คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มงคล ทับเที่ยง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 384 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการงดสืบพยานและพิพากษาไม่เต็มตามฟ้องเมื่อพยานเอกสารไม่เพียงพอ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ที่กำหนดให้ศาลมีอำนาจงดสืบพยานและให้ส่งพยานเอกสารแทนนั้นเป็นเพียงเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาคดีเท่านั้น เพราะแม้ว่าศาลจะสั่งให้สืบพยานต่อไปฝ่ายเดียวศาลก็อาจพิพากษาให้ไม่เต็มจำนวนเงินตามคำขอก็ได้ หากพยานเอกสารไม่เพียงพอซึ่งถือได้ว่าคดีไม่มีมูลในส่วนที่ไม่มีพยานหลักฐานมาแสดง ดังนั้น เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่มีพยานเอกสารมาแสดงประกอบให้ศาลเห็นว่าคดีมีมูลจริง ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่พิพากษาให้จำนวนเงินในส่วนที่ไม่มีพยานเอกสารมาแสดง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม - แก้ไขโทษเล็กน้อย - ปัญหาข้อเท็จจริง - การกระทำชำเราเด็ก
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน15 ปี มีกำหนดกระทงละ 2 ปี จำนวน 2 กระทง ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจารมีกำหนด 2 ปี 6 เดือน และฐานพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีไปเพื่อการอนาจารมีกำหนด 2 เดือน รวม 4 กระทง จำคุก 6 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ฐานพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารกับกระทำอนาจารและกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดกฎหมายหลายบทให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก ฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 โดยไม่ลงโทษฐานพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีไปเพื่อการอนาจารแก่จำเลยอีก เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า บิดาของผู้เสียหายโทรศัพท์เข้าเครื่องโทรศัพท์ติดตามตัวจำเลยฝากข้อความให้ผู้เสียหายรีบติดต่อกลับไปหาบิดาด่วน จำเลยได้แจ้งข้อความให้ผู้เสียหายทราบแล้ว และผู้เสียหายได้โทรศัพท์ติดต่อไปยังบิดาของผู้เสียหาย ซึ่งจำเลยสามารถกีดกันไม่ให้ผู้เสียหายติดต่อกลับไปยังบิดาของผู้เสียหายก็ย่อมทำได้ และขณะที่ผู้เสียหายรอบิดาของผู้เสียหายมารับก็รออยู่กับจำเลย ย่อมแสดงให้เห็นว่าขณะนั้นจำเลยมีความประสงค์จะส่งตัวผู้เสียหายให้แก่บิดาของผู้เสียหายโดยไม่ประสงค์ให้ผู้เสียหายหลบหนีไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร จึงขอให้ศาลฎีกาได้โปรดพิจารณาและวินิจฉัยถึงคำร้องประกอบคำรับสารภาพของจำเลยด้วยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และที่ขอให้รอการลงโทษแก่จำเลยนั้น ก็เป็นฎีกาที่โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลควบคุมการพิจารณาคดีเพื่อความเป็นธรรมและความรวดเร็ว การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเป็นเหตุให้การสืบพยานไม่ชอบ
อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นอำนาจของศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 271 ศาลย่อมมีสิทธิควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำพยานเข้าสืบเพียง 1 ปาก จนจบคำซักถามแล้วให้เลื่อนคดีไปซักค้านนัดต่อไปพร้อมกับสืบพยานคู่อีกปากหนึ่งก็เพื่อความเป็นธรรมที่จะไม่ให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีและเพื่อความรวดเร็ว เนื่องจากมีการซักถามในนัดนี้ไว้ก่อนจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปซักถามในนัดหน้า คำสั่งของศาลชั้นต้นในการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ไม่ยอมนำพยานเข้าสืบตามคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการควบคุมกระบวนพิจารณาเพื่อความเป็นธรรมและความรวดเร็วในการดำเนินคดี
การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นอำนาจของศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 271 ศาลย่อมมีสิทธิควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำพยานเข้าสืบเพียง 1 ปาก จนจบคำซักถามแล้วให้เลื่อนคดีไปซักค้านนัดต่อไปพร้อมกับสืบพยานคู่อีกปากหนึ่งเพื่อความเป็นธรรมที่จะไม่ให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีและเพื่อความรวดเร็ว เนื่องจากการซักถามในนัดนี้ไว้ก่อนจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปซักถามในนัดหน้า คำสั่งของศาลชั้นต้นในการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ผลกระทบต่อคดีที่ถึงที่สุดแล้ว และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นอันยุติหรือถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปแล้ว ตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต่างใช้สิทธิฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์แต่ละคนได้รับ แม้ฟ้องรวมกันมาแต่หนี้ของโจทก์แต่ละคนสามารถแยกออกจากกันได้ หนี้ของโจทก์แต่ละคนจึงไม่ใช่หนี้ร่วมที่ไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์เพียงผู้เดียวคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่มีผลไปถึงคดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเสียเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: การบังคับใช้คำพิพากษาเฉพาะโจทก์ที่อุทธรณ์เมื่อหนี้ของแต่ละโจทก์แยกจากกันได้
โจทก์ทั้งสามต่างฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง กับจำเลยที่ 2 นายจ้าง ให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม และยกฟ้องจำเลยที่ 2 โจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียวอุทธรณ์ ขอให้จำเลยที่ 2 นายจ้างร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่อุทธรณ์ คดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสามต่างใช้สิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกัน รับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์แต่ละคนจะได้รับ แม้จะฟ้องรวมกันมาแต่หนี้ของโจทก์แต่ละคนสามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์เพียงผู้เดียว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่มีผลไปถึงคดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษา ให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ทั้งที่คดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ยุติไปแล้วจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ศาลฎีกายกฎีกาของจำเลยที่ 2 ซึ่งได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา จึงไม่มีค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกาที่จะต้องคืนให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาอุทธรณ์: การบังคับใช้หนี้ร่วมเฉพาะผู้ที่อุทธรณ์ และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต่างฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้าง กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 โจทก์ที่ 1 เพียงผู้เดียวอุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย โดยที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์ ดังนั้นคดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3ย่อมยุติไปแล้ว เมื่อโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต่างใช้สิทธิที่โจทก์แต่ละคนมีอยู่ แม้จะฟ้องรวมกันมา แต่หนี้ของโจทก์แต่ละคนสามารถแยกออกจากกันได้ไม่ใช่หนี้ร่วมที่ไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์เพียงผู้เดียว คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่มีผลไปถึงคดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1132/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนคดีลักทรัพย์สาธารณประโยชน์: ผู้เสียหายไม่ใช่สาระสำคัญ
สายไฟฟ้าที่ถูกลักเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ กรมทางหลวงหรือกรุงเทพมหานครจะเป็นผู้เสียหายหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญของการสอบสวน แม้มิได้สอบสวนให้แจ้งชัดว่าผู้ใดเป็นผู้เสียหายการสอบสวนก็ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีมีข้อพิพาทเรื่องอำนาจศาลแรงงาน ต้องส่งให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อน
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9วรรคสอง บัญญัติถึงกรณีมีปัญหาว่าคดีใดอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาในศาลแรงงานหรือศาลอื่น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย โดยให้คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุด เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกโจทก์ฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานเป็นประเด็นมาแต่เริ่มแรก ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาคดีต่อไปแล้ววินิจฉัยเองว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นโดยไม่ส่งปัญหาไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเสียก่อนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลังผิดสัญญาซื้อขาย: จำเลยมีสิทธิครอบครองต่อเนื่อง แม้โจทก์เคยครอบครองก่อน
แม้โจทก์จะเคยครอบครองที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 3404 อันเป็นที่ดินพิพาทมาก่อนทำสัญญาซื้อขาย และเมื่อทำสัญญาซื้อขายแล้วจำเลยก็ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ แต่เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่ชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ตามสัญญา จำเลยก็กลับเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา แสดงว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาจะสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท การครอบครองของโจทก์ดังกล่าวเป็นการครอบครองแทนจำเลย จำเลยจึงยังคงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
of 39