คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วัฒนชัย โชติชูตระกูล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง แม้บัญชีเรียกเก็บเงินเป็นของกรรมการ, เช็คลงวันที่แล้วสมบูรณ์
จำเลยออกเช็คพิพาทมอบแก่บริษัทโจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อเช็คถึงกำหนดแม้โจทก์จะนำเข้าบัญชี ส.กรรมการผู้จัดการโจทก์ โดยโจทก์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่ ส. โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน กรณีเพียงการนำเช็คพิพาทเข้าเรียกเก็บเงินโดยอาศัยบัญชีของ ส. เท่านั้น โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้ และไม่ว่าโจทก์จำนะเช็คพิพาทเข้าบัญชีโจทก์เองหรือเข้าบัญชีของ ส. เพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็นเพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ไม่ใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญอันจะทำให้การเป็นผู้เสียหายของโจทก์ไม่สมบูรณ์
เดิมจำเลยออกเช็คพิพาทโดยยังไม่ลงวันที่เพื่อค้ำประกัน ในกรณีที่สะสางจำนวนเงินกับลูกค้าให้เรียบร้อยได้แล้วโจทก์จะไม่นำเช็คเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน แต่ต่อมาโจทก์ได้นำเช็คพิพาทไปให้จำเลยลงวันที่ อันเป็นการรับรองว่าจำนวนเงินที่ระบุในเช็คเป็นมูลหนี้จำนวนแน่นอนและเจตนาชำระหนี้นั้นด้วยเช็คพิพาทแล้ว จึงไม่ใช่เช็คค้ำประกัน แม้มีการชำระหนี้ไปแล้วบางส่วนก็ไม่ได้ทำให้เช็คพิพาทที่สมบูรณ์อยู่แล้วไม่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5032-5080/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้ค่าจ้างในคดีล้มละลาย: การแบ่งประเภทหนี้บุริมสิทธิและข้อจำกัดวงเงิน
หนี้ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ และเงินอื่นใดที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้ นับถอยหลังขึ้นไปสี่เดือนแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อลูกจ้างคนหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 257 อยู่ในฐานะหนี้บุริมสิทธิตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 130 (6) ส่วนดอกเบี้ยหรือเงินที่เกินหนึ่งแสนบาท เจ้าหนี้จะต้องได้รับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 130 (7)
การที่เจ้าหนี้ได้นำหนี้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นไปฟ้องเป็นคดีแรงงาน จนกระทั่งศาลแรงงานกลาง (สมุทรปราการ) มีคำพิพากษา ถือว่าเป็นการรับรองสิทธิของเจ้าหนี้ที่มีอยู่ต่อลูกหนี้อีกชั้นหนึ่งและทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด และเจ้าหนี้ได้นำมูลหนี้อันเกิดจากการเลิกจ้างซึ่งมีคำพิพากษารับรองแล้วมายื่นคำขอรับชำระหนี้ก็หาทำให้บุริมสิทธิที่เจ้าหนี้มีอยู่ก่อนแล้วเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4651/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันยื่นขอรับชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข พ.ศ.ร.บ.ล้มละลาย ศาลอุทธรณ์และฎีกามีคำพิพากษายืน
เจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันที่ไม่ได้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95 เพราะตามคำขอรับชำระหนี้ระบุว่าเป็นการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) เมื่อเจ้าหนี้มีประกันใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจทำการตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้ากนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ และมีอำนาจหมายเรียกเจ้าหนี้มาทำการสอบสวนเกี่ยวกับหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้ว่าเจ้าหนี้มีประกันและมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่จริงหรือไม่ตามมาตรา 105 เจ้าหนี้จึงมีหน้าที่นำสืบถึงข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างในคำขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยาเสพติด, การร่วมกระทำความผิด, และการพิจารณาโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำผิด
จำเลยที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นสามีภริยากันนำสิบตำรวจโท อ. เจ้าพนักงานตำรวจที่ทำการล่อซื้อ เดินทางไปติดต่อซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยที่ 1 ที่บ้านจำเลยที่ 1 ด้วยกัน จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ซุกซ่อนอยู่ในรถยนต์กระบะออกมาให้สิบตำรวจโท อ. ดู แล้วจำเลยที่ 2 ขอยืมรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 1 ขับพาจำเลยที่ 4 และสิบตำรวจโท อ. ไปตลาดนิคมเพื่อรับเงินที่ซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางด้วยกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 4 เป็นการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 แล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งนักการภารโรงสถานีตำรวจภูธร อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จำเลยที่ 1 จึงมิใช่พนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 จึงไม่อาจปรับบทมาตราดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายที่ไม่อนุญาตขยายเวลาอุทธรณ์ ถือเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามตามกฎหมาย
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไม่ใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่ได้รับยกเว้นให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้าม และเมื่อไม่มีเหตุที่จะรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 26 วรรคสี่ ศาลฎีกาจึงไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลล้มละลายไม่อยู่ในข้อยกเว้นอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย อุทธรณ์จึงต้องห้าม
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลย ไม่ใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่ได้รับยกเว้นให้อุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยที่คัดค้านคำสั่งดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้สวมสิทธิเจ้าหนี้และการใช้สิทธิคัดค้าน
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งกฎหมายให้สิทธิบุคคลที่ได้รับความเสียหายยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 และศาลมีอำนาจสั่งยืนตาม กลับ หรือแก้ไข หรือสั่งประการใดตามที่เห็นสมควร ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่ผู้ได้รับความเสียหายจะใช้สิทธิเยียวยาแก้ไขความเสียหายของตนทางศาลได้ แต่ไม่ใช่บทบังคับ การที่ผู้บริหารแผนไม่เลือกใช้สิทธิทางศาลตามมาตรา 146 ทำให้ผู้บริหารแผนไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลเมื่อพ้นเวลาที่กำหนดเท่านั้น และคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงมีผลอยู่ต่อไป
ผู้บริหารแผนเลือกใช้ช่องทางยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาทบทวนคำสั่งของตนที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ เป็นการขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำการหรือมีคำวินิจฉัยอื่นใดในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการพิจารณาใหม่ และคำสั่งที่อนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ไม่ใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องนำ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 108 มาเทียบเคียงปรับใช้เพราะมิใช่คำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้สั่งอนุญาตไปแล้วตามมาตรา 90/26 ประกอบด้วยมาตรา 108 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้ จึงมีอำนาจที่จะกระทำได้และไม่ขัดต่อมาตรา 108 และ 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการและผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้และการบังคับชำระหนี้
เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนและให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ ย่อมมีผลทำให้คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนของศาลล้มละลายกลางเป็นอันถูกยกเลิกเพิกถอนไปในตัว ข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการที่ให้จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพียงบางส่วนของจำนวนหนี้ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการอันเป็นความผูกพันตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งเกิดขึ้นเมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนย่อมเป็นอันสิ้นผลไปด้วยสิทธิและหน้าที่ของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมกลับเป็นไปดังเดิมที่มีกันอยู่ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
ส่วนที่โจทก์ได้ดำเนินการชำระหนี้ตามแผนครบถ้วนแล้วนั้น เมื่อการชำระหนี้เป็นเพียงบางส่วนของจำนวนหนี้ที่จำเลยขอรับชำระหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ จึงหาทำให้โจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดไปไม่ การชำระหนี้บางส่วนดังกล่าว มีผลเพียงทำให้หนี้ที่โจทก์มีต่อจำเลยเป็นอันระงับไปเท่าจำนวนที่จำเลยได้รับชำระ โจทก์จึงต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดต่อจำเลยต่อไป
การที่ศาลฎีกามีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนและให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการย่อมทำให้สภาวะพักการชำระหนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาย่อมสิ้นสุดลง ข้อห้ามมิให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่บังคับชำระหนี้ได้เองตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (7) ย่อมสิ้นสุดลงด้วย เมื่อโจทก์มีหนี้ภาษีอากรค้างที่ต้องชำระแก่จำเลยอยู่ จำเลยย่อมมีอำนาจในการบังคับชำระหนี้ในส่วนที่ค้างชำระตามอำนาจที่มีอยู่ตาม ป. รัษฎากร ต่อไป โดยผลคำพิพากษาศาลฎีกาที่ไม่ชอบด้วยแผนและมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยถอนการยึดและอายัดและส่งมอบโฉนดที่ดินคืนให้แก่โจทก์เพื่อนำไปจัดการตามแผนฟื้นฟูกิจการย่อมเป็นอันระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4230/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และขอบเขตการใช้ดุลพินิจในการฎีกา
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย คดีที่จำเลยนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ และมีผู้อื่นร้องขัดทรัพย์ก็ถือว่าเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินจึงอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีร้องขัดทรัพย์ต่อไปหรือไม่ยอมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในอันที่จะใช้ดุลพินิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่กองทรัพย์สินของจำเลย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ของจำเลย เป็นกรณีตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 กรณีหาใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่ หรือถอนฟ้องคดีที่จำเลยได้ยื่นฟ้องไว้แล้วตามมาตรา 145 (4) จึงไม่ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้หรือกรรมการเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4180/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดข่มขืนโดยใช้อาวุธ: ความแตกต่างของวิธีการข่มขู่บังคับและการใช้กำลังประทุษร้าย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 277 สองกรรม ความผิดกรรมแรกโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขู่บังคับผู้เสียหายมิให้ขัดขืน แล้วได้ใช้กำลังประทุษร้ายโดยการใช้กำปั้นชกบริเวณหน้าท้องของผู้เสียหายหลายครั้ง จนผู้เสียหายอยู่ภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แล้วจำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่ ซึ่งไม่ปรากฏว่าจำเลยขู่บังคับผู้เสียหายมิให้ขัดขืนก่อนลงมือกระทำชำเราด้วยวิธีใช้อาวุธ ส่วนความผิดกรรมที่สองโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขู่เข็ญว่าจะใช้มีดพร้าที่จำเลยมีติดตัวเป็นอาวุธฟันทำร้ายผู้เสียหายให้ถึงแก่ความตายหากผู้เสียหายไม่ยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา แล้วจำเลยได้ขู่เข็ญบังคับให้ผู้เสียหายนอนลงกับพื้นและกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่ การกระทำความผิดสองกรรมจึงต่างกัน ความผิดกรรมแรกจำเลยเพียงใช้กำลังประทุษร้ายให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แตกต่างจากความผิดกรรมที่สองที่จำเลยขู่เข็ญผู้เสียหายด้วยว่าจะใช้อาวุธมีดพร้าฟันทำร้าย ซึ่งทำให้ผู้เสียหายเกรงกลัวจนต้องยินยอมให้จำเลยกระทำชำเราและอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ โดยจำเลยไม่ต้องใช้กำลังประทุษร้ายอีกแต่อย่างใด ความผิดกรรมแรกจึงไม่ใช่การกระทำโดยใช้อาวุธ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง
of 44