พบผลลัพธ์ทั้งหมด 384 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6055/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องนอกเหนือจากขอบเขตเดิม และการเพิ่มข้อหาใหม่ในคดีผู้ถือหุ้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งหกได้ร่วมกันจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจำเลยที่ 1 จำนวน227,894,845 หุ้น ให้แก่บุคคลผู้ไม่มีสิทธิและจดทะเบียนรับผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นใหม่ของจำเลยที่ 1 อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของบริษัท ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะโจทก์ไม่ได้รับการจัดสรรซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนที่ถือหุ้นเดิมอยู่ 9,299,990 หุ้น เป็นเงินทั้งสิ้น 92,999,900 บาท ดังนั้นที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นเหตุให้โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นเดิมได้รับความเสียหาย เสียโอกาสได้รับการจัดสรรซื้อหุ้นเพิ่มทุน ซึ่งโจทก์จะมีสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้ 9,299,990 หุ้น ในราคาหุ้นละ10 บาท เป็นเงินค่าเสียหายทั้งสิ้น 92,999,900 บาท แต่โจทก์ขอคิดค่าเสียหายเพียง90,000,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ 90,000,000บาทจึงเป็นการขอเพิ่มข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและขอบังคับนอกเหนือไปจากคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นกรณีที่เพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(1)(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6055/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มข้อหาและขอบังคับใหม่ ถือเป็นการนอกเหนือคำฟ้องเดิม และไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนรับผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนและให้เพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2543 และครั้งที่ 2/2543 โดยมิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายแต่อย่างใด การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะโจทก์เสียโอกาสได้รับการจัดสรรซื้อหุ้นเพิ่มทุนซึ่งโจทก์มีสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งหกชำระค่าเสียหายจำนวน 90,000,000 บาท ดั้งนี้เป็นการขอเพิ่มข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและขอบังคับนอกเหนือไปจากคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นกรณีที่เพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179 ทั้งมิใช่การแก้ไขเล็กน้อย การแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3952/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีสิทธิถูกโต้แย้ง และการคำนวณกรรมสิทธิ์รวมเมื่อที่ดินขาดหายไปจากการรังวัด
โจทก์และจำเลยเคยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินพิพาท แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากที่ดินส่วนของโจทก์ขาดหายไปประมาณ30 ตารางวา โจทก์ต้องการที่ดินส่วนของโจทก์ 100 ตารางวา แต่จำเลยไม่ยินยอม ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์และจำเลยทำสัญญาตกลงซื้อขายที่ดินโดยให้โจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมเป็นจำนวนเนื้อที่แน่นอนคือ 100 ตารางวา เมื่อโจทก์และจำเลยขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์โดยแยกที่ดินส่วนของตนเองออกมา ปรากฏว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงขาดหายไป 30ตารางวา จำเลยจะเอาเนื้อที่ที่อ้างว่าขาดหายไปมาหักจากเนื้อที่ดินพิพาททั้งแปลงแล้วแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์ตามส่วนในโฉนดหาได้ไม่ โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจำนวน 100 ตารางวา ตามที่ซื้อขายจริง
โจทก์และจำเลยทำสัญญาตกลงซื้อขายที่ดินโดยให้โจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมเป็นจำนวนเนื้อที่แน่นอนคือ 100 ตารางวา เมื่อโจทก์และจำเลยขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์โดยแยกที่ดินส่วนของตนเองออกมา ปรากฏว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงขาดหายไป 30ตารางวา จำเลยจะเอาเนื้อที่ที่อ้างว่าขาดหายไปมาหักจากเนื้อที่ดินพิพาททั้งแปลงแล้วแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์ตามส่วนในโฉนดหาได้ไม่ โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจำนวน 100 ตารางวา ตามที่ซื้อขายจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3952/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรวมในที่ดินขาดหายไปจากการรังวัด การแบ่งแยกที่ดินตามสัญญาซื้อขาย และอำนาจฟ้อง
โจทก์และจำเลยเคยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อรังวัดแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากที่ดินส่วนของโจทก์ขาดหายไปประมาณ 30ตารางวา โจทก์ต้องการที่ดินส่วนของโจทก์ 100 ตารางวา แต่จำเลยไม่ยินยอม ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินโดยให้โจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมเป็นจำนวนเนื้อที่แน่นอนคือ 100 ตารางวา เมื่อโจทก์จำเลยขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์โดยแยกที่ดินส่วนของตนเองออกมา ปรากฏว่าที่ดินทั้งแปลงขาดหายไป 30 ตารางวา จำเลยจะเอาเนื้อที่ที่อ้างว่าขาดหายไปมาหักจากเนื้อที่ดินทั้งแปลงแล้วแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์ตามส่วนในโฉนดหาได้ไม่ โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจำนวน 100 ตารางวา ตามที่ซื้อขายจริง
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินโดยให้โจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมเป็นจำนวนเนื้อที่แน่นอนคือ 100 ตารางวา เมื่อโจทก์จำเลยขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์โดยแยกที่ดินส่วนของตนเองออกมา ปรากฏว่าที่ดินทั้งแปลงขาดหายไป 30 ตารางวา จำเลยจะเอาเนื้อที่ที่อ้างว่าขาดหายไปมาหักจากเนื้อที่ดินทั้งแปลงแล้วแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์ตามส่วนในโฉนดหาได้ไม่ โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจำนวน 100 ตารางวา ตามที่ซื้อขายจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขีดฆ่าอากรแสตมป์หลังพิจารณาคดี, ผลของการจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา, และการแยกแยะนิติกรรมสัญญา
โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขออนุญาตทำการขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้หรือขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ขีดฆ่าอากรแสตมป์ก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งหรือก่อนที่ศาลชั้นต้นจะตัดสินชี้ขาดคดี การที่โจทก์เพิ่งมายื่นคำร้องหลังจากที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้ว โดยศาลอุทธรณ์ปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือสัญญากู้ดังกล่าว ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้ทำการแก้ไข จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้
การที่จำเลยทำสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา คงมีผลเพียงว่า ภริยาจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดสัญญาจำนองยังไม่ถูกศาลเพิกถอน ย่อมยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
สัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง เป็นนิติกรรมคนละประเภทที่สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน เมื่อสัญญากู้เงินไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ย่อมไม่อาจนำเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองมาบังคับการกู้เงินรายนี้ได้
การที่จำเลยทำสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา คงมีผลเพียงว่า ภริยาจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดสัญญาจำนองยังไม่ถูกศาลเพิกถอน ย่อมยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
สัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง เป็นนิติกรรมคนละประเภทที่สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน เมื่อสัญญากู้เงินไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ย่อมไม่อาจนำเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองมาบังคับการกู้เงินรายนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้เงินไม่สมบูรณ์-ผลบังคับใช้-จำนอง-อัตราดอกเบี้ย-ความรับผิดของผู้กู้
การขอขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้เงิน หรือขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ที่ขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าว โจทก์ชอบที่จะกระทำเสียก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง หรือก่อนที่ศาลชั้นต้นจะตัดสินชี้ขาดคดี การที่โจทก์เพิ่งมายื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลฎีกาหลังจากที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปแล้ว โดยศาลอุทธรณ์ปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าว ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้ทำการแก้ไข ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไม่อนุญาต
จำเลยกู้เงินโจทก์โดยทำสัญญาจำนองเป็นประกันไว้ และจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้ที่ดินที่จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับภริยาและจำเลยทำสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาก็ตาม คงมีผลเพียงว่าภริยาจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดสัญญาจำนองยังไม่ถูกศาลเพิกถอน ย่อมยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้อ้างเอกสารหนังสือสัญญากู้เงินเป็นพยาน ย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องดำเนินการให้เอกสารดังกล่าวสมบูรณ์ถูกต้องสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลรัษฎากร มิใช่หน้าที่ของจำเลย
สัญญากู้เงินและสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมคนละประเภทที่สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน และปรากฏว่าสัญญากู้เงินที่ทำขึ้นไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ย่อมไม่อาจนำเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองมาบังคับการกู้เงินได้
จำเลยกู้เงินโจทก์โดยทำสัญญาจำนองเป็นประกันไว้ และจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้ที่ดินที่จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับภริยาและจำเลยทำสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาก็ตาม คงมีผลเพียงว่าภริยาจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดสัญญาจำนองยังไม่ถูกศาลเพิกถอน ย่อมยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้อ้างเอกสารหนังสือสัญญากู้เงินเป็นพยาน ย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องดำเนินการให้เอกสารดังกล่าวสมบูรณ์ถูกต้องสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลรัษฎากร มิใช่หน้าที่ของจำเลย
สัญญากู้เงินและสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมคนละประเภทที่สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน และปรากฏว่าสัญญากู้เงินที่ทำขึ้นไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ย่อมไม่อาจนำเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองมาบังคับการกู้เงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3690/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนโอนที่ดินก่อนการบังคับคดี: เพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อสิทธิเกิดก่อน
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องและคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 โจทก์จะบังคับคดียึดที่ดินดังกล่าวอันเป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวได้แม้ที่ดินดังกล่าวจะได้ขายทอดตลาดไปแล้ว เพราะเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิจะบังคับยึดที่ดินอันเป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องดังกล่าว การซื้อขายอันเป็นผลมาจากการยึดที่ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยเช่นกันแม้ผู้ร้องจะมิได้คัดค้านว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบอย่างไร แต่ในคำร้องของผู้ร้องพอแปลความได้ว่าการยึดที่ดินและการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวไม่ชอบเพราะผู้ร้องมีสิทธิดีกว่าและขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ผู้ร้องจึงย่อมมีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3433/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถเช่าซื้อไม่ต้องรับผิดค่าเสียหายจาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัย หากไม่ได้ใช้รถเอง
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อ แม้จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถก็ตาม แต่ไม่ได้เป็นผู้ใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ คงมีรถไว้เพื่อให้เช่าซื้อเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่จำต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มาตรา 7 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายจากผู้ประสบภัย โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ได้ ตามมาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3433/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถเช่าซื้อไม่ต้องรับผิดประกันภัยผู้ประสบภัย หากไม่ได้ใช้รถเอง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 4 ให้คำจำกัดความคำว่า "เจ้าของรถ" หมายถึง ผู้ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถหรือผู้มีสิทธิครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ และหมายความรวมถึงผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวด้วย ดังนั้น ผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อต่างก็เป็น "เจ้าของรถ" ตามคำจำกัดความดังกล่าว เพราะผู้ให้เช่าซื้อคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้เช่าซื้อคือผู้ครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ แต่ตามมาตรา 7 นั้น ระบุว่า ผู้ที่จะต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยนั้น ต้องเป็นเจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้เท่านั้น หากเป็นเจ้าของรถแต่ไม่ได้ใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรานี้ เพราะมาตรานี้มุ่งหมายถึงเฉพาะเจ้าของรถที่มีการใช้รถเท่านั้น ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อแม้จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถก็ตาม แต่ไม่ได้เป็นผู้ใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้คงมีรถไว้เพื่อให้เช่าซื้อเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่จำต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยตามมาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการงดสืบพยานและพิพากษาไม่เต็มตามฟ้องเมื่อพยานเอกสารไม่เพียงพอ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ที่กำหนดให้ศาลมีอำนาจงดสืบพยานและให้ส่งพยานเอกสารแทนนั้นเป็นเพียงเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาคดีเท่านั้น เพราะแม้ว่าศาลจะสั่งให้สืบพยานต่อไปฝ่ายเดียวศาลก็อาจพิพากษาให้ไม่เต็มจำนวนเงินตามคำขอก็ได้ หากพยานเอกสารไม่เพียงพอซึ่งถือได้ว่าคดีไม่มีมูลในส่วนที่ไม่มีพยานหลักฐานมาแสดง ดังนั้น เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่มีพยานเอกสารมาแสดงประกอบให้ศาลเห็นว่าคดีมีมูลจริง ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่พิพากษาให้จำนวนเงินในส่วนที่ไม่มีพยานเอกสารมาแสดง