พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการต้องมีโอกาสกลับคืนสู่สภาพปกติ หากมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีช่องทางฟื้นฟู ศาลไม่อนุญาต
การฟื้นฟูกิจการนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ซึ่งประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวได้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการของลูกหนี้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนินกิจการตามปกติต่อไปได้ แต่ปรากฏว่าลูกหนี้มีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ถึง 413,308,151.60 บาท มีผลขาดทุนสุทธิ 163,655,768.74 บาท ทำให้มีผลขาดทุนสุทธิเกินทุนจำนวน 313,166,361.28 บาท โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแสดงความเห็นว่า บริษัทมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นจำนวนเงินสูง เป็นเหตุให้สงสัยว่าบริษัทอาจไม่สามารถดำรงอยู่ได้ แม้ลูกหนี้จะดำเนินธุรกิจมานานโดยทำสัญญาร่วมทุนเพื่อดำเนินกิจการร้านสะดวกซื้อ เอเอ็ม/พีเอ็มกับวิสาหกิจ 2 แห่ง ในสถานีบริการน้ำมัน ป.ต.ท. ทั่วประเทศ โดยก่อตั้งบริษัทมาบริหารกิจการและลูกหนี้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทดังกล่าวจำนวน 3,999,999 หุ้น แต่หุ้นดังกล่าวลูกหนี้ได้จำนำไว้กับผู้คัดค้าน และในปัจจุบันสิทธิในการใช้เครื่องหมาย เอเอ็ม/พีเอ็มก็ตกเป็นของผู้คัดค้านโดยได้รับความยินยอมจากผู้เป็นเจ้าของแล้ว ซึ่งผู้คัดค้านได้บอกเลิกสัญญาให้ใช้สิทธิแล้วอันเนื่องมาจากผลประกอบการที่ขาดทุนและการค้างค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิ นอกจากนี้หลังจากปี 2541 เป็นต้นมาไม่ปรากฏว่าลูกหนี้จัดทำงบการเงินยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์ แสดงให้เห็นว่าลูกหนี้ไม่ได้ประกอบกิจการใดๆ แล้ว และไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ได้รับทุนหมุนเวียนมาจากสถาบันการเงินใด ดังนั้น จึงฟังได้ว่า ลูกหนี้ไม่ได้ประกอบธุรกิจแล้ว ลูกหนี้ไม่มีโอกาสฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการของลูกหนี้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนินกิจการตามปกติต่อไปได้ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1866/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีทรัพย์สินจำนอง แต่ไม่ปรากฏว่ามีมูลค่าเพียงพอชำระหนี้ทั้งหมด
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ตามคำพิพากษาจำนวน 5,495,094.53 บาท และไม่มีทรัพย์สินอื่นใดนอกจากที่ดิน 3 แปลงที่จำนองเป็นประกันไว้แก่เจ้าหนี้รายอื่น โดยไม่ปรากฏว่าทรัพย์สินที่จำนองเป็นประกันมีราคามากกว่าหนี้ที่จำนองเป็นประกันหรือไม่ จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอม แต่มิได้ขวนขวายที่จะนำเงินมาชำระหนี้ จนโจทก์นำยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยทั้งสามจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสามล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: สัญญาผูกพัน แม้มีคัดค้าน ผู้ซื้อต้องปฏิบัติตามสัญญา
การขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลาย มีลักษณะแตกต่างจากการขายทอดตลาดโดยทั่วไป กล่าวคือ การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งจะมีการยกเลิก เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวได้ก็แต่โดยการร้องคัดค้านการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ให้แก่ผู้ร้อง แม้จะมีผู้อื่นยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดแต่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งว่าการขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดจึงรับฟังเป็นยุติว่าการขายทอดตลาดเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงสามารถโอนทรัพย์สินให้ผู้ร้องได้ จะถือว่าการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยและทำให้ผู้ร้องหลุดพ้นจากการชำระหนี้สามารถบอกเลิกสัญญามิได้ ผู้ร้องต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยใช้ราคาทรัพย์สินที่ค้างชำระให้ครบ หากไม่ชำระเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเอาออกขายอีกซ้ำหนึ่ง ถ้าได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ผู้ร้องต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขอเงินมัดจำคืน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ให้แก่ผู้ร้อง แม้จะมีผู้อื่นยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดแต่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งว่าการขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดจึงรับฟังเป็นยุติว่าการขายทอดตลาดเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงสามารถโอนทรัพย์สินให้ผู้ร้องได้ จะถือว่าการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยและทำให้ผู้ร้องหลุดพ้นจากการชำระหนี้สามารถบอกเลิกสัญญามิได้ ผู้ร้องต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยใช้ราคาทรัพย์สินที่ค้างชำระให้ครบ หากไม่ชำระเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเอาออกขายอีกซ้ำหนึ่ง ถ้าได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ผู้ร้องต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขอเงินมัดจำคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องจากการประมูลในคดีล้มละลาย: การร้องสอดเพื่อคุ้มครองสิทธิ
ผู้ร้องเป็นผู้เข้าประมูลซื้อทรัพย์สินในการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยสิทธิเรียกร้องที่ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อได้รวมถึงสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อกองทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองในคดีนี้ด้วยและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดว่าผู้ร้องไม่สุจริตหรือการขายดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ประการใด สิทธิของผู้ร้องผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 123 ทั้งขณะผู้ร้องยื่นคำร้องสอด จำเลยทั้งสองถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหมายเรียกจำเลยทั้งสองไปให้การเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน อันถือได้ว่าเป็นการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีล้มละลายแล้ว เมื่อสิทธิของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีนี้ตกเป็นของผู้ร้องจากการขายทอดตลาดดังกล่าวแล้วผู้ร้องจึงเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวข้องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีล้มละลาย มีสิทธิร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ประกอบ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 153 (เดิม) โดยไม่จำต้องมีผู้ใดมาโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องก่อนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องจากการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: การเข้าเป็นคู่ความเพื่อบังคับคดี
ผู้ร้องซื้อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีนี้ได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีของศาลล้มละลายกลาง สิทธิของผู้ร้องจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครองและบังคับตามสิทธิดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ทั้งขณะผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหมายเรียกจำเลยไปให้การเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน อันถือได้ว่าเป็นการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีล้มละลายแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีล้มละลายมีสิทธิร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 (เดิม) โดยไม่จำต้องมีผู้ใดมาโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เยาว์และบิดาในอุบัติเหตุทางรถยนต์ การประมาททัดเทียมกัน และข้อยกเว้นความรับผิดของประกันภัย
โจทก์เป็นบิดาของ ป. โจทก์ยอมให้ ป. ซึ่งยังเป็นผู้เยาว์อายุ 16 ปี และยังไม่มีใบอนุญาตขับรถ ขับรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะออกไปตามถนนสาธารณะ เป็นการเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ถือว่าโจทก์มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลบุตรผู้เยาว์ โจทก์จึงต้องร่วมกับ ป. รับผิดในผลที่ ป. ทำละเมิดต่อจำเลยด้วย
การที่โจทก์และจำเลยจะต้องรับผิดในผลของการกระทำละเมิดต่อกันเพียงใดนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบด้วย มาตรา 223 ให้พิจารณาถึงพฤติการณ์ด้วยว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่ เมื่อต่างฝ่ายต่างทำละเมิดต่อกันและมีส่วนประมาทพอ ๆ กัน โจทก์และจำเลยจึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากกันได้
จำเลยร่วมเป็นผู้รับประกันภัยความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์คันที่จำเลยเอาประกันภัยไว้ และจะต้องรับผิด ก็ต่อเมื่อจำเลยผู้เอาประกันต้องรับผิด เมื่อโจทก์ไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เช่นกัน
การที่โจทก์และจำเลยจะต้องรับผิดในผลของการกระทำละเมิดต่อกันเพียงใดนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบด้วย มาตรา 223 ให้พิจารณาถึงพฤติการณ์ด้วยว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่ เมื่อต่างฝ่ายต่างทำละเมิดต่อกันและมีส่วนประมาทพอ ๆ กัน โจทก์และจำเลยจึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากกันได้
จำเลยร่วมเป็นผู้รับประกันภัยความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์คันที่จำเลยเอาประกันภัยไว้ และจะต้องรับผิด ก็ต่อเมื่อจำเลยผู้เอาประกันต้องรับผิด เมื่อโจทก์ไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาททั้งสองฝ่าย อุบัติเหตุทางรถยนต์, ความรับผิดทางแพ่ง, บิดาผู้เยาว์, การประกันภัย
โจทก์เป็นบิดาของ ป. โจทก์ยอมให้ ป. ซึ่งยังเป็นผู้เยาว์อายุ 16 ปี และยังไม่มีใบอนุญาตขับรถ ขับรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะออกไปตามถนนสาธารณะเป็นการเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ถือว่าโจทก์มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลบุตรผู้เยาว์ โจทก์จึงต้องร่วมกับ ป. รับผิดในผลที่ ป. ทำละเมิดต่อจำเลยด้วย
การที่โจทก์และจำเลยจะต้องรับผิดในผลของการกระทำละเมิดต่อกันเพียงใดนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 ให้พิจารณาถึงพฤติการณ์ด้วยว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่ เมื่อต่างฝ่ายต่างทำละเมิดต่อกันและมีส่วนประมาทพอ ๆ กัน โจทก์และจำเลยจึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากกันได้
จำเลยร่วมเป็นผู้รับประกันภัยความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์คันที่จำเลยเอาประกันภัยไว้ และจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อจำเลยผู้เอาประกันต้องรับผิด เมื่อโจทก์ไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เช่นกัน
การที่โจทก์และจำเลยจะต้องรับผิดในผลของการกระทำละเมิดต่อกันเพียงใดนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 ให้พิจารณาถึงพฤติการณ์ด้วยว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่ เมื่อต่างฝ่ายต่างทำละเมิดต่อกันและมีส่วนประมาทพอ ๆ กัน โจทก์และจำเลยจึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากกันได้
จำเลยร่วมเป็นผู้รับประกันภัยความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์คันที่จำเลยเอาประกันภัยไว้ และจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อจำเลยผู้เอาประกันต้องรับผิด เมื่อโจทก์ไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนฟ้องล้มละลายได้ แม้ศาลแพ่งยังไม่มีคำพิพากษา
จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญากู้เงิน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญารับรองวงเงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน กับหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนที่เจ้าหนี้จะฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง หรือให้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาก่อน เพราะ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3) บัญญัติแต่เพียงว่า หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน มิได้บัญญัติว่า หนี้นั้นศาลจะต้องมีคำพิพากษากำหนดจำนวนให้แน่นอนเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่ฟ้องล้มละลายได้ แม้ยังไม่มีคำพิพากษาศาลแพ่ง กำหนดจำนวนหนี้ได้แน่นอนตามสัญญากู้
หนี้ที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องคดีล้มละลายเป็นหนี้ตามสัญญากู้เงิน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญารับรองวงเงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน กับหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย เป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนที่ฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง หรือหากฟ้องเป็นคดีแพ่งแล้วให้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาก่อน เพราะ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) บัญญัติเพียงว่า หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนไว้โดยแน่นอน มิได้บัญญัติว่า หนี้นั้นศาลจะต้องมีคำพิพากษากำหนดจำนวนให้แน่นอนเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9146-9147/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยาเสพติด: การจำหน่ายและครอบครองเพื่อจำหน่าย, การใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่, และการลดโทษ
โจทก์กล่าวบรรยายมาในฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจำหน่ายโดยการขายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2,000 เม็ด ที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ยืนยันว่าเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2,000 เม็ดดังกล่าวคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เกินหนึ่งร้อยกรัม แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องว่า เมทแอมเฟตามีนจำนวน 151,600 เม็ด ที่จำเลยทั้งสี่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น คำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้ 2,962.120 กรัม ก็ตามก็ไม่อาจสันนิษฐานให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสี่ว่าเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2,000 เม็ด อันเป็นส่วนหนึ่งของจำนวน 151,600 เม็ด สามารถคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้เกินหนึ่งร้อยกรัม จึงต้องรับฟังว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจำหน่ายมีปริมาณคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม คงเป็นความผิดตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง เท่านั้น