พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10911/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานนำเข้าของต้องห้ามโดยไม่เสียภาษี: การฟ้องซ้ำซ้อนและการคุ้มกันตามกฎหมายศุลกากร
การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาเป็นการกระทำในวันเวลาเดียวกันโดยเป็นการร่วมกันนำหรือพาเอาของต้องห้ามต้องจำกัดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรและค่าภาษีศุลกากร และร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งของต้องห้ามต้องจำกัดดังกล่าวอันเป็นของจำนวนเดียวกัน โดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงค่าอากร ซึ่งโจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองหลายกรรมต่างกันในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ นั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยทั้งสองรับสารภาพนั้นมีลักษณะเป็นการกระทำผิดต่อเนื่องกันในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองกรณีนี้เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 หรือ มาตรา 27 ทวิ เพียงฐานใดฐานหนึ่งเท่านั้น โดยสภาพของการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน กรณีไม่อาจเป็นความผิดทั้งสองฐานซึ่งเป็นความผิดสองกระทง เมื่อปรากฏว่าคำสั่งงดการฟ้องร้องของอธิบดีกรมศุลกากรมีผลเป็นการคุ้มกันจำเลยทั้งสองที่จะถูกฟ้องร้องในกรณีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ ดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว และกรณีเป็นเรื่องจำเลยทั้งสองกระทำความผิดในคราวเดียวกัน โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10323/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอพิสูจน์ความผิดจำเลย แม้มีคำให้การผู้เสียหายและพยานบอกเล่า ศาลฎีกาให้ยกฟ้อง
โจทก์ขอหมายเรียกผู้เสียหายมาศาลในวันนัดสืบพยานครั้งแรก ผู้เสียหายมาศาลในวันดังกล่าวแล้ว แต่ไม่อาจสืบพยานได้เพราะโจทก์นำพยานปาก ส. เข้าเบิกความต่อศาลยังไม่แล้วเสร็จและขออนุญาตเลื่อนคดีไปสืบพยานปากผู้เสียหายในวันอื่น ศาลจึงให้ผู้เสียหายลงชื่อทราบนัดไว้ แต่หลังจากนั้นผู้เสียหายก็ไม่มาศาลอีกจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์แถลงเพียงว่าโจทก์ได้ติดตามและสอบถามเจ้าพนักงานตำรวจทราบว่าผู้เสียหายอยู่กับมารดาซึ่งมีอาชีพรับจ้าง มีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง จึงไม่ทราบว่าผู้เสียหายอยู่ที่ใด โดยไม่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่า ไม่สามารถติดตามตัวผู้เสียหายมาศาลได้อย่างแน่นอน แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ก็เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นเนื่องจากเห็นว่าโจทก์ขอเลื่อนคดีมาหลายครั้ง ไม่แน่ว่าจะสามารถติดตามผู้เสียหายมาสืบได้หรือไม่เท่านั้น กรณียังถือไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ศาลรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การผู้เสียหายเสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณาของศาลได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี วรรคสี่ คำให้การของผู้เสียหายและม้วนวีดิทัศน์การถามปากคำผู้เสียหายในชั้นสอบสวนจึงเป็นเพียงพยานบอกเล่า แม้ตามมาตรา 226/3 มีข้อยกเว้นให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่าได้ แต่ศาลต้องรับฟังด้วยความระมัดระวังและไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดีหรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุนตามมาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง แต่พยานหลักฐานโจทก์อื่นๆ ที่จะรับฟังประกอบวีดิทัศน์การถามปากคำผู้เสียหายล้วนแต่เป็นพยานบอกเล่า ซึ่งข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่าไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ความจริงว่า จำเลยเป็นคนร้ายกระทำชำเราผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9246/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานทางวิดีโอ: เหตุจำเป็นและการติดตามตัวผู้เสียหาย
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี วรรคท้าย ศาลจะรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานได้ต่อเมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ได้ตัวพยานมาเบิกความต่อศาล แต่ทางพิจารณาได้ความว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์สืบพยานได้ 2 ปาก และส่งวีดีโอเทป 2 ม้วน เป็นพยาน แล้วแถลงว่าพยานปากผู้เสียหายไม่สามารถส่งหมายให้ได้เพราะไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ย้ายไปเรื่อยๆ ติดต่อทางโทรศัพท์แล้วผู้เสียหายรับ พอรู้ว่าต้องมาเบิกความต่อศาลก็ปิดเครื่อง ไม่สามารถติดต่อได้อีก ขอเลื่อนคดีเพื่อตามตัวให้เบิกความอีกครั้ง ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์แถลงว่า ได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวนว่าติดต่อผู้เสียหายได้แล้ว แต่ผู้เสียหายไม่ยอมมาเบิกความที่ศาล ขอให้ศาลสั่งตามที่เห็นสมควร ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวแม้ผู้เสียหายจะย้ายที่อยู่ไปเรื่อยๆ ไม่สามารถส่งหมายให้ได้ก็ตาม ก็ถือว่าโจทก์ยังติดต่อผู้เสียหายทางหมายเลขโทรศัพท์ที่เคยให้ไว้ได้ และแม้ผู้เสียหายจะบ่ายเบี่ยงไม่ยอมมาเบิกความที่ศาลโดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นอย่างไร ก็ถือว่ายังอยู่ในวิสัยที่โจทก์หรือพนักงานสอบสวนจะติดตามตัวผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาลได้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งที่ศาลจะรับฟังสื่อภาพและเสียงของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนเสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15229/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่ตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไข กรณีคดีถึงที่สุดก่อนบังคับใช้กฎหมายใหม่
การที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยใหม่ได้นั้นจะต้องปรากฏว่า ศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยและคดีถึงที่สุดไปแล้วก่อนวันที่กฎหมายใหม่จะประกาศใช้บังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) เมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 5) ซึ่งแก้ไขใหม่ตามที่จำเลยอ้างมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2545 ซึ่งเป็นวันก่อนที่คดีของจำเลยจะถึงที่สุด กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ การยิงเพื่อป้องกันชีวิตต้องเลือกใช้ความรุนแรงที่สมเหตุสมผล
ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อน ถือได้ว่าการกระทำของผู้ตายเป็นภยันตรายต่อจำเลยซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยพยายามหลีกเลี่ยงการต่อสู้โดยวิ่งหลบหนี แต่ผู้ตายซึ่งถือขวดกับพวกยังคงวิ่งไล่ตามจำเลยและผู้ตายจะขว้างขวดใส่จำเลย อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน หากผู้ตายขว้างขวดใส่จำเลยอาจทำให้จำเลยได้รับอันตรายได้ หรือหากวิ่งทันจำเลยก็อาจทำร้ายจำเลยได้ ภยันตรายที่เกิดจากผู้ตายจึงยังไม่หมดไป จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัวได้แต่จำเลยมีอาวุธปืนที่ร้ายแรงกว่า จำเลยจึงอาจยิงขู่หรือเลือกยิงร่างกายส่วนที่สำคัญน้อยหรือเป็นอันตรายน้อยเพื่อยังยั้งผู้ตายกับพวกมิให้เข้าทำร้ายจำเลย แต่จำเลยกลับยิงผู้ตายบริเวณหน้าอกอันเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตาม ป.อ. มาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับพยานหลักฐานในคดีขายฝาก: ห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญา
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 491 บัญญัติว่า สัญญาขายฝากคือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อโดยมีข้อความตกลงว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์คืนได้ซึ่งตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้ว่า การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ การขายฝากที่ดินจึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การฟังพยานหลักฐานต้องอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข) คือ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลในกรณีขอสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้น เมื่อตามหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินระบุว่าผู้ขายฝากได้รับเงินจากผู้ซื้อฝากครบถ้วนแล้ว การนำพยานบุคคลมาสืบว่ายังได้รับเงินไม่ครบ ย่อมเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์กรณียึดทรัพย์บุคคลภายนอกในคดีล้มละลาย เจ้าหนี้มีประกันต้องรับผิดจากความประมาท
อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการรวบรวม จัดการ และจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) หาได้รวมถึงทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่มิได้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ด้วยไม่ การที่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาขอให้ผู้คัดค้านยึดโรงงานพิพาทที่มิใช่ของลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 และมีบุคคลภายนอกร้องคัดค้านการยึดจนในที่สุดผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ปล่อยโรงงานพิพาทคืนแก่บุคคลภายนอก เช่นนี้ ตามพฤติการณ์และวิสัยของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองย่อมจะต้องรู้อยู่แล้วว่าโรงงานพิพาทมิใช่เป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 แม้ผู้ร้องอ้างว่าเป็นความสำศัญผิดของผู้ร้องก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ร้อง ส่วนผู้คัดค้านเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อไม่มีพฤติการณ์ใดแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมเข้าใจว่าสิ่งปลูกสร้างซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินเป็นส่วนควบของที่ดินแปลงนั้น กรณีไม่อาจถือได้ว่าการยึดโรงงานพิพาทบนที่ดินจำนองหลักประกันของผู้ร้องเป็นความผิดของผู้คัดค้านผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขอให้ผู้คัดค้านยึดโรงงานพิพาทเพื่อประโยชน์ของผู้ร้องฝ่ายเดียวจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10243/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณและสินสมรส โดยผู้ให้มีสิทธิถอนคืนเฉพาะส่วนของตน
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 (1) ระหว่างโจทก์กับ ฉ. ซึ่งถือว่าโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินพิพาทได้ตามมาตรา 1475 แต่ถึงแม้โจทก์จะมิได้ร้องขอดังกล่าว แต่การจัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทตามมาตรา 1476 (1) ถึง (8) ต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อ ฉ. โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยโจทก์ให้ความยินยอม ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ให้ตามมาตรา 521 ด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องถอนคืนการให้ได้
โจทก์และ ฉ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หาเมื่อ พ.ศ.2528 ต่อมา พ.ศ.2536 ฉ. ถึงแก่ความตาย แต่เหตุแห่งการประพฤติเนรคุณเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2543 ภายหลังจากที่ ฉ. ถึงแก่ความตายแล้ว และจำเลยประพฤติเนรคุณเฉพาะต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณได้เฉพาะในส่วนของตน
โจทก์และ ฉ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หาเมื่อ พ.ศ.2528 ต่อมา พ.ศ.2536 ฉ. ถึงแก่ความตาย แต่เหตุแห่งการประพฤติเนรคุณเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2543 ภายหลังจากที่ ฉ. ถึงแก่ความตายแล้ว และจำเลยประพฤติเนรคุณเฉพาะต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณได้เฉพาะในส่วนของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7110/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดีล้มละลาย เหตุอุทธรณ์ไม่เปลี่ยนแปลงผลคำวินิจฉัยศาลล้มละลายกลาง
เมื่อศาลฎีกาพิจารณาอุทธรณ์ทั้งฉบับของจำเลยทั้งสองที่โต้แย้งคัดค้านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาด ตลอดจนพยานหลักฐานในสำนวนแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงผลตามคำวินิจฉัยของศาลล้มละลายกลาง ข้อที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์นั้นจึงไม่สมควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 26 วรรคห้า ประกอบระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ว่าด้วยข้ออุทธรณ์ในคดีล้มละลายที่ไม่สมควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาฯ ข้อ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5649/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและดุลพินิจศาลอุทธรณ์ในการอนุญาตแถลงการณ์ด้วยปาก
การขอแถลงการณ์ด้วยปาก คู่ความอาจขอมาในคำฟ้องอุทธรณ์โดยไม่จำต้องทำเป็นคำร้องติดมากับฟ้องอุทธรณ์ ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นสมควรอนุญาตให้คู่ความแถลงการณ์ด้วยปากก็ให้พิจารณาคดีโดยเปิดเผยต่อหน้าคู่ความทั้งสองฝ่าย การอนุญาตให้คู่ความแถลงการณ์ด้วยปากหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ คู่ความไม่มีสิทธิยกขึ้นฎีกา