พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถในทางเดินรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การที่จำเลยจอดรถในทางเดินรถโดยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 56 วรรคสอง,152 เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,390 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4) และ 157ต้องเป็นผู้ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน และตามมาตรา 78 และ 160 ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อจำเลยจอดรถในทางเดินรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4),78,157 และ 160 วรรคหนึ่งปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องในความผิดดังกล่าวทั้งสองข้อหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,215,225
ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4) และ 157ต้องเป็นผู้ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน และตามมาตรา 78 และ 160 ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อจำเลยจอดรถในทางเดินรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4),78,157 และ 160 วรรคหนึ่งปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องในความผิดดังกล่าวทั้งสองข้อหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,215,225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5951/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบริหารการขาย: การจ่ายค่าตอบแทนเมื่อโอนกรรมสิทธิ์เท่านั้น ไม่สามารถขยายความได้
สัญญาบริหารการขายที่ลูกหนี้ทำกับเจ้าหนี้เพื่อให้เจ้าหนี้ดำเนินงานด้านการตลาดและการขายโครงการบ้านศรีวรา มีข้อตกลงว่าการจ่ายค่าตอบแทนการขายจะจ่ายเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ลูกค้า กรณีจึงไม่อาจแปลขยายความเงื่อนไขตามข้อตกลงนี้ให้เป็นอย่างอื่นได้ แม้ว่าเจ้าหนี้ทำยอดขายได้รวมเป็นเงินจำนวน 1,704,260,000 บาท แต่ยอดขายนี้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ลูกค้าคิดเป็นเงินจำนวน 208,006,023 บาทเจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในอัตราร้อยละ 1 ของยอดขายที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ลูกค้าซึ่งคิดเป็นเงินจำนวน 2,080,060 บาท เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการที่ให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้และมีโอกาสสำเร็จ
เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้ด้วยมติพิเศษตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/46 แล้ว กฎหมายกำหนดให้แผนฟื้นฟูกิจการจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกชั้นหนึ่งตามมาตรา 90/56 กรณีจึงเป็นการกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจในอันที่จะควบคุมดูแลให้กระบวนฟื้นฟูกิจการดำเนินการไปด้วยความเป็นธรรม เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าหนี้และประเทศชาติโดยรวมและหากแผนฟื้นฟูกิจการมีลักษณะครบถ้วนตามมาตรา 90/58 กำหนด ถือว่าเป็นมาตรฐานขั้นต่ำอันจะต้องมีก็ให้ศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจให้ความเห็นด้วยแผนได้ในการพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบด้วยแผนนั้น ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาในรายละเอียดเนื้อหาของแผนตลอดจนความสุจริตในการทำแผนนั้นด้วย
การศึกษาและวิเคราะห์ธุรกิจของลูกหนี้จะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการประสบผลสำเร็จ เหตุที่แผนกำหนดให้ลูกหนี้ออกหุ้นสามัญจำนวน29,623,672 หุ้น ในราคาที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ชำระค่าหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทพ. ในราคา 1.69 บาทต่อหุ้นนั้น เนื่องจากเป็นราคาที่ใช้ในการตกลงรวมกิจการระหว่างลูกหนี้และบริษัท พ. โดยถือว่าธุรกิจของบริษัท พ. มีมูลค่าที่ในอัตราร้อยละ 80 และธุรกิจของลูกหนี้เดิมมีมูลค่าที่ร้อยละ 20 ของธุรกิจโดยรวมภายหลังรวมกิจการ ภายหลังการปรับโครงสร้างหนี้โดยการลดทุนลดหนี้และแปลงหนี้เป็นทุนเพื่อให้ฐานะของลูกหนี้เหมาะสมที่จะดำเนินธุรกิจต่อไป ถ้าไม่มีการรวมกิจการลูกหนี้จะไม่มีรายได้ จะทำให้มูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้นจะทยอยหมดลงในที่สุดมูลค่ากิจการของลูกหนี้ก่อนการรวมกิจการจึงต่ำมากสำหรับธุรกิจปัจจุบันของบริษัท พ. เป็นธุรกิจที่มีกำไร การที่ผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. เข้ามาถือหุ้นในกิจการลูกหนี้ในราคา 1.69 บาทต่อหุ้น โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นที่ 80:20 เป็นข้อตกลงที่เป็นธรรมและให้ประโยชน์ต่อเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ไม่ทำให้กลุ่มเจ้าหนี้ที่มีมูลหนี้จะต้องถูกแปลงเป็นทุนเสียเปรียบแต่อย่างใด
ในกระบวนพิจารณาแผนไม่มีคู่ความใดโต้แย้งรายการในแผนเกี่ยวกับรายละเอียดแห่งสินทรัพย์หนี้สิน และภาระผูกพันต่าง ๆ ของลูกหนี้ในขณะที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงรับฟังได้ตามที่ปรากฏในแผน และในแผนฟื้นฟูกิจการได้นำจำนวนเงินตามรายการมาคิดคำนวณประมาณการที่เจ้าหนี้จะได้รับในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายและกรณีดำเนินการตามแผนสำเร็จ ซึ่งแสดงว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่า กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/58(3) แล้ว
ในการขอแก้ไขแผนนั้น เจ้าหนี้จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/45 และการที่ศาลจะพิจารณาแผนที่มีการแก้ไขแล้วได้นั้นจะต้องผ่านการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้มาแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/46แต่การที่กฎหมายล้มละลายกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในการควบคุมดูแลในการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายนั้น เมื่อได้คำนึงถึงประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการหรือเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการดำเนินการต่อไปได้ ทั้งกรณีมีเหตุจำเป็นและสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้รับคำขอแก้ไขแผนที่ยื่นล่วงเลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งชอบด้วยแผนหรือไม่ ได้ เมื่อเจ้าหนี้ได้ขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการล่วงเลยระยะเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/45 และเมื่อคำนึงถึงประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการแล้ว แผนฟื้นฟูกิจการชอบด้วยกฎหมายและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย กรณีจึงไม่มีเหตุจำเป็นหรือสมควรที่จะให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาข้อเสนอในการขอแก้ไขแผนของเจ้าหนี้อีก
การศึกษาและวิเคราะห์ธุรกิจของลูกหนี้จะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการประสบผลสำเร็จ เหตุที่แผนกำหนดให้ลูกหนี้ออกหุ้นสามัญจำนวน29,623,672 หุ้น ในราคาที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ชำระค่าหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทพ. ในราคา 1.69 บาทต่อหุ้นนั้น เนื่องจากเป็นราคาที่ใช้ในการตกลงรวมกิจการระหว่างลูกหนี้และบริษัท พ. โดยถือว่าธุรกิจของบริษัท พ. มีมูลค่าที่ในอัตราร้อยละ 80 และธุรกิจของลูกหนี้เดิมมีมูลค่าที่ร้อยละ 20 ของธุรกิจโดยรวมภายหลังรวมกิจการ ภายหลังการปรับโครงสร้างหนี้โดยการลดทุนลดหนี้และแปลงหนี้เป็นทุนเพื่อให้ฐานะของลูกหนี้เหมาะสมที่จะดำเนินธุรกิจต่อไป ถ้าไม่มีการรวมกิจการลูกหนี้จะไม่มีรายได้ จะทำให้มูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้นจะทยอยหมดลงในที่สุดมูลค่ากิจการของลูกหนี้ก่อนการรวมกิจการจึงต่ำมากสำหรับธุรกิจปัจจุบันของบริษัท พ. เป็นธุรกิจที่มีกำไร การที่ผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. เข้ามาถือหุ้นในกิจการลูกหนี้ในราคา 1.69 บาทต่อหุ้น โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นที่ 80:20 เป็นข้อตกลงที่เป็นธรรมและให้ประโยชน์ต่อเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ไม่ทำให้กลุ่มเจ้าหนี้ที่มีมูลหนี้จะต้องถูกแปลงเป็นทุนเสียเปรียบแต่อย่างใด
ในกระบวนพิจารณาแผนไม่มีคู่ความใดโต้แย้งรายการในแผนเกี่ยวกับรายละเอียดแห่งสินทรัพย์หนี้สิน และภาระผูกพันต่าง ๆ ของลูกหนี้ในขณะที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงรับฟังได้ตามที่ปรากฏในแผน และในแผนฟื้นฟูกิจการได้นำจำนวนเงินตามรายการมาคิดคำนวณประมาณการที่เจ้าหนี้จะได้รับในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายและกรณีดำเนินการตามแผนสำเร็จ ซึ่งแสดงว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่า กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/58(3) แล้ว
ในการขอแก้ไขแผนนั้น เจ้าหนี้จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/45 และการที่ศาลจะพิจารณาแผนที่มีการแก้ไขแล้วได้นั้นจะต้องผ่านการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้มาแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/46แต่การที่กฎหมายล้มละลายกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในการควบคุมดูแลในการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายนั้น เมื่อได้คำนึงถึงประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการหรือเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการดำเนินการต่อไปได้ ทั้งกรณีมีเหตุจำเป็นและสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้รับคำขอแก้ไขแผนที่ยื่นล่วงเลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งชอบด้วยแผนหรือไม่ ได้ เมื่อเจ้าหนี้ได้ขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการล่วงเลยระยะเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/45 และเมื่อคำนึงถึงประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการแล้ว แผนฟื้นฟูกิจการชอบด้วยกฎหมายและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย กรณีจึงไม่มีเหตุจำเป็นหรือสมควรที่จะให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาข้อเสนอในการขอแก้ไขแผนของเจ้าหนี้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: พฤติการณ์พิเศษ-การไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษา-การไต่สวน
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาอุทธรณ์และโต้แย้งในคำฟ้องฎีกาว่า นับแต่ศาลชั้นต้นพิพากษาโจทก์ติดต่อขอคัดสำเนาคำพิพากษามาตลอดแต่ไม่สามารถคัดได้โดยเจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่าสำนวนยังไม่มาโจทก์เพิ่งได้รับก่อนวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์เพียง 3 วันเท่านั้น ซึ่งหากทางปฏิบัติของศาลชั้นต้นเป็นความจริงตามที่โจทก์อ้างในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์และในคำฟ้องฎีกาดังกล่าว ก็ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้การที่ศาลชั้นต้นเพียงพิจารณาคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้วมีคำสั่งว่าตามคำร้องไม่มีพฤติการณ์พิเศษโดยมิได้ทำการไต่สวนจึงเป็นการด่วนวินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1),247 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5734/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีฟื้นฟูกิจการเนื่องจากทนายป่วยเจ็บ ศาลต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงและใช้ดุลพินิจอย่างสมเหตุสมผล
ในกรณีเจ้าหนี้ขอเลื่อนคดีในการพิจารณาคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่มีคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้นัดแรกไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 15แต่เจ้าหนี้จะขอเลื่อนคดีได้ต้องเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
การร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุป่วยเจ็บนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 และ 41 มิได้บังคับว่าผู้ที่อ้างว่าป่วยเจ็บนั้นจะต้องมีใบรับรองแพทย์มาแสดงด้วย จึงอยู่ที่ข้อเท็จจริงว่า ทนายเจ้าหนี้ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ หากศาลมีความสงสัยว่าทนายเจ้าหนี้ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ และอาการที่อ้างว่าป่วยเจ็บนั้นร้ายแรงถึงกับไม่สามารถจะมาศาลได้หรือไม่ ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) หรือจะตั้งเจ้าพนักงานของศาลไปทำการตรวจดูว่าทนายเจ้าหนี้ป่วยเจ็บหรือไม่เพียงใดแล้วจึงวินิจฉัยและมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำร้องขอเลื่อนคดีนั้นตามมาตรา 41 ก็ได้ การที่ศาลล้มละลายกลางมิได้ดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวย่อมแสดงว่าศาลมิได้มีความสงสัยในเรื่องที่ทนายเจ้าหนี้อ้างว่าป่วยเจ็บตามคำร้องจึงรับฟังได้ว่าทนายเจ้าหนี้ป่วยเจ็บและไม่สามารถมาศาลได้เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นสมควรให้เลื่อนคดีตามคำร้องของทนายเจ้าหนี้ และยังถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ไม่มีพยานมาสืบ ไม่ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านของเจ้าหนี้
การร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุป่วยเจ็บนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 และ 41 มิได้บังคับว่าผู้ที่อ้างว่าป่วยเจ็บนั้นจะต้องมีใบรับรองแพทย์มาแสดงด้วย จึงอยู่ที่ข้อเท็จจริงว่า ทนายเจ้าหนี้ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ หากศาลมีความสงสัยว่าทนายเจ้าหนี้ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ และอาการที่อ้างว่าป่วยเจ็บนั้นร้ายแรงถึงกับไม่สามารถจะมาศาลได้หรือไม่ ศาลก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) หรือจะตั้งเจ้าพนักงานของศาลไปทำการตรวจดูว่าทนายเจ้าหนี้ป่วยเจ็บหรือไม่เพียงใดแล้วจึงวินิจฉัยและมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำร้องขอเลื่อนคดีนั้นตามมาตรา 41 ก็ได้ การที่ศาลล้มละลายกลางมิได้ดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวย่อมแสดงว่าศาลมิได้มีความสงสัยในเรื่องที่ทนายเจ้าหนี้อ้างว่าป่วยเจ็บตามคำร้องจึงรับฟังได้ว่าทนายเจ้าหนี้ป่วยเจ็บและไม่สามารถมาศาลได้เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นสมควรให้เลื่อนคดีตามคำร้องของทนายเจ้าหนี้ และยังถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ไม่มีพยานมาสืบ ไม่ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านของเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4680/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่ปรึกษาทางธุรกิจ มิใช่สัญญาจ้างทำของ สิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนสิ้นสุดเมื่อศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ
ลูกหนี้ทำสัญญาจ้างเจ้าหนี้เป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ โดยให้เป็นผู้ให้คำปรึกษาวางแผนงาน จัดระบบบริหารงานทั้งหมดทั้งในกิจการของลูกหนี้ให้ได้ผลก้าวหน้าและตามที่ได้รับมอบหมายจากลูกหนี้ในการบริหารงานบุคคล การบริหารเงิน การบริหารการตลาด การบริหารการผลิต มีข้อตกลงจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายเดือน โดยการให้คำปรึกษาของเจ้าหนี้ส่วนใหญ่เป็นการให้คำปรึกษาทางวาจา ซึ่งการให้คำปรึกษาในแต่ละครั้งไม่ได้ทำให้งานสำเร็จไปตามที่ลูกหนี้กำหนดไว้ กรณีจึงไม่ใช่สัญญาที่กำหนดจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น แม้สัญญาดังกล่าวจะกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ 5 ปี แต่การให้คำปรึกษาก็มิได้ผูกพันให้ลูกหนี้ต้องปฏิบัติตามอันจะมีผลให้เกิดผลงานตามที่เจ้าหนี้ให้คำปรึกษาเสมอไป สัญญาจ้างที่ปรึกษาธุรกิจจึงมิใช่สัญญาจ้างทำของ แต่เป็นสัญญาจ้างบริการอย่างอื่นอันเป็นเอกเทศสัญญาอย่างหนึ่งที่มิได้กำหนดแยกประเภทไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลูกหนีจึงมีหน้าที่จ่ายค่าตอบแทนเป็นรายเดือนตามสัญญา เมื่อค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว อำนาจหน้าที่ในการจัดการทรัพย์สินของผู้บริหารของลูกหนี้ย่อมสิ้นสุดลงตามมาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเพียงวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกแทนที่ vs. สิทธิจำนองบุคคลภายนอกสุจริต: การคุ้มครองสิทธิผู้ได้มาโดยเสียค่าตอบแทน
ผู้ร้องได้ที่ดินของ ห. โดยการรับมรดกแทนที่ ถือได้ว่าเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ผู้ร้องกับ ซ. ผู้จัดการมรดกของ ห. มีคดีฟ้องร้องกัน แม้ต่อมา ซ. และจำเลยที่ 1 ผู้รับโอนที่ดินจะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลตกลงจะไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากโจทก์นำมาแบ่งแยกและโอนให้แก่ผู้ร้องบางส่วน แต่ก็เป็นการตกลงหลังจากที่จำเลยที่ 1 รับโอนที่ดินจาก ซ. และจดทะเบียนจำนองที่ดินไว้แก่โจทก์แล้ว โดยโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะต้องนำสืบให้เห็นว่าโจทก์ไม่สุจริตเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานแต่ผู้ร้องมิได้นำสืบหักล้าง จึงฟังได้ว่าโจทก์สุจริต เมื่อโฉนดที่ดินมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ สิทธิของผู้ร้องผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมยังมิได้จดทะเบียน ผู้ร้องจึงไม่อาจยกสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิจำนองโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองแม้ผู้ร้องจะมีสิทธิรับมรดกแทนที่อยู่แล้ว แต่ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วนที่ดินของตนจากที่ดินที่โจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้ยืนยันหลักการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย การชำระหนี้ตามลำดับบุริมสิทธิ และการใช้ดุลพินิจของศาล
การร้องคัดค้านการจัดกลุ่มเจ้าหนี้จะต้องร้องภายในกำหนดระยะเวลาตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ทวิ วรรคสอง กำหนดไว้ คือภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการจัดกลุ่ม เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้รับสำเนาแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดกลุ่มเจ้าหนี้แล้ว แต่มายื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลเกินกำหนดเวลา 7 วันนับแต่วันดังกล่าว เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งจัดกลุ่มเจ้าหนี้เสียใหม่ตามคำร้องคัดค้านได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ตรี แผนฟื้นฟูกิจการต้องกำหนดให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้การชำระหนี้ในกลุ่มเอเป็นการชำระหนี้เงินทุนหมุนเวียนซึ่งมีผู้ให้สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนแก่กิจการของกลุ่มลูกหนี้ตามวงเงินสินเชื่อใหม่ที่มีขึ้นตลอดอายุของแผนฯ จะได้รับชำระคืนเป็นลำดับแรกจากกระแสเงินสดของการบริหารกิจการของลูกหนี้ในวงเงินไม่เกิน 40 ล้านบาท ซึ่งธนาคาร ก. เป็นเจ้าหนี้รายเดียวที่ให้เงินทุนหมุนเวียนใหม่จำนวน 15 ล้านบาท หากไม่มีเงินทุนหมุนเวียนใหม่เพื่อปรับสภาพคล่องทางการเงินกิจการของลูกหนี้ก็จะมีปัญหาและต้องปิดกิจการก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการแผนฟื้นฟูกิจการจึงจำเป็นต้องจัดให้เจ้าหนี้เงินทุนหมุนเวียนรายใหม่ดังกล่าวได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ส่วนหนี้ของธนาคาร ก. จำนวน 15,138,768 บาท ซึ่งมิใช่เงินทุนหมุนเวียนใหม่คงได้รับการชำระหนี้ในกลุ่มอีเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ในกลุ่มสถาบันการเงิน แผนฟื้นฟูกิจการจึงชอบด้วยมาตรา 90/42 ตรี
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/58(2) หมายความว่า การดำเนินการแบ่งทรัพย์สินจะต้องเป็นไปตามลำดับบุริมสิทธิที่กำหนดไว้ในมาตรา 130(1) ถึง (6) ส่วนหนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 130(7) จะได้ส่วนแบ่งอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามการจัดกลุ่มเจ้าหนี้และข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการ มิใช่ว่าหนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 130(7) จะต้องแบ่งส่วนเท่า ๆ กัน มิฉะนั้นแล้วการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ก็จะไม่มีประโยชน์เมื่อเจ้าหนี้ไม่มีประกันทุกรายได้รับการจัดสรรชำระหนี้ต้นเงินเต็มจำนวนแล้ว ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการได้คำนึงถึงหลักการและทรัพย์ที่เป็นภาระจำนองหรือทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักในการประกอบกิจการย่อมได้รับการจัดสรรชำระหนี้ในเรื่องเงื่อนเวลาและดอกเบี้ยดีกว่าเจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักประกันใด ๆ แต่สิทธิของเจ้าหนี้ไม่มีประกันที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันเพื่อให้แผนฟื้นฟูกิจการสามารถปฏิบัติไปได้โดยลูกหนี้ไม่ต้องปิดกิจการแผนฟื้นฟูกิจการจึงชอบด้วยมาตรา 90/58(2)
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ตรี แผนฟื้นฟูกิจการต้องกำหนดให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้การชำระหนี้ในกลุ่มเอเป็นการชำระหนี้เงินทุนหมุนเวียนซึ่งมีผู้ให้สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนแก่กิจการของกลุ่มลูกหนี้ตามวงเงินสินเชื่อใหม่ที่มีขึ้นตลอดอายุของแผนฯ จะได้รับชำระคืนเป็นลำดับแรกจากกระแสเงินสดของการบริหารกิจการของลูกหนี้ในวงเงินไม่เกิน 40 ล้านบาท ซึ่งธนาคาร ก. เป็นเจ้าหนี้รายเดียวที่ให้เงินทุนหมุนเวียนใหม่จำนวน 15 ล้านบาท หากไม่มีเงินทุนหมุนเวียนใหม่เพื่อปรับสภาพคล่องทางการเงินกิจการของลูกหนี้ก็จะมีปัญหาและต้องปิดกิจการก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการแผนฟื้นฟูกิจการจึงจำเป็นต้องจัดให้เจ้าหนี้เงินทุนหมุนเวียนรายใหม่ดังกล่าวได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ส่วนหนี้ของธนาคาร ก. จำนวน 15,138,768 บาท ซึ่งมิใช่เงินทุนหมุนเวียนใหม่คงได้รับการชำระหนี้ในกลุ่มอีเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ในกลุ่มสถาบันการเงิน แผนฟื้นฟูกิจการจึงชอบด้วยมาตรา 90/42 ตรี
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/58(2) หมายความว่า การดำเนินการแบ่งทรัพย์สินจะต้องเป็นไปตามลำดับบุริมสิทธิที่กำหนดไว้ในมาตรา 130(1) ถึง (6) ส่วนหนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 130(7) จะได้ส่วนแบ่งอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามการจัดกลุ่มเจ้าหนี้และข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการ มิใช่ว่าหนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 130(7) จะต้องแบ่งส่วนเท่า ๆ กัน มิฉะนั้นแล้วการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ก็จะไม่มีประโยชน์เมื่อเจ้าหนี้ไม่มีประกันทุกรายได้รับการจัดสรรชำระหนี้ต้นเงินเต็มจำนวนแล้ว ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการได้คำนึงถึงหลักการและทรัพย์ที่เป็นภาระจำนองหรือทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักในการประกอบกิจการย่อมได้รับการจัดสรรชำระหนี้ในเรื่องเงื่อนเวลาและดอกเบี้ยดีกว่าเจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักประกันใด ๆ แต่สิทธิของเจ้าหนี้ไม่มีประกันที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันเพื่อให้แผนฟื้นฟูกิจการสามารถปฏิบัติไปได้โดยลูกหนี้ไม่ต้องปิดกิจการแผนฟื้นฟูกิจการจึงชอบด้วยมาตรา 90/58(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้ใบมอบฉันทะไม่ตรงตามแบบพิมพ์ หากข้อความครบถ้วนและไม่กระทบถึงการมอบฉันทะ
แม้เจ้าหนี้จะใช้ใบมอบฉันทะไม่ถูกต้องตามแบบพิมพ์ของศาลล้มละลายกลาง ตามประกาศศาลล้มละลายกลาง ที่ 1/2542 แต่ข้อความในใบมอบฉันทะดังกล่าวก็ครบถ้วนดังเช่นข้อความในแบบพิมพ์ใบมอบฉันทะ (แบบ ล.6) ท้ายประกาศศาลล้มละลายกลางจะผิดไปก็เพียงขนาดใบมอบฉันทะของเจ้าหนี้ยาวกว่าใบมอบฉันทะตามแบบพิมพ์ที่ศาลล้มละลายกลางประกาศไว้ประมาณ 2 นิ้ว ซึ่งอาจจะเป็นเพียงไม่เรียบร้อยเท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้ใบมอบฉันทะเสียไปแต่อย่างใดไม่ และในชั้นตรวจคำร้องคัดค้านหากศาลล้มละลายกลางเห็นว่า ใบมอบฉันทะใช้กระดาษผิดขนาดไปก็ควรสั่งคืนให้เจ้าหนี้ไปทำมาใหม่ภายในเวลาที่ศาลล้มละลายกลางเห็นสมควรกำหนดก็ได้ ดังนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงสมควรรับคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้ไว้เพื่อให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณาดำเนินการต่อไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4027/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลต่างประเทศ ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน
อำนาจของผู้จัดการมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นคนสัญชาติอังกฤษและเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแห่งประเทศอังกฤษจะเป็นไปตามกฎหมายของประเทศใดย่อมเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ แต่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติถึงเรื่องอำนาจของผู้จัดการมรดกว่าต้องใช้กฎหมายใดบังคับ กรณีจึงต้องใช้กฎเกณฑ์ทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบังคับ ซึ่งตามกฎเกณฑ์ทั่วไปนั้น กฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับอาจเป็นกฎหมายสัญชาติหรือกฎหมายภูมิลำเนา เมื่อโจทก์มีสัญชาติอังกฤษและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอังกฤษ ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้หลักกฎหมายสัญชาติหรือกฎหมายภูมิลำเนา กฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีย่อมได้แก่กฎหมายแห่งประเทศอังกฤษแต่การที่ต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับแก่กรณีเช่นนี้เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบให้เห็นว่ากฎหมายต่างประเทศนั้นบัญญัติไว้อย่างไร เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็นเป็นที่ชัดแจ้งว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษบัญญัติไว้เช่นนั้นจริง กรณีนี้จึงต้องใช้กฎหมายภายในประเทศไทยบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1715 บัญญัติถึงเรื่องการที่บุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ถ้าผู้จัดการมรดกบางคนไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่คนเดียวผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการมรดกได้โดยลำพัง แต่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลร่วมกับจ. จึงไม่อาจนำมาตรา 1715 มาใช้บังคับได้เมื่อ จ. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์เพียงคนเดียวจะฟ้องคดีนี้ต่อไปตามลำพังโดยยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียวย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 และประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153