พบผลลัพธ์ทั้งหมด 200 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานบอกเล่าผู้ตายก่อนมรณภาพเป็นหลักฐานประกอบได้ แต่ต้องมีหลักฐานอื่นสนับสนุน
คำกล่าวขณะผู้ตายที่บอกให้ทราบว่าจำเลยเป็นคนทำให้ตนตายในขณะที่รู้สึกตัวว่าใกล้จะตาย เป็นเหตุที่เข้าข้อยกเว้นให้รับฟังพยานบอกเล่าเป็นพยานหลักฐานได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (2) แต่คำบอกเล่าของผู้ตายดังกล่าวรับฟังได้แต่เพียงว่า ผู้ตายได้ระบุชื่อจำเลยเป็นคนร้ายเช่นนั้นจริง มิได้หมายความว่าจะต้องรับฟังว่าจำเลยเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย เพราะผู้ตายอาจเห็นหรือจำผิดพลาดหรือมีอุปทานก็เป็นได้ ความผิดพลาดอาจมีขึ้นได้ การระบุชื่อคนร้ายของผู้ตายจึงเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ใช้ประกอบพยานหลักฐานอื่นให้มีน้ำหนักมั่นคงยิ่งขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การพิพากษาตามเนื้อที่ดินที่รังวัดจริง แม้คำฟ้องประมาณการ
แม้ในคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทเนื้อที่ประมาณ 45 ไร่ ตามแผนที่ท้ายคำฟ้องก็ตาม ก็เป็นเพียงแต่การกะประมาณเนื้อที่ดินที่โจทก์ครอบครองตามสัดส่วนของตนเท่านั้น ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นมีการรังวัดทำแผนที่พิพาท ปรากฏว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ครอบครองมีเนื้อที่ 50 ไร่ 41 ตารางวา อยู่ภายในกรอบเส้นสีเขียวตามแผนที่พิพาท โดยโจทก์และจำเลยต่างมิได้คัดค้าน จึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องอยู่ภายในกรอบเส้นสีเขียวทั้งหมด การที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเนื้อที่ 50 ไร่ 41 ตารางวาถึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การพิพากษาตามเนื้อที่ดินที่รังวัดจริง แม้คำฟ้องประมาณการ
คำฟ้องของโจทก์ที่ระบุว่าโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทเนื้อที่ประมาณ 45 ไร่เศษ ตามแผนที่ท้ายคำฟ้อง เป็นเพียงแต่การกะประมาณเนื้อที่ดินที่โจทก์ครอบครองตามสัดส่วนของตนเท่านั้น ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นมีการรังวัดทำแผนที่พิพาท ปรากฏว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ครอบครองมีเนื้อที่ 50 ไร่ 41 ตารางวา อยู่ภายในกรอบเส้นสีเขียวตามแผนที่พิพาท โดยโจทก์และจำเลยต่างมิได้คัดค้าน จึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องอยู่ภายในกรอบเส้นสีเขียวทั้งหมด การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเนื้อที่ 50 ไร่ 41 ตารางวา ไม่เป็นการพิพาทเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนการใช้ความถี่วิทยุตามสัญญาเช่า: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินส่วน
แม้ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 มาตรา 11 ทวิ จะให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุและในกรณีที่ผู้ใช้ความถี่วิทยุไม่ชำระหรือชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเกินกำหนดเวลาที่กำหนด ผู้ใช้ความถี่วิทยุต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ของค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุที่ต้องชำระต่อวันนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดจนถึงวันที่ชำระแล้วเสร็จตามประกาศกระทรวงคมนาคมเรื่องกำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุ แต่ตามสัญญาเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมของกรมไปรษณีย์โทรเลขที่ อ. ทำสัญญาเช่าจากโจทก์ข้อ 4 ระบุว่าผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 กฎหมาย ระเบียบและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดและต้องรับผิดในกรณีที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดนั้นๆ ด้วย เช่นนี้ประกาศกระทรวงคมนาคมดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าข้อ 4 ด้วย และเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุหรือชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเกินเวลากำหนด จึงต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุในอัตราร้อยละ 1 ของค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุที่ต้องชำระต่อวันนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดจนถึงวันที่ชำระแล้วเสร็จตามที่กำหนดในสัญญาเช่าซึ่งการเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มดังกล่าว เป็นการกำหนดค่าเสียหายในกรณีผู้เช่าไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรไว้ล่วงหน้าในลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 เมื่อเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการขายทอดตลาดและการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง การใช้สิทธิของเจ้าของที่ดิน
ขณะจำเลยปลูกสร้างบ้านลงบนที่ดินพิพาทและบนที่ดินของจำเลยอีกแปลงหนึ่งที่อยู่ติดกันนั้น จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะปลูกสร้างได้ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ จึงมิใช่เป็นการปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 ต่อมาที่ดินพิพาทถูกบังคับคดีนำออกขายทอดตลาด โจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาด แม้โจทก์จะรู้หรือไม่รู้ว่ามีบ้านและสิ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาท แต่ที่ดินพิพาทก็เป็นของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงถือว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต สิทธิของโจทก์ที่ได้ที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดย่อมไม่เสียไปตามมาตรา 1330 โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และหลังจากโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดแล้ว โจทก์ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลย โดยยอมให้จำเลยเป็นเจ้าของบ้านและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินของโจทก์ต่อไป และโจทก์ในฐานะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมมีแดนแห่งกรรมสิทธิ์และมีสิทธิตามมาตรา 1335 และมาตรา 1336 เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยปลูกบ้านและสิ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินโจทก์อีกต่อไป และบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนออกจากที่ดินพิพาทแล้วจำเลยเพิกเฉย จึงเป็นการละเมิดทำให้โจทก์ไม่อาจใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ได้ มิใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต และกรณีมิใช่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีอันจะต้องอาศัยเพียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาวินิจฉัยคดีตามมาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินหลังขายทอดตลาด: สิทธิในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินของตน
จำเลยปลูกสร้างบ้านคร่อมลงบนที่ดินพิพาทและบนที่ดินของจำเลยอีกแปลงหนึ่งที่อยู่ติดกันโดยจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะปลูกสร้างได้ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ กรณีจึงมิใช่เป็นการปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 ต่อมาเมื่อที่ดินพิพาทถูกบังคับคดีนำออกขายทอดตลาด โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาด ไม่ว่าโจทก์จะรู้หรือไม่รู้ว่ามีบ้านและสิ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาท แต่ที่ดินพิพาทก็เป็นของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงถือว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต สิทธิของโจทก์ที่ได้ที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดย่อมไม่เสียไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และหลังจากโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดแล้ว ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้ก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลย โดยยอมให้จำเลยเป็นเจ้าของบ้านบนที่ดินของโจทก์ต่อไป และโจทก์ในฐานะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมมีแดนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินและมีสิทธิใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผลกับมีสิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1335, 1336 เมื่อโจทก์ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ประสงค์จะให้จำเลยปลูกบ้านและสิ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินโจทก์อีกต่อไปและได้บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนออกจากที่ดินพิพาทแล้วจำเลยเพิกเฉย จึงเป็นการละเมิดทำให้โจทก์ไม่อาจใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีอำนาจขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ได้หาใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตอย่างใด และกรณีมิใช่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีอันจะต้องอาศัยบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาวินิจฉัยคดีตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 742/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากบัตรภาษี แม้ไม่มีส่วนร่วมทุจริตก็ต้องรับผิดตามสัญญา อายุความ 10 ปี
โจทก์ฟ้องจำเลยตามข้อตกลงในสัญญาแม้จะไม่ได้ฟ้องบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องก็หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
จำเลยผู้รับโอนสิทธิตามบัตรภาษีจากบริษัท อ. ให้สัญญาต่อโจทก์ว่าหากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดๆ จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้และไม่ใช่ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้โจทก์ต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อของตนทั้งไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับได้ เมื่อบริษัท อ. ผู้โอนสิทธิตามบัตรภาษีมิได้ส่งสินค้าออกตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาออกจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษี จึงเป็นกรณีที่เกิดการทุจริตและเกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว ดังนั้นจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ให้ไว้แก่โจทก์ แม้ไม่ได้ความว่าจำเลยมีส่วนร่วมกับบริษัท อ. ในการสำแดงข้อความอันเป็นเท็จในใบขนสินค้าขาออก แต่จำเลยก็ต้องรับผิดตามสัญญา มิพักต้องคำนึงว่าจำเลยจะรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ และการกระทำของบริษัท อ. ต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ เป็นความรับผิดคนละส่วนกันและไม่ใช่กรณีที่โจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีหนี้ใดที่จะนำมาหักกลบลบหนี้กับโจทก์
ตาม ป.พ.พ. มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีสิทธิเรียกร้องตามสัญญา (คำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษี) ไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และตามสัญญาดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน จึงถือว่าจำเลยผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ย เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่คืนเงินให้ตามที่โจทก์กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคแรกและมาตรา 224 วรรคแรก
จำเลยผู้รับโอนสิทธิตามบัตรภาษีจากบริษัท อ. ให้สัญญาต่อโจทก์ว่าหากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดๆ จำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้และไม่ใช่ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้โจทก์ต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อของตนทั้งไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับได้ เมื่อบริษัท อ. ผู้โอนสิทธิตามบัตรภาษีมิได้ส่งสินค้าออกตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาออกจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษี จึงเป็นกรณีที่เกิดการทุจริตและเกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว ดังนั้นจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ให้ไว้แก่โจทก์ แม้ไม่ได้ความว่าจำเลยมีส่วนร่วมกับบริษัท อ. ในการสำแดงข้อความอันเป็นเท็จในใบขนสินค้าขาออก แต่จำเลยก็ต้องรับผิดตามสัญญา มิพักต้องคำนึงว่าจำเลยจะรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ และการกระทำของบริษัท อ. ต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ เป็นความรับผิดคนละส่วนกันและไม่ใช่กรณีที่โจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีหนี้ใดที่จะนำมาหักกลบลบหนี้กับโจทก์
ตาม ป.พ.พ. มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีสิทธิเรียกร้องตามสัญญา (คำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษี) ไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และตามสัญญาดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน จึงถือว่าจำเลยผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ย เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่คืนเงินให้ตามที่โจทก์กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคแรกและมาตรา 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเพื่อลงทุน ไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิด
โจทก์ยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินมาลงทุนสร้างทาวน์เฮาส์ในที่ดินของโจทก์ออกขายว่า โจทก์จะชำระดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ภาระในการชำระดอกเบี้ยจึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนอันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ปิดกั้นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะ เป็นเหตุให้ลูกค้าของโจทก์บอกเลิกสัญญาซื้อขายทาวน์เฮาส์และเรียกเงินคืน ทำให้โจทก์ไม่ได้รับเงินจากลูกค้าไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ จำเลยจึงไม่ต้องชำระดอกเบี้ยดังกล่าวให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีศุลกากร: การกำหนดอายุความเฉพาะใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคสาม มีผลเหนือกว่าอายุความทั่วไปใน ป.อ.
ฎีกาของจำเลยทั้งสามที่ว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามรับผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 เพื่อให้ได้ค่าปรับและค่าภาษีอากรที่ขาดอันเนื่องมาจากการสำแดงราคาเท็จ ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 10 วรรคสาม ให้มีอายุความ 10 ปี จึงต้องถือเอาอายุความตามนั้น จะเทียบเคียงใช้อายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (2) มิได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้น 10 ปี แล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวมาแล้ว และยังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงแนวคำวินิจฉัยเดิม ฎีกาของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเพิกถอนการบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี
ผู้ร้องบรรยายในคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นมารดาของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกโจทก์นำยึด มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับทรัพย์ดังกล่าว แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเดิมที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาเป็นของผู้ร้องที่ได้ยกให้แก่จำเลย และผู้ร้องได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำเลยไปแล้ว โดยจำเลยยินยอมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถูกยึดคืนให้แก่ผู้ร้องก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะไปว่ากล่าวกันต่างหาก ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 280 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายบังคับคดีและประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามมาตรา 296