พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7834/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนครอบครอง – การพิสูจน์เจตนา และขอบเขตการริบรถยนต์
จำเลยที่ 4 มีเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 197 เม็ด ไว้ในครอบครองโดย ไม่ได้รับอนุญาต เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 4 ได้พร้อมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยจำเลยทั้งสี่นั่งมาด้วยกันในรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นคนขับ และเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวซ่อนอยู่ที่บริเวณหน้ารถด้านคนขับ เมทแอมเฟตามีนดังกล่าวจำเลยที่ 4 เพิ่งไปรับมาในวันนั้น จำเลยทั้งสี่ออกเดินทางไปพร้อมกัน กลับมาพร้อมกัน โดยรถยนต์บรรทุกคันเดียวกัน แสดงว่าขณะนำเมทแอมเฟตามีนมาไว้ในรถจำเลยทั้งสี่อยู่ด้วยกันตลอด การมี เมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองเป็นความผิด จำเลยทั้งสี่ย่อมทราบดี หากจำเลยทั้งสี่ไม่มีเจตนาร่วมกันแล้ว จำเลยที่ 4 ย่อมไม่กล้ากระทำโดยเปิดเผยให้ผู้อื่นได้รู้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ย่อมจะต้องปกปิดอย่างยิ่ง ชั้นจับกุมและสอบสวนจำเลยที่ 1 และที่ 4 รับสารภาพ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่าร่วมไปด้วยเพื่อนำเอามาเสพ พยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 4 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยทั้งสี่มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต การที่จำเลยทั้งสี่เพียงแต่ซ่อนเมทแอมเฟตามีนไว้ที่บริเวณหน้ารถด้านคนขับ รถยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ยานพาหนะซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยตรง จึงไม่อาจริบตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2544)
จำเลยทั้งสี่มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต การที่จำเลยทั้งสี่เพียงแต่ซ่อนเมทแอมเฟตามีนไว้ที่บริเวณหน้ารถด้านคนขับ รถยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ยานพาหนะซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยตรง จึงไม่อาจริบตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2544)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7834/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ในคดียาเสพติด: การซ่อนยาไม่ใช่การใช้ยานพาหนะในการกระทำผิด
จำเลยซ่อนเมทแอมเฟตามีนไว้ที่บริเวณหน้ารถด้านคนขับรถยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ยานพาหนะซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยตรงจึงไม่อาจริบได้ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 102
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเด็ก delinquency หลังอายุเกิน 18 ปี: จากสถานพินิจเป็นอบรมสั่งสอนโดยมารดา
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ส่งจำเลยไปรับการฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนดตั้งแต่ 2 ปี ถึง 3 ปี ขณะเกิดเหตุเมื่อปี 2539 จำเลยอายุ 14 ปี แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยอายุ 19 ปี ซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 74 (5) บัญญัติว่าเด็กอายุกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่เกินสิบสี่ปีกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียน หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรมเด็กตลอดระยะเวลาที่ศาลกำหนด แต่อย่าให้เกินกว่าที่เด็กนั้นจะมีอายุครบสิบแปดปี เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกาว่า จำเลยอายุเกิน 18 ปี แล้ว จึงไม่อาจส่งจำเลยไปรับการฝึกและอบรมตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองได้ ถือว่าเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกามีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมได้ ตามป.อ. มาตรา 74 วรรคท้าย เป็นให้มารดาจำเลยรับตัวจำเลยไปอบรมสั่งสอนและดูแลระมัดระวังมิให้จำเลยก่อเหตุร้ายหรือกระทำผิดอาญาใด ๆ ขึ้นอีกภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังได้ มิฉะนั้นศาลจะปรับครั้งละ 500 บาทตาม ป.อ. มาตรา 74 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุจำเลยเปลี่ยนแปลงหลังศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำสั่งเดิม
ขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 14 ปี แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏแก่ศาลฎีกาว่า จำเลยอายุเกิน 18 ปีแล้ว จึงไม่อาจส่งจำเลยไปรับการฝึกและอบรมตามคำพิพากษาของศาลล่างได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) ถือว่าเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมได้ ตามมาตรา 74 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7364/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แม้โจทก์อ้างจำเลยผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาตกลงให้โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ของจำเลย โดยโจทก์มอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารเพื่อประกันการชำระหนี้ค่าสินค้าในวงเงิน 100,000 บาท ให้แก่จำเลย จำเลยผิดสัญญาส่งสินค้าให้ร้านค้าต่าง ๆ ทำให้สินค้าที่โจทก์รับมาจำหน่ายไม่ได้ โจทก์ขาดรายได้แต่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยคืนสัญญาค้ำประกันของธนาคาร ซึ่งผลของคำขอนั้นจะทำให้โจทก์ได้คืนหลักประกันที่ให้ไว้แก่ธนาคารเพื่ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันให้แก่จำเลยดังกล่าวและจำเลยขาดหลักประกันการเรียกค่าสินค้าค้างชำระจากโจทก์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือที่เรียกว่าคดีมีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ก็คือหลักประกันตามหนังสือค้ำประกันที่โจทก์เรียกคืนจำนวน 100,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7356/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งดการพิจารณาคดีล้มละลายเนื่องจากคดีฟื้นฟูกิจการยังไม่สิ้นสุด
ระหว่างการพิจารณาคดีล้มละลายคดีนี้ของศาลฎีกา ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งในอีกคดีหนึ่งอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลย และคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ศาลฎีกาจึงต้องงดการพิจารณาคดีล้มละลายไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) จนกว่าเหตุที่ต้องงดการพิจารณาคดีดังกล่าวจะสิ้นสุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7324/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาล ทำให้คำสั่งถึงที่สุด แม้จะอ้างเหตุจำเป็นในการนำเสนอพยานเพิ่มเติม
ภายหลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้คู่ความฟังแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 26 มกราคม 2541 ของผู้คัดค้าน และแจ้งคำสั่งให้ผู้คัดค้านทราบโดยชอบแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าว คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์จึงถึงที่สุด ฎีกาของผู้คัดค้านที่ว่า ผู้คัดค้านมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าผู้คัดค้านเป็นคนยากจนได้ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีล้มละลาย: ผลของการยกคำขอรับชำระหนี้และการสะดุดหยุดของอายุความ
แม้การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายคดีก่อนจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(3) แต่ก็ปรากฏว่าศาลในคดีดังกล่าวเห็นชอบตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ค่าสินค้าที่ลูกหนี้ค้างชำระ ซึ่งเจ้าหนี้มิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลในคดีดังกล่าวจึงถึงที่สุด ต้องถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/17และมาตรา 193/18 ดังนั้น เมื่อเจ้าหนี้นำหนี้ค่าสินค้าดังกล่าวมาฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปมูลหนี้ดังกล่าวจึงขาดอายุความตามมาตรา 193/34(1) จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7296/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจรคดีเดียว แม้ผู้เสียหายต่างกัน สิทธิฟ้องระงับตามมาตรา 39(4) วิ.อาญา
เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยและ บ. ได้พร้อมกันขณะที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียน เชียงใหม่ 1 ก -3620 และ บ. ขับรถจักรยานยนต์ของกลางคดีนี้และยึดรถจักรยานยนต์ทั้งสองคันไว้เป็นของกลาง โดยที่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยรับรถจักรยานยนต์ของกลางคดีนี้ไว้คนละคราวกับที่รับรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียนเชียงใหม่ 1 ก -3620 จึงต้องฟังว่าจำเลยได้รับรถจักรยานยนต์ของกลางทั้งสองคันไว้ในคราวเดียวกันซึ่งเป็นการกระทำความผิดฐานรับของโจรกรรมเดียว แต่โจทก์ได้แยกฟ้องจำเลยเป็นสองคดีตามจำนวนผู้เสียหายเมื่อจำเลยถูกฟ้องและศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรในคดีก่อนไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรเป็นคดีนี้อีก เพราะเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับคดีดังกล่าว สิทธิที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยสำหรับความผิดฐานรับของโจรนั้นเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7265/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีขับไล่และเรียกค่าเสียหายซ้ำกับคดีเดิมที่ยังอยู่ในระหว่างพิจารณา ถือเป็นฟ้องซ้อน ห้ามตามกฎหมาย
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่า จำเลยตกลงเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ มีการทำสัญญาเช่าและต่อสัญญาเช่าหลายครั้งต่อมาเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปจึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ส่งคืนตึกแถวที่เช่ากับมีคำขอให้จำเลยออกไปจากตึกแถวที่เช่าและที่เช่าและใช้ค่าเสียหาย คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จะให้จำเลยเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้ทรงสิทธิใดในตึกแถวที่ให้เช่าและสิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำนืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งผู้ให้เช่าก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า ประกอบกับจำเลยได้ยื่นำให้การต่อสู้คดีในลักษณะเข้าใจข้อหาได้ดีและยอมรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวตามฟ้องของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย แม้จะอาศัยเช่าต่างฉบับกับสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน แต่สัญญาเช่าที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องคดีนี้ได้มีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนซึ่งโจทก์สามารถอ้างเหตุที่เป็นมูลฟ้องได้ในคดีก่อนแต่โจทก์ก็มิได้กระทำคำฟ้องคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้ง จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง
ในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวตามฟ้องของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย แม้จะอาศัยเช่าต่างฉบับกับสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน แต่สัญญาเช่าที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องคดีนี้ได้มีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนซึ่งโจทก์สามารถอ้างเหตุที่เป็นมูลฟ้องได้ในคดีก่อนแต่โจทก์ก็มิได้กระทำคำฟ้องคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้ง จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง