คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พีรพล พิชยวัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 576 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1657/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง: การบอกกล่าวบังคับจำนองไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ การให้สัตยาบันถือว่าชอบแล้ว
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติว่า "เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อน..." มิได้บัญญัติว่า การบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นการที่โจทก์มอบอำนาจให้ ว. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยจึงไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา 798 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้การตั้งตัวแทนต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อ ว. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ โจทก์จึงมาฟ้องคดี แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของ ว. เป็นการบอกกล่าวของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง ถือว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต่อเนื่อง – กรรมเดียว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพันตำรวจตรี ม. ในฐานะพนักงานสอบสวน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2543 และแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อร้อยตำรวจเอก ส. ในฐานะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 24ตุลาคม 2543 กรณี จ. ร้องขอความเป็นธรรมต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติว่า จ. เป็นผู้ขับรถบรรทุกสิบล้อเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ เป็นเหตุให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์ถึงแก่ความตายนั้น เป็นการกระทำต่อเนื่องกัน แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นการกระทำคนละวันและต่อเจ้าพนักงานตำรวจคนละคนกันก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยมีเจตนาเดียวกันคือเจตนาเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงตามที่เคยแจ้งข้อความไว้ต่อพนักงานสอบสวน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวแจ้งความเท็จต่อเนื่อง: เจตนาเดียวกันยืนยันข้อเท็จจริงเดิม
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวน และแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นการกระทำคนละวันและต่อเจ้าพนักงานตำรวจคนละคนกันแต่จำเลยมีเจตนาเดียวกันเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงตามที่เคยแจ้งข้อความไว้ต่อพนักงานสอบสวน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นกรรมเดียว
โจทก์แยกบรรยายฟ้องเป็นลำดับไปว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1 แปลง อันเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับภรรยาให้แก่ ส. และ ศ. ตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของภรรยาจำเลยและได้ยื่นฟ้องภรรยาจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้ต่อศาลไว้แล้วบังคับชำระหนี้เอาจากสินสมรสดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน แต่กลับปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่ ส. ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว หาได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ศ. ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาด้วยไม่ ทั้งการที่จำเลยจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นเพื่อโกงเจ้าหนี้ของภรรยาจำเลยนั้น จำเลยย่อมสามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้เพียงครั้งเดียว ไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ได้หลายครั้ง ดังนั้นจึงเชื่อว่าที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยจดทะเบียนโอนกรรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ ศ. ด้วยนั้นเป็นการบรรยายฟ้องไม่ถูกต้องและข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่ ส. เท่านั้น ซึ่งการที่จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสินสมรสเพียงแปลงเดียวให้แก่ ส. โดยมีเจตนาเพื่อมิให้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งแม้จะเป็นเจ้าหนี้ของภรรยาจำเลยต่างรายกันบังคับชำระหนี้เอาจากสินสมรสดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน การกระทำของจำเลยก็คงเป็นความผิดกรรมเดียว หาใช่เป็นความผิดต่างกรรมกันไม่
การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย มุ่งแต่จะรักษาประโยชน์ส่วนตนโดยมิชอบและไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนเสียหายของผู้เป็นเจ้าหนี้ ซึ่งหากปล่อยให้ผู้กระทำความผิดกระทำการตามอำเภอใจเช่นนี้ ย่อมทำให้บรรดาเจ้าหนี้เสื่อมศรัทธาต่อการใช้สิทธิทางศาลในการที่จะฟ้องบังคับชำระหนี้เอาแก่ลูกหนี้ของตน รวมทั้งขัดขวางการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ซึ่งส่งผลกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมส่วนรวม แม้จำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 ไปบ้างแล้ว แต่ก็เป็นจำนวนเล็กน้อยยังคงค้างชำระหนี้อยู่เป็นจำนวนมาก พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีเลื่อยโซ่ยนต์โดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วง 90 วันแรกของ พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษทางอาญาและไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายศุลกากร
พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดมี ผลิต หรือนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์" ส่วนมาตรา 14 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ใดมีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ ถ้ามาขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับผู้นั้นไม่มีความผิดตามมาตรา 4 และให้นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ออกใบอนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตนั้น เว้นแต่จะขาดคุณสมบัติที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ. นี้" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ให้ผู้ซึ่งปฏิบัติตามวรรคหนึ่งไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และกฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า" โดย พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2545 มีเจตนารมณ์ให้ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย นำมาขอรับใบอนุญาต เพื่อควบคุมการมีไว้ในครอบครองและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการเพิ่มมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า และในขณะเดียวกันไม่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพที่ต้องใช้เลื่อยโซ่ยนต์โดยสุจริต เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2545 จำเลยที่ 1 มีเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ยังอยู่ในระยะเวลา 90 วัน นับแต่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยที่ 1 อาจยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ได้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง และไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ตามมาตรา 14 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพชั้นจับกุม, ผลกระทบจากกฎหมายแก้ไขใหม่, การโต้แย้งดุลพินิจศาล, ข้อจำกัดฎีกาข้อเท็จจริง
ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคสุดท้าย ที่แก้ไขใหม่มิได้มีความหมายว่า ขณะที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษาคดีนี้ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้มีผลใช้บังคับแล้วต้องห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยตามบันทึกการจับกุมมารับฟังประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลย เพราะเป็นพยานหลักฐานที่เจ้าพนักงานผู้จับได้จัดทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับ และโจทก์ได้ส่งอ้างเป็นพยานหลักฐานตามมาตรา 226 โดยชอบแล้ว ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่แก้ไขใหม่ไม่มีบทบัญญัติให้นำมาตรา 84 วรรคสุดท้ายที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับแก่คดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลยุติธรรมก่อนวันที่กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จึงต้องใช้หลักทั่วไปว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงนำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยมารับฟังเป็นพยานหลักฐานประกอบการลงโทษจำเลยได้ตามกฎหมายเดิม
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ในชั้นจับกุมจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามบันทึกการจับกุมเกิดจากการขู่เข็ญของเจ้าพนักงานตำรวจ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 243 วรรคสามนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าการที่จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจขู่เข็ญหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังมา เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อเมื่อคดีเดิมยังไม่ถึงที่สุด ศาลฎีกาพิพากษายืนว่าชอบแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 964/2546 ของศาลชั้นต้น ซึ่งศาลพิพากษาให้จำคุก 4 ปี 6 เดือน จำเลยยังต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาอยู่ แม้คดีดังกล่าวจะยังไม่ถึงที่สุดและอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ก็ไม่ใช่เหตุที่จะนำมานับโทษจำคุกต่อไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตและการพาอาวุธปืนในที่สาธารณะ ศาลลดโทษและไม่ริบอาวุธปืนที่ถูกกฎหมาย
อาวุธปืนพกออโตเมติกของกลาง ซึ่งเป็นอาวุธปืนที่มีใบอนุญาตให้มีและใช้นั้นเป็นของบิดาจำเลยโดยถูกต้อง ความผิดของจำเลยอยู่ที่การมีอาวุธปืนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และพาอาวุธปืนดังกล่าวไปในเมือง หมู่บ้านและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดเฉพาะตัว อาวุธปืนของกลางดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดอันจะต้องริบ ทั้งไม่ปรากฎว่าเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิด จึงไม่อาจริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุความคดีเช็ค: เริ่มนับวันรุ่งขึ้นตามหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการกำหนดนับระยะเวลาอายุความคดีอาญาไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญาจึงอยู่ในบังคับของหลักทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ซึ่งกำหนดมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน จึงเริ่มนับอายุความในวันรุ่งขึ้น คดีนี้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับแรก เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 การนับอายุความต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2539 และจะครบกำหนด 3 เดือน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดอายุความวันสุดท้าย คดีโจทก์ตามเช็คฉบับแรกจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจน และหน้าที่ของโจทก์ในการพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ว่าขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานใดจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดของจำเลย เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
of 58