พบผลลัพธ์ทั้งหมด 200 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนการบังคับคดี: ผู้ร้องต้องมีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี
ผู้ร้องเป็นมารดาของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดตามประกาศยึดทรัพย์ แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเดิมที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาเป็นของผู้ร้องที่ได้ยกให้แก่จำเลย และผู้ร้องได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำเลยไปแล้ว โดยจำเลยยินยอมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถูกยึดคืนให้แก่ผู้ร้องก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะไปว่ากล่าวกันต่างหาก ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 280 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายบังคับคดีและประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 454/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าเช่าไม่ผูกพันผู้รับโอนที่ดิน หากไม่มีการยินยอมผูกพัน
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเป็นเพียงบุคคลสิทธิที่ใช้บังคับกันได้เฉพาะแต่ในระหว่างคู่สัญญา ไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินพิพาท เว้นแต่โจทก์ผู้รับโอนที่ดินพิพาทจะได้ตกลงยินยอมผูกพันที่จะปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาแทนผู้ให้เช่าเดิม ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ไม่ได้ตกลงยินยอมที่จะผูกพันตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา แม้โจทก์จะทราบว่ามีสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาระหว่างจำเลยกับบริษัท ม. ในขณะรับโอนที่ดินพิพาท สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาก็ไม่ผูกพันโจทก์ และไม่ถือว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม เหตุโต้เถียงดุลพินิจศาลอุทธรณ์ คดีครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์
ในชั้นฎีกาโจทก์และจำเลยโต้เถียงกันว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์ เมื่อที่ดินพิพาทมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ขณะยื่นคำฟ้องเดือนละไม่เกิน 10,000 บาท การที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์มิใช่ผู้ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การประเมินค่าเสียหาย และอายุความฟ้อง
จำเลยร่วมที่ 1 ขับรถแซงรถยนต์บรรทุกหกล้อซึ่งแล่นอยู่ข้างหน้าเข้าไปในช่องเดินรถสวนในขณะที่ บ. ขับรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์และ ล. ขับรถยนต์กระบะแล่นสวนทางมาในระยะใกล้ โดยไม่รอให้รถยนต์ยี่ห้อเบนซ์และรถคันที่จำเลยร่วมที่ 1 และ ล. ขับแล่นผ่านไปก่อนถึงแม้รถคันที่จำเลยร่วมที่ 1 ขับไม่ได้ชนกับรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ แต่หากจำเลยร่วมที่ 1 ไม่ขับรถแซงเข้าไปในช่องเดินรถสวนในระยะใกล้เช่นนั้นก็ไม่มีเหตุที่ทำให้ บ. จำต้องขับรถหลบไปด้านซ้ายของถนนเพื่อไม่ให้รถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ถูกชน การที่รถยนต์ยี่ห้อเบนซ์หลบรถจำเลยร่วมที่ 1 แล้วพลิกคว่ำ จึงเป็นผลมาจากการที่จำเลยร่วมที่ 1 ขับรถแซงเข้ามาในช่องเดินรถสวนโดยตรง จำเลยร่วมที่ 1 จึงเป็นฝ่ายขับรถโดยประมาท
รถยนต์ยี่ห้อเบนซ์สามารถซ่อมแซมให้กลับคืนสภาพเดิมได้ในวงเงิน 1,200,000 บาท โจทก์จึงมีหน้าที่จัดการซ่อมรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ให้ผู้เอาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องค่าซ่อมจำนวนดังกล่าวจากจำเลยร่วมที่ 1 การที่โจทก์พิจารณาจ่ายค่าเสียหายตามทุนประกัน 2,200,000 บาท ให้แก่ผู้เอาประกันแทนการซ่อมรถให้ผู้เอาประกันเป็นเรื่องที่โจทก์และผู้เอาประกันตกลงกันเองที่ขัดกับหลักปฏิบัติของโจทก์ในกรณีที่รถเอาประกันสามารถซ่อมได้ทางโจทก์จะไม่คืนทุนประกันให้ลูกค้า จึงไม่อาจนำมาเรียกร้องให้จำเลยร่วมที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้ จำเลยร่วมที่ 1 คงรับผิดต่อโจทก์ตามความเสียหายที่แท้จริงที่โจทก์จะต้องจ่ายไปในการซ่อมรถให้ผู้เอาประกันภัยในวงเงิน 1,200,000 บาท
โจทก์นำรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ซึ่งได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาจากบริษัท ก. ออกขายเพื่อให้ได้เงินมาชดเชยค่าเสียหายตามทุนประกันที่โจทก์ได้จ่ายไปในส่วนที่ยังขาดอยู่ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 1 ที่มีต่อโจทก์จะนำมาหักออกจากค่าซ่อมที่จำเลยร่วมที่ 1 มีหน้าที่ต้องจ่ายให้โจทก์ไม่ได้ จำเลยร่วมที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
รถยนต์ยี่ห้อเบนซ์สามารถซ่อมแซมให้กลับคืนสภาพเดิมได้ในวงเงิน 1,200,000 บาท โจทก์จึงมีหน้าที่จัดการซ่อมรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ให้ผู้เอาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องค่าซ่อมจำนวนดังกล่าวจากจำเลยร่วมที่ 1 การที่โจทก์พิจารณาจ่ายค่าเสียหายตามทุนประกัน 2,200,000 บาท ให้แก่ผู้เอาประกันแทนการซ่อมรถให้ผู้เอาประกันเป็นเรื่องที่โจทก์และผู้เอาประกันตกลงกันเองที่ขัดกับหลักปฏิบัติของโจทก์ในกรณีที่รถเอาประกันสามารถซ่อมได้ทางโจทก์จะไม่คืนทุนประกันให้ลูกค้า จึงไม่อาจนำมาเรียกร้องให้จำเลยร่วมที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้ จำเลยร่วมที่ 1 คงรับผิดต่อโจทก์ตามความเสียหายที่แท้จริงที่โจทก์จะต้องจ่ายไปในการซ่อมรถให้ผู้เอาประกันภัยในวงเงิน 1,200,000 บาท
โจทก์นำรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ซึ่งได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาจากบริษัท ก. ออกขายเพื่อให้ได้เงินมาชดเชยค่าเสียหายตามทุนประกันที่โจทก์ได้จ่ายไปในส่วนที่ยังขาดอยู่ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 1 ที่มีต่อโจทก์จะนำมาหักออกจากค่าซ่อมที่จำเลยร่วมที่ 1 มีหน้าที่ต้องจ่ายให้โจทก์ไม่ได้ จำเลยร่วมที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15180/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจงดฟ้องของอธิบดีกรมศุลกากรต้องใช้ก่อนการฟ้องคดี หากฟ้องแล้ว อธิบดีไม่มีอำนาจงดฟ้องได้อีก
จำเลยทั้งสองร่วมกันรับไว้ซึ่งรถยนต์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร วันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยทั้งสองถูกเจ้าพนักงานจับกุม จำเลยทั้งสองทำหนังสือขอทำความตกลงระงับคดีในชั้นศุลกากร โดยยินยอมยกของกลางให้ตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 102 ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้น หลังจากนั้นอธิบดีกรมศุลกากรมีคำสั่งอนุมัติให้ระงับคดี ดังนี้การใช้อำนาจของอธิบดีตามบทมาตราดังกล่าวจะต้องกระทำก่อนที่ผู้กระทำความผิดจะถูกฟ้องร้องต่อศาล เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นก่อนที่อธิบดีจะมีคำสั่งอนุมัติให้ระงับคดี คำสั่งดังกล่าวจึงล่วงเลยระยะเวลาที่อธิบดีกรมศุลกากรจะมีอำนาจสั่งให้งดการฟ้องร้องได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14800/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินสมรสเพื่อบังคับคดี: สิทธิเจ้าหนี้ vs. สิทธิขอส่วนแบ่ง
เมื่อทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นสินสมรส อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกัน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดได้ทั้งแปลง ผู้ร้องคงมีสิทธิขอกันส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเท่านั้น จึงไม่สมควรมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้อง โดยให้ระงับการขายทอดตลาดทรัพย์ไว้ในระหว่างการอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10442/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหนี้ตามสัญญาเดินสะพัดและบัตรเครดิต โจทก์ต้องแสดงรายละเอียดหนี้บัตรเครดิตในคำฟ้อง
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องมาด้วยว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตที่จำเลยได้สมัครเป็นสมาชิกขอใช้บัตรเครดิตและได้รับอนุญาตให้ใช้บัตรเครดิตจากโจทก์แล้วและระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต การชำระหนี้ระยะเวลาชำระหนี้ ตลอดจนการคำนวณหนี้และดอกเบี้ยกันอย่างไร จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตกับโจทก์ด้วยวิธีการใดและเป็นหนี้จำนวนเท่าใด ซึ่งเห็นได้ชัดว่าหนี้ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตย่อมต้องมีข้อตกลงต่างหากจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ เท่ากับโจทก์ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยเป็นหนี้ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตต่อโจทก์และคำขอบังคับมาในคำฟ้อง จึงต้องพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องใหม่ภายในอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10421/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยรถยนต์เช่าซื้อ: การตีความเจตนาคู่สัญญาเพื่อยืนยันความผูกพันและสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
ตารางกรมธรรม์และรายการคุ้มครองระบุว่า พ. เป็นผู้เอาประกันภัยและบริษัท ม. เป็นผู้รับประโยชน์ วัตถุประสงค์แห่งสัญญาประกันภัยย่อมมุ่งประสงค์ไปที่การประกันภัยรถยนต์คันที่ พ. เป็นผู้เช่าซื้อตลอดระยะเวลาที่เช่าซื้อเป็นสำคัญยิ่งกว่าวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยที่พิมพ์เป็นตัวอักษร แม้สัญญาเช่าซื้อช่วงจะระบุวันเริ่มต้นของสัญญาหลังวันเริ่มต้นของสัญญาประกันภัย การตีความวันทำสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 จึงถือได้ว่า พ. ผู้เอาประกันภัยเป็นเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยขณะทำสัญญาประกันภัยกับโจทก์แล้ว
รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยถูกโจรกรรมไปจากลานจอดรถของจำเลย โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ม. ไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิในค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวมาเรียกร้องเอาจากจำเลยเท่านั้น ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยส่งคืนรถยนต์แก่โจทก์ได้
รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยถูกโจรกรรมไปจากลานจอดรถของจำเลย โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ม. ไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิในค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวมาเรียกร้องเอาจากจำเลยเท่านั้น ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยส่งคืนรถยนต์แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10421/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประกันภัยตามเจตนาคู่สัญญา แม้กำหนดระยะเวลาในสัญญาไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง สิทธิช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย
บริษัท ม. เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท อ. แล้วบริษัท ม. ให้ พ. เช่าซื้อช่วง โดย พ. นำรถไปประกันภัยไว้กับโจทก์ มีบริษัท ม. เป็นผู้รับประโยชน์ แม้สัญญาเช่าซื้อช่วงจะระบุวันเริ่มต้นของสัญญาหลังวันเริ่มต้นของสัญญาประกันภัย การตีความวันทำสัญญาประกันภัยย่อมเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 ถือว่า พ. ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยขณะทำสัญญาประกันภัยกับโจทก์แล้ว เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อหายไปในบริเวณลานจอดรถของโรงแรมของจำเลย และโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัท ม. ผู้รับประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยแล้วย่อมได้รับช่วงสิทธิมาเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัท ม. จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10417/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อรถหาย ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา
สัญญาเช่าซื้อว่าเริ่มชำระงวดแรกวันที่ 25 เมษยน 2540 เช่นนี้ เมื่อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 9 จึงเป็นงวดประจำวันที่ 25 ธันวาคม 2540 แต่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดที่ 9 นับแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2541 แสดงว่าโจทก์ยอมรับชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามงวดที่ระบุในสัญญา เช่นนี้ถือว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ถือเอากำหนดระยะเวลาการชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายในระยะเวลาอันควรก่อน การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อทันทีเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2541 จึงไม่ชอบ
รถยนต์ที่เช่าซื้อได้สูญหายไปจริงก่อนโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญา และเนื่องจากสัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์รวมกับคำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินที่ให้เช่า สัญญาเช่าซื้อจึงเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 ดังนี้ สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเลิกกันนับแต่วันที่ 26 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าการสูญหายเป็นเพราะความผิดของจำเลยที่ 1 โจทก์จะฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่นับแต่วันที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไม่ได้ แต่ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 4. กำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเกี่ยวกับค่าเสียหายจากการใช้การเก็บรักษาทรัพย์ที่เช่าซื้อแม้เป็นเหตุสุดวิสัย และตามข้อ 7. ได้กำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเงินค่าเช่าซื้อ ค่าเสียหายใด ๆ ในกรณีสัญญาเช่าซื้อได้ยกเลิกเพิกถอนไม่ว่าเหตุใดให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อจนครบถ้วน ย่อมหมายความรวมถึงผู้เช่าซื้อต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อเกี่ยวกับค่าเสียหาย ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระในกรณีสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเพราะเหตุรถยนต์เช่าซื้อสูญหายด้วย ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในลักษณะเป็นเบี้ยปรับย่อมใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
แม้หนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์เป็นเพียงคู่ฉบับ และสัญญาค้ำประกันจะมิได้ติดอากรแสตมป์ แต่ตามคำให้การจำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญาเช่าซื้อ และจำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองให้การยอมรับแล้วว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามฟ้องกับโจทก์จริง โดยไม่จำต้องอาศัยสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานในคดี
รถยนต์ที่เช่าซื้อได้สูญหายไปจริงก่อนโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญา และเนื่องจากสัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์รวมกับคำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินที่ให้เช่า สัญญาเช่าซื้อจึงเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 ดังนี้ สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเลิกกันนับแต่วันที่ 26 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าการสูญหายเป็นเพราะความผิดของจำเลยที่ 1 โจทก์จะฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่นับแต่วันที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไม่ได้ แต่ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 4. กำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเกี่ยวกับค่าเสียหายจากการใช้การเก็บรักษาทรัพย์ที่เช่าซื้อแม้เป็นเหตุสุดวิสัย และตามข้อ 7. ได้กำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเงินค่าเช่าซื้อ ค่าเสียหายใด ๆ ในกรณีสัญญาเช่าซื้อได้ยกเลิกเพิกถอนไม่ว่าเหตุใดให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อจนครบถ้วน ย่อมหมายความรวมถึงผู้เช่าซื้อต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อเกี่ยวกับค่าเสียหาย ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระในกรณีสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเพราะเหตุรถยนต์เช่าซื้อสูญหายด้วย ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในลักษณะเป็นเบี้ยปรับย่อมใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
แม้หนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์เป็นเพียงคู่ฉบับ และสัญญาค้ำประกันจะมิได้ติดอากรแสตมป์ แต่ตามคำให้การจำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญาเช่าซื้อ และจำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองให้การยอมรับแล้วว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามฟ้องกับโจทก์จริง โดยไม่จำต้องอาศัยสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานในคดี