คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วัฒนชัย โชติชูตระกูล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์เจตนาครอบครองพื้นที่ป่าสงวน การสั่งให้ผู้นำพื้นที่ออกจากเขตป่าต้องมีคำพิพากษาถึงความผิดเสียก่อน
คำขอท้ายฟ้องที่ขอให้สั่งให้จำเลย คนงาน ผู้รับเหมา ผู้แทนและบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสาม และพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2483 มาตรา 72 ตรี วรรคสาม ซึ่งศาลจะมีคำสั่งได้เช่นนั้นต่อเมื่อศาลพิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องโดยมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งให้ตามที่โจทก์ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองพื้นที่ป่าสงวนฯ เพื่อผู้อื่น จำเลยเพียงรับจ้างใส่ปุ๋ย ไม่ถือว่าครอบครองเพื่อผู้อื่น
การที่จำเลยรับจ้างบุคคลอื่นใส่ปุ๋ยต้นยางพาราที่ปลูกอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ครอบครองพื้นที่ดังกล่าวเพื่อผู้อื่นด้วย ถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองสวนยางพาราพื้นที่เกิดเหตุโดยยึดถือเอาไว้เพื่อผู้อื่น ตามความหมายของมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 หรือ มาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 จำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
เมื่อศาลมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิด กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 72 ตรี วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 และ มาตรา 31 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ที่จะสั่งให้จำเลย คนงานผู้รับจ้างผู้แทน และบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุตามที่โจทก์ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1380/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก: ทายาทร่วมสิทธิ แม้ฟ้องขอแบ่งเฉพาะตน ศาลมีอำนาจแบ่งให้ทายาทอื่นได้ และประเด็นอายุความขาดเสียหรือไม่
แม้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์เท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นทายาทอยู่ในฐานะอันควรได้มรดกเช่นเดียวกับโจทก์ ศาลมีอำนาจแบ่งมรดกรายนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ได้ เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความในคดีตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749 วรรคสองอยู่แล้ว โดยไม่จำต้องร้องสอดเข้ามาขอส่วนแบ่งในคดีแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1380/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมรดกสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส: สิทธิทายาท, อายุความ, และการแบ่งมรดก
พ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ น. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส พ. ซื้อที่ดินพิพาทเนื้อที่ 1 งาน 56 ตารางวา มาในระหว่างที่อยู่กินด้วยกัน น. จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วย พ. ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นของ น. กึ่งหนึ่งเนื้อที่ 78 ตารางวาให้แก่จำเลยที่ 2 และ บ. เมื่อ น. ถึงแก่กรรมไปก่อน พ. ที่ดินส่วนของ น. จึงตกเป็นมรดกแก่ทายาทของ น. ซึ่งได้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 เพียง 2 คน ส่วน พ. มิได้เป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกส่วนของ น. เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของ น. ให้แก่โจทก์โดยที่ดินส่วนดังกล่าวไม่ได้เป็นมรดกของ พ. จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้สืบสิทธิของทายาทอันจะอาจอ้างอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาตัดฟ้องโจทก์ จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ต้องดำเนินการแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จำนวน 26 ตารางวา
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 1 เป็นทายาทอยู่ในฐานะอันควรได้มรดกเช่นเดียวกับโจทก์ ศาลจึงมีอำนาจแบ่งมรดกให้แก่จำเลยที่ 1 ด้วย เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความในคดีตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749 วรรคสองอยู่แล้ว โดยไม่จำต้องร้องสอดเข้ามาขอส่วนแบ่งในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย: ยื่นได้ครั้งเดียวตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 61 บังคับให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายทันทีเมื่อดำเนินคดีมาตามขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว ศาลจะงดพิพากษาหรือรอการพิพากษาหรือพิพากษาเป็นอย่างอื่นไม่ได้ และกฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายได้เพียงครั้งเดียว หากจำเลยจะขอประนอมหนี้อีกก็ชอบที่จะเสนอคำขอได้ในตอนหลัง เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายแล้วตามมาตรา 63 การที่จำเลยยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายเข้ามาอีก จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมีได้ครั้งเดียว หากพ้นระยะเวลาหรือขั้นตอนแล้ว ยื่นเพิ่มเติมไม่ได้
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 61 บัญญัติบังคับให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายทันทีเมื่อได้ดำเนินคดีมาตามขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว ศาลจะงดพิพากษา หรือรอการพิพากษา หรือพิพากษาเป็นอย่างอื่นไม่ได้ และกฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายได้เพียงครั้งเดียว หากจำเลยจะขอประนอมหนี้อีกก็ชอบที่จะเสนอคำขอได้ในตอนหลังเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายเข้ามาอีกอันมิใช่เป็นการขอแก้ไขคำขอประนอมหนี้ตามมาตรา 47 และเป็นการพ้นระยะเวลาตามมาตรา 45 แล้ว การยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายอีกครั้งจะทำให้คดีล้มละลายไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็วผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงและการกำหนดประเด็นข้อพิพาท ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่กำหนดและจำกัดขอบเขตการวินิจฉัย
เมื่อคดีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่า โจทก์มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ การที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่จำต้องมีการรับรองให้อุทธรณ์ จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลง และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ แต่การที่จะสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นฎีกาในข้อเท็จจริงประเด็นเดียวกับที่อุทธรณ์ และได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับรอง แต่ไม่มีผู้ใดรับรองให้ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงว่า จำเลยมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทหรือไม่ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นจึงต้องถือว่าประเด็นข้อพิพาทมีอยู่ตามที่ได้กำหนดไว้ดังกล่าว และจำเลยย่อมนำสืบให้ปรากฏได้ว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่นที่มิใช่โจทก์ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์และสามีจำเลยต่างครอบครองและถือสิทธิในบ้านพิพาทเป็นส่วนสัดแยกจากกัน โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นแห่งคดีแล้ว ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง, ประเด็นข้อพิพาท, สิทธิครอบครอง และการวินิจฉัยนอกฟ้อง
คดีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ การที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่จำต้องมีการรับรองให้อุทธรณ์ จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่ามีการรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แต่การที่จะสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลตามมาตรา 27 เมื่อโจทก์ได้ยื่นฎีกาในข้อเท็จจริงประเด็นเดียวกับที่อุทธรณ์ และได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับรอง แต่ไม่มีผู้ใดรับรองให้ ศาลฎีกาจึงไม่สั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์และสามีจำเลยต่างครอบครองและถือสิทธิในบ้านพิพาทเป็นส่วนสัดแยกจากกัน โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย เป็นการวินิจฉัยตามประเด็นแห่งคดีไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาในคดีล้มละลาย: การฟ้องล้มละลายสะดุดอายุความ และการขอรับชำระหนี้
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2529 ให้ลูกหนี้ทั้งสองกับ ส.ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ และโจทก์นำเอาหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องขอให้ลูกหนี้ทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2539 เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องลูกหนี้ทั้งสองให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาที่ถึงที่สุดมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 และมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ กำหนดไว้โดยเฉพาะ อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2)เมื่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้เข้าสวมสิทธิของโจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษานี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2542 จึงเป็นการขอรับชำระหนี้ในขณะที่อายุความสะดุดหยุดลง หนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงไม่ขาดอายุความ ไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 94(1) กรณีดังกล่าวมิใช่เป็นการที่เจ้าหนี้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจะนำเอาระยะเวลาบังคับคดี 10 ปีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 มาปรับใช้แก่กรณีนี้หาได้ไม่
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา ในการอุทธรณ์หรือฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลในอัตราเดียวกับค่ายื่นคำขอชำระหนี้คือ ให้คิดฉบับละ 25 บาทตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานเบียดบังทรัพย์สิน: เพียงระบุหน้าที่, การกระทำ, และผลของการกระทำ ก็เพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงวันเวลาเกิดเหตุ หน้าที่และการกระทำของจำเลยว่า ตามวันเวลาที่เกิดเหตุจำเลยซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท พ.ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวแต่ผู้เดียว ได้จำหน่ายสินค้าของบริษัทโดยระบุประเภท น้ำหนักของสินค้า และจำนวนเงินที่จำหน่ายสินค้าได้แต่ละวัน แล้วเบียดบังเงินที่จำหน่าย สินค้าได้นั้นเป็นของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริตแล้ว ยังได้บรรยายถึงสถานที่เกิดเหตุด้วย คำบรรยายฟ้องเช่นนี้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดอย่างไร แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยเบียดบังเอาเงินของบริษัทไปอย่างไรด้วยวิธีการใดมาด้วย ก็เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
of 44