คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พีรพล พิชยวัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 576 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานและการสันนิษฐานทางกฎหมาย
ในความผิดฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นแม้โจทก์มิได้ระบุมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องและได้ระบุมาตรา 23 อันเป็นบทกำหนดโทษของมาตรา 11 ไว้ในคำขอท้ายฟ้องแล้ว คำฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานนี้จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) เมื่อคำว่า "สถานีวิทยุคมนาคม" ตามมาตรา 4 หมายความว่า ที่ส่งวิทยุคมนาคม ที่รับวิทยุคมนาคม หรือที่ส่งและรับวิทยุคมนาคม และคำว่า "วิทยุคมนาคม" หมายความว่า การส่งหรือการรับเครื่องหมาย สัญญาณ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียงหรือการอื่นใดซึ่งสามารถเข้าใจความหมายได้ด้วยคลื่นแฮรตเซียน เมื่อเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยติดตั้งไว้สามารถรับฟังข้อความจากผู้ใช้วิทยุสื่อสารได้ การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 แล้ว การต้องใช้คลื่นความถี่เท่าใด เป็นข้อกำหนดสำหรับผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมในการใช้คลื่นความถี่ให้ถูกต้อง หาจำต้องเป็นการตั้งสถานีเครื่องรับส่งในระยะความถี่ไม่น้อยกว่า 25 วัตต์ หรือมีขีดความสามารถรับส่งได้ในระยะทางไม่น้อยกว่า 25 กิโลเมตร หรือต้องเป็นการติดต่อหรือประกาศแจ้งออกไปสู่บุคคล องค์กร หรือต่อประชาชนในการประกาศข่าวสาร ส่ง หรือรับข่าวสารข้อความใด ๆ ได้ชัดเจนไม่
การที่จำเลยสั่งให้นาย ต. นำเมทแอมเฟตามีน 40 เม็ด ไปมอบให้นาง ม. และนาย ต. ยอมทำตามคำสั่งของจำเลย ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับนาย ต. มีลักษณะเป็นตัวการตัวแทน จึงเป็นการส่งมอบระหว่างผู้กระทำผิดด้วยกันเอง หาใช่เป็นการให้อันจะถือว่าเป็นการจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7400/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างด้วยเหตุเกษียณอายุและการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ การฟ้องร้องโดยไม่สุจริต
จำเลยมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดลูกจ้างหญิงเกษียณอายุเมื่อครบ 55 ปี เมื่อโจทก์อายุครบ 55 ปี จำเลยให้โจทก์ทำงานต่อไป เมื่อโจทก์อายุ 55 ปีเศษ โจทก์ไปพูดกับผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยว่าน่าจะให้โจทก์เกษียณอายุการทำงานได้แล้ว และโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความระบุว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายค่าชดเชยเป็นการเลิกจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมายกล่าวคือ เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมและเป็นการกระทำที่เป็นธรรมแก่โจทก์แล้วโจทก์สัญญาว่าจะไม่ติดใจเรียกร้อง ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากจำเลยอีก จึงเป็นกรณีที่โจทก์ร้องขอให้จำเลยเลิกจ้างและได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมและค้ำประกัน การพิสูจน์ลายมือชื่อ และการรับฟังพยานหลักฐานประกอบ
การแสดงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญตาม ป.วิ.พ. มาตรา 130 นั้น อาจแสดงความเห็นด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แล้วแต่ศาลจะต้องการหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดเรียกร้อง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีคู่ความฝ่ายใดเรียกร้องให้ศาลเรียกผู้เชี่ยวชาญมาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจา ศาลย่อมรับฟังความเห็นเป็นหนังสือของผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานหลักฐานประกอบคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6412/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การขัดแย้งทำให้จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยาน และศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดตามสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์
จำเลยให้การตอนแรกว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาใดๆ ตามฟ้อง ลายมือชื่อในสัญญาเป็นลายมือชื่อปลอม แต่ตอนหลังจำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาตัวแทนและสัญญาอื่นๆ โจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ฝ่าฝืน พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ เนื่องจากไม่รีบบังคับขายหุ้นเมื่ออัตราส่วนของหลักประกันต่ำลง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนี้ คำให้การของจำเลยขัดแย้งกันถือว่าเป็นคำให้การที่มิได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ว่าไม่ได้ทำสัญญาแต่งตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามคำให้การและไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ส่งตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยไปตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานวิทยาการตำรวจจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ไม่สามารถนำผลการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาท: ศาลต้องพิจารณาความน่าจะทำให้เสียชื่อเสียง แม้จำเลยไม่ได้มุ่งร้าย
โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยและครอบครัวให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวโจทก์และ ด. มาตั้งแต่อดีตตลอดมา และกรณีมีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยกันอยู่ ดังนั้นการที่จำเลยเขียนจดหมายโดยกล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือของจำเลยและครอบครัวแก่ครอบครัวของโจทก์มาในอดีต และความเป็นมาของที่ดินที่โจทก์อ้างว่าได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริง แม้จะมีข้อความที่อ้างว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ แต่เมื่อพิจารณาจดหมายทั้งฉบับประกอบกับจำเลยส่งจดหมายให้เฉพาะบรรดาพี่น้องเพื่อปรึกษาในการดำเนินการให้โจทก์คืนที่ดินแก่จำเลย ซึ่งมีลักษณะเป็นเพียงการตัดพ้อต่อว่าโจทก์เท่านั้น ทั้งพฤติการณ์ของจำเลยไม่มีเจตนาใส่ความให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ที่แก้ไขแล้ว โจทก์อุทธรณ์สรุปได้ความว่า โจทก์มีความเห็นว่าการพิจารณาว่าจำเลยมีเจตนาใส่ความหรือไม่ เพียงแต่พิจารณาดูว่าจำเลยคิด ตกลงใจ และกระทำตามที่ตกลงใจในเรื่องการใส่ความ คือการเขียนและส่งจดหมายที่มีข้อความหมิ่นประมาทไปยังบุคคลที่สามก็ครบองค์ประกอบในความผิดฐานนี้ คือการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามในประการที่น่าจะทำให้ผู้ถูกใส่ความเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิจารณาไปถึงว่าจำเลยมุ่งหมายเพื่อจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังหรือไม่ อันเป็นเจตนาพิเศษ เพราะเป็นเพียงผลที่คาดหมายว่าน่าจะเกิด ซึ่งข้อเท็จจริงยุติแล้วว่าจำเลยได้ส่งจดหมายที่มีข้อความตามฟ้องให้แพร่หลายแก่บุคคลที่สาม และข้อความดังกล่าวพิเคราะห์ตามมาตรฐานของวิญญูชนทั่วไป น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังได้ เมื่อบุคคลที่สามได้รับทราบถึงข้อความและรู้ว่าจำเลยกล่าวถึงใครแล้ว แม้บุคคลที่สามจะเป็นพี่น้องของจำเลยก็ตามและไม่อาจถือว่าจำเลยกระทำเพื่อป้องกันส่วนได้เสียของตนโดยชอบด้วย ป.อ. มาตรา 329 เพราะที่ดินพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ว่าเป็นของบุคคลใด ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ดังนี้ เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นนำข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วมาวินิจฉัยโดยปรับเข้ากับตัวบทกฎหมายไม่ถูกต้อง โดยปัญหาที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้เพียงว่า ข้อความตามฟ้องนั้นเป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ที่แก้ไขแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6229/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องทางจำเป็น: การแบ่งแยกที่ดิน & ทางออกสู่สาธารณะ
การอ้างสิทธิที่จะผ่านที่ดินของบุคคลอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 ที่ดินที่แบ่งแยกออกมานั้นจะต้องไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยทางอื่นได้ แม้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 12253 แบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจากที่ดินแปลงใหญ่โฉนดเลขที่ 81 ทำให้ที่ดินแปลงนี้ถูกที่ดินที่แบ่งแยกในคราวเดียวกันปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ก็ตาม แต่ในเวลานั้น ฉ. ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ได้รับที่ดินจากการแบ่งแยกยังเป็นเจ้าของที่ดินอีกแปลงหนึ่งซึ่งอยู่ติดกับที่ดินแปลงที่ได้รับการแบ่งแยกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ คือที่ดินโฉนดเลขที่ 17419 (ก่อนการแบ่งแยกตามคำพิพากษาศาลฎีกา) และที่ดินโฉนดเลขที่ 17419 เดิมนั้นมีทางพิพาทกว้างประมาณ 10 เมตร เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะซึ่ง ฉ. สามารถใช้ทางพิพาทในที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะของที่ดินโฉนดเลขที่ 12253 ได้ จึงถือได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 12253 ที่แบ่งแยกออกมานั้นมีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยทางอื่นได้อยู่แล้ว สิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกมาในคราวเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 ย่อมหมดไปตั้งแต่นั้นแล้ว แม้ต่อมาที่ดินโฉนดเลขที่ 17419 เดิมจะถูกบังคับให้แบ่งแยกและบังคับให้โอนขายแก่จำเลยตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ทำให้ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 12253 ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะอีกครั้ง โจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินตามโฉนดเลขที่ 12253 ก็จะกลับไปใช้สิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นบนที่ดินแปลงที่แบ่งแยกมาด้วยกันในครั้งก่อนตามมาตรา 1350 อีกไม่ได้ คงมีสิทธิที่จะผ่านที่ดินแปลงใดแปลงหนึ่งซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ในฐานะทางจำเป็นตามมาตรา 1349 เท่านั้น เมื่อโจทก์นำสืบฟังได้ว่า การใช้ทางพิพาทบนที่ดินตามโฉนดเลขที่ 79060 ของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะซึ่งโจทก์เคยใช้ผ่านมาก่อนมีระยะทางเพียง 50 เมตร แต่หากใช้เส้นทางอื่นผ่านที่ดินแปลงที่แบ่งแยกมาด้วยกันในครั้งก่อนเพื่อออกทางถนนราชมรรคาต้องใช้ระยะทางถึง 100 เมตรเศษ ซึ่งไกลกว่ากันถึงหนึ่งเท่าตัวเช่นนี้ทางพิพาทย่อมสะดวกและเหมาะสมที่จะเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 12253 ของโจทก์กว่าทางอื่น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 79060 ของจำเลยเป็นทางจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 12253 ของโจทก์ได้
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กำหนดให้จำเลยเปิดทางกว้าง 2.50 เมตร นั้น ก็เพื่อที่จะให้โจทก์ได้ใช้รถยนต์ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบันแล่นเข้าออกได้โดยสะดวก การที่จำเลยจะขอให้เปิดทางให้โจทก์กว้างเพียง 2 เมตร ย่อมทำให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้ไม่สะดวกรวดเร็วซึ่งเป็นการไม่เหมาะสมแก่สภาพการณ์และความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันที่ต้องการความรวดเร็ว การกำหนดให้จำเลยเปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นมีขนาดกว้าง 2.50 เมตร เพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้จึงน่าจะเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6213/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุกรุกป่า ตัดไม้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ศาลฎีกายืนโทษฐานบุกรุกป่าและทำให้เสียทรัพย์
คำว่า ป่า ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (1) หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน การเป็นป่าตามความหมายดังกล่าวไม่ใช่กรณีเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ หากที่ใดแปลงใดเป็นที่ดินที่ยังไม่มีบุคคลใดได้มาตามกฎหมายที่ดิน ที่ดินแปลงนั้นย่อมเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ที่ดินแปลงใดแม้จะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 616 (พ.ศ.2516) หรือไม่ หากไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของหรือได้สิทธิครอบครองทำกินตาม ป.ที่ดิน ที่ดินแปลงนั้นย่อมเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ
จำเลยเข้าไปครอบครองตัดฟันต้นยูคาลิปตัสของสำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดเพชรบุรีและก่นสร้าง แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่าเพื่อยึดถือครอบครองป่าเป็นของตนหรือผู้อื่นจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และฐานร่วมกันยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถางหรือเผาป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้างแผ้วถางป่าโดยตัดฟันต้นยูคาลิปตัสของสำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดเพชรบุรี อันเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และ ป.อ. แยกการกระทำเป็นสองกรรมต่างหากจากกัน แต่เมื่อเป็นการกระทำความผิดต่อต้นยูคาลิปตัสจำนวนเดียวกันและได้กระทำคราวเดียวพร้อมกันต่อเนื่องกันไป จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54, 72 ตรี วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5740/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอทางจำเป็น: เจ้าของที่ดินเท่านั้นมีสิทธิฟ้อง และการมีทางออกอื่นแม้ไม่สะดวกก็ไม่อาจฟ้องได้
ทางจำเป็นนั้น กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมโดยเฉพาะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าของที่ดินเท่านั้นที่จะมีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นได้ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ใช่เจ้าของที่ดินแต่เป็นเพียงผู้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินเท่านั้น แม้ที่ดินดังกล่าวถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อม โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น
โจทก์ที่ 4 ที่ 5 ส. น. และ ม. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 โดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดว่าผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินส่วนใด ความเป็นเจ้าของของแต่ละคนจึงครอบที่ดินทั้งแปลง เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งจึงอาจใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของรวมครอบที่ดินทั้งแปลงเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 การที่โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ใช้สิทธิฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางจำเป็นจึงเป็นการใช้สิทธิแทนเจ้าของรวมอื่นซึ่งรวมถึง ส. ด้วย กล่าวคือหากโจทก์ที่ 4 และที่ 5 มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นได้ ทางดังกล่าวย่อมได้ประโยชน์แก่เจ้าของรวมทุกคน แต่ ส. เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 ซึ่งด้านหนึ่งติดถนนสาธารณะอีกด้านหนึ่งติดกับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 ส. จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นสำหรับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 ได้ เพราะ ส. สามารถเข้าออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 ของตนเอง การที่ ส. ปลูกสร้างอาคารในที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 โดยเว้นทางเข้าออกด้านที่ติดกับของจำเลยไว้เพียง 1 เมตร เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ไม่สามารถนำรถยนต์ผ่านเข้าออกได้แต่ยังคงเดินเข้าออกได้นั้นเป็นเพียงทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 4 และที่ 5 ในการเข้าออกสู่ทางสาธารณะลดลงเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5740/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องขอทางจำเป็น: เจ้าของที่ดินเท่านั้นที่ฟ้องได้ แม้มีทางเข้าออกอื่นแต่ไม่สะดวกใช้รถยนต์ก็ไม่เพียงพอ
ในเรื่องทางจำเป็น กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมโดยเฉพาะ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าของที่ดินเท่านั้นที่จะมีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นได้ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเพียงผู้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 เท่านั้น แม้จะฟังได้ว่าที่ดินดังกล่าวถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อม โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น
โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 5 ส.น. และ ม. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 โดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดว่าผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินส่วนใด ความเป็นเจ้าของของแต่ละคนจึงครอบที่ดินทั้งแปลง ดังนั้น เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งจึงอาจใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของรวมครอบที่ดินทั้งแปลงเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 การที่โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ใช้สิทธิฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางจำเป็นจึงเป็นการใช้สิทธิแทนเจ้าของรวมอื่นซึ่งรวมถึง ส. ด้วย กล่าวคือหากโจทก์ที่ 4 และที่ 5 มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นได้ ทางดังกล่าวย่อมได้ประโยชน์แก่เจ้าของรวมทุกคน แต่ ส. เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2528 ซึ่งด้านหนึ่งติดถนนสาธารณะอีกด้านหนึ่งติดกับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 ส. จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นสำหรับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 เพราะจากที่ดินแปลงดังกล่าวสามารถเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้โดยผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 ของ ส. เอง การที่ ส. ปลูกสร้างอาคารในที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 โดยเว้นทางเข้าออกด้านที่ติดกับที่ดินของจำเลยไว้เพียงประมาณ 1 เมตร เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ไม่สามารถนำรถยนต์ผ่านเข้าออกได้แต่ยังคงเดินเข้าออกได้นั้นเป็นเพียงทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 4 และที่ 5 ในการเข้าออกสู่ทางสาธารณะลดลงเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5485/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการกระทำความผิดต่างกรรมกัน: ข่มขืนใจ vs. ทำร้ายร่างกาย
เมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันไปที่บ้านผู้เสียหาย จำเลยใช้อาวุธปืนจี้ผู้เสียหายบังคับให้ผู้เสียหายไปกับจำเลยและพวกจนผู้เสียหายกลัวและยอมทำตาม การกระทำของจำเลยและพวกเป็นความผิดสำเร็จตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง แล้ว การที่จำเลยกับพวกนำตัวผู้เสียหายไปจนถึงบ้านร้างแล้วจำเลยสอบถามผู้เสียหายแต่ได้คำตอบไม่เป็นที่พอใจ จำเลยจึงทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเกิดขึ้นใหม่แยกต่างหากจากความผิดข้างต้น ถึงแม้จำเลยจะอ้างว่ามีวัตถุประสงค์เดียวคือทวงหนี้จากผู้เสียหายก็ตาม แต่จำเลยมีเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างกันและแยกออกจากกันได้จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน
of 58