พบผลลัพธ์ทั้งหมด 384 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6502/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่าที่ผิดสัญญาเช่า ศาลพิพากษายืนตามคำพิพากษาชั้นต้น ยกเว้นค่าทนายความ
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 141 (3) กำหนดแต่เพียงว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลต้องมีรายการแห่งคดีซึ่งหมายถึงต้องมีชื่อเรื่อง คำฟ้อง และคำให้การเพื่อกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่มิได้บังคับว่าคำพิพากษาต้องมีทางนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งสองจึงจะเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย คดีนี้คงมีแต่เพียงทางนำสืบของโจทก์ จำเลยทั้งสองก็ให้การรับในประเด็นสำคัญตามคำฟ้องของโจทก์และมิได้นำสืบต่อสู้แต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นนำข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์มาเขียนรวมไว้ในตอนวินิจฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ถือเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความ 4,000 บาท แทนโจทก์นั้นไม่ชอบ เพราะตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 3,000 บาท จึงเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด
คดีฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ถือเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความ 4,000 บาท แทนโจทก์นั้นไม่ชอบ เพราะตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 3,000 บาท จึงเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6019/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย: สมาชิกหลายสถาบันไม่ขัดกฎหมาย, อำนาจฟ้องจำเลย
ตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ข้อ 8 (3) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ฉบับที่ 10 พ.ศ.2528 ข้อ 2 และคำจำกัดความของคำว่า "สมาชิก" ตามระเบียบนี้มิได้ระบุว่าห้ามมิให้ชาวไร่อ้อยหรือหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อยที่เป็นสมาชิกของสมาคมสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อยอื่นหรือมิได้มีบทบบัญญัติของกฎหมายตอนใดระบุว่าเมื่อเป็นสมาชิกของสมาคมใดแล้วจะสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมอื่นมิได้ ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ 5 พ.ศ.2529 ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าบำรุงและวิธีการชำระค่าบำรุงสถาบันชาวไร่อ้อย ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2529 ข้อ 7 วรรคสาม แสดงให้เห็นว่าชาวไร่อ้อยสามารถที่จะสมัครเป็นสมาชิกสถาบันชาวไร่อ้อยได้มากกว่าหนึ่งสถาบันเพียงแต่หากเป็นสมาชิกหลายสถาบันต้องแจ้งให้โรงงานที่ตนส่งอ้อยเข้าหีบทราบว่าจะให้โรงงานส่งเงินให้สถาบันใดเพียงสถาบันเดียวเท่านั้น ดังนั้นแม้สมาชิกของโจทก์จำนวน 620 คน จะยังเป็นสมาชิกของสมาคมชาวไร่อ้อยสิงห์บุรีก็ตาม ก็ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายที่จะสมัครเป็นสมาชิกของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์ยื่นคำขอมีสมาชิกจำนวนรวม 784 คน จึงเป็นการยื่นคำขอที่มีสมาชิกชาวไร่อ้อยไม่น้อยกว่า 600 คน ตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อยฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ข้อ 8 (3) ที่แก้ไขแล้ว จำเลยต้องจดทะเบียนให้โจทก์เป็นสถาบันชาวไร่อ้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5804/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้หวงห้าม: การจำแนกประเภทไม้และการพิพากษาคดีทำไม้ในเขตป่าสงวน
พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2530 มิได้กำหนดให้ไม้มะกอกทุกชนิดในป่าเป็นไม้หวงห้าม คงมีลำดับที่ 110 ที่กำหนดให้มะเกิ้ม มะเหลี่ยม มะกอกเหลี่ยม มะจิ้น มะกอกเลือด มะกอกเกลื้อน มะเลื่อมและมะกอกเลื่อม ซึ่งเป็นพรรณไม้สกุล Canarium เท่านั้น เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้มะกอกทั่วไปซึ่งมิใช่พรรณไม้ในสกุลดังกล่าว จึงมิใช่ไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิ่งเต้นคดีและการคืนเงินในบริเวณศาล ถือเป็นประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
หลังจากที่ผู้กล่าวหาได้ตกลงว่าจ้างผู้ถูกกล่าวหาเป็นทนายความแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาบอกว่าจะติดต่อวิ่งเต้นคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ให้และได้ติดต่อแล้วจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้เบื้องบน 200,000 บาท ผู้กล่าวหาตกลงและนัดให้ไปรับมอบเงินที่บ้านของผู้กล่าวหา เมื่อผู้ถูกกล่าวหารับเงินดังกล่าวไปแล้ว ผลปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ผู้กล่าวหาจึงทวงเงินคืนหลายครั้งเคยมาติดตามทวงคืนในบริเวณศาล 3 ครั้ง แม้การเรียกเงินค่าวิ่งเต้นคดีจะมิได้เกิดขึ้นในบริเวณศาล แต่ได้มีการติดต่อทวงถามคืนเงินในบริเวณศาลและมีการมอบเงินคืนที่บริเวณโรงรถของศาลกระบวนการเรียกร้องคืนเงินค่าวิ่งเต้นคดีและการคืนเงินถือเป็นส่วนหนึ่งของการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลแล้ว การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจึงเป็นการละเมิดอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกรับเงินเพื่อวิ่งเต้นคดีในศาลและการคืนเงิน ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
แม้การเรียกเงินค่าวิ่งเต้นคดีจะมิได้เกิดขึ้นในบริเวณศาลเพราะมีการติดต่อทางโทรศัพท์และรับเงินกันที่บ้านของผู้กล่าวหา แต่หลังจากนั้นได้มีการติดต่อทวงถามคืนเงินดังกล่าวในบริเวณศาลหลายครั้งและในที่สุดก็มีการมอบเงินคืนให้แก่กันที่บริเวณโรงรถของศาล ถือได้ว่าพฤติการณ์ดังกล่าวมีผลเกี่ยวเนื่องต่อกันมาจากเรื่องการวิ่งเต้นคดีของศาลอุทธรณ์ แม้ระยะเวลาการคืนเงินดังกล่าวให้แก่กันจะมีระยะเวลาห่างจากตอนที่รับเงินมาเป็นเวลาถึง 3 ปีเศษ แต่การดำเนินการวิ่งเต้นคดียังไม่สิ้นสุด จนกระทั่งต้องมีการคืนเงินกัน กระบวนการเรียกร้องคืนเงินค่าวิ่งเต้นคดีและการคืนเงินดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความโดยปริยาย: การมอบหมายทนายความโดยไม่ได้แต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ทำให้กระบวนการพิจารณาไม่ชอบ
เจตนารมณ์ของ ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง นั้น ก็เพื่อให้จำเลยมีทนายความช่วยเหลือในการต่อสู้คดีในความผิดที่มีโทษจำคุก แม้ว่าการทำหน้าที่ของ พ. ในฐานะทนายความของจำเลยจะไม่ปรากฏใบแต่งทนายความตั้งให้ พ. เป็นทนายความของจำเลย แต่ พ. ก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายความของจำเลยตลอดมาจนเสร็จสิ้นการพิจารณาของศาลชั้นต้น โดยจำเลยยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมา และฝ่ายโจทก์ก็มิได้คัดค้านแต่ประการใด ตามพฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้มอบให้ พ. เป็นทนายความของจำเลยในคดีนี้แล้ว ทั้งภายหลังศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการจัดใบแต่งทนายความเสียให้ถูกต้อง แต่จำเลยแถลงว่าไม่ประสงค์จะแต่งทนายความเนื่องจากต้องการให้การรับสารภาพ ยิ่งแสดงให้เห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาจำเลยไม่เสียเปรียบ กรณีไม่เป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5649/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและดุลพินิจศาลอุทธรณ์ในการอนุญาตแถลงการณ์ด้วยปาก
การขอแถลงการณ์ด้วยปาก คู่ความอาจขอมาในคำฟ้องอุทธรณ์โดยไม่จำต้องทำเป็นคำร้องติดมากับฟ้องอุทธรณ์ ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นสมควรอนุญาตให้คู่ความแถลงการณ์ด้วยปากก็ให้พิจารณาคดีโดยเปิดเผยต่อหน้าคู่ความทั้งสองฝ่าย การอนุญาตให้คู่ความแถลงการณ์ด้วยปากหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ คู่ความไม่มีสิทธิยกขึ้นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5561/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติด: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ลงโทษจำเลย และวินิจฉัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเพิ่มโทษ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางและขอให้เพิ่มโทษจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธ แต่มิได้ให้การรับว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ อีกทั้งโจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาก่อน และได้กระทำความผิดในคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ ถือว่าโจทก์มิได้นำสืบแสดงพยานหลักฐานในข้อที่ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5335/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบำเหน็จนายหน้า: สัญญาจองยังไม่สมบูรณ์ ไม่เกิดสิทธิเรียกร้อง
สัญญาจองของผู้จองซื้อที่ดินในโครงการบ้านจัดสรรของจำเลยเป็นเพียงหนังสือแจ้งความประสงค์จะจองที่ดินในโครงการโดยจะทำสัญญาจะซื้อจะขายกันหลังจากทำการถมที่ดินและทำถนนในโครงการเสร็จแล้ว เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายยังไม่ได้ทำกัน ผลจากการชี้ช่องหรือจัดการของโจทก์ที่ทำการเป็นนายหน้าจึงยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าบำเหน็จในการเป็นนายหน้าจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 845
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5335/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบำเหน็จนายหน้าและค่าใช้จ่ายในการทำโครงการ: สิทธิเรียกร้องเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายยังไม่เกิดขึ้น
สัญญาจองเป็นเพียงหนังสือแจ้งความประสงค์จะจองที่ดินเท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับผู้ซื้อยังไม่ได้ทำกัน ผลจากการชี้ช่องหรือจัดการของโจทก์ที่ทำการเป็นนายหน้าจึงยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าบำเหน็จในการเป็นนายหน้าจากจำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 845
โจทก์ฟ้องเรียกค่าทำป้ายโครงการกับค่าพิมพ์สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จำเลยทั้งสองให้การว่าตกลงให้โจทก์ดำเนินการแบ่งที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นแปลงย่อยเพื่อนำออกขาย โจทก์จึงขอปลูกสร้างบ้านขายพร้อมที่ดินโดยทำเป็นโครงการ ถือว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธค่าใช้จ่ายที่โจทก์ฟ้องมา โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าได้เสียค่าทำป้ายและค่าแบบพิมพ์สัญญาไปจริง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าทำป้ายโครงการกับค่าพิมพ์สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จำเลยทั้งสองให้การว่าตกลงให้โจทก์ดำเนินการแบ่งที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นแปลงย่อยเพื่อนำออกขาย โจทก์จึงขอปลูกสร้างบ้านขายพร้อมที่ดินโดยทำเป็นโครงการ ถือว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธค่าใช้จ่ายที่โจทก์ฟ้องมา โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าได้เสียค่าทำป้ายและค่าแบบพิมพ์สัญญาไปจริง