พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6087/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับชำระหนี้ภาษีอากรในคดีล้มละลาย: อายุความ, เอกสาร, และความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
เจ้าหนี้เป็นหน่วยงานราชการครอบครองต้นฉบับเอกสารอยู่แล้ว ได้นำส่งสำเนาเอกสารอันเกิดจากการรับรองความถูกต้องของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานของรัฐ จึงรับฟังเอกสารที่เจ้าหนี้ส่งเป็นพยานเอกสารได้
เจ้าหนี้ได้มีหนังสือเตือนให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. นำเงินภาษีอากรไปชำระตามแบบแจ้งการประเมินจำนวน 2 ครั้ง โดยลูกหนี้ได้รับหนังสือเตือนแล้ว เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดในหนี้ภาษีอากรของห้าง นับจากวันที่ลูกหนี้ได้รับหนังสือเตือนครั้งแรกวันที่ 11 พฤศจิกายน 2537 ถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้วันที่ 24 พฤษภาคม 2543 หนี้ดังกล่าวจึงยังไม่ขาดอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 และมูลหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวเป็นมูลหนี้ค่าภาษีอากรค้างชำระที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด จึงไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ และเป็นหนี้ที่หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ผิดนัดชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070 ประกอบมาตรา 1077 (2) โดยเจ้าหนี้ไม่จำต้องไปใช้สิทธิเรียกร้องเอากับลูกหนี้ตามมาตรา 55 แห่ง ป.วิ.พ. แต่อย่างใด กรณีไม่ต้องด้วย มาตรา 88 และ 89 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ เพราะเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิดำเนินคดีกับตัวลูกหนี้โดยตรงแล้ว
การใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 12 สั่งยึดและอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้นำออกขายทอดตลาดเพื่อหักชำระหนี้ภาษีได้นั้น เป็นกระบวนการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหนี้ และลูกหนี้มิได้โต้แย้งจำนวนหนี้ค่าภาษีอากรที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินเรียกให้ลูกหนี้ชำระแต่อย่างใด จึงไม่ได้มีปัญหาที่ศาลจะบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากรฯ ที่จะต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
เจ้าหนี้ได้มีหนังสือเตือนให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. นำเงินภาษีอากรไปชำระตามแบบแจ้งการประเมินจำนวน 2 ครั้ง โดยลูกหนี้ได้รับหนังสือเตือนแล้ว เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดในหนี้ภาษีอากรของห้าง นับจากวันที่ลูกหนี้ได้รับหนังสือเตือนครั้งแรกวันที่ 11 พฤศจิกายน 2537 ถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้วันที่ 24 พฤษภาคม 2543 หนี้ดังกล่าวจึงยังไม่ขาดอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 และมูลหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวเป็นมูลหนี้ค่าภาษีอากรค้างชำระที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด จึงไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ และเป็นหนี้ที่หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ผิดนัดชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070 ประกอบมาตรา 1077 (2) โดยเจ้าหนี้ไม่จำต้องไปใช้สิทธิเรียกร้องเอากับลูกหนี้ตามมาตรา 55 แห่ง ป.วิ.พ. แต่อย่างใด กรณีไม่ต้องด้วย มาตรา 88 และ 89 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ เพราะเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิดำเนินคดีกับตัวลูกหนี้โดยตรงแล้ว
การใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 12 สั่งยึดและอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้นำออกขายทอดตลาดเพื่อหักชำระหนี้ภาษีได้นั้น เป็นกระบวนการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหนี้ และลูกหนี้มิได้โต้แย้งจำนวนหนี้ค่าภาษีอากรที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินเรียกให้ลูกหนี้ชำระแต่อย่างใด จึงไม่ได้มีปัญหาที่ศาลจะบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากรฯ ที่จะต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำความผิดเดียวกัน สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว
โจทก์ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 742/2539 ของศาลชั้นต้นฟ้องว่า จำเลยกับพวกโดยทุจริตร่วมกันหลอกลวงประชาชนทั่วไปด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จโดยประกาศโฆษณาแก่ประชาชนว่า จำเลยกับพวกสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ มีตำแหน่งงานให้ทำหลายตำแหน่ง รายได้ดี สวัสดิการดี ใครต้องการไปทำงานให้สมัครและจ่ายค่าสมัคร ค่าบริการต่าง ๆ ได้ที่จำเลยกับพวกซึ่งเป็นเท็จ ด้วยการหลอกลวงดังกล่าวเป็นเหตุให้ประชาชนจำนวน 343 คน หลงเชื่อไปสมัครงานและจ่ายเงินให้จำเลยกับพวกรวมเป็นเงิน 16,185,000 บาท แล้วจำเลยกับพวกนำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต นอกจากนี้จำเลยกับพวกยังร่วมกันจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งหมดซึ่งเป็นคนหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจัดหางานจากนายทะเบียนกลางตามกฎหมาย ปรากฏว่าฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 742/2539 เหมือนกันแทบทุกประการ เป็นการฟ้องในฐานความผิดเดียวกัน โดยวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดทั้ง 2 คดี เป็นช่วงเวลาเดียวกัน แสดงว่าการประกาศโฆษณาให้ประชาชนรวมทั้งผู้เสียหายทั้ง 2 คดี หลงเชื่อ เป็นการประกาศโฆษณาครั้งเดียวกัน สถานที่เกิดเหตุทั้งสองคดีเป็นสถานที่เดียวกันจะแตกต่างกันก็เฉพาะเป็นผู้เสียหายต่างรายกันเท่านั้น ทั้งทางนำสืบทั้ง 2 คดี จำเลยกระทำผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ต. โดยจำเลยเป็นหุ้นส่วนของห้างดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่โจทก์นำการกระทำของจำเลยซึ่งโจทก์กล่าวหาว่าเป็นความผิดอันเป็นการกระทำเดียวกันมาแยกฟ้องเป็น 2 คดี โดยแยกผู้เสียหายออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละคดีเท่านั้น เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นความผิดที่โจทก์ได้ฟ้องไว้ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 742/2539 และเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 1312/2544 ของศาลชั้นต้นไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในคดีนี้ย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) จึงต้องยกฟ้องของโจทก์คดีนี้เสีย ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำซ้อนในความผิดเดียวกัน ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
โจทก์นำการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นการกระทำเดียวกันมาแยกฟ้องเป็น 2 คดี โดยแยกผู้เสียหายออกเป็น 2 กุล่ม กลุ่มละคดี เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในการกระทำของจำเลยดังกล่าวซึ่งเป็นความผิดที่โจทก์ได้ฟ้องไว้ในคดีหนึ่งไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในคดีนี้ย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5754/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าเช่าอุปกรณ์และการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
สิทธิเรียกร้องค่าบริการเช่าบำรุงรักษาอุปกรณ์อันเป็นสังหาริมทรัพย์อยู่ในบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) มีอายุความ 2 ปี ซึ่งจะครบกำหนดอายุความในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ปรากฏว่าลูกหนี้ถูกสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ ปรส. เจ้าหนี้จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อ ปรส. เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2542 ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดี ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) โดยที่เป็นเพียงการกระทำอื่นใดมิใช่เป็นการฟ้องคดี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงยังไม่ยุติถึงที่สุด เมื่อได้ความว่า ปรส. มีคำสั่งไม่พิจารณาให้เจ้าหนี้ได้รับการเฉลี่ยเงินคืนจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ และได้ปฏิเสธคำอุทธรณ์ของเจ้าหนี้เป็นที่สุดแล้วเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2544 ซึ่งอายุความได้ครบกำหนดไปแล้ว เจ้าหนี้จึงต้องอยู่ในบังคับให้ใช้สิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่กระบวนพิจารณาของ ปรส. สิ้นสุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง ประกอบมาตรา 193/18 การที่เจ้าหนี้มิได้ฟ้องคดีและยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันที่ 14 มีนาคม 2545 สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ดังกล่าวจึงขาดอายุความ และเมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวอันเป็นมูลหนี้ประธานขาดอายุความแล้ว สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในกรณีสัญญาเลิกกันก่อนกำหนดตามที่ได้กำหนดไว้อันเป็นส่วนอุปกรณ์จึงขาดอายุความไปด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการและการคุ้มครองทรัพย์สินลูกหนี้: สิทธิเจ้าหนี้ผูกพันตามแผนฟื้นฟู
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (7) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่กฎหมายได้กำหนดให้เกิดสภาวะหยุดนิ่งหรือพักการชำระหนี้ (automatic stay) ขึ้น นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้พิจารณา โดยมีวัตถุประสงค์ในการสงวนรักษาทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้เพื่อประโยชน์แก่การรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามระบบที่กฎหมายกำหนดไว้ภายใต้กรอบของแผนฟื้นฟูกิจการ และให้เวลาแก่ลูกหนี้หรือผู้ทำแผนสำรวจความบกพร่องของกิจการนำไปวางแผน ปรับปรุง แก้ไข ให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งลดความกดดันทางการเงินจากการถูกเจ้าหนี้บังคับยึดทรัพย์สินหรือหลักประกัน บทบัญญัติมาตรา 90/27 และมาตรา 90/60 แสดงให้เห็นว่า มูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ทุกประเภทจะต้องเข้ามาอยู่ในระบบการฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้หนี้สินของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วได้รับการสะสางภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการให้เสร็จสิ้นไป สำหรับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้มีคำสั่งยึดและอายัดไว้ก่อนวันที่ศาลได้มีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้พิจารณานั้น เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของการคุ้มครองในการห้ามมิให้เจ้าหนี้ยึดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไปแล้ว ก็เพื่อให้การชำระหนี้จะต้องเป็นไปตามแผนนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความด้วยว่า มูลหนี้ของเจ้าหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยชอบ แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ไว้ และศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว เจ้าหนี้จึงผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามแผนซึ่งรวมถึงการได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ด้วย ไม่อาจได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากจำนวนและตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผน เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิยึดและอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ได้ยึดและอายัดไว้ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 12 ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับลดหนี้ภาษีอากรในแผนฟื้นฟูกิจการ และการแปลงหนี้เป็นทุนของหน่วยงานรัฐ
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 และมาตรา 90/60 ประสงค์ให้มูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ทุกประเภทที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเข้ามาอยู่ในระบบการฟื้นฟูกิจการทั้งหมด แม้ว่าหนี้นั้นจะเป็นภาษีอากรก็ตาม นอกจากนี้กรณีใดที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ ต้องการให้มูลหนี้ภาษีอากรมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้ธรรมดาหรือคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษ กฎหมายก็จะบัญญัติไว้ชัดแจ้ง เมื่อกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิหรือคุ้มครองแก่เจ้าหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษ ภายใต้บังคับของมาตรา 90/58 (2) ประกอบด้วยมาตรา 130 (6) สิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรจึงมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ทั้งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้บัญญัติผลของการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไว้เป็นการเฉพาะแล้วตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจนำมาตรา 56 ในเรื่องผลของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมาใช้โดยอนุโลมได้ ดังนั้น แผนฟื้นฟูกิจการจึงกำหนดปรับลดหนี้ภาษีอากรซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการได้
กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีวัตถุประสงค์และดำเนินการแตกต่างจากนิติบุคคลโดยทั่วไป เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับชำระหนี้ของกรมศุลกากรไว้โดยเฉพาะ หรือมีบทบัญญัติที่ห้ามมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับกรมศุลกากรมาใช้บังคับ กรณีจึงต้องปฏิบัติไปตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งได้กำหนดให้กรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการชำระหนี้ค่าภาษีด้วยการแปลงหนี้เป็นทุนอันจะทำให้กรมศุลกากรเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเอกชนย่อมเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของกรมศุลกากรในการบริหารราชการแผ่นดิน ข้อกำหนดในแผนส่วนนี้จึงขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายไม่อาจใช้บังคับได้
กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีวัตถุประสงค์และดำเนินการแตกต่างจากนิติบุคคลโดยทั่วไป เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับชำระหนี้ของกรมศุลกากรไว้โดยเฉพาะ หรือมีบทบัญญัติที่ห้ามมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับกรมศุลกากรมาใช้บังคับ กรณีจึงต้องปฏิบัติไปตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งได้กำหนดให้กรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการชำระหนี้ค่าภาษีด้วยการแปลงหนี้เป็นทุนอันจะทำให้กรมศุลกากรเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเอกชนย่อมเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของกรมศุลกากรในการบริหารราชการแผ่นดิน ข้อกำหนดในแผนส่วนนี้จึงขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายไม่อาจใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับลดหนี้ภาษีอากรในแผนฟื้นฟูกิจการ และการแปลงหนี้เป็นทุนของกรมศุลกากร
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/27, 90/60 ประสงค์ให้มูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ทุกประเภทที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเข้ามาอยู่ในระบบการฟื้นฟูกิจการทั้งหมด แม้ว่าหนี้นั้นจะเป็นหนี้ภาษีอากรก็ตามหาก พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องการให้มูลหนี้ภาษีอากรมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้ธรรมดาหรือคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษ กฎหมายก็จะบัญญัติไว้ชัดแจ้ง ดังนี้ ภายใต้บังคับมาตรา 90/58 (2) ประกอบด้วยมาตรา 130 (6) สิทธิของเจ้าหนี้ภาษีอากรมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ทั้ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติผลของการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไว้เป็นการเฉพาะโดยชัดแจ้งแล้ว จึงไม่อาจนำมาตรา 56 เรื่องของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมาใช้โดยอนุโลมได้ ดังนั้น แผนฟื้นฟูกิจการจึงกำหนดปรับลดหนี้ภาษีอากรซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการได้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับชำระหนี้ของกรมศุลกากรไว้โดยเฉพาะหรือมีบทบัญญัติห้ามมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับศุลกากรมาใช้บังคับ กรณีจึงต้องปฏิบัติไปตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลังฯ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ ซึ่งกำหนดให้กรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการชำระหนี้ค่าภาษีด้วยการแปลงหนี้เป็นทุนอันจะทำให้กรมศุลกากรเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเอกชนนั้น ย่อมเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของกรมศุลกากรในการบริหารราชการแผ่นดิน ข้อกำหนดในแผนส่วนนี้จึงขัดต่อกฎหมายไม่อาจใช้บังคับได้ อย่างไรก็ตามเมื่อแผนได้จัดทำโดยสุจริตและมีความมุ่งหมายเพื่อรักษาองค์กรทางธุรกิจเอาไว้และเพื่อจะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งปวงประกอบกับแผนฟื้นฟูกิจการได้รับการยอมรับจากเจ้าหนี้เป็นส่วนใหญ่แล้ว เพียงแต่ปรากฏเหตุขัดข้องในแผนเฉพาะส่วนที่กำหนดให้มีการชำระหนี้ค่าภาษีด้วยหุ้น จึงสมควรแจ้งให้ผู้ทำแผนทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขเหตุขัดข้องดังกล่าวเสียก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนไปเสียทีเดียว
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับชำระหนี้ของกรมศุลกากรไว้โดยเฉพาะหรือมีบทบัญญัติห้ามมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับศุลกากรมาใช้บังคับ กรณีจึงต้องปฏิบัติไปตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลังฯ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ ซึ่งกำหนดให้กรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการชำระหนี้ค่าภาษีด้วยการแปลงหนี้เป็นทุนอันจะทำให้กรมศุลกากรเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเอกชนนั้น ย่อมเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของกรมศุลกากรในการบริหารราชการแผ่นดิน ข้อกำหนดในแผนส่วนนี้จึงขัดต่อกฎหมายไม่อาจใช้บังคับได้ อย่างไรก็ตามเมื่อแผนได้จัดทำโดยสุจริตและมีความมุ่งหมายเพื่อรักษาองค์กรทางธุรกิจเอาไว้และเพื่อจะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งปวงประกอบกับแผนฟื้นฟูกิจการได้รับการยอมรับจากเจ้าหนี้เป็นส่วนใหญ่แล้ว เพียงแต่ปรากฏเหตุขัดข้องในแผนเฉพาะส่วนที่กำหนดให้มีการชำระหนี้ค่าภาษีด้วยหุ้น จึงสมควรแจ้งให้ผู้ทำแผนทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขเหตุขัดข้องดังกล่าวเสียก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนไปเสียทีเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนฟื้นฟูกิจการต้องมีรายละเอียดสินทรัพย์ครบถ้วนและจัดทำด้วยความสุจริต ศาลมีอำนาจตรวจสอบเนื้อหาแผนได้
การที่กฎหมายกำหนดขั้นตอนในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนไว้ว่าเมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/46 แล้วให้ศาลพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบาทในทางเศรษฐกิจที่จะคุ้มครองเจ้าหนี้เสียงข้างน้อยและให้แผนฟื้นฟูกิจการก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าหนี้ตลอดจนประเทศชาติโดยรวม ศาลจึงมีอำนาจในการที่จะตรวจสอบถึงเนื้อหาของแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า (1)...(3)..." ก็หมายความเพียงว่าเมื่อแผนมีลักษณะครบถ้วนตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว ถือว่าเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ให้ศาลมีดุลพินิจที่จะเห็นชอบด้วยแผนได้ แต่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนนั้น ศาลมีอำนาจนำข้อเท็จจริงหรือหลักกฎหมายอื่นนอกเหนือจากมาตรา 90/58 มาประกอบพิจารณาได้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ถ้าแผนฟื้นฟูกิจการมีลักษณะครบถ้วนตามมาตรา 90/58 แล้ว ศาลจะต้องมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนทุกกรณีไป
การพิจารณาว่าแผนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แผนนั้นจะต้องมีรายละเอียดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 บัญญัติว่า "ในแผนให้มีรายการต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย... (2) รายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สินและภาระผูกพันต่างๆ ของลูกหนี้ในขณะที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ..." คำว่า สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการและประโยชน์ที่ได้รับในเชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต สินทรัพย์จึงรวมทั้งทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้อง กรณีนี้ลูกหนี้มีหนี้เงินให้กู้ยืมซึ่งมีสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าว แต่ในแผนไม่ปรากฏว่าสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินดังกล่าว ผู้ทำแผนได้กำหนดวิธีการจัดการไว้อย่างไรที่จะให้เจ้าหนี้ได้ประโยชน์สูงสุด รวมทั้งหนี้ให้กู้ยืมเงินจำนวนมากที่กรรมการของลูกหนี้มีส่วนประมาทก่อให้เกิดความเสียหาย ลูกหนี้อาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนแก่กรรมการได้ซึ่งในการเรียกร้องนั้นเจ้าหนี้ของลูกหนี้จะเป็นผู้เรียกบังคับได้เท่าที่เจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 หากลูกหนี้ล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถใช้วิธีการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 118 หรือมาตรา 119 เรียกร้องหนี้ดังกล่าวได้ หรือหากเป็นหนี้เด็ดขาดตามคำพิพากษาก็มีระยะเวลาการบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ดังนั้น ถือได้ว่าแผนกล่าวถึงรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ไม่ครบถ้วน ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 (2)
การพิจารณาว่าแผนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แผนนั้นจะต้องมีรายละเอียดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 บัญญัติว่า "ในแผนให้มีรายการต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย... (2) รายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สินและภาระผูกพันต่างๆ ของลูกหนี้ในขณะที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ..." คำว่า สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการและประโยชน์ที่ได้รับในเชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต สินทรัพย์จึงรวมทั้งทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้อง กรณีนี้ลูกหนี้มีหนี้เงินให้กู้ยืมซึ่งมีสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าว แต่ในแผนไม่ปรากฏว่าสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินดังกล่าว ผู้ทำแผนได้กำหนดวิธีการจัดการไว้อย่างไรที่จะให้เจ้าหนี้ได้ประโยชน์สูงสุด รวมทั้งหนี้ให้กู้ยืมเงินจำนวนมากที่กรรมการของลูกหนี้มีส่วนประมาทก่อให้เกิดความเสียหาย ลูกหนี้อาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนแก่กรรมการได้ซึ่งในการเรียกร้องนั้นเจ้าหนี้ของลูกหนี้จะเป็นผู้เรียกบังคับได้เท่าที่เจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 หากลูกหนี้ล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถใช้วิธีการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 118 หรือมาตรา 119 เรียกร้องหนี้ดังกล่าวได้ หรือหากเป็นหนี้เด็ดขาดตามคำพิพากษาก็มีระยะเวลาการบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ดังนั้น ถือได้ว่าแผนกล่าวถึงรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ไม่ครบถ้วน ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5484/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ดอกเบี้ยหุ้นกู้ด้อยสิทธิในคดีล้มละลายภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายเฉพาะ
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 100 กำหนดให้ดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ไม่ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้แต่ดอกเบี้ยก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้หรือไม่ ย่อมเป็นไปตามมูลแห่งหนี้และกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ คดีนี้ได้ความว่าเจ้าหนี้ยื่นความประสงค์ขอรับชำระหนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธิต่อคณะกรรมการดำเนินการแทนบริษัทลูกหนี้ ต่อมาคณะกรรมการ ปรส. ได้อนุญาตจัดสรรเงินบางส่วนชดใช้คืนแก่เจ้าหนี้แล้วตามความเห็นของคณะกรรมดำเนินการแทนลูกหนี้ โดยการคำนวณยอดหนี้คงค้างในส่วนของดอกเบี้ยนั้น ปรส. ถือปฏิบัติตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 5 ว่า นับแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ก. มีผลใช้บังคับ ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยอันเกิดจากหนี้ที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการได้ก่อขึ้นมิให้ถือว่าเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เพิ่มเติมในคดีล้มละลายซึ่งเป็นกระบวนการขอรับชำระหนี้ต่อเนื่องมาจากการได้รับเงินส่วนเฉลี่ยหนี้คืนจาก ปรส. เพียงเท่าจำนวนหนี้ดอกเบี้ยหุ้นกู้ค้างชำระก่อนวันที่ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มีผลใช้บังคับเท่านั้น ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยหุ้นกู้ด้อยสิทธิถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5300/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ที่ถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย แม้ไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
ลูกหนี้ที่เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา อันเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท และไม่มีทรัพย์สินใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ เป็นกรณีที่โจทก์อาจฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ถ้าลูกหนี้ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายแล้ว ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้จึงชอบแล้ว