พบผลลัพธ์ทั้งหมด 200 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์: สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขโอนกรรมสิทธิ์เมื่อชำระเงินครบถ้วน มิใช่การซื้อขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งแต่เพียงว่าสำเนาให้โจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ โดยไม่ได้สั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยพอแปลได้ความว่าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยมีเงื่อนไขว่าหากการชำระเงินตามสัญญายังไม่เสร็จสิ้น เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ระบุในสัญญายังคงเป็นสมบัติของโจทก์ โจทก์มีสิทธินำกลับในสภาพสมบูรณ์ได้ทุกเวลา ดังนี้สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 459 เมื่อจำเลยผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเครื่องจักรผลิตน้ำร้อนพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเครื่องจักรผลิตน้ำร้อนพร้อมอุปกรณ์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา จึงเป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความ กรณีไม่ใช่เรื่องโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยมีเงื่อนไขว่าหากการชำระเงินตามสัญญายังไม่เสร็จสิ้น เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ระบุในสัญญายังคงเป็นสมบัติของโจทก์ โจทก์มีสิทธินำกลับในสภาพสมบูรณ์ได้ทุกเวลา ดังนี้สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 459 เมื่อจำเลยผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเครื่องจักรผลิตน้ำร้อนพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเครื่องจักรผลิตน้ำร้อนพร้อมอุปกรณ์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา จึงเป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความ กรณีไม่ใช่เรื่องโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาถูกจำกัดเนื่องจากทุนทรัพย์พิพาทแต่ละรายไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นการโต้เถียงดุลพินิจ
โจทก์ทั้งสามแต่ละคนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละแปลงอยู่ติดต่อกัน จำเลยทั้งสามได้ทำการรังวัดที่ดินพิพาทเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธิครอบครอง คดีจึงมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันเป็นการพิพาทด้วยสิทธิในที่ดิน จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์ทั้งสามจะมีคำขอห้ามจำเลยทั้งสามยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท และให้ยกเลิกหรือระงับหรือเพิกถอนการแจกหรือออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงมาด้วยก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากประเด็นหลักเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ทั้งสามย่อมได้ไปซึ่งสิทธิในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ทั้งสามกล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละแปลง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 จึงต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่คนละคนแยกกัน ที่ดินพิพาทสามแปลงรวมเนื้อที่ 32 ไร่ 3 งาน 82 ตารางวา ราคา 229,250 บาท ของโจทก์ที่ 1 เนื้อที่ 9 ไร่เศษ ของโจทก์ที่ 2 เนื้อที่ 10 ไร่เศษ และของโจทก์ที่ 3 เนื้อที่ 12 ไร่ เศษ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท และการโต้เถียงดุลพินิจพยานหลักฐาน
คดีมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันเป็นการพิพาทด้วยสิทธิในที่ดินตามฟ้อง จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์ทั้งสามจะมีคำขอห้ามจำเลยทั้งสามยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท และให้ยกเลิกหรือระงับหรือเพิกถอนการแจกหรืออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงมาด้วย ก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากประเด็นหลักเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพราะหากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ทั้งสามย่อมได้ไปซึ่งสิทธิในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ทั้งสามกล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละแปลง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 จึงต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ที่ดินพิพาทสามแปลงรวมเนื้อที่ 32 ไร่ 3 งาน 82 ตารางวา ราคา 229,250 บาท ที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1 เนื้อที่ 9 ไร่เศษ ของโจทก์ที่ 2 เนื้อที่ 10 ไร่เศษ และของโจทก์ที่ 3 เนื้อใน 12 ไร่เศษ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสามฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสามมีน้ำหนักในการรับฟังมากว่า ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สิ่งมีค่าภาระติดพัน ไม่มีสิทธิถอนคืนการให้แม้สัญญาจะระบุเป็นการให้โดยเสน่หา
โจทก์กับจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลย เป็นการตอบแทนที่จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทที่โจทก์เป็นหนี้ธนาคารอยู่ อันเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. มาตรา 535 (2) แม้หนังสือสัญญาให้ที่ดินระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลให้เห็นว่าการให้ตามสัญญาให้ที่ดินเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันได้ เพราะเป็นการฟ้องถอนคืนการให้ ไม่ใช่ฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาให้ จึงไม่ใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร อันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน: สิทธิในการถอนคืนการให้เนื่องจากประพฤติเนรคุณ
หลังจากจำเลยรับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์แล้ว จำเลยได้กู้เงินจากธนาคาร ก. เพื่อรับภาระหนี้แทนโจทก์ สอดคล้องกับสารบัญจดทะเบียนที่ดินพิพาทซึ่งระบุว่าในวันที่ 27 มกราคม 2538 โจทก์ไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร ก. แล้วจึงจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลย และในวันเดียวกันจำเลยได้ จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันไว้แก่ธนาคาร ก. โดยจำเลยกู้เงิน 150,000 บาท จึงรับฟังได้ว่า โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยเป็นการตอบแทนที่จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท อันเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. มาตรา 535 (2)
แม้หนังสือสัญญาให้ที่ดินจะระบุว่า เป็นการให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลให้เห็นว่าการให้ตามสัญญาให้ที่ดินนั้น เป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันได้ เพราะคดีนี้เป็นการฟ้องถอนคืนการให้ ไม่ใช่คดีฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาให้ จึงไม่ใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร อันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
แม้หนังสือสัญญาให้ที่ดินจะระบุว่า เป็นการให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลให้เห็นว่าการให้ตามสัญญาให้ที่ดินนั้น เป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันได้ เพราะคดีนี้เป็นการฟ้องถอนคืนการให้ ไม่ใช่คดีฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาให้ จึงไม่ใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร อันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4456/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยใช้ใบสั่งจ่ายสินค้าเป็นหลักฐาน ศาลฎีกาพิพากษาว่าเป็นการลักทรัพย์ ไม่ใช่รับของโจร
ใบสั่งจ่ายสินค้าที่โจทก์ร่วมมอบให้แก่ ส. ผู้รับจ้างขนส่งปุ๋ยเป็นเพียงหลักฐานเพื่อนำไปเบิกปุ๋ยจากคลังเก็บสินค้าของโจทก์ร่วม การที่จำเลยที่ 1 รับซื้อใบสั่งจ่ายสินค้าจาก ท. ซึ่งเป็นผู้รับจ้างขนส่งช่วงจาก ส. โดยคิดตามมูลค่าปุ๋ยที่ระบุในใบสั่งจ่ายสินค้าโดยต้องการนำใบสั่งจ่ายสินค้าไปรับปุ๋ยจากคลังเก็บสินค้าของโจทก์ร่วม มิใช่เป็นการรับซื้อเฉพาะใบสั่งจ่ายสินค้า ทั้ง ท. รู้ว่าจำเลยที่ 1 จะนำใบสั่งจ่ายสินค้าไปรับปุ๋ยจากคลังเก็บสินค้าของโจทก์ร่วมไปเป็นประโยชน์ของตน ท. และจำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวการร่วมกันลักปุ๋ยของโจทก์ร่วมไปโดยใช้ใบสั่งจ่ายสินค้าเป็นหลักฐานในการเบิกจ่ายสินค้า การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานลักปุ๋ยของโจทก์ร่วมมิใช่เป็นเพียงรับของโจรใบสั่งจ่ายสินค้า
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร และจำเลยที่ 1 ไม่ได้หลงข้อต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร และจำเลยที่ 1 ไม่ได้หลงข้อต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4407/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างว่าความ, การพิจารณาคดีหลังยกคำพิพากษา, กระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกค่าจ้างว่าความขาดอายุความแล้ว โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกเอาค่าจ้างว่าความยังไม่ขาดอายุความ จึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ประเด็นเรื่องอายุความจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลชั้นต้นจึงต้องดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่เฉพาะในประเด็นเรื่องค่าจ้างว่าความเท่านั้น
ศาลชั้นต้นสืบพยานจนเสร็จสิ้นกระแสความและมีคำพิพากษาแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อไปได้ โดยไม่ต้องกำหนดวันนัดพิจารณาอีก
จำเลยฎีกาโต้แย้งกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ประเด็นตามฎีกาของจำเลยมิได้มีผลเกี่ยวกับทุนทรัพย์ในคดี จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์จำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นสืบพยานจนเสร็จสิ้นกระแสความและมีคำพิพากษาแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อไปได้ โดยไม่ต้องกำหนดวันนัดพิจารณาอีก
จำเลยฎีกาโต้แย้งกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ประเด็นตามฎีกาของจำเลยมิได้มีผลเกี่ยวกับทุนทรัพย์ในคดี จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์จำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4349/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์อำนาจฟ้องและการนำสืบพยานในคดีแพ่ง จำเป็นต้องพิสูจน์ความแท้จริงของเอกสารมอบอำนาจ
โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ร. ดำเนินคดีแทน แต่จำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้วว่า ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อผู้มีอำนาจของโจทก์แต่เป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้เห็นว่า ผู้ที่ลงลายมือชื่อในคำสั่งเกี่ยวกับการมอบอำนาจ เป็นผู้ที่มีอำนาจของโจทก์และเป็นลายมือชื่อที่แท้จริง คดีนี้โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบเพียงปากเดียว โดยไม่ได้เบิกความถึงการมอบอำนาจให้ดำเนินคดี และไม่ได้ยืนยันว่า ลายมือชื่อในคำสั่งเกี่ยวกับการมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อที่แท้จริง ถือว่าโจทก์นำสืบประเด็นนี้ไม่สมตามคำฟ้อง ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ร. ดำเนินคดีแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดีและการตั้งผู้จัดการทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307
การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 นั้น คู่ความฝ่ายใดในคดีจะร้องขอก็ได้ แต่จะต้องเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันได้รับความคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษา จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าสมควรตั้งผู้จัดการทรัพย์หรือการประกอบกิจการตามที่จำเลยที่ 3 ร้องขอแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 หรือไม่ ป.วิ.พ. มาตรา 307 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจศาลมีคำสั่งในกรณีดังกล่าว ซึ่งมุ่งที่จะคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้มีโอกาสชำระหนี้ โดยไม่จำต้องขายทรัพย์สินอันสามารถทำรายได้ให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไป การที่จำเลยที่ 3 อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอตั้งผู้จัดการทรัพย์พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งงดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ไว้ชั่วคราวในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 เพื่อบรรเทาความเสียหาย จึงเป็นคำขอเพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยที่ 3 ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอดังกล่าวได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดังกล่าว โดยเห็นว่าเป็นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่ง จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3746/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ ผู้ค้ำประกันไม่ผูกพันหากไม่ตกลงร่วมด้วย
หากจำเลยที่ 1 ชำระหนี้โดยไม่ผิดนัดจนครบจำนวนเงิน130,000 บาท โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลืออีกต่อไป บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ฝ่ายยอมสละระงับสิ้นไป และได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 สิทธิเรียกร้องของโจทก์อันเนื่องมาจากการผิดสัญญาเช่าซื้อจึงระงับไป