คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วัฒนชัย โชติชูตระกูล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบยาเสพติดระหว่างตัวการร่วม ไม่ถือเป็น 'ขาย' ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติด
การส่งมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางระหว่างตัวการผู้กระทำผิดร่วมกัน ไม่ถือว่าเป็นการขาย จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขายเมทแอมเฟตามีน ตามบทนิยามคำว่า "ขาย" ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 จำเลยคงมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์และการริบของกลาง: การประเมินความร้ายแรงของบาดแผลและการใช้ยานพาหนะ
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บเพียงเป็นบาดแผลฟกช้ำบริเวณหน้าผากด้านขวาและคอด้านข้างแถบขวาชัดเจน ใช้เวลารักษาประมาณ 3 วันหาย จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย
พฤติการณ์ของจำเลยกับพวกที่เพียงขับรถจักรยานยนต์ไปจอดรอจำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหายบริเวณริมถนนฝั่งตรงข้ามกับที่เกิดเหตุ เป็นเพียงการใช้รถจักรยานยนต์ไปและกลับจากการกระทำความผิด เพื่อให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกและรวดเร็วเท่านั้น เมื่อรถจักรยานยนต์ไม่ใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) แล้ว จึงไม่อาจริบกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางได้เช่นกัน ปัญหาดังกล่าวทั้งหมดเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขับรถประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ และการเข้าร่วมเป็นโจทก์ของโจทก์ร่วม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถแซงรถเครนเข้าไปในทางเดินรถสวนทั้งที่เห็นอยู่แล้วว่ามีรถจักรยานยนต์และรถยนต์บรรทุกกำลังจะแล่นสวนทางโดยจำเลยควรใช้ความระมัดระวังขับรถตามรถเครนไปจนกระทั่งรถที่แล่นสวนทางผ่านพ้นไปก่อน จึงขับรถแซงรถเครนขึ้นไปแต่กลับมิได้กระทำเช่นนั้น จึงขับชนกับรถยนต์บรรทุกด้วยความประมาทซึ่งเพียงพอให้จำเลยเข้าใจได้แล้ว ที่โจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยขับรถแซงรถเครนเข้าไปในทางเดินรถสวนทางโดยไม่ได้ให้สัญญาณใด ๆนั้น แม้จะไม่บรรยายว่าสัญญาณใด ๆ นั้นคืออะไรก็หาทำให้ฟ้องเคลือบคลุมไม่และเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า ด้วยความประมาทนั้น ทำให้รถยนต์บรรทุกทั้งสองคันเสียหายโจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสจึงไม่จำเป็นต้องระบุข้อความว่าอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินไว้ด้วยอีก ถือว่าครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4),157 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับรถประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส: ประเด็นความชัดเจนของฟ้องและคุณสมบัติการเป็นผู้เสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถแซงรถเครนเข้าไปในทางเดินรถสวนทั้งที่เห็นอยู่แล้วว่ามีรถจักรยานยนต์และรถยนต์บรรทุกกำลังแล่นสวนทางโดยจำเลยควรใช้ความระมัดระวังขับรถตามรถเครนไปจนกระทั่งรถที่แล่นสวนทางผ่านพ้นไปก่อนจึงขับรถแซงรถเครนขึ้นไป แต่กลับมิได้กระทำเช่นนั้น จึงขับชนกับรถยนต์บรรทุกด้วยความประมาท ซึ่งเพียงพอให้จำเลยเข้าใจได้แล้ว ที่โจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยขับรถแซงรถเครนเข้าไปในทางเดินรถสวนทางโดยไม่ได้ให้สัญญาณใด ๆ โดยไม่บรรยายว่าสัญญาณใด ๆ นั้นคืออะไร ก็หาทำให้ฟ้องเคลือบคลุมไม่ และเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า ด้วยความประมาทนั้น ทำให้รถยนต์บรรทุกทั้งสองคันเสียหายและโจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัส โจทก์จึงไม่จำต้องระบุข้อความว่าอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินไว้อีก ถือว่าครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4) , 157 แล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ทั้งโจทก์ร่วมมีส่วนประมาท จึงมิใช่ผู้เสียหายในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ไม่อาจเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้ยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ของโจทก์ร่วม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งศาลโดยวิธีส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน และการกำหนดวันรับทราบคำสั่งของเจ้าหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือแจ้งคำสั่งของศาลโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของผู้รับมอบอำนาจของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นอาคาร 32 ชั้นโดยผู้รับมอบอำนาจของเจ้าหนี้เช่าพื้นที่ของอาคารในชั้นที่ 19เป็นที่ทำการ ถ้าหากการส่งหนังสือดังกล่าวมีพนักงานของอาคารเป็นผู้ลงชื่อรับในใบตอบรับไว้ก่อนเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม2542 แล้วนำส่งให้แก่พนักงานของผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2542 จริงก็ต้องถือว่าเจ้าหนี้ทราบคำสั่งของศาลในวันที่ 19 กรกฎาคม 2542 เพราะพนักงานของอาคารมิใช่บุคคลผู้อยู่หรือทำงานในสำนักทำการงานของผู้รับมอบอำนาจของเจ้าหนี้ การที่เจ้าหนี้ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2542ย่อมไม่พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องสั่งให้ไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความและผลของการแจ้งการประเมินภาษี การอายัดทรัพย์สิน และการฟ้องล้มละลาย
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี 2526 และ 2527 ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว เป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพราะประมวลรัษฎากรมาตรา 12 ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีจึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(5) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินกำหนดให้จำเลยชำระเงินค่าภาษีอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2530 อายุความจึงเริ่มต้นนับใหม่เมื่อพ้น 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2530 ซึ่งอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
การยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม จึงต้องใช้อำนาจภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 นับแต่วันที่อาจใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้ แต่กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามมาตรา 271 มิใช่อายุความอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้การที่โจทก์มีคำสั่งอายัดเงินมัดจำขวดและลังที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากบริษัท บ. และบริษัทดังกล่าวส่งเงินอายัดให้โจทก์เมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2534 ก็เป็นเพียงขั้นตอนในการบังคับคดีเท่านั้นไม่ใช่การกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 18มิถุนายน 2541 เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2530ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้วโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลย จึงไม่อาจนำหนี้มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลาย: การแจ้งประเมินภาษีและการบังคับคดีทำให้สะดุดหยุดลง แต่มีกรอบเวลา 10 ปี
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี 2526 และ 2527 ถือว่า เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว เป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี จึงเป็นเหตุให้ อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินกำหนดให้จำเลยชำระเงินค่าภาษีอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2530 อายุความ จึงเริ่มต้นนับใหม่เมื่อพ้น 30 วัน นับแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2530 ซึ่งอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
การยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ให้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. โดยอนุโลมจึงต้องใช้อำนาจภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 นับแต่วันที่อาจใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้ แต่กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามมาตรา 271 มิใช่อายุความอันจะอยู่ในบังคับแห่ง บทบัญญัติว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ. จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ การที่โจทก์มี คำสั่งอายัดเงินมัดจำขวดและลังที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากบริษัท บ. และบริษัทดังกล่าวส่งเงินอายัดให้โจทก์เป็นเพียง ขั้นตอนในการบังคับคดีเท่านั้น ไม่ใช่การกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี ไม่ทำให้อายุความ สะดุดหยุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิ ที่จะบังคับคดีแก่จำเลย จึงไม่อาจนำหนี้มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์โดยเจ้าหนี้เพื่อบังคับหนี้ มิใช่ความผิดฐานลักทรัพย์ หากเป็นการกระทำโดยเปิดเผยและมีเจตนาให้ชำระหนี้
จำเลยขายรถยนต์และเครื่องนวดข้าวให้โจทก์ โจทก์ชำระเงินแล้วบางส่วนและยังค้างชำระส่วนที่เหลือ หลังจากนั้น 7 เดือนเศษจำเลยกับพวกไปหาโจทก์ที่บ้านแต่ไม่พบ แต่ได้บอกภริยาบุตรและน้องชายโจทก์ว่าจะเอารถยนต์และเครื่องนวดข้าวไป แล้วได้ยึดรถยนต์และเครื่องนวดข้าวกลับไปเก็บไว้ที่บ้านจำเลยเพราะโจทก์ยังชำระเงินส่วนที่เหลือไม่ครบ ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการใช้อำนาจบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้โดยพลการ มิได้ดำเนินการฟ้องร้องบังคับให้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการกระทำโดยเจตนาให้โจทก์ลูกหนี้ใช้หนี้ค่ารถยนต์และเครื่องนวดข้าวที่ค้างชำระเท่านั้น หาได้มีเจตนาลักเอาไปโดยทุจริตไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8274/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ทราบฐานะลูกหนี้แต่ยังให้กู้ยืมเพิ่มเติม ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามกฎหมายล้มละลาย
เจ้าหนี้ทำงานกับลูกหนี้มานานจนกระทั่งเป็นกรรมการคนหนึ่งและเป็นกรรมการผู้จัดการของลูกหนี้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการของลูกหนี้ เจ้าหนี้ย่อมต้องทราบถึงฐานะและกิจการของลูกหนี้ได้ว่าตกอยู่ในสภาพเช่นไร ฉะนั้น เมื่อกิจการของลูกหนี้อยู่ในภาวะขาดทุนอีกทั้งลูกหนี้ยังค้างชำระค่าจ้างพนักงานและเจ้าหนี้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2536 เป็นต้นไป เจ้าหนี้ก็ยังคงให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินโดยลูกหนี้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้จนถึงปี 2539 เป็นเงินทั้งสิ้น 7,900,000 บาท แสดงว่า เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวโดยรู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7703/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลา ไม่มีสิทธิขอให้ยกเลิกการล้มละลาย
แม้ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ แต่ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงได้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตาม มาตรา 135 ได้
เหตุต่าง ๆ ที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ล้วนแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นข้อที่ศาลชั้นต้นจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 คือถ้ามีเหตุดังกล่าวที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายศาลก็จะพิพากษายกฟ้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตาม มาตรา 135 (2) ได้อีก
of 44