พบผลลัพธ์ทั้งหมด 384 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4998/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมขายฝากเนื่องจากเจ้าของทรัพย์ติดตามคืนทรัพย์สิน และความประมาทเลินเล่อของผู้ซื้อฝาก
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมไถ่ถอนจำนอง จำนองและขายฝากให้ที่ดินกลับคืนมาเป็นของโจทก์เป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จึงไม่มีกำหนดอายุความ
การที่จำเลยที่ 4 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทเป็นจำนวนเงินถึง 2,500,000 บาท โดยรู้เห็นอยู่แล้วว่า หนังสือมอบอำนาจมีเพียงลายมือชื่อของโจทก์ซึ่งไม่มีข้อความว่ามอบอำนาจให้ทำสิ่งใดและรู้เห็นถึงการกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจ โดยโจทก์ไม่ได้ยินยอมด้วย จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 4 เอง ที่หลงเชื่อการหลอกลวงของจำเลยที่ 1 มิใช่เกิดจากการที่โจทก์เชิดจำเลยที่ 1 หรือยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821, 822 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธินำที่ดินของโจทก์ไปจดทะเบียนขายฝากต่อจำเลยที่ 4 นิติกรรมขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 จึงไม่ชอบและไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 ได้
การที่จำเลยที่ 4 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทเป็นจำนวนเงินถึง 2,500,000 บาท โดยรู้เห็นอยู่แล้วว่า หนังสือมอบอำนาจมีเพียงลายมือชื่อของโจทก์ซึ่งไม่มีข้อความว่ามอบอำนาจให้ทำสิ่งใดและรู้เห็นถึงการกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจ โดยโจทก์ไม่ได้ยินยอมด้วย จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 4 เอง ที่หลงเชื่อการหลอกลวงของจำเลยที่ 1 มิใช่เกิดจากการที่โจทก์เชิดจำเลยที่ 1 หรือยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821, 822 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธินำที่ดินของโจทก์ไปจดทะเบียนขายฝากต่อจำเลยที่ 4 นิติกรรมขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 จึงไม่ชอบและไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4942/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลอาคารชุด: การแต่งตั้งผู้จัดการและการมอบอำนาจตามกฎหมายอาคารชุด
โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลอาคารชุดได้แต่งตั้งให้บริษัท ก. เป็นผู้จัดการ บริษัท ก. ได้แต่งตั้งให้ บ. เป็นผู้ดำเนินการแทนในฐานะผู้จัดการเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 35 วรรคสอง บ. ย่อมมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์ด้วยตามมาตรา 36 (3) ทั้งมีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีตามข้อบังคับของโจทก์ที่ระบุให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการของนิติบุคคลอาคารชุด บ. ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางและค่าเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าเสียหายจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และการไต่สวนพยานจำเลยที่ไม่ชอบ
โจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยซ่อมแซมบ้านให้โจทก์เพียงบางส่วน ขอให้ศาลกำหนดค่าเสียหายของโจทก์ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพียงว่า จำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ได้กำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ยื่นคำร้อง ทั้งตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 โจทก์จำเลยตกลงกันไว้ว่าหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 1 และข้อ 2 จำเลยจะชดใช้เงินค่าเสียหายที่แท้จริงให้แก่โจทก์ไม่เกิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น ไม่ได้ตกลงจำนวนค่าเสียหายกันไว้ให้แน่นอนที่จะสั่งให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่สั่งว่าค่าเสียหายของโจทก์มีเพียงใด จึงไม่ทำให้คดีเสร็จไป โจทก์จำเลยจะต้องมาดำเนินกระบวนพิจารณากันในเรื่องค่าเสียหายของโจทก์อีก คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ
การกำหนดค่าเสียหายในประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เสียหายเพียงใดนั้น นอกจากจะพิจารณาจากการเผชิญสืบบ้านแล้ว ยังต้องพิจารณาคำเบิกความของพยานโจทก์จำเลยด้วย การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์จนหมดและไต่สวนพยานจำเลยบางส่วนแล้วสั่งงดการไต่สวนโดยไม่ไต่สวนพยานจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ ทั้งที่ไม่ใช่เป็นความผิดของฝ่ายจำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ กรณีมีเหตุสมควรให้ไต่สวนพยานจำเลยต่อไป ทั้งในกรณีเช่นนี้แม้คู่ความไม่ได้โต้แย้งคำสั่งให้งดการไต่สวนก็เป็นเรื่องพิจารณาโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาสั่งให้ย้อนสำนวนไปศาลชั้นต้นไต่สวนพยานจำเลยต่อไปแล้วมีคำสั่งใหม่ได้
การกำหนดค่าเสียหายในประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เสียหายเพียงใดนั้น นอกจากจะพิจารณาจากการเผชิญสืบบ้านแล้ว ยังต้องพิจารณาคำเบิกความของพยานโจทก์จำเลยด้วย การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์จนหมดและไต่สวนพยานจำเลยบางส่วนแล้วสั่งงดการไต่สวนโดยไม่ไต่สวนพยานจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ ทั้งที่ไม่ใช่เป็นความผิดของฝ่ายจำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ กรณีมีเหตุสมควรให้ไต่สวนพยานจำเลยต่อไป ทั้งในกรณีเช่นนี้แม้คู่ความไม่ได้โต้แย้งคำสั่งให้งดการไต่สวนก็เป็นเรื่องพิจารณาโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาสั่งให้ย้อนสำนวนไปศาลชั้นต้นไต่สวนพยานจำเลยต่อไปแล้วมีคำสั่งใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามอุทธรณ์: การพิจารณาคำสั่งรับฎีกาที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เนื่องจากเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 4 โดยเห็นว่า อุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 (1) และมีคำสั่งยืนตามคำสั่งปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8141/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดหน่วงราคาสินค้าชำรุด การผิดนัดชำระหนี้ และดอกเบี้ยตามกฎหมาย
การที่โจทก์ส่งมอบสินค้าและการที่ทำชำรุดบกพร่อง จำเลยชอบที่จะยึดหน่วงราคาสินค้าและค่าสินจ้างไว้ได้ ดังนี้ การชำระหนี้จึงยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ จะถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ย แต่เมื่อศาลกำหนดให้จำเลยใช้เงินจำนวนนี้ จึงเป็นหนี้เงินที่จำเลยต้องชำระตามคำพิพากษาและต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับ คือ นับจากวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7655/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพัน แม้ไม่มีข้อกำหนดต้องเสนอข้อพิพาทก่อนบอกเลิกสัญญา
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย ระบุว่าในกรณีมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับข้อกำหนดแห่งสัญญานี้หรือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญานี้และคู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้ ให้เสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาชี้ขาด มิได้มีข้อความใดๆ กำหนดว่าก่อนจะมีการบอกเลิกสัญญาต้องนำข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการก่อน และกรณีนี้ก็ได้มีการนำข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อนฟ้องคดีแล้ว ตามสัญญาข้อ 21.4 ระบุว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือของอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดแล้วแต่กรณี ให้ถือเป็นเด็ดขาดและถึงที่สุดผูกพันคู่สัญญา เมื่อได้พิจารณาประกอบกับ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 20 แล้ว เห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเกินขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือคำขอของคู่กรณี คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงชอบด้วยกฎหมาย เป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีตามมาตรา 22 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6540/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์จากการเช่าซื้อ: การไม่ยอมให้ตรวจสอบและนำไปขายต่างประเทศถือเป็นความผิด
จำเลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมไป แม้จำเลยจะมีสิทธิใช้สอยและครอบครองรถจักรยานยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อ แต่รถจักรยานยนต์ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมประสงค์จะตรวจดู จำเลยจำต้องยอมให้ผู้เช่าซื้อตรวจดูทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้เป็นครั้งคราวในเวลาและระยะอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 555 การที่จำเลยไม่สามารถนำรถจักรยานยนต์มาให้โจทก์ร่วมตรวจดูได้ แม้จำเลยได้แสดงเจตนาที่จะชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ร่วม แต่จำเลยกับพวกนำรถไปขายที่ต่างประเทศแล้ว ถือได้ว่าจำเลยเบียดบังเอารถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมไปเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่นโดยสุจริต เป็นความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6002/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องผิดฐานนำเข้ายาเสพติดเกินกว่าที่บรรยายฟ้อง และการใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ให้ลงโทษประหารชีวิต ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 แล้วจำคุกตลอดชีวิต โจทก์และจำเลยต่างไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เพียงการปรับบทลงโทษตามกฎหมายให้ถูกต้อง และตามกฎหมายที่ได้มีการแก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยเกี่ยวกับบทกำหนดโทษเท่านั้น แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยังคงวินิจฉัยว่า จำเลยมีความผิดและลงโทษตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนในส่วนเนื้อหาของความผิดฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นอันถึงที่สุดตามมาตรา 245 วรรคสอง จำเลยย่อมฎีกาไม่ได้
คำฟ้องในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดดังกล่าวเพื่อจำหน่าย การที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาในข้อ 2 ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีนจำนวน 367 เม็ด ที่จำเลยนำเข้าเพื่อจำหน่ายเป็นของกลาง ก็เป็นเพียงขยายความเมทแอมเฟตามีนที่ถูกยึดเท่านั้น ยังไม่ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีน เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย และแม้โจทก์จะอ้างบทมาตราเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวมาในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดดังกล่าวเพื่อจำหน่าย การที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาในข้อ 2 ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีนจำนวน 367 เม็ด ที่จำเลยนำเข้าเพื่อจำหน่ายเป็นของกลาง ก็เป็นเพียงขยายความเมทแอมเฟตามีนที่ถูกยึดเท่านั้น ยังไม่ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีน เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย และแม้โจทก์จะอ้างบทมาตราเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวมาในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งฟ้องของอัยการสูงสุดในคดีอาญาที่อัยการจังหวัดเคยมีคำสั่งไม่ฟ้อง
พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองภูเก็ตได้ทำสำนวนพร้อมความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ. กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ และฐานร่วมกันยักยอกให้อัยการจังหวัดภูเก็ตพิจารณา อัยการจังหวัดภูเก็ตมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยตามความเห็นของพนักงานสอบสวนและสั่งฟ้องในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 267, 268 ด้วย โดยให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาดังกล่าวเพิ่มเติมให้จำเลยทราบก่อนฟ้อง แต่อัยการพิเศษประจำเขต 8 มีความเห็นสั่งไม่ฟ้องจำเลยทุกข้อหา ส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 267, 268 ผู้เสียหายมิได้แจ้งความให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยจึงไม่ต้องดำเนินการในข้อหานี้แก่จำเลย ซึ่งอัยการจังหวัดภูเก็ตได้ดำเนินการตามความเห็นของอัยการพิเศษประจำเขต 8 โดยมีคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยทุกข้อหา และยุติการดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ และใช้เอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 267, 268 เมื่ออัยการจังหวัดภูเก็ตทำสำนวนพร้อมความเห็นเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตพิจารณา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตมีความเห็นแย้งให้ฟ้องจำเลยเฉพาะในความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและความผิดฐานยักยอก ดังนี้ เห็นได้ว่า ในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการนั้น ในชั้นต้นพนักงานสอบสวนยังไม่ได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ และมิได้ดำเนินคดีในข้อหานี้มาแต่แรก เมื่ออัยการจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งให้ยุติการดำเนินการแก่จำเลยในข้อหานี้ ย่อมถือได้ว่าอัยการจังหวัดภูเก็ตยังไม่มีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าว การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตไม่มีความเห็นเกี่ยวกับข้อหานี้ จึงไม่ถือว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นชอบกับคำสั่งไม่ฟ้องจำเลย อันจะทำให้คำสั่งไม่ฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวเป็นที่สุด เมื่อสำนวนการสอบสวนเสนอไปยังอัยการสูงสุดพิจารณาเนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นแย้งให้ฟ้องจำเลยในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 วรรคสอง การที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารราชการและใช้เอกสารดังกล่าวด้วยนั้น เป็นการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 12 ที่ให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีได้ทุกศาล ไม่ใช่เป็นการสั่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 วรรคสอง คำสั่งให้ฟ้องจำเลยของอัยการสูงสุดย่อมชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแจ้งความเท็จและใช้เอกสารเท็จ: อัยการสูงสุดมีอำนาจฟ้องได้แม้เดิมอัยการจังหวัดไม่ฟ้อง
การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการดังกล่าวเป็นความผิดหลายกรรม ซึ่งกระทำลงในท้องที่ต่างๆ กัน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองภูเก็ต ซึ่งเป็นท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 (4) มิใช่ปัญหาที่ต้องพิจารณาในเรื่องเป็นความผิดต่อเนื่องหรือความผิดที่กระทำลงในหลายท้องที่ตามมาตรา 19 (2) (3)
ความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการดังกล่าว ในชั้นต้นพนักงานสอบสวนยังมิได้แจ้งข้อหาให้แก่จำเลยที่ 2 ทราบ และมิได้ดำเนินคดีในข้อหานี้ เมื่ออัยการจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งให้ยุติการดำเนินการแก่จำเลยที่ 2 ในข้อหานี้ ย่อมถือได้ว่าอัยการจังหวัดภูเก็ตยังไม่มีคำสั่งให้ฟ้องหรือไม่ฟ้องจำเลยที่ 2 การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตไม่ได้มีความเห็นเกี่ยวกับข้อหานี้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นชอบกับคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 2 อันจะทำให้คำสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานดังกล่าวเป็นที่สุด เมื่อสำนวนการสอบสวนเสนอไปยังอัยการสูงสุดพิจารณาเนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นแย้งให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานยักยอกและความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 วรรคสอง การที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในแอกสารราชการและใช้เอกสารราชการดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267, 268 ด้วย จึงเป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 12 ที่ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจดำเนินคดีได้ทุกศาล หาได้สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 วรรคสอง ไม่ คำสั่งให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ของอัยการสูงสุดย่อมชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการดังกล่าว ในชั้นต้นพนักงานสอบสวนยังมิได้แจ้งข้อหาให้แก่จำเลยที่ 2 ทราบ และมิได้ดำเนินคดีในข้อหานี้ เมื่ออัยการจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งให้ยุติการดำเนินการแก่จำเลยที่ 2 ในข้อหานี้ ย่อมถือได้ว่าอัยการจังหวัดภูเก็ตยังไม่มีคำสั่งให้ฟ้องหรือไม่ฟ้องจำเลยที่ 2 การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตไม่ได้มีความเห็นเกี่ยวกับข้อหานี้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นชอบกับคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 2 อันจะทำให้คำสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานดังกล่าวเป็นที่สุด เมื่อสำนวนการสอบสวนเสนอไปยังอัยการสูงสุดพิจารณาเนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นแย้งให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานยักยอกและความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 วรรคสอง การที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในแอกสารราชการและใช้เอกสารราชการดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267, 268 ด้วย จึงเป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 12 ที่ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจดำเนินคดีได้ทุกศาล หาได้สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 วรรคสอง ไม่ คำสั่งให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ของอัยการสูงสุดย่อมชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง