พบผลลัพธ์ทั้งหมด 384 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5714/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าโดยบันดาลโทสะ: การยั่วยุต้องร้ายแรงถึงข่มเหงอย่างร้ายแรง
จำเลยไปหาผู้ตายที่ที่ทำงานของผู้ตายและถามผู้ตายว่า มึงเล่นชู้กับเมียกูทำไม การที่ผู้ตายพูดว่ามึงไม่มีน้ำยากูเลยเล่นนั้นเป็นการพูดตอบจำเลยแม้จะพูดในทำนองยั่วยุ แต่ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างรุนแรง ทั้งผู้ตายไม่ได้พูดต่อหน้าผู้อื่นที่จะทำให้จำเลยได้รับความอับอายขายหน้าผู้อื่น ยังไม่ได้ถือว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5714/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าผู้อื่นโดยไม่ใช่บันดาลโทสะ แม้ถูกยั่วยุ แต่การกระทำเกิดจากความเจ็บแค้นใจเดิม
วันเกิดเหตุตอนเช้า จำเลยไปขอคืนดีกับ ภ. ภรรยา แต่ ภ. ไม่ยอม ต่อมาเวลาประมาณ 12 นาฬิกา จำเลยไปหาผู้ตายที่บริษัทที่เกิดเหตุโดยพกพามีดปลายแหลมติดตัวไปด้วย จำเลยถามผู้ตายว่า "มึงเล่นชู้กับเมียกูทำไม" ผู้ตายตอบว่า "มึงไม่มีน้ำยา กูเลยเล่น" ทำให้จำเลยโมโหจึงชักมีดออกมาเกิดต่อสู้กันและจำเลยใช้มีดแทงผู้ตาย แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าผู้ตายได้พูดถ้อยคำดังกล่าวจริง แต่จำเลยเป็นฝ่ายไปหาผู้ตายที่ทำงานของผู้ตาย และจำเลยเป็นฝ่ายถามผู้ตายถึงเรื่องชู้สาวขึ้นก่อน มิใช่ว่าผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุ ที่ผู้ตายพูดว่ามึงไม่มีน้ำยากูเลยเล่น นั้น ก็เป็นการที่ผู้ตายพูดตอบจำเลย แม้จะพูดในทำนองยั่วยุ แต่ไม่ถึงขนาดว่าจะเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างรุนแรง ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้พูดต่อหน้าผู้อื่นที่จะทำให้จำเลยได้รับความอับอายขายหน้าผู้อื่น จึงไม่น่าทำให้จำเลยเกิดโทสะถึงกับต้องฆ่าผู้ตาย ตามรูปการณ์มูลเหตุที่จูงใจให้จำเลยกระทำความผิดน่าจะเกิดจากความเจ็บแค้นใจที่มีอยู่เดิม เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5223/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ: การพิจารณาจากแผนที่ท้ายกฎกระทรวงเพื่อยืนยันความเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
กฎกระทรวงกำหนดให้ป่า ด. ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น การพิจารณาว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่า ด. หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากแผนที่ท้ายกฎกระทรวงด้วย เมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่า ด. ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน การเข้ายึดถือครอบครองย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4803/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลบังคับใช้ประกาศกฎหมาย: กำหนดวันเริ่มต้นหีบอ้อยและโทษปรับย้อนหลัง
ตาม พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17 วรรคท้าย กำหนดว่า การกำหนดตาม (11), (13) คือ การกำหนดวันเริ่มต้นการหีบอ้อยและน้ำตาลทราย การกำหนดชนิด คุณภาพ และปริมาณน้ำตาลทรายที่ให้โรงงานผลิต ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งแสดงว่าประกาศดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับได้ต่อเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และวันที่มีผลบังคับใช้ก็คือวันที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา การที่จะออกประกาศให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังและเป็นโทษแก่ผู้ถูกบังคับนั้นย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น เมื่อมีการลงประกาศดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 21 มกราคม 2537 ต้องถือว่าประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2537 เป็นต้นไป การที่จำเลยทั้งสองออกคำสั่งให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับจากการที่โจทก์หีบอ้อยตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2536 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2536 อันเป็นการกระทำก่อนวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: กำหนดวันจ่ายตามสัญญาและผลของการเพิ่มค่าทดแทนโดยรัฐมนตรีและศาล
ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ กันเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2536 อันเป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน คือ ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง วันดังกล่าวนี้เป็นวันสุดท้ายที่ฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ จึงเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีฯและศาลวินิจฉัยให้เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าว
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงนั้น หากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ก็น่าจะทำสัญญาเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนส่วนนี้ในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ (ที่ดินที่ถูกเวนคืน) และต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่เมื่อรัฐมนตรีฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์และศาลได้วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว กรณีพอถือได้ว่ารัฐมนตรีและศาลได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราที่โจทก์ขอด้วยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย คือวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงนั้น หากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ก็น่าจะทำสัญญาเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนส่วนนี้ในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ (ที่ดินที่ถูกเวนคืน) และต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่เมื่อรัฐมนตรีฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์และศาลได้วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว กรณีพอถือได้ว่ารัฐมนตรีและศาลได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราที่โจทก์ขอด้วยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย คือวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิ้นสุด-เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิไม่ต่อสัญญา-ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง
สัญญาเช่าเดิมระงับเพราะสิ้นกำหนดเวลาเช่า และไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องต่อสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมต่อสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ต่อไปย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าไม่ประสงค์จะต่อสัญญาเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ จึงไม่ใช่คำสั่งทางปกครองที่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเช่า สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ การแจ้งไม่ต่อสัญญาไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง
สัญญาเช่าเดิมระหว่างโจทก์และจำเลยระงับไปเพราะสิ้นกำหนดเวลาเช่าและไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพันว่าจำเลยจะต้องต่อสัญญาเช่าให้โจทก์ การที่จำเลยซึ่งเป็นส่วนราชการไม่ยอมต่อสัญญาเช่าให้แก่โจทก์อีกต่อไปย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าไม่ประสงค์จะต่อสัญญาเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ จึงไม่ใช่คำสั่งทางปกครองที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การแจ้งผลการประเมินราคา และการฟ้องคดีภายในกำหนดเวลา
โจทก์แจ้งย้ายที่อยู่ตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2536 จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำส่งหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบให้ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินไปส่งให้แก่โจทก์ในวันที่ 2 มิถุนายน 2538 จึงเป็นวันที่โจทก์ย้ายออกจากที่อยู่เดิมแล้วจึงเชื่อว่าโจทก์มิได้รับหนังสือดังกล่าว โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องการย้ายที่อยู่ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบ เป็นหน้าที่ของฝ่ายจำเลยที่จะต้องตรวจหาที่อยู่ของโจทก์เอง เมื่อยังถือไม่ได้ว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินตามกฎหมาย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 3 ภายใน 60 วันนับแต่วันได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่
เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 3 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวคือ ภายในวันที่ 22 พฤษภาคม 2542 แต่เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงสามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลวันที่ 24 พฤษภาคม 2542 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8
เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 3 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวคือ ภายในวันที่ 22 พฤษภาคม 2542 แต่เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงสามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลวันที่ 24 พฤษภาคม 2542 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3433/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิรับเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นและดอกเบี้ยตามกฎหมาย
เงินทดแทนที่ดินในส่วนที่รังวัดแบ่งแยกที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแล้วมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นจากที่คำนวณไว้ในเบื้องต้นอีก 10 ตารางวา เป็นเงินที่จำเลยทั้งสามต้องจ่ายให้แก่โจทก์อันเนื่องจากการดำเนินการเวนคืนที่ดินของโจทก์โดยอาศัย พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งมีบทบัญญัติเรื่องดอกเบี้ยเป็นการเฉพาะ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามกฎหมาย แต่ต้องไม่เกินคำขอของโจทก์ ตามสัญญาซื้อขายที่ดินตามฟ้องเป็นกรณีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนกันได้ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญา ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 8 มีนาคม 2539 ดังนั้น หากฝ่ายจำเลยดำเนินการรังวัดจำนวนเนื้อที่ดินของโจทก์ในส่วนนี้ถูกต้องครบถ้วนมาตั้งแต่แรกแล้ว เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนเนื้อที่ 10 ตารางวา ซึ่งคำนวณในเบื้องต้นขาดไปเป็นเงิน 800,000 บาท ให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 8 มีนาคม 2539 ด้วย เมื่อยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวนนี้เป็นเงินที่จำเลยจ่ายล่าช้ากว่ากำหนดเวลาตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ซึ่งตามมาตรา 33 โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาการจ่ายเงิน คือนับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2539 แต่โจทก์ฟ้องดอกเบี้ยส่วนนี้ร้อยละ 13.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง จึงพิพากษาให้ได้ไม่เกินคำขอ
จำเลยทั้งสามฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่เพียงว่าจำเลยทั้งสามไม่ต้องชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าทดแทนที่ดินนับตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ซึ่งเป็นดอกเบี้ยหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นแล้ว ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังจากวันฟ้องไม่อาจนำมาคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา เท่ากับว่าฎีกาของจำเลยทั้งสามเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
จำเลยทั้งสามฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่เพียงว่าจำเลยทั้งสามไม่ต้องชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าทดแทนที่ดินนับตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ซึ่งเป็นดอกเบี้ยหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นแล้ว ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังจากวันฟ้องไม่อาจนำมาคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา เท่ากับว่าฎีกาของจำเลยทั้งสามเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยประเด็นที่มิได้ขึ้นสู่ศาลชั้นต้น หากเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายพอสมควรแก่เหตุ เช่นนี้ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69 นั้น เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ทั้งศาลอุทธรณ์มิได้แก้โทษจำเลยโดยกำหนดโทษใหม่ตามความผิดที่ถูกต้องหรือลงโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 แต่อย่างใด