คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วัฒนชัย โชติชูตระกูล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 435 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องบรรยายคำฟ้องให้เข้าหลักเกณฑ์ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ และลูกหนี้ร่วมกันต้องรับผิดชอบหนี้
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันจะฟ้องให้จำเลยล้มละลายจะต้องบรรยายคำฟ้องให้เข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 คดีนี้โจทก์ได้บรรยายคำฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา 3 คดี เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท จำเลยไม่ชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวและหนี้ดังกล่าวนั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน คำฟ้องของโจทก์จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ กำหนดไว้แล้ว ส่วนจำเลยจะเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวอยางไร จำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เป็นข้อที่ต้องไปว่ากล่าวในชั้นพิจารณา
มูลหนี้ตามคำพิพากษาที่พิพากษาให้จำเลยกับพวกหลายคนร่วมกันรับผิดชำระหนี้ จำเลยแต่ละคนซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวต้องร่วมกันรับผิดจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง และขณะเดียวกันเจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ก็ได้ เมื่อจำเลยอยู่ในฐานะลูกหนี้มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการชำระหนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับตัวแทนรับจำนองที่ดิน แม้ไม่มีหลักฐานหนังสือก็ทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนรับจำนองที่ดิน และโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยเปลี่ยนชื่อผู้รับจำนองมาเป็นชื่อโจทก์อันเป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้โดยไม่ขัดต่อมาตรา 798

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับจำนองในฐานะตัวแทน: การฟ้องบังคับให้เปลี่ยนชื่อผู้รับจำนอง แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ให้จำเลยรับจำนองที่ดิน โดยโจทก์เป็นผู้เก็บรักษาหนังสือสัญญาจำนองไว้และจำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจที่ยังไม่กรอกข้อความให้ไว้ต่อโจทก์เพื่อให้โจทก์สามารถไถ่ถอนจำนองได้เอง แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยรับจำนองที่ดินในฐานะตัวแทนของโจทก์เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยเปลี่ยนชื่อผู้รับจำนองมาเป็นชื่อโจทก์อันเป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้โดยไม่ขัดต่อมาตรา 798

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับตัวแทนรับจำนองที่ดิน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนรับจำนองที่ดินและโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยเปลี่ยนชื่อผู้รับจำนองมาเป็นชื่อโจทก์ อันเป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 798

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเจ้าหนี้ถูกผูกพันตามแผน แม้จะอายัดทรัพย์ก่อนฟื้นฟู
กฎหมายล้มละลายมีบทบัญญัติที่กำหนดสภาวะหยุดนิ่งหรือการพักชำระหนี้ (automatic stay) นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้พิจารณา โดยมีวัตถุประสงค์ในการสงวนรักษาทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้เพื่อประโยชน์แก่การรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อย่างเป็นธรรมและลดความกดดันทางการเงินจากการถูกเจ้าหนี้บังคับยึดทรัพย์สินหรือหลักประกัน และมีบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการขอรับชำระหนี้เพื่อให้ผู้ทำแผนทราบถึงจำนวนหนี้สินของลูกหนี้ที่จะต้องนำทรัพย์สินมาจัดสรรชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามจำนวนและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผน และเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับแผนแล้วย่อมมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระในการฟื้นฟูกิจการได้และเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้หนี้สินของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วได้รับการสะสางภายใต้กระบวนการของแผนฟื้นฟูกิจการให้เสร็จสิ้นไป ผู้คัดค้านซึ่งไปเจ้าหนี้รายหนึ่งในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ จึงต้องผูกพันในแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลสั่งเห็นชอบแล้ว และสิทธิในการจะบังคับชำระหนี้เองในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้นี้ย่อมสิ้นไป สำหรับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งอายัดไว้ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้พิจารณานั้น เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองในการห้ามยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไปแล้ว แม้มาตรา 90/12 (7) จะใช้คำว่า "ยึด" ก็ตาม แต่ย่อมหมายความรวมถึงการอายัดด้วย เพราะเมื่อมีการส่งทรัพย์สินหรือเงินตามที่อายัดให้ ก็จะนำไปสู่การบังคับคดีได้เองนั่นเอง แม้คดีนี้จะเป็นการอายัดก่อนศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ แต่เมื่อมูลหนี้ของผู้คัดค้านเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้คัดค้านยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยชอบ แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านไว้ และศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ผู้คัดค้านจึงผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามแผนซึ่งรวมถึงการได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ด้วยโดยผลของมาตรา 90/60 ผู้คัดค้านไม่อาจได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากจำนวนและตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: เจ้าหนี้ต้องผูกพันตามแผน แม้จะอายัดทรัพย์สินก่อนฟื้นฟู
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (7) ที่ใช้คำว่า "ยึด" ย่อมหมายถึงการอายัดด้วย การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ทำการอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ก่อนที่ศาลมีคำสั่งคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ แต่เมื่อมูลหนี้ของผู้คัดค้านเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ผู้คัดค้านจึงยื่นขอชำระหนี้ได้โดยชอบเมื่อแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านไว้ และศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ผู้คัดค้านจึงผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามแผนซึ่งรวมถึงการได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ด้วย ทั้งนี้โดยผลของมาตรา 90/60 ผู้คัดค้านไม่อาจได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากจำนวนและตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้อีกต่อไป ผู้บริหารแผนชอบที่จะขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์นั้นเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเจ้าหนี้ผูกพันตามแผน, ห้ามยึดทรัพย์หลังศาลรับคำร้อง
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (7) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่กฎหมายได้กำหนดให้เกิดสภาวะหยุดนิ่งหรือพักการชำระหนี้ (automatic stay) ขึ้นนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้พิจารณา โดยมีวัตถุประสงค์ในการสงวนรักษาทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้เพื่อประโยชน์แก่การรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามระบบที่กฎหมายกำหนดไว้ภายใต้กรอบของแผนฟื้นฟูกิจการ และให้เวลาแก่ลูกหนี้หรือผู้ทำแผนสำรวจความบกพร่องของกิจการนำไปวางแผนปรับปรุงแก้ไขให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินการต่อไปได้รวมทั้งลดความกดดันทางการเงินจากการถูกเจ้าหนี้บังคับยึดทรัพย์สินหรือหลักประกัน บทบัญญัติมาตรา 90/27 และมาตรา 90/60 แสดงให้เห็นว่า มูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ทุกประเภทจะต้องเข้ามาอยู่ในระบบการฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้หนี้สินของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วได้รับการสะสางภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการให้เสร็จสิ้นไป ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายหนึ่งในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้จึงต้องผูกพันในแผนฟื้นฟูกิจการ กล่าวคือ เมื่อศาลสั่งเห็นชอบด้วยแผน สิทธิของเจ้าหนี้ในการได้รับชำระหนี้ย่อมเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในแผน สิทธิของเจ้าหนี้ในการจะบังคับชำระหนี้เองในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ย่อมสิ้นไปสำหรับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งอายัดไว้ก่อนวันที่ศาลได้มีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้พิจารณานั้น เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของการคุ้มครองในการห้ามมิให้ผู้คัดค้านยึดหรือขายทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไปแล้ว ก็เพื่อให้การชำระหนี้จะต้องเป็นไปตามแผนนั้น แม้มาตรา 90/12 (7) จะใช้คำว่า "ยึด" ก็ตาม แต่ย่อมหมายรวมถึงการอายัดด้วย เพราะการอายัดในการบังคับคดีเอง เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินหรือเงินตามที่อายัดให้ ก็จะนำไปสู่การบังคับคดีได้เองนั่นเอง ข้อเท็จจริงได้ความด้วยว่า มูลหนี้ของผู้คัดค้านเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้คัดค้านยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยชอบ แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านไว้ และศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ผู้คัดค้านจึงผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามแผนซึ่งรวมถึงการได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ด้วย ไม่อาจได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากจำนวนและตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผน ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คไม่ถือเป็นยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
บันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ มีใจความว่า จำเลยทั้งสองยินยอมผ่อนชำระต้นเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในคดีนี้และในคดีอื่น ๆ อีก 7 คดี เป็นต้นเงินรวม 15,633,063.59 บาท โดยตกลงผ่อนชำระเป็นงวด ๆ รวม 47 งวด พร้อมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คแต่ละฉบับโดยผ่อนชำระ 4 งวด และโจทก์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในแต่ละงวด หากจำเลยทั้งสองปฏิบัติตามบันทึกนี้ครบถ้วนแล้ว โจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และคดีอื่น ๆ เป็นคดีไป แต่หากจำเลยทั้งสองผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง จำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีที่จำเลยทั้งสองยังไม่ชำระต้นเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ขึ้นพิจารณาคดีต่อไป ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในแต่ละคดีเท่านั้น โดยจำเลยทั้งสองจะต้องผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยในแต่ละคดีจนครบจำนวนที่ตกลงกัน โจทก์จึงจะถือว่าเป็นการระงับคดีอาญาแต่ละคดีอันเป็นเงื่อนไขที่โจทก์จะปฏิบัติในภายหน้า และตามบันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ก็ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสองทันทีแต่อย่างใด จึงไม่มีผลเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง หนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นย่อมไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปและพิพากษายกฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เห็นควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ก็เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาล เพราะผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองตามลำดับอาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ กรณีจึงเป็นการใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาผ่อนชำระหนี้เช็ค ไม่เป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
บันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ตกลงว่า จำเลยทั้งสองยินยอมผ่อนชำระต้นเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในคดีนี้และคดีอื่นๆ อีก 7 คดี เป็นต้นเงินรวม 15,677,063.59 บาท โดยผ่อนชำระเป็นงวด ๆ รวม 47 งวด พร้อมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คแต่ละฉบับ โดยผ่อนชำระ 4 งวด และโจทก์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในแต่ละงวด หากจำเลยทั้งสองปฏิบัติตามบันทึกนี้ครบถ้วนแล้วโจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และคดีอื่นๆ เป็นคดีไป หากผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ยินยอมให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีที่จำเลยทั้งสองยังไม่ชำระต้นเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ขึ้นพิจารณาคดีต่อไป เป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในแต่ละคดีเท่านั้นอันเป็นเงื่อนไขที่โจทก์จะปฏิบัติในภายหน้า และไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่า โจทก์ตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิ์ในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสองทันที จึงไม่มีผลเป็นการยอมความกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ทั้งจำเลยทั้งสองไม่ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นย่อมไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปให้จำหน่ายคดีโดยยังมิได้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาล แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ตาม เพราะผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองตามลำดับอาจนำไปสู่การกำจัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาผ่อนชำระหนี้เช็ค ไม่ใช่การยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ในระหว่างการพิจารณาคดีโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ว่าจำเลยทั้งสองยินยอมผ่อนชำระต้นเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในคดีนี้และในคดีอื่นๆ อีก 7 คดี โดยตกลงผ่อนชำระเป็นงวดๆ รวม 47 งวด พร้อมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คแต่ละฉบับ โดยผ่อนชำระ 4 งวด และโจทก์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในแต่ละงวด หากจำเลยทั้งสองปฏิบัติตามบันทึกนี้ครบถ้วนแล้วโจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และคดีอื่นๆ เป็นคดีไป แต่หากจำเลยทั้งสองผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง จำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีที่จำเลยทั้งสองยังไม่ชำระต้นเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ขึ้นพิจารณาคดีต่อไป เป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในแต่ละคดีเท่านั้น โดยจำเลยทั้งสองจะต้องผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยในแต่ละคดีจนครบจำนวนตามที่ตกลงกันดังกล่าวโจทก์จึงจะถือว่าเป็นการระงับคดีอาญาแต่ละคดีอันเป็นเงื่อนไขที่โจทก์จะปฏิบัติในภายหน้า และตามบันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ฉบับดังกล่าวก็ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่า โจทก์ตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสองทันทีแต่อย่างใด จึงไม่มีผลเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปให้จำหน่ายคดีโดยยังมิได้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์เห็นควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ก็เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองตามลำดับอาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ จึงเป็นการใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
of 44