พบผลลัพธ์ทั้งหมด 200 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9024/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานฆ่าและทำร้ายร่างกายเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือหลายกรรม ศาลต้องลงโทษตามฟ้อง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายบริเวณอกด้านซ้ายโดยมีเจตนาฆ่าและไตร่ตรองไว้ก่อน แล้วจำเลยใช้มีดแทงผู้ตายซ้ำอีก แต่ผู้เสียหายเข้ากันไว้เป็นเหตุให้มีดพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ต้นแขนซ้ายได้รับบาดเจ็บ ส่วนผู้ตายถึงแก่ความตาย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยเพียงกรรมเดียวในความผิดฐานฆ่าผู้ตายและพลาดไปถูกผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องลงโทษจำเลยตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะได้ความว่า นอกจากจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายแล้วจำเลยยังทำร้ายผู้เสียหายอันเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากกันก็ตาม ก็เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องและตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายอีกกระทงหนึ่งได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตามมาตรา 192 วรรคหนึ่ง คงลงโทษจำเลยได้เฉพาะในความผิดฐานฆ่าผู้ตายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8999/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินก่อนถูกยึดทรัพย์: นิติกรรมไม่ฉ้อฉล เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเพิกถอน
จำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. โอนการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ให้แก่ ค. ตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ต่อมา ค. ได้โอนการครอบครองให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรตั้งแต่ปี 2523 จำเลยที่ 2 จึงได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทก่อนที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. จะได้รับแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกรมสรรพากรโจทก์เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2542 จึงเป็นการกระทำโดยสุจริต ส่วนการที่จำเลยที่ 1 เพิ่งจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ภายหลังก็เพียงเพื่อมีชื่อผู้เป็นเจ้าของถูกต้องตามทะเบียน นิติกรรมที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้เกิดจากการฉ้อฉล โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8842/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่รับอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด แม้มีเหตุผลประกอบการวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์เป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ได้ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ คำสั่งนี้ให้เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 ทวิ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยเกี่ยวกับเหตุที่โจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์และอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาจนถึงวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ได้ ก็เป็นเพียงเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อจะรับอุทธรณ์ของโจทก์เท่านั้น แต่ผลที่สุดศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8454/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือครองที่ดินและการเปลี่ยนแปลงหลักฐานการถือครองไม่ถือเป็นการได้มาซึ่งที่ดินใหม่เพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์และ ช. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตามฟ้องในฐานะเจ้าของอันถือว่าเป็นการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองตั้งแต่ปี 2504 ที่จำเลยอ้างว่า เมื่อไม่มีเอกสารใดมายืนยันว่าโจทก์และ ช. ได้สิทธิครอบครองตั้งแต่เมื่อใด จึงให้ถือวันที่ออกโฉนดที่ดินเป็นวันที่ได้มาซึ่งที่ดิน นั้น เห็นว่า การที่โจทก์และ ช. เพิ่งมาขอออกโฉนดที่ดินแทนแบบแจ้งการครอบครอง เป็นแต่เพียงการที่โจทก์เปลี่ยนแปลงหลักฐานการถือสิทธิจากแบบแจ้งการครอบครอง ส.ค.1 เดิม มาเป็นโฉนดที่ดิน จะถือว่าโจทก์เพิ่งได้มาซึ่งที่ดินในวันที่ออกโฉนดที่ดินหาได้ไม่ การที่โจทก์และ ช. โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องให้แก่บุคคลอื่นจึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8454/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือครองที่ดินก่อนออกโฉนด ไม่ถือเป็นการได้มาซึ่งที่ดินในวันที่ออกโฉนด จึงไม่เข้าข่ายเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์และ ช. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตามฟ้องในฐานะเจ้าของอันถือว่าเป็นการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินตั้งแต่ปี 2504 การที่โจทก์เพิ่งมาขอออกโฉนดที่ดินแทนแบบแจ้งการครอบครองในปี 2536 เป็นเพียงการที่โจทก์เปลี่ยนแปลงหลักฐานการถือสิทธิในที่ดิน จะถือว่าโจทก์เพิ่งได้มาซึ่งที่ดินตามฟ้องในวันที่ออกโฉนดได้ไม่ การที่โจทก์และ ช. โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องให้แก่บุคคลอื่น จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 3 (6) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ อันจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7671/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินแทนโจทก์ร่วมแล้วเบียดบังเป็นของตนเอง ผู้จัดการสาขามีอำนาจกระทำแทนโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของบริษัทโจทก์ร่วม การที่จำเลยรับเงินจาก บ. ผู้ค้ำประกันการทำงานของ น. พนักงานโจทก์ร่วมที่ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไปแล้ว จำเลยได้ทำสัญญาในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วม มีสาระสำคัญว่า บ. ได้ชำระเงินให้โจทก์ร่วม และโจทก์ร่วมถือว่า บ. ได้ปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกันครบถ้วน ไม่ติดใจดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญากับ บ. อีกต่อไป เงินที่จำเลยรับไว้จาก บ. จึงเป็นของโจทก์ร่วม เพราะโจทก์ร่วมต้องรับผลในการกระทำของจำเลยในอันที่จะไปเรียก บ. ชำระเงินอีกไม่ได้ เนื่องจาก บ. อาจนำสัญญาดังกล่าวมาแสดงว่าได้ชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมแล้ว การที่จำเลยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ร่วมทราบ หรือไม่ได้รับอนุมัติจากผู้จัดการเขตของโจทก์ร่วมตามระเบียบที่โจทก์ร่วมวางไว้ จะนำมาอ้างว่ามิใช่ตัวแทนของโจทก์ร่วมหาได้ไม่ หากเป็นการผิดระเบียบก็เป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมต้องว่ากล่าวกับจำเลยและไม่ผูกพัน บ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต การที่จำเลยรับเงินไว้แทนโจทก์ร่วมแล้วเบียดบังเป็นของจำเลยโดยทุจริต โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7671/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบียดบังเอาเงินที่รับไว้แทนโจทก์ร่วมไปเป็นของตนเอง ถือเป็นการทำให้โจทก์ร่วมเสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ได้
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยรับเงินจาก บ. ผู้ค้ำประกันการทำงานของ น. พนักงานโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยได้ทำสัญญาในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วม มีสาระสำคัญว่า บ. ได้ชำระเงินให้โจทก์ร่วมแล้วและโจทก์ร่วมถือว่า บ. ได้ปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกันครบถ้วนแล้ว ไม่ติดใจดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญากับ บ. อีกต่อไป ดังนี้ เงินที่จำเลยรับไว้จาก บ. จึงเป็นของโจทก์ร่วมแล้ว เพราะโจทก์ร่วมต้องรับผลในการกระทำของจำเลยในอันที่จะไปเรียก บ. ชำระเงินอีกไม่ได้เนื่องจาก บ. อาจนำสัญญาดังกล่าวมาแสดงว่าได้ชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมแล้ว การที่จำเลยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ร่วมทราบหรือไม่ได้รับอนุมัติจากผู้จัดการเขตของโจทก์ร่วมตามระเบียบที่โจทก์ร่วมวางไว้ก็เป็นเพียงระเบียบภายในที่จำเลยต้องปฏิบัติจะนำมาอ้างว่ามิใช่ตัวแทนของโจทก์ร่วมหาได้ไม่ หากเป็นการผิดระเบียบก็เป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมต้องว่ากล่าวกับจำเลยและไม่ผูกพัน บ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต ดังนั้น จึงถือได้ว่าจำเลยรับเงินแทนโจทก์ร่วมแล้ว เมื่อจำเลยเบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวไปเป็นของจำเลยโดยทุจริต โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6732/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่วางค่าธรรมเนียมอุทธรณ์ ศาลชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ทันที หรือยกอุทธรณ์มากกว่าสั่งทิ้งอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ศาลชั้นต้นไม่จำต้องมีคำสั่งให้ปฏิบัติก่อน ดังนั้นในชั้นตรวจอุทธรณ์ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์เสียทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อสั่งเกี่ยวกับการทิ้งอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์นั้นเสียโดยไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นเกี่ยวกับการทิ้งอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทิ้งอุทธรณ์โดยมิได้สั่งยกอุทธรณ์ จึงมิชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจึงต้องยกเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6502/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่าที่ผิดสัญญาเช่า ศาลพิพากษายืนตามคำพิพากษาชั้นต้น ยกเว้นค่าทนายความ
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 141 (3) กำหนดแต่เพียงว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลต้องมีรายการแห่งคดีซึ่งหมายถึงต้องมีชื่อเรื่อง คำฟ้อง และคำให้การเพื่อกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่มิได้บังคับว่าคำพิพากษาต้องมีทางนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งสองจึงจะเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย คดีนี้คงมีแต่เพียงทางนำสืบของโจทก์ จำเลยทั้งสองก็ให้การรับในประเด็นสำคัญตามคำฟ้องของโจทก์และมิได้นำสืบต่อสู้แต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นนำข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์มาเขียนรวมไว้ในตอนวินิจฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ถือเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความ 4,000 บาท แทนโจทก์นั้นไม่ชอบ เพราะตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 3,000 บาท จึงเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด
คดีฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ถือเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความ 4,000 บาท แทนโจทก์นั้นไม่ชอบ เพราะตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์ไว้เพียง 3,000 บาท จึงเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6277/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัยรถยนต์ กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับเอง และการกำหนดดอกเบี้ยที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตามสัญญาประกันภัยในกรณีที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของ ม. และ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการที่โจทก์กระทำละเมิดขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยเฉี่ยวชนรถยนต์ของ ม. และ ส. ได้รับความเสียหาย ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ในนามของโจทก์จากจำเลยผู้รับประกันภัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ส่วนที่โจทก์จะได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ม. และ ส. บุคคลภายนอกแล้วหรือไม่นั้น ไม่ใช่สาระสำคัญเพราะมิใช่กรณีรับช่วงสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่การที่จำเลยปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ เนื่องจากมีหลักฐานในเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ขับรถยนต์ในขณะเกิดเหตุ และคนขับรถของโจทก์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์อันเป็นเงื่อนไขที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จึงเป็นการสู้ความโดยมีเหตุสมควร สมควรกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอมา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่การที่จำเลยปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ เนื่องจากมีหลักฐานในเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ขับรถยนต์ในขณะเกิดเหตุ และคนขับรถของโจทก์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์อันเป็นเงื่อนไขที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จึงเป็นการสู้ความโดยมีเหตุสมควร สมควรกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอมา