คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อิศเรศ ชัยรัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 200 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5370/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาประเด็นพินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายในคดีไม่มีข้อพิพาท การคัดค้านต้องชัดแจ้งจึงจะเกิดประเด็นข้อพิพาท
ในคดีไม่มีข้อพิพาทถ้าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อมให้ถือว่าบุคคลเช่นว่ามานี้เป็นคู่ความและให้ดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (5) คำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงเป็นคำคู่ความที่จะก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทผู้คัดค้านจะคัดค้านคำร้องขอในประเด็นข้อใดจะต้องยื่นคำคัดค้านให้ชัดเจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงจะเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในข้อนั้น การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่าพินัยกรรมทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกล่าวคือ พระ อ. ไม่ได้มีความประสงค์หรือเจตนาจะทำพินัยกรรมดังกล่าว ผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยถูกหลอกลวง สำคัญผิดไม่เป็นไปตามความประสงค์อันแท้จริงของผู้ทำพินัยกรรมและขณะทำพินัยกรรมพระ อ. มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันว่าพระ อ. ทำพินัยกรรมจริงแต่ถูกหลอกลวง สำคัญผิดและมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ แต่คำร้องคัดค้านกลับกล่าวอีกว่าลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือของพระ อ. เท่ากับยืนยันว่าพระ อ. ไม่ได้ทำพินัยกรรม เช่นนี้คำร้องคัดค้านจึงขัดกันเองและไม่ชัดแจ้งว่าผู้คัดค้านได้คัดค้านว่าเป็นพินัยกรรมปลอมหรือเป็นพินัยกรรมที่ผู้ทำถูกหลอกลวง สำคัญผิดหรือทำพินัยกรรมในขณะที่มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ ส่วนที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่าพินัยกรรมทำไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดก็ไม่ได้ระบุว่าไม่ถูกต้องตามแบบอย่างใดจึงไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธ คำร้องคัดค้านจึงไม่ชัดแจ้ง ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านได้โต้แย้งคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าพินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำร้องขอของผู้ร้องว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5176/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมและใช้เอกสาร การรอการลงโทษ และข้อบกพร่องในการบรรยายฟ้อง
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏข้อความว่า บิลเงินสดที่จำเลยปลอมเป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ อันเป็นนิยามของคำว่า เอกสารสิทธิ ตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 265 ด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าบิลเงินสดเป็นเอกสารสิทธิถือได้ว่าคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.อ. มาตรา 265 และมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณหนี้ค้างชำระและหักชำระหนี้ตามกฎหมายแพ่ง จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดการชำระหนี้ที่ชัดเจน
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์โดยให้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยและให้ชำระดอกเบี้ยเดือนละครั้ง จำเลยไม่ผ่อนชำระให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์อีกและได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมทั้งสองฉบับสัญญาครั้งละครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้จำเลยยังเป็นหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญาฉบับอื่นๆ อีกหลายฉบับ โดยโจทก์มิได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระมาถูกต้องแล้ว เมื่อโจทก์มิได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระมาถูกต้องแล้ว เมื่อจำเลยเป็นหนี้อยู่หลายจำนวนรวมกันและชำระหนี้รวมกันแต่ละเดือนก็ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนว่าห้ามมิให้นำ ป.พ.พ. มาตรา 329 ที่ให้นำเงินที่จำเลยชำระไปหักใช้ดอกเบี้ยก่อนส่วนที่เหลือจึงนำไปชำระหนี้ต้นเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานมาใช้บังคับ
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะมีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือน และยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ไม่ได้ความว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวดๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะไม่มีจำนวนหนี้ค้างชำระที่แน่นอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณหนี้ค้างชำระที่ไม่ชัดเจน ทำให้ศาลไม่สามารถพิพากษาให้รับผิดได้
คำฟ้องของโจทก์มีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือนและยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความชัดเจนว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวด ๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ถือว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระต่อโจทก์เป็นจำนวนที่แน่นอนไม่ได้ กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะไม่มีจำนวนหนี้ค้างชำระที่แน่นอน ศาลจึงพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมายื่นฟ้องใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณหนี้ที่ถูกต้องและชัดเจนเป็นสาระสำคัญในการฟ้องคดี หากโจทก์ไม่สามารถแสดงรายละเอียดการหักชำระหนี้ได้อย่างชัดเจน ศาลอาจยกฟ้องได้
พยานโจทก์เบิกความอ้างถึงการกู้ยืมเงินของจำเลยตามฟ้องเพียงฉบับเดียว ทั้งยืนยันว่าจำเลยผ่อนชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน เดือนละ 4,375 บาท รวม 30 เดือน หลังจากนั้นจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์อีก เมื่อถึงวันฟ้องจำเลยค้างชำระดอกเบี้ยเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยเพียง 5 ปี เป็นเงิน 262,500 บาท รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระจำนวน 612,500 บาท ส่วนหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญารายอื่น ๆ เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากการที่พยานโจทก์ดังกล่าวตอบคำถามติงของทนายโจทก์ โดยโจทก์มิได้นำสืบว่าเป็นการชำระหนี้รายอื่นอย่างไร มากน้อยเพียงใด อันจะเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระมาถูกต้องแล้ว แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะมีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือนและยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความชัดเจนว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวด ๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ถือว่า โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระต่อโจทก์เป็นจำนวนที่แน่นอนไม่ได้ ดังนี้ศาลจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยให้โจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุฎีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่โต้แย้งประเด็นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เพราะไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าการขาดนัดพิจารณาของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นไปโดยจงใจ และโจทก์นำดอกเบี้ยหรือเบี้ยปรับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายรวมเข้ากับต้นเงินเป็นทุนทรัพย์ในคำฟ้อง จึงตกเป็นโมฆะ ฎีกาของจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ถือไม่ได้ว่าเป็นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเป็นหลักฐานการกู้ยืม ศาลบังคับตามจำนวนเงินกู้จริง
เมื่อสัญญาขายฝากที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย สัญญาขายฝากที่ดินจึงเป็นนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง จำเลยจะขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองชำระเงินตามราคาขายฝากที่ดินเป็นต้นเงินกู้ไม่ได้ ต้องบังคับตามที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยมีเจตนาจะผูกพันในนิติกรรมการกู้ยืมเงินที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง โดยถือเพียงว่าสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานว่าโจทก์ทั้งสองได้กู้ยืมเงินจากจำเลยและโจทก์ทั้งสองได้มอบโฉนดที่ดินของตนให้จำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกันเงินกู้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน สัญญาขายฝากเป็นหลักฐาน แต่บังคับตามจำนวนเงินกู้จริง
เมื่อสัญญาขายฝากที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงินจึงเป็นนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง จำเลยจะขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองชำระเงินตามราคาขายฝากที่ดินเป็นต้น เงินกู้ไม่ได้ แต่ต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง โดยถือเพียงว่าสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานว่าโจทก์ทั้งสองได้กู้ยืมเงินจากจำเลย และโจทก์ทั้งสองได้มอบโฉนดที่ดินของตนให้จำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกันเงินกู้เท่านั้น สำหรับการขายฝากที่ดินระหว่างโจทก์ทั้งสองและจำเลยเมื่อตกเป็นโมฆะดังวินิจฉัยแล้ว ศาลชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนเสียได้โดยจำเลยยังคงยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ทั้งสองไว้ได้จนกว่าโจทก์ทั้งสองจะชำระเงินกู้และดอกเบี้ยแก่จำเลยครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4570/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรับชำระหนี้ระหว่างเจ้าหนี้บุริมสิทธิจากการซื้อขายกับเจ้าหนี้จำนอง: กรณีจำเลยผิดสัญญาไม่โอนกรรมสิทธิ์
ป.พ.พ. มาตรา 276 บัญญัติว่า "บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นใช้สำหรับเอาราคาอสังหาริมทรัพย์และดอกเบี้ยในราคานั้น และมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์อันนั้น" หนี้ที่ตกอยู่ภายใต้บุริมสิทธินี้จึงได้แก่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระและดอกเบี้ยในราคาที่ค้างชำระนั้น ซึ่งเป็นหนี้ที่ผู้ซื้อจะต้องชำระแก่ผู้ขาย แต่โจทก์เป็นผู้ซื้อห้องชุดพิพาทมิใช่ผู้ขาย และโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดห้องชุดพิพาทก็เพื่อออกขายทอดตลาดชำระหนี้ที่จำเลยต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เนื่องจากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ได้ตามคำพิพากษา เงินดังกล่าวหาใช่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระและดอกเบี้ยในราคาที่ค้างชำระนั้นไม่ โจทก์จึงไม่มีบุริมสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4543/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายทำให้จำเลยไม่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา ศาลฎีกายกฟ้องตามบทเดิมและลงโทษตามกฎหมายใหม่
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2549 ได้มี พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการสื่อสารแห่งประเทศไทยฯ ออกมาใช้บังคับแล้วโดยบัญญัติให้ พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทยฯ เป็นอันยกเลิกตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2546 เป็นต้นไป และกำหนดให้นำ พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจฯ มาใช้บังคับแทน ซึ่งมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. การสื่อสารแห่งประเทศไทยฯ ที่ถูกยกเลิกบัญญัติให้พนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. และ พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ ที่ใช้บังคับแทนมิได้บัญญัติให้เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. จำเลยจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ. การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 20