พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3006/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกงโดยการนำใบบันทึกรายการขายปลอมไปขอรับเงินจากธนาคาร
ร้านค้าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นสมาชิกบัตรเครดิตของธนาคาร ผู้เสียหายรับมอบเครื่องรูดบัตรไปใช้ที่ร้านจำเลยที่ 1 ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อมีลูกค้าถือบัตรเครดิตมาซื้อสินค้า จำเลยที่ 2 จะต้องเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของบัตรและของตัวลูกค้าผู้ถือบัตรนั้น ถ้าผู้ถือบัตรเป็นชาวต่างชาติก็ต้องตรวจสอบหนังสือเดินทางด้วย เมื่อเห็นว่าเชื่อถือได้จึงนำบัตรเครดิตเข้าเครื่องรูดบัตร ทำใบบันทึกรายการขายออกมาให้ลูกค้าลงลายมือชื่อรับรองซึ่งต้องเหมือนกับลายมือชื่อตัวอย่างที่ปรากฏบนบัตรเครดิตด้วยและลูกค้านั้นต้องเป็นเจ้าของบัตรที่นำมาใช้เองจะมอบให้คนอื่นนำมาใช้ไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองนำใบบันทึกรายการขาย 26 ใบ ทะยอยส่งไปขอรับเงินจากผู้เสียหายย่อมเป็นการรับรองอยู่ในตัวว่า จำเลยที่ 2 ได้พบลูกค้าผู้นำบัตรเครดิตมาใช้และตรวจสอบความถูกต้องในเบื้องต้นแล้ว จำเลยทั้งสองจะอ้างถึงความไม่รู้ว่าเป็นบัตรเครดิตปลอมและโยนความรับผิดไปให้ผู้เสียหายไม่ได้เพราะเป็นคนละขั้นตอนกันทั้งผู้เสียหายก็ไม่มีโอกาสพบปะลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตเหมือนจำเลยที่ 2 การที่ลูกค้านำบัตรเครดิตปลอมมาใช้นั้นหากมีปะปนหลงเข้ามานาน ๆ ครั้ง ก็คงไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการทุจริต แต่การที่จำเลยทั้งสองนำใบบันทึกการขายไปขอรับเงินโดยปะปนไปกับบันทึกรายการขายอื่น ๆ จำนวนมากถึง 26 ฉบับภายในเวลาเพียง 20 กว่าวัน และทำให้ได้รับเงินไปเป็นจำนวนมากนั้นนับว่าเป็นพิรุธ และบัตรเครดิตแต่ละใบผู้ถือบัตรล้วนเป็นชาวต่างชาติทั้งสิ้น ซึ่งเกือบทั้งหมดไม่เคยเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 จะได้เคยพบกับผู้ถือบัตรและมีการตรวจสอบบัตรยอมให้ซื้อสินค้าไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ประกอบกับใบบันทึกรายการขายทั้ง 26 ฉบับ มีลักษณะผิดปกติเป็นพิรุธ โดยตัวอักษรในใบบันทึกการขายทับกัน และมีรอยต่อเป็นรอยเส้นแบ่งครึ่งระหว่างข้อความส่วนบนที่เป็นชื่อและหมายเลขบัตรเครดิตของผู้ถือบัตรกับข้อความส่วนล่างที่เป็นชื่อร้านค้าคล้ายกับมีการรูดบัตร 2 ครั้ง ยิ่งทำให้เชื่อว่าจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าใบบันทึกการขายทั้ง 26 ฉบับ เป็นเอกสารสิทธิปลอม แต่ก็ยังนำไปใช้แสดงขอรับเงินจากผู้เสียหายโดยทุจริต จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกงทั้งสองฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมฆ่าผู้อื่น: การกระทำร่วม การช่วยเหลือ และการมีส่วนร่วมในความผิด
จำเลยที่ 1 นั่งอยู่โต๊ะเดียวกันกับจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ต่อสู้กับผู้ตาย จำเลยที่ 1 ชักอาวุธมีดออกมาเข้าไปช่วยจำเลยที่ 2 แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 ก็อยู่กับจำเลยที่ 2 โดยตลอด อีกทั้งเข้าร่วมต่อสู้ด้วยและหลบหนีไปด้วยกัน เมื่อการตายของผู้ตายเกิดจากการที่จำเลยที่ 2 ใช้อาวุธมีดแทงร่างกายบริเวณที่สำคัญ ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นด้วย
ตามพฤติการณ์แห่งคดีการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันฆ่าผู้ตาย มีสาเหตุจากการทะเลาะวิวาทกันและผู้ตายก็มีอาวุธมีดต่อสู้ด้วย โทษจำคุกที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดมานั้นหนักเกินไป สมควรลดลงให้เหมาะสมแก่รูปคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจที่จะพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ตามพฤติการณ์แห่งคดีการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันฆ่าผู้ตาย มีสาเหตุจากการทะเลาะวิวาทกันและผู้ตายก็มีอาวุธมีดต่อสู้ด้วย โทษจำคุกที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดมานั้นหนักเกินไป สมควรลดลงให้เหมาะสมแก่รูปคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจที่จะพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น: การกระทำร่วมและเจตนาในการทำร้าย
จำเลยที่ 1 นั่งอยู่โต๊ะเดียวกันกับจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ต่อสู้กับผู้ตาย จำเลยที่ 1 ชักอาวุธมีดออกมาเข้าไปช่วยจำเลยที่ 2 แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 ก็อยู่กับจำเลยที่ 2 โดยตลอด อีกทั้งเข้าร่วมต่อสู้ด้วยและหลบหนีไปด้วยกัน เมื่อการตายของผู้ตายเกิดจากการที่จำเลยที่ 2 ใช้อาวุธมีดแทงร่างกายบริเวณที่สำคัญ ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นด้วย
ตามพฤติการณ์แห่งคดีการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันฆ่าผู้ตาย มีสาเหตุจากการทะเลาะวิวาทกันและผู้ตายก็มีอาวุธมีดต่อสู้ด้วย โทษจำคุกที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดมานั้นหนักเกินไป สมควรลดลงให้เหมาะสมแก่รูปคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจที่จะพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ตามพฤติการณ์แห่งคดีการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันฆ่าผู้ตาย มีสาเหตุจากการทะเลาะวิวาทกันและผู้ตายก็มีอาวุธมีดต่อสู้ด้วย โทษจำคุกที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดมานั้นหนักเกินไป สมควรลดลงให้เหมาะสมแก่รูปคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจที่จะพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ แม้เป็นข้าราชการ ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้
จำเลยมีเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงรวมเดือนละประมาณ 26,000 บาท จำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวน 104,025.39 บาท ซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและเบิกเงินสดโดยจำเลยไม่เคยชำระหนี้แก่โจทก์เลยเป็นเวลานานเกือบ 4 ปี ทำให้จำนวนหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อนับถึงวันฟ้องมีจำนวน 204,600 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับรายได้ต่อเดือนของจำเลยแล้วจำนวนหนี้มีมากกว่ารายได้ แม้จำเลยเป็นข้าราชการมีเงินเดือน แต่เงินเดือนตลอดทั้งบำเหน็จบำนาญไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) จำเลยรับราชการมานานแต่ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีก แสดงว่าเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงของจำเลยมีจำนวนเพียงแค่การดำรงชีพของจำเลยในแต่ละเดือนเท่านั้น ไม่เหลือพอที่จะแบ่งไปผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ได้ เงินสะสมของข้าราชการมีสภาพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนข้าราชการ แม้จำเลยจะมีเงินสะสมในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการก็ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเช่นกัน ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดทั้งพฤติการณ์ของจำเลยมิได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในทางที่จะขวนขวายเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ด้วยความสุจริตใจ คดีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: ค้ำประกันเฉพาะหนี้ที่เกิดขึ้นหลังสัญญาค้ำประกัน
การซื้อขายสินค้าของจำเลยที่ 1 ตามใบแจ้งหนี้สำเร็จบริบูรณ์ก่อนเวลาที่จำเลยที่ 2 เข้ามาค้ำประกันแล้ว ดังนี้ แม้วันที่ครบกำหนดชำระราคาค่าสินค้าจะเป็นเวลาภายหลังวันที่ทำสัญญาค้ำประกันก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็คงต้องรับผิดเฉพาะหนี้ค่าสินค้าตามใบแจ้งหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันการซื้อสินค้าของจำเลยที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง/การบังคับชำระหนี้: สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในทรัพย์สินที่ติดจำนอง แม้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้บางส่วน
การที่ลูกหนี้ซื้อที่ดินบางส่วนจากบริษัท อ. ในขณะที่ที่ดินจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ที่บริษัท อ. และ/หรือบริษัท ส. มีต่อธนาคาร ม. ซึ่งธนาคารเจ้าหนี้ได้รับโอนกิจการมา เป็นการซื้อขายติดจำนอง สิทธิจำนองเป็นทรัพย์สิทธิย่อมติดไปกับตัวทรัพย์นั้น โดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิ์จะโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคสองลูกหนี้จึงต้องรับภาระจำนองมาด้วย เจ้าหนี้จึงยังมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินดังกล่าว การที่ธนาคาร ม. จดทะเบียนปลดจำนองเฉพาะส่วนที่ดินของบริษัท อ. ในเวลาต่อมา โดยส่วนของลูกหนี้ยังคงติดจำนองอยู่และภาระหนี้ยังคงเป็นของบริษัท ส. ตามเดิม ที่ดินส่วนของลูกหนี้จึงติดจำนองเพื่อประกันหนี้ของบริษัท ส. ที่มีต่อธนาคาร ม. ต่อไปเจ้าหนี้จึงมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินส่วนของลูกหนี้ในวงเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 6
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันจะมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 12 หมวด 5 มิได้ทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนอง เมื่อประสงค์จะให้จำนองประกันหนี้ของลูกหนี้ด้วยจะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 การที่เจ้าหนี้ที่และลูกหนี้ตกลงให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ด้วย แต่มิได้จดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะเจ้าหนี้จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันในส่วนนี้
นอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย เช่นนี้หากผู้ค้ำประกันคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่งการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ในส่วนนี้จึงไม่ถูกต้อง
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันจะมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 12 หมวด 5 มิได้ทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนอง เมื่อประสงค์จะให้จำนองประกันหนี้ของลูกหนี้ด้วยจะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 การที่เจ้าหนี้ที่และลูกหนี้ตกลงให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ด้วย แต่มิได้จดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะเจ้าหนี้จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันในส่วนนี้
นอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย เช่นนี้หากผู้ค้ำประกันคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่งการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ในส่วนนี้จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง, การบังคับชำระหนี้, สิทธิเจ้าหนี้มีประกัน, การฟื้นฟูกิจการ, ผู้ค้ำประกัน, หนี้ร่วม
การที่ลูกหนี้ซื้อที่ดินบางส่วนจากบริษัท อ. ในขณะที่ที่ดินดังกล่าวได้จดทะเบียนจำนองประกันหนี้ที่บริษัท อ. และ/หรือบริษัท ส. มีต่อธนาคาร ม. จึงเป็นการซื้อขายที่ดินโดยติดจำนองมาด้วย ซึ่งสิทธิจำนองเป็นทรัพย์สิทธิย่อมติดไปกับตัวทรัพย์นั้นโดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์จำนองจะโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคสอง ดังนั้น ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองจึงต้องรับภารจำนองมาด้วย เจ้าหนี้จึงยังมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินดังกล่าวในฐานะผู้รับจำนองจนกว่าจะมีเหตุให้จำนองระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 แม้ต่อมาธนาคาร ม. จะจดทะเบียนปลดจำนองเฉพาะส่วนที่ดินของบริษัท อ. แต่ส่วนของลูกหนี้ก็ยังคงติดจำนองอยู่กับธนาคาร ม. และภาระหนี้ยังเป็นของบริษัท ส. ตามเดิมเช่นนี้ ที่ดินส่วนของลูกหนี้ย่อมติดจำนองเพื่อประกันหนี้ของบริษัท ส. ที่มีต่อธนาคาร ม. ต่อไป แต่ภารจำนองของลูกหนี้ย่อมไม่เกินวงเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ย เจ้าหนี้จึงมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินส่วนของลูกหนี้ในวงเงินดังกล่าว โดยไม่เกินจำนวนหนี้ที่บริษัท ส. ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนองจึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 6
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา เจ้าหนี้ก็ยังมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 12 หมวด 5 หาทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนองแต่อย่างใดไม่ เพราะการจำนองประกันหนี้ของลูกหนี้จะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ทราบว่าทรัพย์สินที่จำนองนั้นเป็นประกันหนี้ของผู้ใด วงเงินเท่าใด การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงกันให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้โดยที่ยังไม่มีการจดทะเบียนจำนอง จึงเป็นข้อตกลงที่ตกเป็นโมฆะ เจ้าหนี้มิใช่เจ้าหนี้มีประกันในหนี้ส่วนนี้
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้น ปรากฏว่านอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย ดังนั้น หากผู้ค้ำประกันคนใดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากบริษัท ส. และ/หรือผู้ค้ำประกันร่วมคนอื่นเพียงใดแล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ในการได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมลดลงมาเพียงนั้น ซึ่งในส่วนนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ไว้ และศาลล้มละลายกลางก็มิได้แก้ไขให้ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา เจ้าหนี้ก็ยังมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 12 หมวด 5 หาทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนองแต่อย่างใดไม่ เพราะการจำนองประกันหนี้ของลูกหนี้จะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ทราบว่าทรัพย์สินที่จำนองนั้นเป็นประกันหนี้ของผู้ใด วงเงินเท่าใด การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงกันให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้โดยที่ยังไม่มีการจดทะเบียนจำนอง จึงเป็นข้อตกลงที่ตกเป็นโมฆะ เจ้าหนี้มิใช่เจ้าหนี้มีประกันในหนี้ส่วนนี้
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้น ปรากฏว่านอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย ดังนั้น หากผู้ค้ำประกันคนใดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากบริษัท ส. และ/หรือผู้ค้ำประกันร่วมคนอื่นเพียงใดแล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ในการได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมลดลงมาเพียงนั้น ซึ่งในส่วนนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ไว้ และศาลล้มละลายกลางก็มิได้แก้ไขให้ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองติดไปกับทรัพย์ แม้โอนกรรมสิทธิ์ เจ้าหนี้มีประกันในหนี้บางส่วน หากตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น
การที่ลูกหนี้ซื้อที่ดินบางส่วนจากบริษัท อ. ในขณะที่ที่ดินแปลงดังกล่าวจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ที่บริษัท อ. และ/หรือบริษัท ส. มีต่อธนาคาร ม. ซึ่งธนาคารเจ้าหนี้ได้รับโอนกิจการมา เป็นการซื้อขายติดจำนอง สิทธิจำนองเป็น ทรัพยสิทธิย่อมติดไปกับตัวทรัพย์นั้น โดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิ์จะโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 702 วรรคสอง ลูกหนี้จึงต้องรับภาระจำนองมาด้วย เจ้าหนี้จึงยังมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินดังกล่าว การที่ธนาคาร ม. จดทะเบียนปลดจำนองเฉพาะส่วนที่ดินของบริษัท อ. ในเวลาต่อมาโดยส่วนของลูกหนี้ยังคงติดจำนองอยู่และภาระหนี้ยังคงเป็นของบริษัท ส. ตามเดิม ที่ดินส่วนของลูกหนี้จึงติดจำนองเพื่อประกันหนี้ของบริษัท ส. ที่มีต่อธนาคาร ม. ต่อไป เจ้าหนี้จึงมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินส่วนของลูกหนี้ในวงเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันจะมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 12 หมวด 5 มิได้ทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนอง เมื่อประสงค์จะให้จำนองประกันหนี้ของลูกหนี้ด้วยจะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ด้วย แต่มิได้จดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะ เจ้าหนี้จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันในส่วนนี้
นอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย เช่นนี้หากผู้ค้ำประกันคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ในส่วนนี้และศาลล้มละลายมิได้แก้ไขให้ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันจะมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 12 หมวด 5 มิได้ทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนอง เมื่อประสงค์จะให้จำนองประกันหนี้ของลูกหนี้ด้วยจะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ด้วย แต่มิได้จดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะ เจ้าหนี้จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันในส่วนนี้
นอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย เช่นนี้หากผู้ค้ำประกันคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ในส่วนนี้และศาลล้มละลายมิได้แก้ไขให้ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิสัญญาเช่าซื้อและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้รับช่วงสิทธิ
การที่ผู้ร้องได้ซื้อสินทรัพย์ประเภทสัญญาเช่าซื้อของบริษัทเงินทุน พ. ซึ่งถูกปิดกิจการตามพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ จากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ป.ร.ส.) ถือว่าเป็นการรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 การใช้สิทธิของผู้ร้องในการขอคืนของกลางคดีนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิแทนบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ พ. ซึ่งผู้ร้องย่อมรับมาทั้งสิทธิเรียกร้องและหน้าที่ทั้งหมดที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว ปรากฏว่าว. ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์ของกลางและเป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ร้องเบิกความว่า ก่อนหน้านี้ตนได้ขายดาวน์รถยนต์ของกลางให้แก่ ศ. ไปแล้ว และเหตุที่ต้องยื่นคำขอคืนรถยนต์ก็เนื่องจากต้องคืนรถยนต์ให้แก่ผู้ร้องเพราะยังค้างชำระค่าเช่าซื้ออยู่ หากสามารถชำระได้หมดก็จะไม่ถูกฟ้องเป็นคดีแพ่ง อันเป็นคำเบิกความที่เป็นไปในลักษณะปกปิดข้อเท็จจริงและมีพฤติการณ์ที่ไม่สุจริต เมื่อพิจารณาประกอบกับการที่จำเลยทั้งสามนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม2541 และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2541 ผู้ร้องได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ทั้งหมดตามสัญญาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2541 และมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2542 โดยมิได้ดำเนินการฟ้องร้องทางแพ่งต่อ ว. เพื่อให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ แต่กลับมอบอำนาจให้ ว. มาร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องร้องขอรถยนต์ของกลางคืนเพื่อประโยชน์ของ ว. ผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต จึงไม่มีสิทธิขอคืนรถยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลายื่นฎีกา: จำเลยต้องเตรียมการด้านการเงินล่วงหน้า แม้ศาลไม่อนุญาต
จำเลยอ้างว่าเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาลมีจำนวนสูงถึง200,000 บาท และจำเลยประสบปัญหาด้านการเงินนั้น ได้ความว่า จำเลยรับทราบผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก่อนวันครบกำหนดเวลายื่นฎีกาถึง 14 วัน ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาลได้ทัน การที่จำเลยไม่สามารถยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดจึงเป็นความบกพร่องของตัวจำเลยและทนายจำเลยเอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะยกขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ได้ แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อวันครบกำหนดยื่นฎีกา ก็มิใช่เหตุที่จำเลยจะอ้างว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบ ทั้งนี้เพราะจำเลยควรต้องเตรียมการสำหรับกรณีดังกล่าวไว้