละ 3 ปี และฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด จำคุกคนละ 1 ปี รวมจำคุกคนละ 4 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยทั้งหก เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นคดีที่จำเลยทั้งหกฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม หากศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษจำเลยทั้งหกหนักเกินไป ก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
ส่วนที่จำเลยทั้งหกฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ฐานร่วมกันเก็บหาของป่าหวงห้าม ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกคนละ 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุกคนละ 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ จำคุกคนละ 3 ปี และฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด จำคุกคนละ 1 ปี รวมจำคุกคนละ 4 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยทั้งหก เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นคดีที่จำเลยทั้งหกฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม หากศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษจำเลยทั้งหกหนักเกินไป ก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5336/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทนเชิดและการผูกพันตามสัญญา: ข้อตกลงเกินอำนาจตัวแทน
ส. เดินทางไปกับ ก. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์และร่วมกันเจรจาขอรับรถยนต์คืนตลอดจนทำบันทึกการตรวจสภาพรถมอบให้แก่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 เป็นพฤติการณ์ที่ ส. แสดงออกเป็นตัวแทนของโจทก์ และโจทก์ก็รับเอารถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนไปจากการยึด เห็นได้ว่าโจทก์เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 แต่อำนาจหน้าที่ของ ส. ซึ่งเป็นตัวแทนเชิดมีเพียงเท่าที่ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์มีอยู่ คือ ติดตามเอาคืน ยึดเข้าครอบครองเคลื่อนย้ายรถ แจ้งความร้องทุกข์ และกระทำการตามความจำเป็นตามกฎหมายเพื่อนำรถยนต์คันที่เช่าซื้อกลับคืนโจทก์ ส. ไม่มีอำนาจที่จะไปตกลงไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ กับจำเลยที่ 1 นอกเหนือไปจากความจำเป็นเพื่อยึดรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนได้ การที่ ส. ไปทำข้อตกลงในหนังสือรับรองว่าไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งนอกเหนืออำนาจในการเป็นตัวแทน โดยโจทก์ไม่ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคแรก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้อีก
จำเลยที่ 2 ให้การว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันไม่ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงพ้นจากความรับผิด ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น จำเลยที่ 1 ฎีกาปัญหาดังกล่าวโดยไม่ได้ให้การตั้งประเด็นไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันไม่ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงพ้นจากความรับผิด ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น จำเลยที่ 1 ฎีกาปัญหาดังกล่าวโดยไม่ได้ให้การตั้งประเด็นไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินประกันการทำงาน: กฎหมายแรงงานคุ้มครองลูกจ้าง แม้มีข้อตกลงอื่น
จำเลยหักเงินประกันการทำงานของโจทก์ไว้ 20,000 บาท โดยจำเลยมีประกาศเรื่องระเบียบการค้ำประกันพนักงาน กำหนดการคืนเงินประกันการทำงานแก่พนักงานที่ลาออกภายใน 4 เดือน หลังจากวันทำงานสุดท้าย และประกาศ เรื่องระเบียบการค้ำประกันพนักงาน กำหนดการคืนเงินประกันการทำงานแก่พนักงานที่ลาออกภายใน 6 เดือน หลังจากวันทำงานสุดท้าย ซึ่งจำเลยอ้างสิทธิตามประกาศดังกล่าว จึงยังไม่คืนเงินประกันการทำงานแก่โจทก์ แต่เมื่อประกาศดังกล่าวขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 10 วรรคสอง ที่กำหนดให้นายจ้างคืนเงินประกันการทำงานแก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกจ้างลาออก อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงต้องคืนเงินประกันการทำงานให้แก่โจทก์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่โจทก์ลาออก
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีก่อนพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่โจทก์ลาออก ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ หรือไม่จ่ายเงินดังกล่าวโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวันตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีก่อนพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่โจทก์ลาออก ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ หรือไม่จ่ายเงินดังกล่าวโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวันตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินประกันการทำงานและการคิดดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน กรณีนายจ้างอ้างประกาศขัดต่อกฎหมาย
จำเลยหักเงินประกันการทำงานจากโจทก์ไว้ โดยจำเลยมีประกาศ เรื่อง ระเบียบการค้ำประกันพนักงาน เอกสารหมาย ล.11 กำหนดจะคืนเงินประกันการทำงานให้แก่พนักงานที่ลาออกภายใน 4 เดือน หลังจากวันทำงานสุดท้าย และประกาศ เรื่องระเบียบค้ำประกันพนักงานเอกสารหมาย ล.12 กำหนดจะคืนเงินประกันการทำงานให้แก่พนักงานที่ลาออกภายใน 6 เดือน หลังจากวันทำงานสุดท้าย ซึ่งจำเลยอ้างสิทธิตามประกาศดังกล่าวจึงยังไม่คืนเงินประกันการทำงานให้แก่โจทก์ แต่เมื่อประกาศดังกล่าวขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 10 วรรคสอง ที่กำหนดให้นายจ้างคืนเงินประกันการทำงานให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างลาออก อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามประกาศดังกล่าว จำเลยต้องคืนเงินประกันการทำงานให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่โจทก์ลาออก เมื่อจำเลยไม่คืนจึงต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง, 10 วรรคสอง สำหรับเงินเพิ่มซึ่งนายจ้างจะต้องเสียให้แก่ลูกจ้างร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคสองนั้น จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างจงใจหรือไม่จ่ายเงินดังกล่าวโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก่อนพ้นกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่โจทก์ลาออกยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยจงใจไม่จ่ายเงินประกันการทำงานให้แก่โจทก์หรือไม่จ่ายเงินดังกล่าวโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์