พบผลลัพธ์ทั้งหมด 200 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายเลือกตั้งใหม่มีผลยกเลิกบทบัญญัติเดิม ทำให้จำเลยพ้นความผิด
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ฯ ออกมาใช้บังคับ และต่อมามีการออก พ.ร.ฎ. ให้บทกฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับแก่การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสมุทรปราการและตามมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ฯ บัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ฯ และตามมาตรา ๔๔ แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ฯ เพียงแต่บัญญัติคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นเท่านั้น บทกฎหมายดังกล่าวที่ใช้บังคับภายหลังการกระทำความผิดหาได้มีบทบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อไป จึงถือว่าจำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายเดิมที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิดนั้นไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด แม้มีการฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งได้
คดีความผิดต่อส่วนตัว ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ การที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ในระหว่างระยะเวลาฎีกา และศาลชั้นต้นยังไม่มีคำสั่งรับฎีกา ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องดังกล่าวได้ เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสอง แล้วจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะอนุญาตให้ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ได้ แม้ต่อมาจำเลยฎีกา คดีก็ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาในชั้นฎีกาต่อไป ไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายอีก แต่เมื่อคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่งอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับแนวเขตที่ดินโดยเจ้าของข้างเคียง สละกรรมสิทธิ์ที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้มาระวังแนวเขตที่ดินและลงลายมือชื่อรับรองแนวเขตที่ดินไว้ในใบรับรองเขตติดต่อของเจ้าของที่ดินและเจ้าของที่ดินข้างเคียง อันเป็นการยอมรับว่าที่ดินพิพาทไม่ได้อยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของโจทก์ แต่อยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย แม้โจทก์จะเป็นของที่ดินพิพาทก็ต้องถือว่าโจทก์สละกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่จำเลยแล้ว การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ที่มีมาก่อนย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมในการจำหน่ายส่วนของที่ดิน และการส่งมอบโฉนดตามกฎหมาย
โจทก์ได้ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 83631 แก่บริษัท ม. โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพื่อนำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์แก่บริษัทดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายส่วนของตน หรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้" และความในวรรคสองบัญญัติว่า "แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน" การที่โจทก์จำหน่ายกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์แก่บริษัท ม. มิใช่เป็นการก่อให้เกิดภาระติดพันแก่ตัวทรัพย์สิน ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ที่สามารถกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยทั้งสอง
ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ" การที่โจทก์จำหน่ายกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์แก่บริษัท ม. เพื่อให้บริษัทดังกล่าวมีสิทธิใช้ที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของรวม จึงเป็นสิทธิของเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ที่จะกระทำได้ ทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 6 ก็บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต จำเลยที่ 1 หามีสิทธิขัดขวางการจำหน่ายกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ไม่
ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ" การที่โจทก์จำหน่ายกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์แก่บริษัท ม. เพื่อให้บริษัทดังกล่าวมีสิทธิใช้ที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของรวม จึงเป็นสิทธิของเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ที่จะกระทำได้ ทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 6 ก็บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต จำเลยที่ 1 หามีสิทธิขัดขวางการจำหน่ายกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมจำหน่ายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนได้โดยไม่จำต้องความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมจำหน่ายกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์แก่บริษัท ม. มิใช่เป็นการก่อให้เกิดภาระติดพันแก่ตัวทรัพย์สิน เพราะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวม
โจทก์จำหน่ายกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์แก่บริษัท ม. เพื่อให้บริษัทดังกล่าวมีสิทธิใช้ที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของรวม ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งที่จะกระทำได้
โจทก์จำหน่ายกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์แก่บริษัท ม. เพื่อให้บริษัทดังกล่าวมีสิทธิใช้ที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของรวม ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งที่จะกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองเงินฝากเป็นคำมั่นสัญญาผูกพันธนาคาร จำเลยต้องรับผิดชอบเมื่อมีการถอนเงินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้รับรอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ให้คำรับรองแก่โจทก์ว่า ส. มีบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์พิเศษอยู่กับจำเลยที่ 2 จำนวน 3,000,000 บาท จำเลยที่ 2 จะไม่ยอมให้ผู้ใดถอนเงินดังกล่าวออกจากบัญชีเว้นเสียแต่จะได้รับความยินยอมจากโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เชื่อคำรับรองนั้นและยอมให้ ส. นำรถยนต์ของโจทก์ไปขาย ต่อมาโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของ ส. เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ปรากฏว่าบัญชีดังกล่าวปิดแล้ว เนื่องจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ยอมให้ ส. ถอนเงินออกจากบัญชีอันเป็นการผิดสัญญาและเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า การที่จำเลยทั้งสองให้ ส. ถอนเงินจากบัญชีเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ออกหนังสือรับรองไปยังโจทก์ก็เป็นการปฏิบัติงานตามปกติของจำเลยที่ 2 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือกระทำละเมิดต่อโจทก์จึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือต้องร่วมรับผิดในมูลละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองยอดเงินฝากของ ส. ไปถึงโจทก์ เป็นการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 2 ออกหนังสือรับรองไปถึงโจทก์ยืนยันว่า ส. มีเงินฝากในบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์พิเศษอยู่กับจำเลยที่ 2 ซึ่งมียอดเงินฝากในขณะนั้น 3,000,000 บาท และจำเลยที่ 2 จะไม่ยอมให้ผู้ใดถอนเงินจำนวนดังกล่าวออกจากบัญชีเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากโจทก์ คำรับรองนี้มีลักษณะเป็นคำมั่นซึ่งมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามคำมั่นดังกล่าว โดยหลังจากที่โจทก์ได้รับหนังสือรับรองดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงยอมให้ ส. รับรถยนต์จากโจทก์ไปจำหน่ายได้ อันพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำมั่นของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้เสนอ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก จำเลยที่ 2 ต้องถูกผูกพันตามคำมั่นที่จะไม่ยอมให้ผู้ใดถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 ยอมให้ ส. เปลี่ยนบัญชีเงินฝากจากบัญชีออมทรัพย์พิเศษเป็นบัญชีออมทรัพย์ธรรมดาและยอมให้ถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ตามคำมั่นอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรง ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้ถอนเงินจากบัญชีของ ส. โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้จากเงินในบัญชีที่ ส. ฝากไว้แก่จำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 ออกหนังสือรับรองไปถึงโจทก์ยืนยันว่า ส. มีเงินฝากในบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์พิเศษอยู่กับจำเลยที่ 2 ซึ่งมียอดเงินฝากในขณะนั้น 3,000,000 บาท และจำเลยที่ 2 จะไม่ยอมให้ผู้ใดถอนเงินจำนวนดังกล่าวออกจากบัญชีเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากโจทก์ คำรับรองนี้มีลักษณะเป็นคำมั่นซึ่งมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามคำมั่นดังกล่าว โดยหลังจากที่โจทก์ได้รับหนังสือรับรองดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงยอมให้ ส. รับรถยนต์จากโจทก์ไปจำหน่ายได้ อันพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำมั่นของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้เสนอ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก จำเลยที่ 2 ต้องถูกผูกพันตามคำมั่นที่จะไม่ยอมให้ผู้ใดถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 ยอมให้ ส. เปลี่ยนบัญชีเงินฝากจากบัญชีออมทรัพย์พิเศษเป็นบัญชีออมทรัพย์ธรรมดาและยอมให้ถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ตามคำมั่นอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรง ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมให้ถอนเงินจากบัญชีของ ส. โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้จากเงินในบัญชีที่ ส. ฝากไว้แก่จำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมทหารโมฆะ: ขาดพยานถูกต้อง & ไม่เป็นพินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ
พลตรี น. ไม่ได้ลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมทหารฉบับพิพาท คงมีพันเอก พ. ลงชื่อเป็นพยานเพียงคนเดียวเท่านั้น พินัยกรรมทหารฉบับพิพาทจึงทำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามแบบที่ ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 จำเลยที่ 3 ไม่อาจอาศัยพินัยกรรมทหารฉบับพิพาทมาอ้างอิงแสวงสิทธิใดๆ ได้
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับเป็นพินัยกรรมซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนข้อความในส่วนสาระสำคัญด้วยลายมือตนเองทั้งหมด มีใจความกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในเรื่องอื่นที่จะให้เกิดผลบังคับเมื่อตนตายก็ได้ ทั้งนี้ ข้อความที่เขียนด้วยลายมือตนเองต้องมีข้อความที่อ่านแล้วพอเข้าใจได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะให้ทรัพย์มรดกตกได้แก่ใคร แต่พินัยกรรมทหารฉบับพิพาทเป็นแบบพิมพ์พินัยกรรมของทางราชการทหาร ซึ่งพิมพ์ข้อความกำหนดการเผื่อตายของผู้ทำพินัยกรรมไว้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว คงเว้นช่องว่างไว้ให้ผู้ทำพินัยกรรมกรอกแต่เฉพาะสถานที่และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมกับชื่อของผู้ทำพินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรมและลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น หากตัดข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ออกเสียให้เหลือแต่เฉพาะข้อความที่พลเอก อ. ผู้ทำพินัยกรรมเขียนด้วยลายมือตนเองก็ไม่มีความหมายเป็นพินัยกรรม พินัยกรรมทหารฉบับพิพาทจึงไม่เป็นพินัยกรรมแบบผู้ทำพินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ที่จำเลยที่ 3 ยกขึ้นอ้างเป็นเรื่องอายุความการใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกที่ตนมีสิทธิได้รับในฐานะทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม แต่คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมทหารฉบับพิพาทตกเป็นโมฆะ ไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 3 จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติเรื่องอายุความดังกล่าว
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับเป็นพินัยกรรมซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนข้อความในส่วนสาระสำคัญด้วยลายมือตนเองทั้งหมด มีใจความกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในเรื่องอื่นที่จะให้เกิดผลบังคับเมื่อตนตายก็ได้ ทั้งนี้ ข้อความที่เขียนด้วยลายมือตนเองต้องมีข้อความที่อ่านแล้วพอเข้าใจได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะให้ทรัพย์มรดกตกได้แก่ใคร แต่พินัยกรรมทหารฉบับพิพาทเป็นแบบพิมพ์พินัยกรรมของทางราชการทหาร ซึ่งพิมพ์ข้อความกำหนดการเผื่อตายของผู้ทำพินัยกรรมไว้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว คงเว้นช่องว่างไว้ให้ผู้ทำพินัยกรรมกรอกแต่เฉพาะสถานที่และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมกับชื่อของผู้ทำพินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรมและลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น หากตัดข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ออกเสียให้เหลือแต่เฉพาะข้อความที่พลเอก อ. ผู้ทำพินัยกรรมเขียนด้วยลายมือตนเองก็ไม่มีความหมายเป็นพินัยกรรม พินัยกรรมทหารฉบับพิพาทจึงไม่เป็นพินัยกรรมแบบผู้ทำพินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ที่จำเลยที่ 3 ยกขึ้นอ้างเป็นเรื่องอายุความการใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกที่ตนมีสิทธิได้รับในฐานะทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม แต่คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมทหารฉบับพิพาทตกเป็นโมฆะ ไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 3 จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติเรื่องอายุความดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการคัดค้านการยึดทรัพย์: ผู้มีส่วนได้เสียต้องแสดงสิทธิในทรัพย์สินที่ชัดเจน
ในระหว่างการไต่สวนของศาลชั้นต้น ผู้ร้องแถลงขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทเพราะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพียงเหตุเดียวและผู้ร้องยังไม่ยื่นขอกันส่วนเงินที่จะได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท เช่นนี้ เหตุเพิกถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวจึงมิได้เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง ทั้งผู้ร้องบรรยายคำร้องเพียงว่า ผู้ร้องเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย และหากให้ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปจะมีปัญหาโต้แย้งระหว่างผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินส่วนหนึ่งกับผู้ซื้อ โดยไม่ปรากฏจากคำร้องว่า ผู้ร้องมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิใด จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่ดินพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องเพิกถอนการยึดทรัพย์: ผู้ร้องต้องแสดงฐานะผู้มีส่วนได้เสียที่ชัดเจน
ผู้ร้องแถลงขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทเพราะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและผู้ร้องยังไม่ยื่นขอกับส่วนเงินที่จะได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท เหตุเพิกถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวจึงมิได้เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง ทั้งผู้ร้องบรรยายคำร้องเพียงว่า ผู้ร้องเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย และหากให้ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไปจะมีปัญหาโต้แย้งระหว่างผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินส่วนหนึ่งกับผู้ซื้อ โดยไม่ปรากฏจากคำร้องว่า ผู้ร้องมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิใด จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่ดินพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท – การพิสูจน์สิทธิก่อน ป.ที่ดินใช้บังคับ – ที่ดินของรัฐ
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แต่อาจมีสิทธิครอบครองโดยการครอบครองที่ดินมาก่อนวันที่ ป.ที่ดินใช้บังคับ เมื่อโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เข้ายึดถือที่ดินพิพาทภายหลัง ป.ที่ดินใช้บังคับแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบแสดงให้เห็นว่าผู้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์มีสิทธิครอบครองมาก่อน ป.ที่ดินใช้บังคับ จึงจะได้รับความคุ้มครองตาม ป.ที่ดิน มาตรา 4 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าผู้ซึ่งขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองมาก่อน ป.ที่ดินใช้บังคับจึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐ แม้โจทก์จะเข้ายึดถือเป็นเวลาเกิน 1 ปี และคงอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมาก็เป็นการยึดถือที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิครอบครองและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใดๆ ใช้ยันรัฐได้