พบผลลัพธ์ทั้งหมด 384 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินเวนคืน: การซื้อขายตามเนื้อที่ประกาศ แม้ใช้ประโยชน์ไม่ครบถ้วน ไม่ถือเป็นการรังวัดคลาดเคลื่อน
ตามประกาศของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ที่ดินของจำเลยถูกเวนคืนเนื้อที่ 42 ตารางวา และ จำเลยไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนกับโจทก์ในจำนวนเนื้อที่ 42 ตารางวา โดยได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ ถูกเวนดังกล่าวทั้งหมดแล้ว และจำเลยได้ส่งมอบที่ดินที่ถูกเวนคืนเนื้อที่ 42 ตารางวาซึ่งอยู่ในเขตเวนคืนให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว แม้โจทก์ใช้เนื้อที่ดินที่เวนคืนมาไม่หมดคงใช้ประโยชน์เพียง 28 ตารางวาก็ตาม ก็มิใช่เป็นกรณีที่เกิดจากการรังวัดคลาดเคลื่อนในจำนวนเนื้อที่ดินที่ซื้อขายกัน ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในที่ดิน 42 ตารางวาย่อมตกเป็นของโจทก์โดยสมบูรณ์แล้วตามมาตรา 11 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิหรือให้อำนาจโจทก์คืนที่ดินที่เวนคืนไปแล้ว แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตาม วัตถุประสงค์ของการเวนคืนให้แก่เจ้าของเดิม โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวน 14 ตารางวา ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเวนคืน: กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อแม้ใช้ประโยชน์ไม่ครบถ้วน
ที่ดินของจำเลยถูกเวนคืนเนื้อที่ 42 ตารางวา และจำเลยไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนกับโจทก์ในจำนวนเนื้อที่ 42 ตารางวา โดยได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งหมดแล้วและจำเลยได้ส่งมอบที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว แม้โจทก์ใช้เนื้อที่ดินที่เวนคืนมาไม่หมดคงใช้ประโยชน์เพียง 28 ตารางวาก็มิใช่เป็นกรณีที่เกิดจากการรังวัดคลาดเคลื่อนในจำนวนเนื้อที่ดินที่ซื้อขายกัน กรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้ง 42 ตารางวา ย่อมตกเป็นของโจทก์โดยสมบูรณ์ตามมาตรา 11 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ และไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิหรือให้อำนาจโจทก์คืนที่ดินที่เวนคืนไปแล้วแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนแก่เจ้าของเดิม โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวน 14 ตารางวา ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเนื้อที่ดิน: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้แม้คดีถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
ฟ้องโจทก์ระบุเนื้อที่ดินแต่ละแปลงของที่ดินทั้งสิบแปลงของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไว้ด้วย รวมแล้วมีเนื้อที่ทั้งหมด 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา แต่โจทก์ระบุว่ารวมแล้วเป็นเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มโดยคิดจากจำนวนเนื้อที่ที่โจทก์รวมผิดพลาดดังกล่าวในฟ้อง ต่อมาในชั้นบังคับคดีทั้งโจทก์และจำเลยแถลงข้อเท็จจริงตรงกันว่า ที่ดินของโจทก์มีจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงเพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นโดยคิดจากจำนวนเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา อันเกิดจากการรวมเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนผิดพลาดไปนั้น จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งไม่ใช่ข้อผิดพลาดในสาระสำคัญ แม้คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองดังกล่าวจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เพราะการเพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยตามบทกฎหมายดังกล่าวจะกระทำเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเนื้อที่ดิน: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุเนื้อที่ดินแต่ละแปลงของที่ดิน 10 แปลง ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไว้ด้วย ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีเนื้อที่เพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ทั้งโจทก์แถลงยอมรับข้อเท็จจริงในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนรวม 10 แปลง มีจำนวนเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา เช่นเดียวกับสำเนาโฉนดที่ดินที่ถูกเวนคืนรวม 10 ฉบับ ท้ายคำแถลงของจำเลยที่ 1 ซึ่งปรากฏว่าที่ดิน 10 แปลงของโจทก์รวมกันแล้วมีจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงเพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ไม่ใช่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ดังที่โจทก์รวมเนื้อที่ดินไว้ในคำฟ้อง ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับผลรวมของจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนและคำขอให้ชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจึงเกิดจากการคำนวณที่ผิดพลาด เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มโดยถือเอาจากจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์รวมผิดพลาดดังกล่าวในฟ้อง จึงมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งไม่ใช่ข้อผิดพลาดในสาระสำคัญแม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทรณ์ดังกล่าวจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เพราะการเพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยตามบทกฎหมายดังกล่าวจะกระทำเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืน: การอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี, การครอบครอง, และขอบเขตค่าเสียหาย
การพิจารณาว่าที่ดินที่ถูกเวนคืนแปลงใดมีที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนหรือไม่เพียงใด ต้องพิจารณาในวันที่กฎหมายกำหนดแนวเขตที่จะเวนคืนมีผลใช้บังคับในกรณีนี้คือวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ คือวันที่ 1 มกราคม 2535 ในวันดังกล่าวที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนเป็นที่ดินแปลงเดียวมีที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเนื้อที่ 113 ตารางวา และไม่มีด้านหนึ่งด้านใดน้อยกว่า 5 วา ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะขอให้ฝ่ายจำเลยเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินแปลงนี้ออกเป็นแปลงย่อยอีก 7 แปลง ภายหลังวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ เป็นผลให้ที่ดินที่แบ่งแยกดังกล่าวแต่ละแปลงมีเนื้อที่น้อยกว่า 25 ตารางวา และมีด้านหนึ่งด้านใดน้อยกว่า 5 วานั้น เกิดจากการกระทำของโจทก์เองมิใช่เกิดจากการเวนคืนโดยตรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ฝ่ายจำเลยเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินที่เหลืออยู่นั้นได้
อุทธรณ์ของโจทก์ไม่ได้ขอให้รัฐมนตรีฯ วินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงให้แก่โจทก์ ส่วนที่มีหนังสือถึงเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ขอให้เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือว่า หากเจ้าหน้าที่ไม่ยอมเวนคืนหรือจัดซื้อก็ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลืออยู่อันราคาลดลงร้อยละ 60 เป็นการขอให้เจ้าหน้าที่ที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินตามมาตรา 20 มิใช่เป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงซึ่งเป็นเงินค่าทดแทนตามมาตรา 21 วรรคสามนี้ ก่อนที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 จะมีสิทธินำคดีมาฟ้องคดีต่อศาลขอเงินค่าทดแทนส่วนนี้ได้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจะต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีก่อนตามขั้นตอนในมาตรา 25 วรรคหนึ่งและมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้รัฐมนตรีฯ กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้จากจำเลย ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวปรากฏจาก พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำเข้าสู่การพิจารณาของศาลโดยชอบแล้ว แม้จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่ได้ ยกเหตุนี้ขึ้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ผู้จะมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนตาม มาตรา 21 วรรคท้าย ต้องเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขาย หรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์อยู่แล้วในวันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นถูกกำหนดให้เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ในกรณีนี้คือวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ คือวันที่ 1 มกราคม 2535 แต่โจทก์ซื้อที่ดินที่ต้องเวนคืน มาภายหลังวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ แล้ว ทั้งการสร้างอาคารพาณิชย์แบ่งขายให้แก่บุคคลอื่นก็ไม่ใช่การอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้
โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เพียงใดนั้น ต้องเป็นไปตามที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 บัญญัติไว้ แต่ตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้หาได้มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายที่โจทก์ถูกผู้ซื้อที่ดิน (ที่ถูกเวนคืน) และอาคารพาณิชย์จากโจทก์ฟ้องให้โจทก์รับผิดไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์
อุทธรณ์ของโจทก์ไม่ได้ขอให้รัฐมนตรีฯ วินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงให้แก่โจทก์ ส่วนที่มีหนังสือถึงเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ขอให้เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือว่า หากเจ้าหน้าที่ไม่ยอมเวนคืนหรือจัดซื้อก็ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลืออยู่อันราคาลดลงร้อยละ 60 เป็นการขอให้เจ้าหน้าที่ที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินตามมาตรา 20 มิใช่เป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงซึ่งเป็นเงินค่าทดแทนตามมาตรา 21 วรรคสามนี้ ก่อนที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 จะมีสิทธินำคดีมาฟ้องคดีต่อศาลขอเงินค่าทดแทนส่วนนี้ได้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจะต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีก่อนตามขั้นตอนในมาตรา 25 วรรคหนึ่งและมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้รัฐมนตรีฯ กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้จากจำเลย ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวปรากฏจาก พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำเข้าสู่การพิจารณาของศาลโดยชอบแล้ว แม้จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่ได้ ยกเหตุนี้ขึ้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ผู้จะมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนตาม มาตรา 21 วรรคท้าย ต้องเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขาย หรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์อยู่แล้วในวันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นถูกกำหนดให้เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ในกรณีนี้คือวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ คือวันที่ 1 มกราคม 2535 แต่โจทก์ซื้อที่ดินที่ต้องเวนคืน มาภายหลังวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ แล้ว ทั้งการสร้างอาคารพาณิชย์แบ่งขายให้แก่บุคคลอื่นก็ไม่ใช่การอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้
โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เพียงใดนั้น ต้องเป็นไปตามที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 บัญญัติไว้ แต่ตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้หาได้มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายที่โจทก์ถูกผู้ซื้อที่ดิน (ที่ถูกเวนคืน) และอาคารพาณิชย์จากโจทก์ฟ้องให้โจทก์รับผิดไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2901/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนจากแชร์ลูกโซ่
พฤติกรรมที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันประกอบกิจการในชื่อบริษัท ว. จำกัด ประกาศโฆษณาต่อประชาชนทั่วไปรับสมัครสมาชิกไวท์โฮปกรุ๊ป และเรียกเก็บเงินค่าสมัครจากผู้สมัครเป็นสมาชิกรายละ 3,000 บาท โดยรู้อยู่แล้วว่าบริษัทไม่ได้ประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด อันจะมีผลประโยชน์มาปันให้ให้แก่สมาชิกได้ตามใบประกาศตารางผลประโยชน์แห่งสมาชิก จึงเป็นการร่วมกันกระทำผิดโดยการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินคือเงินค่าสมัครสมาชิกรายละ 3,000 บาท จากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม อันเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก และการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เรียกเก็บเงินจากผู้สมัครเป็นสมาชิกรายละ 3,000 บาท โดยมีเงื่อนไขในการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเฉพาะแก่ผู้เป็นสมาชิกว่า หากสมาชิกผู้ใดหาสมาชิกใหม่มาสมัครได้ 6 คน จะได้รับผลประโยชน์เป็นเงินดาวน์รถจักรยานยนต์จำนวน 6,000 บาท ทั้งจะได้รับเงินตอบแทนจากการหาสมาชิกใหม่รายละร้อยละ 25 ของเงินค่าสมัคร และหากสมาชิกใหม่หาสมาชิกมาสมัครได้ต่อ ๆ ไป สมาชิกเดิมก็ยังจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินจำนวนลดหลั่นไปตามใบประกาศตารางผลประโยชน์แห่งสมาชิกนั้น เป็นการประกอบกิจการโดยวิธีชักจูงให้ผู้อื่นส่งเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นให้แก่ตน และให้ผู้นั้นชักจูงผู้อื่นตามวิธีการที่กำหนด และแสดงให้ผู้ถูกชักจูงเข้าใจว่าถ้าได้ปฏิบัติตามจนมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเข้าร่วมต่อ ๆ ไปจนครบวงจรแล้วผู้ถูกชักจูงจะได้รับกำไรมากกว่าเงินหรือประโยชน์ที่ผู้นั้นได้ส่งไว้ดังที่บางคนเรียกกันว่าแชร์ลูกโซ่ ซึ่งเมื่อคำนวณตารางผลประโยชน์แห่งสมาชิกแล้ว จะเห็นได้ว่าหากผู้เป็นสมาชิกปฏิบัติตามเงื่อนไขสามารถชักจูงบุคคลอื่นมาเข้าร่วมได้ต่อ ๆ ไป สมาชิกรายต้น ๆ จะได้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้หลายเท่า แต่หากการดำเนินการมิได้เป็นไปตามคำชักจูงก็จะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้หลงเชื่อมาสมัครรายหลัง พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เรียกเก็บเงินค่าสมัครจากผู้สมัครเป็นสมาชิกและผลประโยชน์ตอบแทนที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่สมาชิกในเงื่อนไขตามตารางผลประโยชน์แห่งสมาชิกดังกล่าว ต้องตามความหมายของบทนิยามคำว่า "กู้ยืมเงิน" และ "ผลประโยชน์ตอบแทน" ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 3 และเมื่อมีประชาชนหลงเชื่อเข้าสมัครเป็นสมาชิกบัตรไวท์โฮปกรุ๊ปตามที่จำเลยที่ 1 ประกาศโฆษณามีจำนวนมากกว่าตั้งแต่สิบคนขึ้นไปโดยมีจำนวนรวม 394 คนตามบัญชีรายชื่อผู้เสียหาย วันเวลาและจำนวนเงินที่จำเลยได้รับไปจากผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 4 ด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดตามฟ้องโจทก์
แม้จำเลยที่ 1 จะประกาศโฆษณาเพียงครั้งเดียวในคราวเดียว แต่ข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังยุติว่าในระหว่างวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้องนั้น มีผู้เสียหายซึ่งหลงเชื่อเข้าสมัครเป็นสมาชิกบัตรไวท์โฮปกรุ๊ปตามประกาศโฆษณาของจำเลยที่ 1 มีจำนวน 394 คน โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับเงินค่าสมัครเป็นสมาชิกจากผู้เสียหายจำนวนดังกล่าวรายละ 3,000 คน ไปโดยทุจริต ซึ่งความผิดต่อผู้เสียหายแต่ละรายเป็นการกระทำที่แยกออกจากกันได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 394 กระทง ศาลย่อมลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ตาม ป.อ. มาตรา 91
จำเลยที่ 2 กระทำความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 4 มีโทษตาม พ.ร.ก. ดังกล่าว มาตรา 12 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปีรวม 394 กระทง เป็นกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุด มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลลงโทษผู้กระทำผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินยี่สิบปีตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 20 ปี ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงไม่อาจลงโทษให้เบาลงอีกได้
แม้จำเลยที่ 1 จะประกาศโฆษณาเพียงครั้งเดียวในคราวเดียว แต่ข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังยุติว่าในระหว่างวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้องนั้น มีผู้เสียหายซึ่งหลงเชื่อเข้าสมัครเป็นสมาชิกบัตรไวท์โฮปกรุ๊ปตามประกาศโฆษณาของจำเลยที่ 1 มีจำนวน 394 คน โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับเงินค่าสมัครเป็นสมาชิกจากผู้เสียหายจำนวนดังกล่าวรายละ 3,000 คน ไปโดยทุจริต ซึ่งความผิดต่อผู้เสียหายแต่ละรายเป็นการกระทำที่แยกออกจากกันได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 394 กระทง ศาลย่อมลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ตาม ป.อ. มาตรา 91
จำเลยที่ 2 กระทำความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 4 มีโทษตาม พ.ร.ก. ดังกล่าว มาตรา 12 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปีรวม 394 กระทง เป็นกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุด มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลลงโทษผู้กระทำผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินยี่สิบปีตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 20 ปี ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงไม่อาจลงโทษให้เบาลงอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่งต้องมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย การฟ้องเพื่อทำลายพยานหลักฐานในคดีอาญาจึงไม่ถือว่ามีอำนาจฟ้อง
ผู้ที่จะฟ้องคดีแพ่งต่อศาลจะต้องถูกโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อรับรองว่าตนมีสิทธิหรือหน้าที่หรือจะต้องใช้สิทธิทางศาล เมื่อโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 110214 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงโฉนดดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์ก็เพียงเพื่อต้องการทำลายพยานหลักฐานในคดีอาญาที่โจทก์ถูกจำเลยฟ้องข้อหาบุกรุกที่ดินแปลงนี้ ซึ่งในคดีนั้นโจทก์ในฐานะจำเลยย่อมมีสิทธินำพยานหลักฐานมานำสืบต่อสู้คดีได้หากจำเลยนำหลักฐานเท็จมาแสดง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงจากคำสั่งศาลดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายหรือมีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลอกลวงเพื่อเอาเงิน ไม่ถือเป็นความผิดฐานจัดหางาน
โจทก์บรรยายคำฟ้องในตอนแรกว่า จำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งแปด ซึ่งเป็นคนหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศโดยเรียกและรับค่าบริการเป็นเงินตอบแทนจากคนหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่คำฟ้องตอนหลังบรรยายว่า จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งแปดด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยบอกและรับรองว่า จำเลยสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งแปดไปทำงานต่างประเทศโดยได้รับค่าจ้างตอบแทนได้ ความจริงจำเลยเพียงแต่ดำเนินการให้ผู้เสียหายทั้งแปดเดินทางไปต่างประเทศได้เท่านั้น ไม่สามารถจัดให้ผู้เสียหายทั้งแปดได้ทำงานโดยได้รับค่าจ้างตอบแทนตามที่อ้าง การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องของโจทก์แสดงว่า จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งแปด แต่อ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเพื่อหลอกลวงเอาเงินจากผู้เสียหายทั้งแปดเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82 แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตไม่ได้: ขนาด .223 (5.56 มม.) ไม่เข้าข้อยกเว้นชนิดเจาะเกราะ/กระสุนเพลิง
แม้ผู้ชำนาญที่ตรวจพิสูจน์จะมีความเห็นว่า กระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11ฯ ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ และอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองนั้นเป็นอาวุธปืนที่จำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม แต่เมื่อกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ข้อ 3 กำหนดว่า "เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามมาตรา 7 หรือมาตรา 24 ต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนตามข้อ 2 ที่ได้รับอนุญาต แต่ต้องไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง" อันหมายความว่าเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้นั้นต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ข้อ 2 เว้นแต่เครื่องกระสุนปืนนั้นเป็นชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงแล้ว ก็เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ซึ่งเมื่อเครื่องกระสุนปืนของกลางมีขนาดเพียง .223 (5.56 มม.) ไม่เกินขนาดอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ข้อ 2 (1) ที่กำหนดว่า "อาวุธปืนชนิดลำกล้องมีเกลียวที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่เกิน 11.44 มม." และข้อ 2 (2) กำหนดว่า "อาวุธปืนชนิดลำกล้องไม่มีเกลียว ดังต่อไปนี้ (ก) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่ถึง 20 มม. (ข) ปืนบรรจุปาก ปืนลูกซองและปืนพลุสัญญาณ" แล้วจึงเห็นได้ในเบื้องต้นว่า เครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 1 นัด ของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ ดังนั้น ถึงหากจะให้รับฟังว่าเครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 1 นัด ของกลาง เป็นเครื่องกระสุนปืนเล็กกลดังเช่นที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่าเครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 1 นัด ของกลาง เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎกระทรวง ข้อ 3 ตอนท้าย ที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ศาลก็ต้องยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา: การวิ่งไล่ตามผู้ตายพร้อมคนร้ายถืออาวุธถือเป็นเล็งเห็นผล
จำเลยเป็นพวกเดียวกับคนร้ายอีกสองคนซึ่งเป็นผู้วิ่งไล่ถืออาวุธคล้ายมีดเป็นของมีคมยาวประมาณ 1 ศอก แทงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย การที่จำเลยชกต่อยผู้ตายก่อนเมื่อผู้ตายวิ่งหนีจำเลยก็วิ่งไล่ตามผู้ตายไปพร้อมๆ กับคนร้ายทั้งสองที่ถืออาวุธไปด้วย สภาพอาวุธเห็นได้ชัดเจนว่าอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ หากจำเลยไม่มีเจตนาร่วมกับคนร้ายทั้งสอง เมื่อจำเลยชกต่อยผู้ตายครั้งแรกแล้ว จำเลยอาจหยุดกระทำโดยไม่วิ่งไล่ตามผู้ตายไปก็ได้ แต่จำเลยหากระทำไม่ การที่จำเลยวิ่งไล่ตามไปทำร้ายผู้ตายกับพวกของจำเลยซึ่งวิ่งถืออาวุธดังกล่าวไปด้วย จึงย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าอาจมีการทำร้ายผู้ตายให้ถึงแก่ความตายได้ ทั้งเป็นการที่อยู่ในภาวะที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ พฤติการณ์การกระทำของจำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดกับคนร้ายทั้งสอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา