คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มงคล ทับเที่ยง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 384 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียก/คำฟ้อง การปิดเอกสารต้องแน่นหนา การขาดนัดยื่นคำให้การ/พิจารณา
การปิดคำคู่ความหรือเอกสารตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง หมายถึงการนำคำคู่ความหรือ เอกสารไปติดไว้ที่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความ ซึ่งต้องกระทำให้มีลักษณะแน่นหนา ไม่หลุดออกไป โดยง่าย การที่เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งเพียงแต่นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง พร้อมหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปเสียบไว้ที่เหล็กที่ใช้เป็นมือจับสำหรับปิดเปิดประตูเหล็กยืดที่บ้านจำเลยเท่านั้น ซึ่งอาจหลุดและปลิวไปได้โดยง่าย จึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการปิดคำคู่ความหรือเอกสารโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและหมายกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบ จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและ ขาดนัดพิจารณา สมควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้จำเลยไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
การปิดคำคู่ความหรือเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคหนึ่ง หมายถึงการนำคู่ความหรือเอกสารไปติดไว้ที่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความ ซึ่งต้องกระทำให้มีลักษณะแน่นหนา ไม่หลุดออกไปโดยง่าย ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งเพียงแต่นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปเสียบไว้ที่เหล็กที่ใช้เป็นมือจับสำหรับปิดเปิดประตูเหล็กยืดที่บ้านจำเลยซึ่งอาจหลุดและปลิวไปได้โดยง่าย จึงไม่อาจถือว่าเป็นการปิดคำคู่ความหรือเอกสารโดยชอบตามบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบ จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา สมควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยการเสียบไว้ที่มือจับประตูเหล็กยืดไม่ถือเป็นการปิดเอกสารโดยชอบ จำเลยไม่จงใจขาดนัด
การปิดคำคู่ความหรือเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคหนึ่ง ต้องกระทำให้มีลักษณะแน่นหนา ไม่หลุดออกไปโดยง่าย การที่เจ้าพนักงานศาลเพียงแต่นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง กับหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปเสียบไว้ที่เหล็กที่ใช้เป็นมือจับสำหรับปิดเปิดประตูเหล็กยืดที่บ้านจำเลย ซึ่งอาจหลุดและปลิวไปได้โดยง่าย ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการปิดคำคู่ความหรือเอกสารโดยชอบ ดังนั้นเมื่อยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและหมายกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบ จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ชอบที่จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเสร็จสิ้นเมื่อส่งมอบที่ดินให้โจทก์ การรบกวนภายหลังเป็นสิทธิใหม่ โจทก์ฟ้องร้องได้
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่ผู้แทนโจทก์เป็นผู้รับมอบไว้แล้ว การบังคับคดีจึงเป็นอันเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วตามกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินพิพาทได้ทันทีนับแต่รับมอบที่ดินพิพาท การที่โจทก์ไม่เข้าครอบครองที่ดินพิพาทจนกระทั่งจำเลยเข้ามารบกวนการครอบครองอีก ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่รบกวนสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นใหม่ในภายหลังที่การบังคับคดีในคดีนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ชอบที่จะดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อ สัญญาทางศาสนสมบัติ และผลของการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์ให้ ส. เป็นผู้ลงชื่อทำสัญญาก่อสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.2 มี ศ. ซึ่งเป็นไวยาวัจกรของจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นคู่สัญญา โจทก์เคยรู้จักกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 มาก่อน เคยเจรจาตกลงกับจำเลยที่ 2 เรื่องโจทก์ปรับปรุงที่ดินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เขียนข้อความว่า "อาตมารับทราบแล้ว" และลงชื่อไว้ท้ายสัญญาเอกสารหมาย จ.2 เป็นการยืนยันได้ว่า จำเลยที่ 2 ให้สัตยาบันหนังสือดังกล่าวให้มีผลสมบูรณ์ผูกพันจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญา อีกทั้งหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.1 ระบุให้ ศ. มีอำนาจดูแลรักษาและจัดการศาส์นสมบัติของวัด การที่ ศ. ไปลงชื่อตามสัญญาเอกสารหมาย จ.2 โดยมีจำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบไว้ท้ายสัญญาเพื่อให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการจัดการศาสนสมบัติของวัดแล้ว กรณีไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการเฉพาะเรื่องอีก จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อของ ส.
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ข้อ 2 ระบุว่า การกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะกระทำได้ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาเช่าเกิน 3 ปี จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา แม้สัญญาก่อสร้างตึกแถวเอกสารหมาย จ. 2 จะไม่ใช่สัญญาเช่าโดยตรง แต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคารและอาคารเหล่านั้นก็ยังไม่มี แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็มีผลให้เห็นได้ในอนาคตว่า หากโจทก์ปลูกสร้างอาคารแล้วเสร็จตามสัญญาย่อมจะมีผลให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามสัญญา คือให้โจทก์มีสิทธิหาผู้เช่ามาจดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 30 ปี กับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเป็นจะต้องขอความเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน เมื่อสัญญาก่อสร้างตึกแถวดังกล่าวยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตามกฎกระทรวงจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ยังไม่สามารถนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่การที่จำเลยที่ 1 รับเงินค่าหน้าดินจากโจทก์และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมเป็นเงินเจ็ดแสนกว่าบาท แล้วจำเลยที่ 1 ไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำการก่อสร้างอาคารต่อไป ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจัดการศาสนสมบัติที่ยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
วัดจำเลยที่ 1 ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ศ. มีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด การที่ ศ. ลงชื่อในสัญญาก่อสร้างตึกแถว โดยมีจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 ลงชื่อรับทราบไว้ท้ายสัญญาเพื่อให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างตึกแถวนั้น จึงเป็นการจัดการศาสนสมบัติของวัดแล้ว กรณีไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการเฉพาะเรื่องอีก
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2ฯ ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯข้อ 2 ระบุว่า การกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะทำได้ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนา หรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดเช่าเกิน 3 ปีจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา ดังนี้ แม้สัญญาก่อสร้างตึกแถวจะไม่ใช่สัญญาเช่าโดยตรง แต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคาร แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 มีผลเห็นได้ในอนาคตว่าหากโจทก์ปลูกสร้างอาคารแล้วเสร็จ จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยยอมให้โจทก์มีสิทธิหาผู้เช่ามาจดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 30 ปีกับจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องขอความเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน เมื่อสัญญาก่อสร้างตึกแถวยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตามกฎกระทรวงดังกล่าวสัญญาก่อสร้างตึกแถวจึงยังไม่สมบูรณ์ โจทก์ไม่สามารถนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่การที่จำเลยที่ 1 รับเงินค่าหน้าดินจากโจทก์และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิม แล้วจำเลยที่ 1 ไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำการก่อสร้างอาคารต่อไป ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่วินิจฉัย ทำให้จำกัดสิทธิฎีกา ย้อนสำนวนให้พิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยตามฟ้องแย้งบางส่วนและศาลอุทธรณ์ยังคงวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลย โดยให้โจทก์ชำระเท่ากับจำนวนค่าสินค้าที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ซึ่งเท่ากับว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างชนะคดีตามฟ้องและฟ้องแย้งบางส่วน แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าให้ยกฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งจำเลยในส่วนค่าเสียหาย จึงไม่ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงที่ได้วินิจฉัยมา ถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษา ทั้งผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความได้ กรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 243(1)
คดีของจำเลยในส่วนฟ้องแย้งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินจำนวน230,000 บาท แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องแย้งในส่วนค่าเสียหายดังกล่าว จึงเป็นการกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาขอให้ชนะคดีตามฟ้องแย้ง ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาจึงเป็นเงินจำนวน 230,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีถึงวันฟ้อง แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์652,999.16 บาท ซึ่งเกินกว่าที่จะต้องเสีย จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาขัดแย้งข้อเท็จจริงที่วินิจฉัยไว้เดิม และจำกัดสิทธิฎีกา ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยตามฟ้องแย้งบางส่วน และศาลอุทธรณ์ยังคงวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลย โดยให้โจทก์ชำระเท่ากับจำนวนค่าสินค้าที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ซึ่งเท่ากับว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างชนะคดีตามฟ้องและฟ้องแย้งบางส่วน แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าให้ยกฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งจำเลยในส่วนค่าเสียหาย จึงไม่ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงที่ได้วินิจฉัยมา ถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษา ทั้งผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความได้ กรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 ประกอบมาตรา 243 (1)
คดีของจำเลยในส่วนฟ้องแย้งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินจำนวน 230,000 บาท แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องแย้งในส่วนค่าเสียหายดังกล่าว จึงเป็นการกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาขอให้ชนะคดีตามฟ้องแย้ง ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาจึงเป็นเงินจำนวน 230,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีถึงวันฟ้อง แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์ 652,999.16 บาท ซึ่งเกินกว่าที่จะต้องเสีย จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายและการพยายามฆ่า: ศาลยกฟ้องข้อหาพยายามฆ่า คงความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยใช้อาวุธปืนยิงทำร้ายซึ่งกันและกันและกระสุนปืนที่จำเลยที่ 2ยิงไม่ถูกจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้รับอันตรายแก่กายอย่างไร และทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนตีศีรษะของจำเลยที่ 1 จนได้รับอันตรายแก่กายโดยไม่มีเจตนาฆ่าแต่การกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นรวมการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายด้วย และเป็นความผิดได้ในตัวเองดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. พยายามฆ่า: ศาลฎีกาชี้ขาดความผิดฐานทำร้ายร่างกาย แม้ฟ้องฐานพยายามฆ่า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานพยายามฆ่า โดยใช้อาวุธปืนยิงทำร้ายซึ่งกันและกันและกระสุนปืนที่จำเลยที่ 2 ยิงไม่ถูกจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้รับอันตรายแก่กายอย่างไร และทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนตีศีรษะของจำเลยที่ 1 จนได้รับอันตรายแก่กาย แต่การกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นรวมการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายด้วย และเป็นความผิดได้ในตัวเอง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
of 39