คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พีรพล พิชยวัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 576 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5318/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ผู้อื่นกระทำความผิดทางอาญา แม้ผู้ถูกใช้ไม่รู้ว่าเป็นการกระทำผิด ผู้ว่าจ้างก็ยังมีความผิด
จำเลยจ้างให้บุคคลที่ไม่รู้มาก่อนว่าที่ดินบริเวณที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ให้นำรถไถไปไถที่ดินบริเวณดังกล่าว จึงไม่ใช่เป็นการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เพราะผู้ถูกใช้ไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แต่เป็นการใช้บุคคลเหล่านั้นเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ถือว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อม จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 และมาตรา 31 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคิดค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์ – มูลค่าทรัพย์สินที่ยึด vs. จำนวนหนี้ – ความรับผิดค่าธรรมเนียมถอนการยึด
การคิดค่าธรรมเนียมของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. ระบุว่า เมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายให้เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดนั้น คำว่า ราคาทรัพย์สินที่ยึดตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงราคาทรัพย์สินที่ยึดซึ่งไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 166 ให้คู่ความฝ่ายที่ดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปเพราะความผิดทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณานั้นต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมนั้น โดยไม่คำนึงว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะชนะคดีหรือไม่ เมื่อการยึดทรัพย์ถูกถอนการยึดเพราะโจทก์นำยึดเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 284 โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์เพียงฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การคำนวณจากราคาประเมินทรัพย์สินหรือจำนวนหนี้ และความรับผิดค่าธรรมเนียมถอนยึด
กรณีที่ยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย การเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดนั้น คำว่าราคาทรัพย์สินที่ยึดหมายถึงราคาทรัพย์สินที่ยึดซึ่งไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถอนการยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 เสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์ตามจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 2 ต้องใช้ให้แก่โจทก์ ให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์ในส่วนที่เหลือทั้งหมด โดยวินิจฉัยว่า โจทก์นำยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 เกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมในคดี และค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 284 โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 284 วรรคสอง และต้องรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายในส่วนที่เกินกว่าจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น คำวินิจฉัยที่ว่าโจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ขัดต่อกฎหมาย และให้ถอนการยึดทรัพย์สินดังกล่าวเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 แต่คำสั่งให้จำเลยที่ 2 เสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์สินไม่ได้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้น ถือว่าคำวินิจฉัยและคำสั่งขัดกัน ทั้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 166 ให้คู่ความฝ่ายที่ดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปเพราะความผิด ทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณานั้นต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมนั้น โดยไม่คำนึงว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะชนะคดีหรือไม่ โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์รายนี้เพียงฝ่ายเดียว คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งเรื่องค่าธรรมเนียมไม่ถูกต้อง แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4247/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแฟ็กเตอริงเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 การเก็บเงินจากลูกหนี้เป็นสิทธิของโจทก์
สัญญาแฟ็กเตอริง บริษัทจำกัด ที่จำเลยที่ 1 นำหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอกและเป็นหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระมาขายแก่โจทก์ โดยมีข้อสัญญาสรุปได้ว่าจำเลยที่ 1 จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บเงินและออกใบเสร็จรับเงินแก่ลูกหนี้ในหนี้ที่จำเลยที่ 1 ขายแก่โจทก์แล้ว หากลูกหนี้นำมาชำระแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องนำมามอบแก่โจทก์ เป็นการแสดงว่าเมื่อจำเลยที่ 1 นำหนี้รายใดมาขายแก่โจทก์แล้ว โจทก์ผู้เดียวมีอำนาจในการดำเนินการเพื่อให้ได้รับชำระหนี้ และรับชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องหรือรับชำระหนี้ในหนี้รายนั้นต่อไป สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 ส่วนข้อตกลงที่ว่า หากจำเป็นโจทก์มีสิทธิใช้ชื่อจำเลยที่ 1 ในการฟ้องคดี ก็เป็นเพียงวิธีการและรายละเอียดเพื่อให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในหนี้ที่รับซื้อไว้เท่านั้น หาทำให้สัญญาดังกล่าวไม่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4247/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแฟ็กเตอริงเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. การบอกกล่าวไม่ทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ
สัญญาแฟ็กเตอริง ข้อ 8 ระบุว่าการเก็บเงินจากลูกหนี้ จำเลยที่ 1 จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บเงินและออกใบเสร็จรับเงินแก่ลูกหนี้ในหนี้ที่จำเลยที่ 1 ขายแก่โจทก์แล้ว หากลูกหนี้นำเงินมาชำระแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องนำมามอบแก่โจทก์ แสดงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 นำหนี้รายใดมาขายแก่โจทก์แล้ว โจทก์ผู้เดียวมีอำนาจในการดำเนินการเพื่อให้ได้รับชำระหนี้และรับชำระหนี้ สัญญาดังกล่าวถือเป็นสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 ส่วนข้อตกลงว่า หากจำเป็นโจทก์มีสิทธิใช้ชื่อจำเลยที่ 1 ในการฟ้องคดี ก็เป็นเพียงวิธีการเพื่อให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในหนี้ที่รับซื้อไว้ ส่วนการบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องมีผลเพียงว่าหากยังไม่บอกกล่าวไปยังลูกหนี้ โจทก์ไม่สามารถยกเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้ตามมาตรา 306 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิได้ทำให้สัญญาดังกล่าวไม่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4058/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย คำรับสารภาพ และอำนาจศาลในการริบของกลาง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 33 ปี 4 เดือน ริบรถยนต์ของกลาง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เฉพาะของกลางเป็นไม่ริบ จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง โจทก์ฎีกาขอให้ริบของกลางเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาล จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลิตเมทแอมเฟตามีน-ครอบครองเพื่อจำหน่าย: ศาลฎีกาพิพากษาโทษประหารชีวิต ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต
ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 คำว่า ผลิต หมายความว่า เพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป ฯลฯ เมื่อมีการผสมปรุงจนเป็นเมทแอมเฟตามีนแล้ว แม้อยู่ในสภาพของเหลวก็ใช้เสพได้เลย การอัดของเหลวให้เป็นเม็ดเป็นเพียงทำให้สะดวกในการซื้อขายกำหนดราคาและปริมาณในการจำหน่ายกันต่อไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษสำเร็จแล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ของกลางมิได้เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) ไม่อาจริบได้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาคืนของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของแม้คู่ความมิได้ฎีกาเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1872/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาคารชุด และสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุด
โจทก์เป็นนิติบุคคลอาคารชุดมี ส. เป็นผู้จัดการ ส. จึงมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของโจทก์ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 35 วรรคสอง ประกอบมาตรา 36 (3) หนังสือมอบอำนาจที่ ส. ลงลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจพร้อมประทับตราของโจทก์มอบอำนาจให้ ท. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน ถือได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ท. ดำเนินคดีแทนโจทก์ แม้มิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือมีมติของที่ประชุมเจ้าของร่วมให้กระทำได้ แต่การฟ้องคดีมิใช่เรื่องการปฏิบัติกิจการในหน้าที่ซึ่งต้องกระทำด้วยตัวเองตามมาตรา 36 วรรคท้าย ท. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดของอาคารชุด นอกจากจำเลยต้องชำระเงินจัดตั้งกองทุนตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 40 แล้ว จำเลยยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดและตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ในทรัพย์ส่วนกลางแก่โจทก์ตามมาตรา 18 และข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด ทั้งตามข้อบังคับข้อ 66 กำหนดให้ ว. ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดคราวแรก เป็นผู้ปฏิบัติการชั่วคราวมีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกิจการเร่งด่วน และจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการกิจการเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนกลาง โดย ว. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลย เมื่อรองผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดฝ่ายบัญชีและบุคคลได้มีหนังสือแจ้งบรรดาเจ้าของร่วมอาคารชุดให้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางประจำเดือนเป็นอัตราส่วนแน่นอน จึงถือว่าเป็นกิจการเร่งด่วนและจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการกิจการเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนกลาง จำเลยจะอ้างว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่หาได้ไม่ เพราะเงินค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นคนละจำนวนกับค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกองทุนให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดที่ชำระล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 40 และข้อบังคับข้อ 20 จึงไม่ต้องขออนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่ โจทก์มีสิทธิเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1872/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการดำเนินคดีแทน และสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุด
โจทก์เป็นนิติบุคคลอาคารชุด มี ส. เป็นผู้จัดการ ส. จึงมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของโจทก์ ตาม พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 35 วรรคสอง ประกอบมาตรา 36 (3) เมื่อหนังสือมอบอำนาจลงลายมือชื่อ ส. ในช่องผู้มอบอำนาจพร้อมประทับตราของโจทก์มอบอำนาจให้ ท. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน ถือว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ท. ดำเนินคดีแทนโจทก์ แม้การมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือมีมติของที่ประชุมเจ้าของร่วมให้กระทำได้ แต่การฟ้องคดีมิใช่เรื่องการปฏิบัติกิจการในหน้าที่ซึ่งผู้จัดการต้องกระทำด้วยตนเองตาม พ.ร.บ. อาคารชุด ฯ มาตรา 36 วรรคท้าย ท. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
พ.ร.บ. อาคารชุด ฯ มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้นิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลทรัพย์ส่วนกลางและให้มีอำนาจกระทำการใดเพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทั้งนี้ตามมติของเจ้าของร่วมภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยออกข้อบังคับกำหนดให้เจ้าของร่วมต้องชำระเงินให้นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อดำเนินกิจการของนิติบุคคลอาคารชุดให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย โดยในมาตรา 40 กำหนดให้เจ้าของร่วมต้องร่วมกันจัดตั้งกองทุนให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อดูแลบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลางและบริการทั่วไปแก่เจ้าของร่วมกรณีหนึ่ง กับในมาตรา 18 กำหนดให้เจ้าของร่วมแต่ละรายต้องออกค่าใช้จ่ายตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดที่เกิดจากบริการส่วนรวม และเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน และค่าใช้จ่ายตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ในทรัพย์ส่วนกลาง เช่น ค่าจ้างคนงาน พนักงานทำความสะอาด ยามรักษาการ ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลาง ค่าภาษีอากร เงินเดือนของผู้จัดการ พนักงานลูกจ้างต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ตามสัดส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 โดยเฉพาะค่าภาษีอากร เงินเดือนของผู้จัดการและพนักงานลูกจ้างจะเป็นบทบังคับเด็ดขาดตามกฎหมายและไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขด้วยมติของที่ประชุมเจ้าของร่วม เป็นอีกกรณีหนึ่ง ดังนั้น การที่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องชุด นอกจากต้องชำระเงินจัดตั้งกองทุนตามมาตรา 40 แล้ว ยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดและตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ในทรัพย์ส่วนกลางแก่โจทก์ ตามมาตรา 18 และข้อบังคับของโจทก์ซึ่งผู้จัดการคนเดิมเคยเรียกเก็บและจำเลยได้ชำระมาแล้ว จำเลยจะอ้างว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุมัติจากมติที่ประชุมใหญ่หาได้ไม่ เพราะเป็นเงินคนละจำนวนกับค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกองทุนตามมาตรา 40 จึงไม่ต้องขออนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก, สัญญาการก่อสร้าง, การผิดสัญญาเช่า, การคืนเงินค่าก่อสร้าง
สัญญาระหว่างจำเลยทั้งสองที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างอาคารพลาซ่า ตลาดและตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ตกลงจดทะเบียนการเช่าให้แก่ผู้ว่าจ้างหรือผู้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างมีกำหนดระยะเวลา 30 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 มีสิทธิเรียกเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่า สัญญาระหว่างจำเลยทั้งสองถือเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก และยังถือว่าเป็นการร่วมกันทางการค้าเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกัน เมื่อโจทก์เข้าทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 2 สร้างตึกแถวถือว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง
โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะก่อสร้างอาคารพลาซ่าให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี และปรับปรุงตกแต่งตึกแถวให้เรียบร้อยภายใน 3 เดือน เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ไม่สร้างอาคารพลาซ่า ไม่ตกแต่งตึกแถวให้เรียบร้อยจำเลยที่ 1 จึงผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วเป็นผลให้คู่กรณีต้องกลับสู่ฐานะเดิม จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินค่าช่วยก่อสร้างทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้แก่โจทก์และต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391
of 58