พบผลลัพธ์ทั้งหมด 200 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน: สิทธิการครอบครองเดิมไม่ผูกพัน สำนักงานปฏิรูปที่ดินมีอำนาจจัดสรร
ที่ดินที่โจทก์อ้างว่ามีสิทธินั้นเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 19 (7) บัญญัติให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนี้ บุคคลหรือเกษตรกรที่จะเข้ามาอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินได้ ต้องได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมก่อน ฉะนั้นแม้โจทก์จะครอบครองที่ดินมาก่อนทางราชการประกาศเขตปฏิรูปที่ดินก็ตาม แต่เมื่อทางราชการประกาศให้เขตที่ดินดังกล่าวตั้งอยู่เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้วที่ดินรวมทั้งต้นยางพาราซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินย่อมตกเป็นของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 36 ทวิ ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจจัดให้บุคคลใดเข้าถือครองและทำประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด การกระทำของจำเลยหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการครอบครอง vs. สิทธิที่ได้จากการจดทะเบียนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การคุ้มครองบุคคลภายนอก
สิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง นั้น ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในส่วนที่ดินพิพาทไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จะอ้างสิทธิที่จะเกิดจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ส่วนที่ออกโดยไม่ชอบดังกล่าวหาได้ไม่ กรณีเช่นนี้ไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษ: ความผิดต้องเกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษ
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2542 ให้จำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 19,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษมีกำหนด 2 ปี แต่คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวระหว่างปลายปี 2541 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้อง จึงกระทำลงทั้งก่อนและภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษ กรณีจึงมิต้องตามมาตรา 58 วรรคแรก ไม่อาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3325/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี: คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นจุดเริ่มต้น และเหตุสุดวิสัยอาจขยายเวลาได้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น หมายถึงวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตามกฎหมายแล้วเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2539 โดยศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ 153,234.55 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีนี้จึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง แต่คู่ความยังมีสิทธิฎีกาในข้อกฎหมาย หรือขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสี่ เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาคำพิพากษาจึงถึงที่สุดในวันที่ 18 ตุลาคม 2539 ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ซึ่งจะครบกำหนดสิบปีในวันที่ 18 ตุลาคม 2549 ผู้ร้องยื่นคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีวันที่ 16 ตุลาคม 2549 ยังอยู่ภายในระยะเวลาสิบปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอของผู้ร้องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบและการร้องขอให้บังคับคดีซึ่งต้องกระทำภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาดังกล่าวได้ แต่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสินระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตามกฎหมายแล้วเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2539 โดยศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ 153,234.55 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีนี้จึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง แต่คู่ความยังมีสิทธิฎีกาในข้อกฎหมาย หรือขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสี่ เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาคำพิพากษาจึงถึงที่สุดในวันที่ 18 ตุลาคม 2539 ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ซึ่งจะครบกำหนดสิบปีในวันที่ 18 ตุลาคม 2549 ผู้ร้องยื่นคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีวันที่ 16 ตุลาคม 2549 ยังอยู่ภายในระยะเวลาสิบปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอของผู้ร้องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบและการร้องขอให้บังคับคดีซึ่งต้องกระทำภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาดังกล่าวได้ แต่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสินระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3315/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการสืบสิทธิในที่ดินหลังการขายฝากไม่ไถ่ถอน สิทธิอยู่ที่ผู้รับขายฝาก
ค. บิดาโจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 139 ซึ่งรวมที่ดินพิพาทด้วยแก่ บ. ภริยาจำเลยแล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนด สิทธิในที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของ บ. แม้ ค. ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาเป็นเวลานานเพียงใดก็เป็นการครอบครองแทนและโดยอาศัยสิทธิของ บ. หาได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่ และหลังจาก ค. ถึงแก่ความตาย โจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ค. แล้ว โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ค. จึงไปไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร และโอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครอง การครอบครองและรับโอนที่ดินพิพาทเป็นการสืบสิทธิของ ค. โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิดีกว่า ค.ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยัง บ. หรือจำเลยผู้ครอบครองว่าโจทก์ไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แต่อย่างใด แม้โจทก์จะยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเป็นเวลานานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและผลผูกพันบุคคลนอกคดี: สิทธิในรถยนต์เมื่อสัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์
โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ชำระราคาครบถ้วนและส่งมอบรถยนต์พิพาทให้โจทก์ในวันที่ทำสัญญาแล้ว แต่ไม่ส่งมอบสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์พิพาท เมื่อโจทก์สอบถามไปยังบริษัท ส. จึงทราบว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 นำสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์พิพาทไปจดทะเบียนให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยจำเลยที่ 2 ได้เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้อรถยนต์พิพาทจากบริษัท ส. และชำระราคาแล้ว แล้วได้มีการจดทะเบียนให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ครอบครองเมื่อคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทและครอบครองรถยนต์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 อันเป็นการกล่าวอ้างเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1303 ซึ่งผู้มีอำนาจโอนสิทธิในรถยนต์พิพาทให้โจทก์และจำเลยที่ 3 ต้องเป็นบุคคลคนเดียวกัน คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของบริษัท ส. เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทหรือไม่ และการที่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้นั้นคำพิพากษาต้องมีผลผูกพันบริษัท ส. ด้วย ทำให้บริษัท ส. ต้องเข้ามารับผิดต่อโจทก์ในฐานะคู่สัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว การเพิกถอนชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกจากรายการจดทะเบียนและจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทซึ่งต้องอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ตามคำขอของโจทก์ย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิของบริษัท ส. ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องหรือขอให้เรียกบริษัท ส. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันบริษัท ส. ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จ-ใช้เอกสารปลอมในคดีครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกายกเหตุรอการลงโทษจำเลยสูงอายุ-ป่วย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ภาพถ่ายโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารปลอม ประกอบคำร้องในคดีแพ่งเพื่อให้ศาลหลงเชื่อว่าที่ดินเป็นของ ม. และมีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้ ม. ทำให้โจทก์ไม่ทราบคำร้อง และนำภาพถ่ายโฉนดปลอมอ้างส่งเป็นพยานประกอบการเบิกความของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน แต่โจทก์แยกฟ้องเป็นรายข้อตามฐานความคิด แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าประเด็นสำคัญในคดีแพ่งมีว่าอย่างไร และพยานหลักฐานที่จำเลยทั้งสองร่วมกันนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องในความผิดฐานเบิกความเท็จว่า คดีแพ่งมีประเด็นแห่งคดีที่ต้องพิสูจน์ว่าที่ดินเป็นของ ม. จริงหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 เบิกความเท็จว่า ม. เป็นผู้ถือสิทธิ์ในที่ดินและศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์บางส่วน และฟ้องโจทก์ได้บรรยายฟ้องในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมว่าจำเลยทั้งสองนำภาพถ่ายโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารปลอมเข้าเป็นเอกสารท้ายคำร้องเพื่อให้ศาลเชื่อว่าที่ดินที่จำเลยที่ 1 ครอบครองปรปักษ์เป็นของ ม. เมื่ออ่านฟ้องดังกล่าวรวมกันแล้วพอเข้าใจได้ว่าคดีแพ่งมีประเด็นสำคัญแห่งคดีว่าที่ดินเป็นของ ม. หรือไม่ และภาพถ่ายโฉนดที่ดินปลอมที่อ้างส่งเป็นพยานหลักฐานในข้อสำคัญในคดีนั้น เพราะทำให้ศาลเชื่อว่าที่ดินเป็นของ ม. และมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ดังนั้น ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีครบองค์ประกอบความผิดแล้ว
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานเบิกความเท็จพร้อมกันไปกับการกระทำความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี และฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมโดยกระทำในวันเวลาและคดีเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานเบิกความเท็จพร้อมกันไปกับการกระทำความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี และฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมโดยกระทำในวันเวลาและคดีเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานเบิกความเท็จ, ใช้เอกสารปลอม, และนำสืบหลักฐานเท็จในคดีแพ่ง ศาลพิจารณาความผิดกรรมเดียว
จำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดฐานเบิกความเท็จพร้อมกันไปกับกระทำความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี และฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม โดยกระทำในวันเวลาและคดีเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
โจทก์ฟ้องข้อ 2.2 (ข้อหาใช้เอกสารปลอม) 2.3 (ข้อหานำสืบและแสดงหลักฐานเท็จ) และ 2.4 (ข้อหาเบิกความเท็จ) ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ภาพถ่ายโฉนดเลขที่ 2601 ปลอม ประกอบคำร้องในคดีแพ่งที่จำเลยที่ 1 ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2601 โดยการครอบครองปรปักษ์ เพื่อให้ศาลชั้นต้นหลงเชื่อว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ ม. และมีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้ ม. ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ทราบคำร้อง และจำเลยทั้งสองนำภาพถ่ายโฉนดปลอมดังกล่าวอ้างส่งเป็นพยานประกอบการเบิกความของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน แต่โจทก์แยกฟ้องเป็นรายข้อตามฐานความผิด แม้ในฟ้องข้อ 2.3 โจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าประเด็นสำคัญในคดีแพ่งดังกล่าวมีว่าอย่างไร และพยานหลักฐานที่จำเลยทั้งสองร่วมกันนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร แต่ตามฟ้องข้อ 2.4 โจทก์ได้บรรยายฟ้องในความผิดฐานเบิกความเท็จว่า คดีแพ่งดังกล่าวมีประเด็นแห่งคดีที่ต้องพิสูจน์ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 2601 เป็นของ ม. จริงหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 เบิกความเท็จว่า ม. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 2601 ทำให้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 หลงเชื่อว่า ม. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์บางส่วน และฟ้องข้อ 2.2 โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองนำภาพถ่ายโฉนดที่ดินปลอมเข้าเป็นเอกสารท้ายคำร้อง เพื่อให้ศาลเชื่อว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 2601 ที่จำเลยที่ 1 ครอบครองปรปักษ์เป็นของ ม. เมื่ออ่านฟ้องรวมกันแล้วพอเข้าใจได้ว่าคดีแพ่งดังกล่าว มีประเด็นสำคัญแห่งคดีว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 2601 เป็นของ ม. หรือไม่ และภาพถ่ายโฉนดที่ดินปลอมที่อ้างส่งเป็นพยานหลักฐานในข้อสำคัญแห่งคดี เพราะทำให้ศาลเชื่อว่าที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเป็นของ ม. ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีครบองค์ประกอบความผิดแล้ว
โจทก์ฟ้องข้อ 2.2 (ข้อหาใช้เอกสารปลอม) 2.3 (ข้อหานำสืบและแสดงหลักฐานเท็จ) และ 2.4 (ข้อหาเบิกความเท็จ) ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ภาพถ่ายโฉนดเลขที่ 2601 ปลอม ประกอบคำร้องในคดีแพ่งที่จำเลยที่ 1 ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2601 โดยการครอบครองปรปักษ์ เพื่อให้ศาลชั้นต้นหลงเชื่อว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ ม. และมีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้ ม. ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ทราบคำร้อง และจำเลยทั้งสองนำภาพถ่ายโฉนดปลอมดังกล่าวอ้างส่งเป็นพยานประกอบการเบิกความของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน แต่โจทก์แยกฟ้องเป็นรายข้อตามฐานความผิด แม้ในฟ้องข้อ 2.3 โจทก์จะไม่ได้บรรยายว่าประเด็นสำคัญในคดีแพ่งดังกล่าวมีว่าอย่างไร และพยานหลักฐานที่จำเลยทั้งสองร่วมกันนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร แต่ตามฟ้องข้อ 2.4 โจทก์ได้บรรยายฟ้องในความผิดฐานเบิกความเท็จว่า คดีแพ่งดังกล่าวมีประเด็นแห่งคดีที่ต้องพิสูจน์ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 2601 เป็นของ ม. จริงหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 เบิกความเท็จว่า ม. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 2601 ทำให้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 หลงเชื่อว่า ม. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์บางส่วน และฟ้องข้อ 2.2 โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองนำภาพถ่ายโฉนดที่ดินปลอมเข้าเป็นเอกสารท้ายคำร้อง เพื่อให้ศาลเชื่อว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 2601 ที่จำเลยที่ 1 ครอบครองปรปักษ์เป็นของ ม. เมื่ออ่านฟ้องรวมกันแล้วพอเข้าใจได้ว่าคดีแพ่งดังกล่าว มีประเด็นสำคัญแห่งคดีว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 2601 เป็นของ ม. หรือไม่ และภาพถ่ายโฉนดที่ดินปลอมที่อ้างส่งเป็นพยานหลักฐานในข้อสำคัญแห่งคดี เพราะทำให้ศาลเชื่อว่าที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเป็นของ ม. ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีครบองค์ประกอบความผิดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: การพิจารณาความเสียหายเจ้าของที่ดิน & ขอบเขตการใช้ทางสำหรับเดินเท้า ไม่ใช่รถยนต์
ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้" กฎหมายบัญญัติให้มุ่งพิจารณาถึงสภาพของที่ดินนั้นจะต้องถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นสำคัญ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจึงมีสิทธิจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ทั้งมิได้บังคับว่าเจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจะต้องขอผ่านที่ดินที่ล้อมซึ่งอยู่ใกล้ทางสาธารณะมากที่สุด เจ้าของที่ดินซึ่งถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมจึงมีสิทธิขอผ่านที่ดินที่ล้อมแปลงใดก็ได้ เพียงแต่การที่จะผ่านที่ดินที่ล้อมนั้น มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติว่า "ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านกับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้" เมื่อที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิขอเปิดทางในที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็น
ทางจำเป็นเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นจึงต้องใช้โดยมีขอบเขตด้วยความระมัดระวัง โดยคำนึงถึงผลเสียหายอันเกิดขึ้นแก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกบังคับใช้ทางจำเป็นด้วย เมื่อที่ดินของโจทก์เป็นที่ว่างเปล่ายังไม่ทำประโยชน์ใดๆ ส่วนที่ดินแปลงอื่นที่ล้อมอยู่โดยรอบมีสภาพเป็นทุ่งนา โจทก์ซื้อที่ดินมาตั้งแต่ปี 2517 ขณะนั้นยังไม่มีทางสาธารณะ โจทก์ย่อมรู้อยู่แล้วแต่ในขณะนั้นว่า ที่ดินที่โจทก์ซื้อไม่อาจใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้ คงใช้ทางได้เฉพาะการเดินเข้าออกเท่านั้น เมื่อโจทก์ยอมรับสภาพการที่จะไม่ใช้รถยนต์เข้าออกในทางขณะที่ซื้อที่ดินมาแต่แรกเท่ากับโจทก์ยอมรับสภาพที่จะต้องจอดรถยนต์ไว้ในสถานที่อื่น โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นทางจำเป็นเพื่อการใช้รถยนต์ ประกอบกับที่ดินของจำเลยมีเนื้อที่ประมาณ 3 งานเศษเท่านั้น หากเปิดทางกว้างถึง 2 วา หรือ 4 เมตร ตามที่โจทก์ขอย่อมเสียหายแก่จำเลยเกินสมควร
ทางจำเป็นเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นจึงต้องใช้โดยมีขอบเขตด้วยความระมัดระวัง โดยคำนึงถึงผลเสียหายอันเกิดขึ้นแก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกบังคับใช้ทางจำเป็นด้วย เมื่อที่ดินของโจทก์เป็นที่ว่างเปล่ายังไม่ทำประโยชน์ใดๆ ส่วนที่ดินแปลงอื่นที่ล้อมอยู่โดยรอบมีสภาพเป็นทุ่งนา โจทก์ซื้อที่ดินมาตั้งแต่ปี 2517 ขณะนั้นยังไม่มีทางสาธารณะ โจทก์ย่อมรู้อยู่แล้วแต่ในขณะนั้นว่า ที่ดินที่โจทก์ซื้อไม่อาจใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้ คงใช้ทางได้เฉพาะการเดินเข้าออกเท่านั้น เมื่อโจทก์ยอมรับสภาพการที่จะไม่ใช้รถยนต์เข้าออกในทางขณะที่ซื้อที่ดินมาแต่แรกเท่ากับโจทก์ยอมรับสภาพที่จะต้องจอดรถยนต์ไว้ในสถานที่อื่น โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นทางจำเป็นเพื่อการใช้รถยนต์ ประกอบกับที่ดินของจำเลยมีเนื้อที่ประมาณ 3 งานเศษเท่านั้น หากเปิดทางกว้างถึง 2 วา หรือ 4 เมตร ตามที่โจทก์ขอย่อมเสียหายแก่จำเลยเกินสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คู่ความเดิมไม่ยกเหตุโมฆะในคดีก่อน ศาลไม่รับฟ้องใหม่
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญาจำนองฉบับเดียวกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ แต่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การว่า สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ เพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อน เมื่อศาลพิพากษาให้มีการบังคับจำนองและคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องคดีใหม่อ้างว่า สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะหาได้ไม่ เพราะเท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดทั้งๆ ที่เป็นคู่ความรายเดียวกันซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อน ให้ต้องกลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่า โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148