พบผลลัพธ์ทั้งหมด 576 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9559/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์สำเร็จในสถานที่ทำงาน: ศาลฎีกาแก้ไขข้อกฎหมายและลงโทษฐานลักทรัพย์ธรรมดา
การที่จำเลยเอายาและเครื่องเวชภัณฑ์ใส่ไว้ในถุงพลาสติก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการไปเอาจากห้องคลังยาโดยตรงหรือในช่วงที่จำเลยเอาไปวางบนชั้นด้านหลังเคาน์เตอร์เภสัชกร ย่อมถือได้ว่าจำเลยเคลื่อนย้ายทรัพย์จากที่ตั้งตามปกติและเข้าถือเอาทรัพย์นั้นแล้ว ทั้งจำเลยยังถือถุงพลาสติกออกไปแม้จะยังไม่พ้นจากห้องจ่ายยาเพราะมีผู้พบเห็นเสียก่อนทำให้จำเลยเอาทรัพย์ไปไม่ได้ ก็ถือว่าความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้วหาใช่เป็นเพียงพยายามลักทรัพย์ไม่ การปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้และไม่ถือเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย นอกจากนี้จำเลยเป็นลูกจ้างประจำและทำงานอยู่ในโรงพยาบาลที่เกิดเหตุ ห้องจ่ายยาผู้ป่วยในเป็นสถานที่ทำงานของจำเลยและเหตุเกิดในช่วงเวลาที่จำเลยทำงาน จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วจึงลักทรัพย์ในสถานที่ดังกล่าว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดามิใช่ลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ และศาลมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความซึ่งเป็นบทที่เบากว่าได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9266/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงระหว่างผู้รับเหมาช่วงกับผู้รับเงิน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามสัญญารับเหมาช่วงที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ร่วมลงนามผูกพันเป็นคู่สัญญาด้วย ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่เคยทำสัญญากับโจทก์โดยตกลงที่จะเป็นผู้ชำระหนี้ดังกล่าวให้โจทก์แทนจำเลยที่ 1 อันจะมีผลเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ แม้จะได้ความว่าก่อนจะทำสัญญา จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 แจ้งว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อสินค้าสำหรับใช้ในโครงการที่จำเลยที่ 1 รับเหมากับโจทก์ หากจำเลยที่ 2 ได้รับเงินในงวดงานที่ 17, 18 ก็ขอให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ซึ่งจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งว่าไม่ขัดข้อง ข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าว ก็เป็นเพียงข้อตกลงในการจัดการชำระหนี้สินของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ต่อโจทก์ให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อยเท่านั้น หาใช่เป็นข้อสัญญาที่จำเลยที่ 2 ตกลงจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 เพราะตราบใดมีค่างวดงานที่จำเลยที่ 2 ได้รับจากมหาวิทยาลัย ม. ยังนำไปหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ไม่ครบถ้วน ข้อตกลงที่จำเลยที่ 2 จะชำระค่าจ้างเหมาให้แก่โจทก์ก็ยังไม่เกิดผลบังคับและแม้การเบิกเงินในงวดงานที่ 17, 18 จะเกี่ยวข้องกับผลสำเร็จของงานที่โจทก์รับเหมาช่วงจากจำเลยที่ 1 ก็หาทำให้โจทก์มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 ในอันที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงตามมาตรา 374 ได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9264/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิจารณาคดีแรงงานและการชอบด้วยกฎหมายของคำพิพากษา
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กัน เป็นองค์คณะพิจารณา ซึ่งจะต้องนั่งพิจารณาคดีไปจนเสร็จสิ้นการพิจารณาคดี เว้นแต่กรณีมีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทำให้องค์คณะผู้พิจารณาคดีไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไปอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางจะนั่งพิจารณาคดีแทน หรือมอบหมายให้ผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาสมทบนั่งพิจารณาคดีแทนต่อไปก็ได้ และตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 20 บัญญัติว่า อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานมีอำนาจจัดให้ผู้พิพากษาสมทบคนอื่นเข้าปฏิบัติหน้าที่แทน ในกรณีมีเหตุจำเป็นอื่นที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ ประกอบกับโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านไว้ทั้งล่วงพ้นเวลาโต้แย้งคัดค้านแล้ว และมิได้มีคำขอให้ศาลแรงงานกลางรอการพิจารณาไว้ก่อนเพื่อให้มีการปฏิบัติในเรื่ององค์คณะในการพิจารณาคดีให้เป็นไปตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมแสดงว่าโจทก์ยอมรับอำนาจศาลในเรื่ององค์คณะในการพิจารณาคดีของศาลแรงงานกลางดังกล่าว การพิจารณาคดีนี้จึงเป็นการชอบแล้ว และเมื่อการพิจารณาคดีเสร็จสิ้น องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ จึงมีอำนาจทำคำพิพากษาต่อไปได้ คำพิพากษาคดีนี้จึงชอบแล้วเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9193/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์ในวัด แต่พระพุทธรูปมิได้เป็นที่สักการบูชา ความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ม.335(7) มิใช่ความผิดตาม ม.335ทวิ
แม้ทรัพย์ที่จำเลยกับพวกร่วมกันลักจะเป็นพระพุทธรูปและอยู่ในวัดผู้เสียหายแต่ได้ความว่าพระพุทธรูปดังกล่าวเก็บไว้ในศาลาบำเพ็ญกุศลหลังเก่าซึ่งเห็นได้ชัดตามภาพถ่ายว่าอยู่ในสภาพที่ถูกปล่อยทิ้งร้างและรกรุงรัง มิได้จัดวางไว้ในที่เหมาะสมเพื่อให้ประชาชนไปสักการบูชาแต่ประการใด รวมทั้งเครื่องบูชาใด ๆ ไม่มีปรากฏให้เห็นจึงยังถือไม่ได้ว่าพระพุทธรูปดังกล่าวเป็นที่สักการบูชาของประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก ดังนี้ แม้จำเลยจะได้ร่วมกับพวกลักพระพุทธรูปดังกล่าวภายในวัดผู้เสียหาย ก็ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 ทวิ วรรคสอง ทั้งศาลาบำเพ็ญกุศลมีไว้เพื่อใช้จัดงานพิธีศพจึงมิใช่สถานที่บูชาสาธารณะตาม ป.อ. 335 (9) การกระทำของจำเลยจึงคงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป และโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุมตาม ป.อ. 335 (7) วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ, 83 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9193/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์พระพุทธรูปในวัด แต่ไม่ได้จัดวางเพื่อสักการะ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองศิลปวัตถุ
แม้ทรัพย์ที่จำเลยกับพวกร่วมกันลักเป็นพระพุทธรูปและอยู่ในวัดผู้เสียหาย แต่พระพุทธรูปดังกล่าวเก็บไว้ในศาลาบำเพ็ญกุศลหลังเก่าอยู่ในสภาพถูกปล่อยทิ้งร้างและรกรุงรัง มิได้จัดวางไว้ในที่เหมาะสมเพื่อให้ประชาชนสักการะบูชา รวมทั้งไม่มีเครื่องบูชา จึงยังถือไม่ได้ว่าพระพุทธรูปดังกล่าวเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก แม้จำเลยกับพวกร่วมกันลักพระพุทธรูปดังกล่าวภายในวัดผู้เสียหายก็ไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 335 ทวิ วรรคสอง ทั้งศาลาบำเพ็ญกุศลมีไว้เพื่อใช้จัดงานพิธีศพ จึงมิใช่เป็นสถานที่บูชาสาธารณะ ตาม ป.อ. มาตรา 335 (9) การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปและโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิด การพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ, 83 เท่านั้น ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7384/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการถมดิน: การสืบพยานสำคัญกว่าข้อตกลงปากเปล่า หากมีบ่อปลาอยู่ก่อนแล้ว
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าก่อนจำเลยขุดดินเมื่อปี 2534 จำเลยได้ทำความตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์ต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดินเมื่อใด จำเลยจะถมที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนั้น ปัญหาว่าก่อนปี 2534 มีบ่อปลาในที่ดินของโจทก์อยู่แล้วหรือไม่จึงเป็นประเด็นสำคัญเนื่องจากต้องนำมาประกอบการพิจารณาว่าจำเลยได้ตกลงกับโจทก์ดังที่โจทก์กล่าวอ้างหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บ่อปลาในที่ดินของโจทก์มีมาก่อนปี 2534 ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าก่อนจำเลยขุดดินในที่ดินของโจทก์เมื่อปี 2534 จำเลยได้ตกลงกับโจทก์ก่อนแล้วว่าจะถมที่ดินให้โจทก์ เมื่อโจทก์ต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ จึงรับฟังไม่ได้ เนื่องจากโจทก์สืบไม่สมฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7025/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมงผิดกฎหมายทำลายระบบนิเวศ ศาลฎีกาให้ลงโทษกักขังแทนจำคุกเนื่องจากจำเลยไม่เคยมีประวัติ
การที่จำเลยใช้กระแสไฟฟ้าทำการประมงในบริเวณลำคลองสาธารณะ โดยได้ปลาเบญจพรรณมากถึง 10 กิโลกรัมนั้น ทำให้พันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ที่อยู่ในรัศมีของกระแสไฟฟ้าถูกทำลายโดยตรง และยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของสัตว์น้ำและพืชพันธุ์ที่อยู่ในน้ำอย่างมาก ซึ่งธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการเยียวยาและปรับสมดุลของตัวเอง เมื่อเปรียบเทียบกับการกระทำของจำเลยที่ใช้เวลาเพียงเล็กน้อย ถือเป็นการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีค่ายิ่งของสังคมส่วนรวม พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยมีภาระต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูครอบครัว ก็ไม่เพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยแต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนจึงเห็นสมควรให้ลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6736/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดพาอาวุธ และอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลฎีกายกข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยเองได้
ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีกำหนดอายุความหนึ่งปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) แต่โจทก์ได้ตัวจำเลยมายังศาลโดยยื่นฟ้องเกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ ชอบที่ศาลจะยกฟ้องเสียตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 แม้ความผิดฐานนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 100 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ กับปรากฏในอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายเกี่ยวกับความผิดตามกฎหมายข้างต้นยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดเพราะเหตุใด อันเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาและเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6329/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่า, การสิ้นสุดสัญญาโดยปริยาย, และขอบเขตการพิสูจน์ข้อเท็จจริง
สิทธิในการเลิกสัญญาของคู่สัญญาอาจเกิดจากข้อกำหนดในสัญญาหรือโดยบทบัญญัติของกฎหมายอันเป็นหลักทั่วไปตามมาตรา 387 ถึง 389 หรือตามบทบัญญัติว่าด้วยเอกเทศสัญญา ลักษณะเช่าทรัพย์ ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าโจทก์ปฏิบัติต่อจำเลยไม่เป็นไปตามฐานะผู้ให้เช่าที่ควรให้ความสะดวกแก่ผู้เช่าตามสมควร แต่กลับไม่ให้ความสะดวกในการที่จำเลยให้เช่าช่วงนั้น เมื่อตามสัญญาเช่าไม่มีข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยบอกเลิกสัญญาด้วยเหตุดังที่จำเลยกล่าวอ้างทั้งตามหนังสือบอกเลิกสัญญาของจำเลยก็มิได้ระบุว่าโจทก์กระทำผิดสัญญาข้อใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา หนังสือบอกเลิกสัญญาของจำเลยเป็นเพียงคำเสนอขอเลิกสัญญา เมื่อโจทก์ไม่ตกลงเลิกสัญญาตามคำเสนอของจำเลย สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาได้เลิกกันไม่
แม้ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 40 กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินมีหน้าที่ต้องเสียก็ตาม แต่ตามสัญญาเช่าข้อ 15 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ชำระ เมื่อจำเลยไม่ชำระ โจทก์ก็ต้องชำระแทนและเรียกเอาจากจำเลยได้กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
การฟ้องเรียกค่าปรับฐานชำระค่าเช่าล่าช้านั้นมิใช่เป็นการเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3) แต่ถือเป็นคดีที่โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าจึงต้องฟ้องภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 563
แม้ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 40 กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินมีหน้าที่ต้องเสียก็ตาม แต่ตามสัญญาเช่าข้อ 15 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ชำระ เมื่อจำเลยไม่ชำระ โจทก์ก็ต้องชำระแทนและเรียกเอาจากจำเลยได้กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
การฟ้องเรียกค่าปรับฐานชำระค่าเช่าล่าช้านั้นมิใช่เป็นการเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (3) แต่ถือเป็นคดีที่โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าจึงต้องฟ้องภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามมาตรา 563
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้ภาระจำยอมจากการใช้ทางต่อเนื่องโดยสงบและเปิดเผย แม้เริ่มจากการเข้าใจผิดเรื่องแนวเขต
โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2532 ถึงปี 2544 โดยโจทก์มิได้ขออนุญาตจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านการใช้ทางของโจทก์ แม้ว่าการใช้ทางพิพาทของโจทก์ตั้งแต่ปี 2532 ถึงปี 2537 โจทก์จะใช้โดยเข้าใจผิดว่าทางพิพาทอยู่ในที่ดินของโจทก์เอง ก็ถือได้ว่าโจทก์มีเจตนาถือเอาทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมาแล้ว มิใช่โจทก์เพิ่งใช้เป็นทางผ่านเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ในปี 2537 เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทต่อมาจนครบสิบปีก็ถือว่าโจทก์ได้ภาระจำยอมแล้ว