คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พีรพล พิชยวัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 576 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงเรื่องยาเสพติดและทรัพย์สิน: ผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์
ส. และสามีมิได้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และทางราชการมิได้ยึดทรัพย์สินของ ส. การที่ ส. มอบเงิน 305,000 บาท แก่จำเลยสืบเนื่องมาจากการหลอกลวงของจำเลยด้วยข้อความอันเป็นเท็จ มิใช่ ส. หรือสามีกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแล้ว ส. มอบเงินแก่จำเลยเพื่อให้สินบนแก่เจ้าพนักงานเพื่อให้ ส. หรือสามีพ้นจากความผิด จึงถือไม่ได้ว่า ส. ได้ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ ส. ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานฉ้อโกงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการหลอกลวงโดยอ้างเรื่องยาเสพติดและสินบนเจ้าพนักงาน ผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์
ส. และสามีมิได้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และทางราชการมิได้ยึดทรัพย์สินของ ส. การที่ ส. มอบเงิน 305,000 บาท แก่จำเลย สืบเนื่องมาจากการหลอกลวงของจำเลยด้วยข้อความอันเป็นเท็จ มิใช่ ส. หรือสามีกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแล้ว ส. มอบเงินแก่จำเลยเพื่อให้สินบนแก่เจ้าพนักงานเพื่อให้ ส. หรือสามีพ้นจากความผิด จึงถือไม่ได้ว่า ส. ได้ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ ส. ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานฉ้อโกงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4057/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ไม่ผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์จากการแต่งตั้งกรรมการด้วยเอกสารปลอม สิทธิในการติดตามเอาคืนทรัพย์สิน
คดีเดิมมีประเด็นว่าโจทก์ในคดีนี้ผิดสัญญาเช่าหรือไม่ ส่วนในคดีนี้มีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่หรือไม่ คดีนี้โจทก์อ้างเหตุว่าสัญญาเช่าและสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันโจทก์เพราะมีการปลอมเอกสารแล้วทำสัญญาเช่าโดยผู้ทำไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับความรับผิดตามสัญญาเช่า อีกทั้งประเด็นที่ต้องวินิจฉัยทั้งสองคดีมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
เมื่อการแต่งตั้ง พ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรก ผู้ใดจะกล่าวอ้างแสวงสิทธิจากเอกสารดังกล่าวนั้นหาได้ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการและอำนาจกรรมการ ย่อมทำให้ พ. ถูกเพิกถอนจากการเป็นกรรมการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ การใดที่ พ. กระทำไปในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจและไม่ผูกพันโจทก์ สัญญาเช่าที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง สัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ในคดีเดิมเสียได้ แล้วจึงฟ้องบังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินในภายหลัง หรือโจทก์จะใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีสิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ การที่โจทก์เลือกใช้สิทธิโดยฟ้องบังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์ด้วยเหตุสัญญาเช่าไม่ผูกพันโจทก์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในคดีเดิม
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า สัญญาเช่าและสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันโจทก์ แม้จำเลยจะอ้างว่าทำสัญญาทั้งสองสัญญาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในการเช่า อันจะใช้ยันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ การแต่งตั้ง พ. เป็นกรรมการของโจทก์เกิดจากการกระทำความผิดอาญาฐานปลอมเอกสาร อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถือว่าการแต่งตั้งนั้นไม่มีผลทางกฎหมาย มิใช่เรื่องการแต่งตั้งกรรมการมีข้อบกพร่องหรือบกพร่องในเรื่องคุณสมบัติของกรรมการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1166
ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเรื่องจำเลยไม่ชำระค่าเช่าและไม่ได้ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดินพิพาทโดยโจทก์ไม่ได้ตั้งประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ในคำให้การและทางนำสืบของจำเลยว่าข้ออ้างของจำเลยรับฟังได้หรือไม่ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4054/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็คเลิกกันเมื่อหนี้สิ้นสุดก่อนมีคำพิพากษา และการชำระหนี้ในคดีแพ่งทำให้คดีอาญาขาดอายุความ
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 บัญญัติว่า "ถ้าผู้กระทำความผิดตามมาตรา 4 ได้ใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงเช็ค หรือแก่ธนาคารภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือบอกกล่าวจากผู้ทรงเช็คว่า ธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น หรือหนี้ที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 4 ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นสุดผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ถือว่าคดีเลิกกันตาม ป.วิ.อ." แม้จำเลยทั้งสองจะได้ใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์ร่วมไปครบถ้วนแล้วในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่ก็มิใช่การใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงเช็คภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือบอกกล่าวผู้ทรงเช็คว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น อันเป็นเหตุให้ถือว่าคดีเลิกกันตาม ป.วิ.อ. เหตุที่จะถือว่าคดีเลิกกันคงมีเพียงว่าหนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือไม่ ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงว่า ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์จำเลยทั้งสองได้นำเงินตามเช็คพิพาทวางไว้ต่อศาลชั้นต้นครบถ้วนแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยทั้งสองชำระแต่ต้นเงินตามเช็คพิพาทเท่านั้น จำเลยทั้งสองยังไม่แสดงหลักฐานว่าได้ชำระดอกเบี้ยตามเช็คพิพาทด้วย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับ ระหว่างพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมได้นำเช็คพิพาททั้งสามฉบับคดีนี้กับเช็คคดีอื่น ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลแพ่งธนบุรี คดีดังกล่าวโจทก์ได้บังคับคดีและได้รับเงินตามคำพิพากษาไปครบถ้วนแล้ว หนี้ตามเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลฎีกาได้นัดพร้อมสอบโจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยทั้งสองแล้ว ฟังได้ว่าโจทก์ร่วมได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งธนบุรีให้ชำระหนี้ตามเช็ค 5 ฉบับ ซึ่งรวมเช็คพิพาทคดีนี้ 3 ฉบับ โดยมูลหนี้เกิดจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าพื้นที่บริเวณที่เป็นผนังด้านนอกอาคาร บ. ของโจทก์ร่วมศาลแพ่งธนบุรีพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามเช็คทั้ง 5 ฉบับ พร้อมดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียม ต่อมามีการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ได้วางเงินชำระหนี้ตามหมายบังคับคดีจนครบถ้วนแล้ว โจทก์ร่วมก็มิได้คัดค้านว่ายังมีหนี้ดังกล่าวเหลืออยู่ ดังนั้น จึงถือได้ว่าหนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คพิพาทคดีนี้เพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงถือว่าคดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องตามเช็คย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3611/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันทำร้ายร่างกายและพยายามฆ่า: การรับผิดชอบเฉพาะการกระทำของตน
ผู้เสียหายและ ว. ไปเที่ยวงานวัด แต่การจราจรติดขัด ว. จอดรถจักรยานยนต์รออยู่บนถนน ขณะเดียวกัน ณ. วิ่งมาต่อยหน้าผู้เสียหาย 1 ครั้ง ผู้เสียหายวิ่งหนีจำเลย น. และ ย. วิ่งไล่ตาม ณ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัด ผู้เสียหายวิ่งไปได้ 30 เมตรก็หมดแรงล้มลง จำเลย ณ. น. และ ย. เข้าไปรุมทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย โดยจำเลยใช้อาวุธมีดดาบฟันผู้เสียหาย ผู้เสียหายยกมือทั้งสองข้างกันไว้ จึงถูกคมมีด พวกจำเลยรุมเตะผู้เสียหาย แต่มีคนช่วยผู้เสียหายหลบหนีไปได้ ดังนั้น การที่ผู้เสียหายไปเที่ยวงานวัดแล้วพบ ณ. กับจำเลยและพวกนั้นน่าจะเป็นเหตุบังเอิญ และที่ ณ. เข้าไปชกทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทันทีและต่อมาก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายนั้นเป็นการกระทำและตัดสินใจของ ณ. โดยลำพัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สมคบกระทำการดังกล่าวกับ ณ. จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในผลการกระทำดังกล่าวร่วมกับ ณ. แต่จำเลยต้องรับผิดเฉพาะผลการกระทำของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เริ่มนับแต่วันรู้ตัวผู้ต้องรับผิด
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยอาจฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจากจำเลยทั้งสองได้ตั้งแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไปคือวันที่ 2 ธันวาคม 2540 และวันที่ 28 พฤษภาคม 2541 ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 มีผลใช้บังคับแล้ว กำหนดอายุความจึงต้องถือตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 ซึ่งตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่าการใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิด เมื่อโจทก์รู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิดตั้งแต่ก่อนวันที่ 2 ธันวาคม 2540 แต่โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2541 เกิน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิดแล้ว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพาอาวุธปืน: การลงโทษกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท และการพิจารณาโทษ
ความผิดฐานพาอาวุธปืนทั้งสองกระบอกในคราวเดียวกันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง เพียงบทเดียว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานพาอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ และฐานพาอาวุธปืนมีทะเบียน เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพาอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาคาร: เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจออกคำสั่งกับผู้ไม่ใช่เจ้าของ/ผู้ครอบครองอาคาร แม้มีการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต
การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารตึกชั้นเดียวและคำสั่งห้ามจำเลยหรือบุคคลใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคาร เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคแรก และคณะกรรมการดังกล่าวได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า บริษัท สหถกลก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ก่อสร้างอาคารมูลกรณี และเป็นเจ้าของอาคารดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์ (จำเลย) ซึ่งมิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารมูลกรณีให้ระงับการก่อสร้างอาคารตามมาตรา 40 (1) (แบบ ค.3) ห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารหรือบริเวณอาคารตาม มาตรา 40 (2) (แบบ ค.4) ฉะนั้น คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้อง ให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และให้ดำเนินการออกคำสั่งกับเจ้าของอาคารมูลกรณีให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป ซึ่งมีผลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องปฏิบัติตาม ตามมาตรา 52 วรรคห้า จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น สำหรับข้อหาก่อสร้างดัดแปลงอาคารนั้น เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมผูกพันให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ต้องปฏิบัติความคำวินิจฉัย การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไปร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย ต่อพนักงานสอบสวน และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก่อนที่จะมีคำสั่งวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2312/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกเงินเกินบัญชีโดยไม่สมัครใจ: การกระทำของตัวแทนธนาคาร & เจตนาผู้รับเงิน
จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือมีหลักประกันใดๆ ให้ไว้ต่อโจทก์ และเบิกเงินเกินบัญชีหลังจากยื่นคำขอเปิดบัญชีเพียง 3 วัน การที่ธนาคารโจทก์ยอมให้จำเลยใช้เช็คถอนเงินเกินบัญชีจากธนาคารโจทก์ได้ ทั้งๆ ที่ไม่ปรากฏว่าเคยรู้จักกันเป็นอย่างดีหรือจำเลยเป็นบุคคลพิเศษ แสดงว่าจำเลยมีความผูกพันกับ ช. ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรง ที่เป็นคนเซ็นอนุมัติให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีได้ เจือสมกับข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำเลยทำสัญญารับเหมาก่อสร้างบ้านให้ ช. หลังจากเปิดบัญชีแล้วจำเลยสั่งจ่ายเช็ครับเงินไม่เกินจำนวนเงินค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างบ้านให้ ช. หลังจากนั้นจำเลยก็หยุดใช้เช็คเบิกถอนเงินอีก และน่าเชื่อว่า ช. เป็นคนนำเงินเข้าบัญชีให้แก่จำเลยเป็นการชำระหนี้ค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างบ้าน ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวก็เพื่อให้ ช. ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรงนำเงินค่างวดในการจ้างเหมาก่อสร้างบ้านชำระหนี้แก่จำเลยโดยนำเงินเข้าบัญชีให้ และจำเลยจะใช้เช็คเบิกถอนเงินค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างบ้านตามงวด จำเลยไม่มีเจตนาที่จะทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ ดังนั้น หาก ช. ไม่นำเงินเข้าบัญชีให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ แสดงว่า ช. ผิดนัดชำระหนี้จำเลยย่อมจะใช้เช็คถอนเงินไม่ได้โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้จำเลยแทน ช. แต่อย่างใด แต่การที่ ช. ยอมอนุมัติจ่ายเงินตามเช็คให้จำเลยจึงเป็นเรื่องที่จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเป็นการรับเงินค่างวดที่ ช. นำเงินค่าจ้างก่อสร้างบ้านเข้าบัญชีให้เพื่อชำระหนี้ จำเลยไม่มีเจตนาที่จะเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ หาก ช. ไม่ใช่ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรง จำเลยก็ย่อมไม่สามารถจะใช้เช็คถอนเงินตามที่ปรากฏในคดีนี้ได้ และหากเงินในบัญชีไม่มี ธนาคารก็ต้องปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยจะได้รีบดำเนินการทวงถามหรือระงับการก่อสร้างบ้านตามสัญญาให้แก่ ช. ทันท่วงที หรือดำเนินการฟ้องร้องเรียกเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างจาก ช. โดยเร็ว ในขณะที่พยานหลักฐานยังอยู่ครบถ้วน การกระทำของ ช. ถือได้ว่าเป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในฐานะผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรงโดยไม่ชอบ โจทก์ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวแทนของตน การที่จำเลยรับเงินไปจากธนาคารโจทก์โดยสำคัญผิดว่าเป็นเงินค่างวดที่จำเลยมีสิทธิได้รับ จำเลยจึงไม่มีเจตนาที่จะผูกนิติสัมพันธ์ทำนิติกรรมเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยในฐานะเป็นลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2312/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกเงินเกินบัญชี - สัญญาไม่สมบูรณ์ - ตัวแทนกระทำโดยมิชอบ - ผู้รับเหมาเข้าใจผิด - ธนาคารต้องรับผิด
จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันเพื่อให้ ช. นำเงินค่างวดในการจ้างเหมาก่อสร้างบ้านของ ช. ชำระหนี้แก่จำเลยโดยนำเงินเข้าบัญชีให้ และจำเลยจะใช้เช็คเบิกถอนเงินค่าจ้าง ดังนั้น หาก ช. ไม่นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ จำเลยย่อมจะใช้เช็คถอนเงินไม่ได้ ธนาคารโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้จำเลยแทน ช. การที่ ช. ยอมอนุมัติจ่ายเงินตามเช็คให้จำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเป็นการรับเงินค่างวดที่ ช. นำเงินค่าจ้างก่อสร้างบ้านเข้าบัญชีให้เพื่อชำระหนี้ หาก ช. ไม่ใช่ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรง จำเลยก็ย่อมไม่สามารถจะใช้เช็คถอนเงินได้ และหากเงินในบัญชีไม่มีธนาคารก็ต้องปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระทำของ ช. ถือได้ว่าเป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในฐานะผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรงโดยไม่ชอบ โจทก์ในฐานะเป็นตัวการจึงต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวแทนของตน การที่จำเลยรับเงินไปจากธนาคารโจทก์โดยสำคัญผิดว่าเป็นเงินค่างวดของจำเลยที่จำเลยมีสิทธิได้รับ จำเลยจึงไม่มีเจตนาที่จะผูกนิติสัมพันธ์ทำนิติกรรมเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยในฐานะเป็นลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้
of 58