คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิสิฐ ฐิติภัค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้ภาระจำยอมจากการใช้ทางต่อเนื่องโดยสงบและเปิดเผย แม้เริ่มจากการเข้าใจผิดเรื่องแนวเขต
โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2532 ถึงปี 2544 โดยโจทก์มิได้ขออนุญาตจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านการใช้ทางของโจทก์ แม้ว่าการใช้ทางพิพาทของโจทก์ตั้งแต่ปี 2532 ถึงปี 2537 โจทก์จะใช้โดยเข้าใจผิดว่าทางพิพาทอยู่ในที่ดินของโจทก์เอง ก็ถือได้ว่าโจทก์มีเจตนาถือเอาทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมาแล้ว มิใช่โจทก์เพิ่งใช้เป็นทางผ่านเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ในปี 2537 เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทต่อมาจนครบสิบปีก็ถือว่าโจทก์ได้ภาระจำยอมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้ภาระจำยอมจากการใช้ทางต่อเนื่องโดยสงบและเปิดเผย แม้จะเริ่มต้นจากการเข้าใจผิดเรื่องเขตที่ดิน
โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2532 ถึงปี 2544 โดยมิได้ขออนุญาตจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองไม่คัดค้าน แม้การใช้ทางพิพาทของโจทก์ตั้งแต่ปี 2532 ถึงปี 2537 จะใช้โดยเข้าใจผิดว่าทางพิพาทอยู่ในที่ดินของโจทก์เอง ก็ถือว่าโจทก์มีเจตนาถือเอาทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมาแล้ว หาใช่โจทก์เพิ่งใช้เป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ในปี 2537 ไม่ เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทต่อมาจนครบสิบปีก็ถือว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยเจตนาให้ได้ภาระจำยอมแล้ว และเมื่อปรากฏว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผย ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4703/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลมีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการมรดกร่วมได้เพื่อประโยชน์สูงสุดของทายาท
แม้การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกกฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องยื่นบัญชีเครือญาติพร้อมไปกับคำร้องก็ตาม แต่การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคท้าย บัญญัติให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม ถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และมาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ดังนั้น ผู้จัดการมรดกจึงเป็นบุคคลที่เจ้ามรดกให้ความไว้วางใจหรือเป็นบุคคลที่ศาลเห็นว่าน่าจะจัดการเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกมากที่สุดและให้สมดังเจตนาของเจ้ามรดก ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องพิเคราะห์ดูจากพฤติการณ์และความสุจริตใจของผู้ร้องขอเป็นสำคัญ เมื่อฟังว่าผู้ร้องมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จเพื่อปิดบังข้อเท็จจริงในเรื่องจำนวนทายาทของผู้ตายอันอาจเป็นการเสียหายแก่ทายาทของผู้ตายที่ถูกปิดบังเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นเหตุอย่างอื่นอันสมควรที่ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่งได้แล้ว
นับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องไม่เคยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นเลย ซึ่งเมื่อนับแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก จนถึงวันที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษ จึงเป็นระยะเวลานานพอสมควรที่ผู้ร้องจะสามารถแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่นได้แล้ว การที่ผู้ร้องไม่ดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และทายาทอื่นของผู้ตายจนเวลาล่วงเลยมาหลายปีแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้ร้องทำผิดหน้าที่และละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกอันเป็นเหตุอย่างอื่นที่ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้คัดค้านทั้งสามร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 และขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแทนนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่ามีเหตุที่ศาลจะสั่งถอนได้ ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลอาจจะไม่ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมแต่ให้ตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ได้หากศาลเห็นว่าจะเป็นการทำให้ทายาททุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากกองมรดกด้วยความเป็นธรรมมากที่สุด แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอยู่เดิมมีเจตนาปกปิดจำนวนทายาทที่แท้จริงและละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ แต่ก็ปรากฏว่าก่อนที่ผู้ตายจะถึงแก่ความตายได้พักอาศัยอยู่กับผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่เคยไปเยี่ยมเยียนผู้ตายเลย แม้ขณะผู้ตายป่วยก็ไม่เคยไปดูแล ทั้งเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ไม่ไปร่วมงานศพ และไม่มีส่วนออกค่าใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพของผู้ตาย แสดงว่าผู้คัดค้านที่ 1 อาจจะไม่ค่อยมีความผูกพันหรือได้รับความไว้วางใจจากผู้ตายมากนัก การจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านที่ 1 คนใดคนหนึ่งให้เป็นผู้จัดการมรดกเพียงลำพังจึงอาจเกิดความไม่เป็นธรรมแก่อีกฝ่ายและไม่เกิดประโยชน์แก่กองมรดกสมดังเจตนาของผู้ตาย เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม ศาลฎีกาจึงเห็นพ้องด้วยกับศาลอุทธรณ์ที่ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าล่วงหน้า vs. เงินมัดจำ: สัญญาเช่าสิ้นสุดเพราะผิดสัญญาผู้เช่า ไม่สามารถริบเงินค่าเช่าที่จ่ายล่วงหน้าได้
ตามหนังสือสัญญาเช่ามีหมายเหตุท้ายหนังสือสัญญาเช่าที่ระบุว่า "วันที่ 9 มีนาคม 2544 วางมัดจำ 200,000 บาท" โดยจำเลยผู้ให้เช่าได้ลงลายมือชื่อไว้ท้ายหมายเหตุด้วยและในวันดังกล่าวจำเลยก็ได้ออกใบรับเงินระบุว่า วางมัดจำค่าเช่าดำเนินกิจการ 200,000 บาท โดยมิได้มีข้อความตอนใดที่จะทำให้เห็นว่าเป็นเงินกินเปล่าที่จำเลยไม่ต้องคืนแก่โจทก์ผู้เช่าก็ตาม แม้เงินจำนวน 200,000 บาท จะฟังว่าเป็นเงินมัดจำค่าเช่าดำเนินการก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าเป็นกรณีที่โจทก์ให้ไว้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือเป็นพยานหลักฐานว่า สัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว เพราะในวันดังกล่าวได้มีการทำสัญญาเช่ากันขึ้นด้วย จึงไม่ต้องมีสัญญามัดจำอีกเงินจำนวน 200,000 บาท ที่โจทก์วางให้แก่จำเลยดังกล่าวจึงต้องถือเป็นค่าเช่าที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยล่วงหน้า มิใช่เงินมัดจำตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 377 และมาตรา 378 ที่จำเลยจะริบได้ ทั้งไม่มีข้อสัญญาให้จำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ชำระไว้ล่วงหน้านี้ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4319/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของฟ้องอาญา: การแก้ไขข้อผิดพลาดเรื่องวันเวลาที่เกิดเหตุ ไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
คำฟ้องของโจทก์ที่บรรยายว่า เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 เวลากลางวัน จำเลยกับพวกเล่นการพนันสลากกินรวบพนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ตามคำร้องขอผัดฟ้องของโจทก์ ครั้งที่ 1 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2550 ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 อันแสดงว่าจำเลยน่าจะกระทำความผิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 ไม่ใช่วันที่ 1 สิงหาคม 2550 ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ก็เป็นเพียงการพลั้งเผลอในการเรียงและพิมพ์คำฟ้องผิดพลาดไปเท่านั้น กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ก่อนที่จำเลยจะกระทำความผิดอันจะทำให้เป็นฟ้องที่ขัดกับสภาพความเป็นจริงไม่ ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพมาโดยตลอด ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็อุทธรณ์เพียงขอให้รอการลงโทษ แสดงว่าจำเลยทราบดีถึงการกระทำความผิดของตน การที่โจทก์บรรยายฟ้องระบุรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำความผิดผิดพลาดไปดังกล่าวจึงมิได้เป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4319/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของฟ้องอาญา: ข้อผิดพลาดเกี่ยวกับวันเวลาที่กระทำความผิด ไม่ทำให้ฟ้องขัดกับสภาพความเป็นจริง หากจำเลยรับสารภาพ
ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ส่วนที่ข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏตามคำร้องขอผัดฟ้อง ครั้งที่ 1 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2550 ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 อันแสดงว่าจำเลยจะกระทำความผิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 ไม่ใช่วันที่ 1 สิงหาคม 2550 ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง เป็นเพียงการพลั้งเผลอในการเรียงและพิมพ์ฟ้องผิดพลาดไปเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ก่อนที่จำเลยจะกระทำความผิดอันจะทำให้เป็นฟ้องที่ขัดกับสภาพความเป็นจริง ที่จะต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4319/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีพนัน แม้เวลาในฟ้องไม่ตรงกับเวลาที่เกิดเหตุ และการพิจารณาโทษจำเลย
ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 เวลากลางวัน จำเลยกับพวกเล่นการพนันสลากกินรวบพนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และถือเอาเลขท้าย 2 ตัว เลขท้าย 3 ตัว ของรางวัลที่ 1 กับเลขท้าย 2 ตัว เลขท้าย 3 ตัว ของสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดประจำวันที่ 1 สิงหาคม 2550 เป็นเลขถูกรางวัล เหตุเกิดที่ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี นั้น ถือว่าเป็นฟ้องที่ได้ระบุถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 แล้วฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ที่ข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏตามคำร้องขอผัดฟ้องครั้งที่ 1 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2550 ว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 อันแสดงว่าจำเลยน่าจะกระทำความผิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 ไม่ใช่วันที่ 1 สิงหาคม 2550 ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ก็เป็นเพียงการพลั้งเผลอในการเรียงและพิมพ์ฟ้องผิดพลาดไปเท่านั้น กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ก่อนที่จำเลยจะกระทำความผิด อันจะทำให้เป็นฟ้องที่ขัดกับสภาพความเป็นจริงไม่ ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพมาโดยตลอด ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็อุทธรณ์เพียงขอให้รอการลงโทษ แสดงว่าจำเลยทราบดีถึงการกระทำความผิดของตน การที่โจทก์บรรยายฟ้องระบุรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำความผิดผิดพลาดไปดังกล่าวจึงมิได้เป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกหนี้และการใช้สิทธิโดยสุจริต แม้จำนวนหนี้ที่ฟ้องต่างจากที่สืบได้ ศาลต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวนหนึ่ง แต่โจทก์นำสืบว่าจำเลยชำระหนี้บางส่วนแล้ว คงเหลือหนี้ไม่ถึงจำนวนตามคำฟ้องนั้น ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเอาเงินจากจำเลยเกินกว่าสิทธิที่โจทก์พึงมีตามกฎหมายดังที่จำเลยฎีกา เนื่องจากจำเลยชอบที่จะต่อสู้คดีได้และหากจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลก็ไม่ได้พิจารณาเฉพาะคำฟ้องของโจทก์เท่านั้น แต่ต้องพิจารณาจากคำให้การจำเลยและพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำสืบ ดังนี้ พฤติการณ์ของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงภาระจำยอมในสัญญาเช่าซื้อ แม้จะมีการโอนสิทธิก็ยังผูกพันจำเลยเดิม
สัญญาเช่าซื้อที่ดินมีข้อความระบุไว้ในข้อ 7 ว่า "ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องทำถนนกว้าง 3 เมตร และถนนแยกกว้าง 4 เมตร ผ่านที่ดินของผู้เช่าซื้อตามสัญญานี้ และยินยอมให้ผู้เช่าซื้อใช้ถนนดังกล่าวนี้ตลอดไป..." เชื่อว่าจำเลยได้ตกลงว่าจะจดทะเบียนภาระจำยอมในทางพิพาทแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งห้าแปลง ข้อตกลงดังกล่าวก่อให้เกิดบุคคลสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมในทางพิพาทแก่โจทก์ เมื่อได้จดทะเบียนเช่นนั้นแล้วการได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยนิติกรรมดังกล่าวย่อมบริบูรณ์ตามกฎหมายสมเจตนาของคู่กรณี สิทธิของโจทก์ตามนิติกรรมดังกล่าวนี้เป็นสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณี แม้ตามข้อเท็จจริงจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งห้าแปลงให้บุตรของจำเลยก่อน คือ อ. และ ศ. ต่อมาบุตรของจำเลยจึงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งห้าแปลงให้แก่โจทก์ จำเลยก็ยังผูกพันตามข้อตกลงที่จำเลยตกลงไว้กับโจทก์ไม่เปลี่ยนแปลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนภาระจำยอมทางพิพาทแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งห้าแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการจดทะเบียนรถยนต์คันที่ได้มาจากการปลอมเอกสาร และความรับผิดของหน่วยงานที่กำกับดูแล
ตามคำฟ้องของโจทก์มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 3 กระทำต่อโจทก์หรือไม่ แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมคำว่า "และผู้มีชื่ออื่น" ต่อท้ายจำเลยที่ 3 ทุกแห่ง ก็ยังไม่อาจจะแปลได้ว่าผู้มีชื่ออื่นนั้นหมายถึง ภ. ด้วย เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้อง และจำเลยที่ 5 ก็ไม่ได้ให้การถึง จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5 ต้องร่วมกับ ภ. รับผิดต่อโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงถึง ภ. ย่อมเป็นการนำสืบนอกประเด็น
รถยนต์พิพาทเป็นรถที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจยึดรถยนต์พิพาทมาไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติศุลกากร ไม่ว่ารถยนต์ของกลางจะอยู่ในความครอบครองของผู้ใด การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจประจำศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมที่ไปยึดรถยนต์ของกลางจากโจทก์จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยชอบ ไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ กรมตำรวจจำเลยที่ 7 หน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ แม้โจทก์จะรับซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตจากพ่อค้าซึ่งประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์ แต่เมื่อรถยนต์พิพาทต้องถูกยึดไปดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติศุลกากรโจทก์ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง เพราะไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าของที่แท้จริงติดตามเอาทรัพย์คืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332
รถยนต์พิพาทเป็นรถที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร ซึ่งจะต้องถูกยึดไปดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติศุลกากร และอาจจะต้องถูกริบไปในที่สุด ดังนี้ แม้โจทก์จะซื้อรถยนต์พิพาทมาจากพ่อค้าซึ่งประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์และเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกจำเลยที่ 6 จะจดทะเบียนโอนรถยนต์พิพาทให้โจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิครอบครองและไม่อาจได้รับกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทได้อีกต่อไป จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ใช้สอยในรถยนต์พิพาทภายหลังรถถูกยึดได้ คงเรียกได้แต่ราคาพร้อมดอกเบี้ยจากผู้ที่หลอกลวงขายรถให้เท่านั้น
รถยนต์พิพาทที่จำเลยที่ 1 นำมาให้ตรวจสภาพรถและขอจดทะเบียนเป็นรถยนต์ที่มีสภาพค่อนข้างใหม่และมีราคาสูงมิใช่รถเก่าก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกจำเลยที่ 6 จะได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 หากได้ตรวจสอบเอกสารและสภาพรถยนต์พิพาทให้ถี่ถ้วนรอบคอบก็จะทราบถึงความแตกต่างของสภาพรถที่นำมาตรวจเพื่อขอจดทะเบียนโดยไม่ยาก และคงจะไม่รับจดทะเบียนให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นแน่ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 6 จดทะเบียนรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบเอกสารและสภาพรถยนต์พิพาทให้รอบคอบ จึงเป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์เนื่องจากทำให้โจทก์ไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทที่ซื้อไว้โดยสุจริต จึงเป็นการกระทำละเมิดจำเลยที่ 6 ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นด้วย
of 11