พบผลลัพธ์ทั้งหมด 482 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าทำให้โจทก์ขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินจากโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ทำหนังสือซึ่งระบุว่าเป็นหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องโดยระบุให้เรียกคู่สัญญาในหนังสือดังกล่าวระหว่างโจทก์กับธนาคาร ก. ว่า "ผู้โอน" และ "ผู้รับโอน" ตามลำดับ เนื้อหาภายในหนังสือดังกล่าวระบุว่าผู้โอนซึ่งเป็นผู้ให้เช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ขอโอนสิทธิการรับค่าเช่าจากจำเลยตามสัญญาเช่าในแต่ละเดือนให้แก่ผู้รับโอนเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าว โดยผู้โอนขอรับรองว่า ผู้รับโอนมีสิทธิสมบูรณ์เสมือนผู้โอนทุกประการ ทั้งมีการแจ้งการโอนเป็นหนังสือให้แก่จำเลยและจำเลยได้ตอบรับเป็นหนังสือ หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งก็คือสัญญาเช่าที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้ จึงถือว่าโจทก์และธนาคาร ก. ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการรับเงินค่าเช่าจึงตกเป็นของธนาคาร ก. ตั้งแต่นั้นหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้แก่ธนาคาร ก. เป็นผู้รับเงินค่าเช่าแทนโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเช่าแก่โจทก์
ศาลชั้นต้นได้สอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเมื่อเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้แล้ว จึงได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้ว ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีและให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงไว้ชัดเจนแล้ว แม้จะได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 แต่อย่างใด
ศาลชั้นต้นได้สอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเมื่อเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้แล้ว จึงได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้ว ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีและให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงไว้ชัดเจนแล้ว แม้จะได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และการวินิจฉัยชี้ขาดในรายงานกระบวนพิจารณาไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อน
ศาลชั้นต้นได้สอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเมื่อเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้แล้ว ได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีและให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงไว้ชัดเจนแล้ว แม้จะได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: สิทธิเจ้าหนี้ vs. ข้อโต้แย้งการเพิกถอน
การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดี การพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้งของคู่ความโดยคำสั่งและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ดีเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีและศาลดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าการขายทอดตลอดของเจ้าพนักงานบังคับคดีรวมทั้งคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ขัอต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทยได้
โจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด โจทก์จึงไม่ได้เป็นผู้ขายซึ่งต้องห้ามมิให้เข้าสู้ราคาตาม ป.พ.พ. มาตรา 512
โจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด โจทก์จึงไม่ได้เป็นผู้ขายซึ่งต้องห้ามมิให้เข้าสู้ราคาตาม ป.พ.พ. มาตรา 512
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายบริการทางธุรกิจ ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ลงโทษเฉพาะความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
เมื่อเปรียบเทียบรูปและคำของเครื่องหมายในภาพถ่ายแผ่นป้ายหน้าร้านที่เกิดเหตุกับเครื่องหมายบริการของผู้เสียหายจะเห็นว่าแผ่นป้ายดังกล่าวอยู่ในแนวตั้ง มีสีเหลืองและมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ (โรมัน) สีแดงเรียงจากด้านบนมาด้านล่างว่า N PHOTO EXPRESS โดยอักษร N ทำเป็นตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นซึ่งมีลักษณะคล้ายอักษรประดิษฐ์ตัว K ของผู้เสียหาย ส่วนคำว่า EXPRESS ก็มีลักษณะของการวางตัวอักษร ลวดลาย และสีก็คล้ายคลึงกับเครื่องหมายบริการคำว่า K KODAK EXPRESS ของผู้เสียหาย แม้คำว่า PHOTO ของเครื่องหมายในแผ่นป้ายหน้าร้านจะไม่คล้ายคำว่า KODAK ของผู้เสียหาย และผู้เสียหายปฏิเสธสิทธิว่าจะไม่ใช้คำว่า EXPRESS แต่เพียงผู้เดียว แต่การพิจารณาความเหมือนหรือคล้ายต้องพิจารณาป้ายบริการทั้งหมดประกอบกัน มิใช่พิจารณาจากตัวอักษรหรือคำใดคำหนึ่ง จึงเห็นว่าเครื่องหมายบริการในแผ่นป้ายหน้าร้านที่เกิดเหตุมีลักษณะโดยรวมคล้ายกับเครื่องหมายบริการของผู้เสียหายดังกล่าว เป็นการเลียนแบบเครื่องหมายของผู้เสียหาย
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม และโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยให้บริการหรือเสนอบริการเลียนแบบเครื่องหมายบริการของผู้เสียหาย จึงไม่ต้องปรับบทว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 และโจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้ห่อหุ้มเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นการค้าของผู้เสียหาย อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272 (1) ด้วย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษา แต่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวในฐานเลียนเครื่องหมายบริการของผู้เสียหาย อันเป็นความผิดกฎหมายบทเดียว คือ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม และโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยให้บริการหรือเสนอบริการเลียนแบบเครื่องหมายบริการของผู้เสียหาย จึงไม่ต้องปรับบทว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 และโจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้ห่อหุ้มเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นการค้าของผู้เสียหาย อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272 (1) ด้วย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษา แต่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวในฐานเลียนเครื่องหมายบริการของผู้เสียหาย อันเป็นความผิดกฎหมายบทเดียว คือ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการให้เนื่องจากเนรคุณ ต้องพิสูจน์ขอความช่วยเหลือแต่ไม่ได้รับ
เหตุที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3) นั้น จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ให้มีความจำเป็นเพราะขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีวิต แล้วผู้ให้ร้องขอความช่วยเหลือจากผู้รับ และผู้รับอยู่ในฐานะที่จะให้ได้โดยไม่เดือดร้อน แล้วผู้รับปฏิเสธที่จะให้นั้น การที่จำเลยจะขายที่ดินที่โจทก์ยกให้แต่ถูกโจทก์ห้ามปราม จำเลยจึงไปอยู่เสียที่อื่นจนโจทก์ต้องไปอาศัยอยู่กับน้องสาวนั้น จะฟังว่าโจทก์ได้ขอความช่วยเหลือจากจำเลยและจำเลยอยู่ในฐานะที่จะให้ความช่วยเหลือโจทก์ได้โดยไม่เดือดร้อน แล้วจำเลยไม่ช่วยเหลือหาได้ไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณโจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเกี่ยวกับคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ เป็นที่สุด
ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติว่า คำสั่งศาลตามวรรคสองให้เป็นที่สุด คำว่า "คำสั่งศาลตามวรรคสอง" ดังกล่าวมิได้หมายความว่าเป็นคำสั่งอนุญาตให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงหากมีกรณียื่นคำร้องตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แล้ว คำสั่งใด ๆ ของศาลที่เกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวก็อยู่ในความหมายของคำว่า "คำสั่งศาลตามวรรคสอง" ทั้งสิ้น เมื่อคำร้องของจำเลยอ้างว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบเนื่องจากราคาต่ำไป และการขายทอดตลาดเกิดจากความไม่สุจริตของเจ้าพนักงานบังคับคดีเช่นนี้ จึงเป็นคำร้องตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งแล้ว ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่มีข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายที่ดินและผลของการแจ้งความเพื่อเรียกร้องสิทธิ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ซึ่งทางราชการออกให้แก่ ท. โดยมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บทกฎหมายดังกล่าวมุ่งหมายที่จะควบคุมมิให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จากผู้รับโฉนดที่ดินไปเป็นของบุคคลอื่นไปจนกว่าจะพ้นระยะเวลาห้ามโอน เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือเป็นการโอนในกรณีอื่นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า จำเลยจึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ในระหว่างระยะเวลาที่กฎหมายยังควบคุมกรรมสิทธิ์ให้มีผลกระทบถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและไม่อาจนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ได้
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ประสงค์จะให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทเลยทีเดียว หาใช่เป็นการโต้เถียงสิทธิกันเองโดยปกติธรรมดาไม่ การที่จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมา จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบ เมื่อรวมระยะเวลานับแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ประสงค์จะให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทเลยทีเดียว หาใช่เป็นการโต้เถียงสิทธิกันเองโดยปกติธรรมดาไม่ การที่จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมา จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบ เมื่อรวมระยะเวลานับแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมสละมรดกซ้ำกับประเด็นที่เคยวินิจฉัยในคดีก่อน เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คดีก่อน โจกท์คดีนี้ฟ้องจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 กับพวกร้องขัดทรัพย์ในคดี ดังกล่าว โจทก์ยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 สละมรดกให้แก่ผู้ร้องขัดทรัพย์ โดยสมรู้ร่วมคิดกันเพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของจำเลยที่ 1 หรือของผู้ร้องขัดทรัพย์ ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า ทรัพย์ที่ยึดเป็นของจำเลยที่ 2 กับพวก มิใช่ของจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้สละมรดกโดยทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการสละมรดกระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 อีก แม้จะอ้างเหตุเพิกถอนการฉ้อฉล แต่คดีก็มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การสละมรดกของจำเลยที่ 1 เป็นไปโดยชอบหรือไม่ จึงมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10711/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาใช้ลิขสิทธิ์: การเสนอและสนองรับข้อเสนอเพื่อต่ออายุสัญญาโดยไม่ต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน ข้อพิพาทตามฟ้องสืบเนื่องจากโจทก์ทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้ลิขสิทธิ์เพลงของโจทก์โดยกำหนดชำระค่าตอบแทน ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองว่าผิดสัญญาดังกล่าวเป็นคดีแพ่งที่ศาลแพ่งธนบุรีจนกระทั่งมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์ยืนยันข้อเท็จจริงมาในอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญา จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้น จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จึงอยู่ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ประกอบด้วยมาตรา 820 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กระทำนอกขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ประกอบการใช้ลิขสิทธิ์ของโจทก์ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 จึงหาต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง กับไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางขอให้บังคับตามฟ้องแย้งแก่จำเลยที่ 2 ด้วย
จำเลยที่ 1 ส่งหนังสือเรื่องแจ้งต่อสัญญาอนุญาตใช้ลิขสิทธิ์เพลงให้แก่โจทก์ทางโทรสารโดยมีข้อความแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ว่า "...เนื่องจากขณะนี้เหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 ปี ก็จะหมดอายุสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาประนีประนอมฯ ดังกล่าว โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้าฯ ขอแจ้งให้ท่านทราบว่าข้าพเจ้าประสงค์จะใช้ลิขสิทธิ์เพลงทำเพลงเพื่อผลิตและจำหน่ายต่อไปอีก 11 ปี ตามสัญญาประนีประนอมฯ ในข้อ 7..." และสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า "โจทก์ยินยอมให้ยืดระยะเวลาตามสัญญาให้จำเลยใช้ลิขสิทธิ์ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2543 และก่อนหมดระยะเวลา 6 เดือน หากจำเลยประสงค์จะใช้ลิขสิทธิ์ทำเพลงต่อไป จำเลยจะต้องไปติดต่อโจทก์เพื่อทำสัญญาใช้ลิขสิทธิ์ต่อไปอีก 11 ปี เป็นเงิน 22,000,000 บาท โดยในการจ่ายเงินให้ถือตามสัดส่วนของสัญญาฉบับเดิม หากจำเลยไม่ติดต่อถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะทำสัญญาใช้ลิขสิทธิ์กับโจทก์อีกต่อไป" มิได้มีข้อความที่เป็นการแสดงความประสงค์ของคู่สัญญาว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ติดต่อโจทก์เพื่อทำสัญญาแล้วให้เป็นดุลพินิจของโจทก์ที่จะต่ออายุสัญญาให้อีกหรือไม่ก็ได้ แต่เป็นคำเสนอของโจทก์จะต่ออายุสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์แก่จำเลยที่ 1 อันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองซึ่งโจทก์ไม่อาจถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งโทรสารถึงโจทก์ก่อนหมดระยะเวลา 6 เดือน ว่าประสงค์จะใช้ลิขสิทธิ์เพลงต่อไปอีก 11 ปี จึงเป็นการสนองรับคำเสนอของโจทก์ภายในกำหนดแล้ว เมื่อมิได้มีเงื่อนไขว่าการต่ออายุสัญญานั้นจะต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือด้วย สัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเกิดขึ้นใหม่ตามเงื่อนไขและวิธีการที่ระบุในสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงฉบับเดิม โดยไม่จำต้องทำสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงกันใหม่เป็นหนังสืออีก
จำเลยที่ 1 ส่งหนังสือเรื่องแจ้งต่อสัญญาอนุญาตใช้ลิขสิทธิ์เพลงให้แก่โจทก์ทางโทรสารโดยมีข้อความแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ว่า "...เนื่องจากขณะนี้เหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 ปี ก็จะหมดอายุสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาประนีประนอมฯ ดังกล่าว โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้าฯ ขอแจ้งให้ท่านทราบว่าข้าพเจ้าประสงค์จะใช้ลิขสิทธิ์เพลงทำเพลงเพื่อผลิตและจำหน่ายต่อไปอีก 11 ปี ตามสัญญาประนีประนอมฯ ในข้อ 7..." และสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า "โจทก์ยินยอมให้ยืดระยะเวลาตามสัญญาให้จำเลยใช้ลิขสิทธิ์ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2543 และก่อนหมดระยะเวลา 6 เดือน หากจำเลยประสงค์จะใช้ลิขสิทธิ์ทำเพลงต่อไป จำเลยจะต้องไปติดต่อโจทก์เพื่อทำสัญญาใช้ลิขสิทธิ์ต่อไปอีก 11 ปี เป็นเงิน 22,000,000 บาท โดยในการจ่ายเงินให้ถือตามสัดส่วนของสัญญาฉบับเดิม หากจำเลยไม่ติดต่อถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะทำสัญญาใช้ลิขสิทธิ์กับโจทก์อีกต่อไป" มิได้มีข้อความที่เป็นการแสดงความประสงค์ของคู่สัญญาว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ติดต่อโจทก์เพื่อทำสัญญาแล้วให้เป็นดุลพินิจของโจทก์ที่จะต่ออายุสัญญาให้อีกหรือไม่ก็ได้ แต่เป็นคำเสนอของโจทก์จะต่ออายุสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์แก่จำเลยที่ 1 อันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองซึ่งโจทก์ไม่อาจถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งโทรสารถึงโจทก์ก่อนหมดระยะเวลา 6 เดือน ว่าประสงค์จะใช้ลิขสิทธิ์เพลงต่อไปอีก 11 ปี จึงเป็นการสนองรับคำเสนอของโจทก์ภายในกำหนดแล้ว เมื่อมิได้มีเงื่อนไขว่าการต่ออายุสัญญานั้นจะต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือด้วย สัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเกิดขึ้นใหม่ตามเงื่อนไขและวิธีการที่ระบุในสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงฉบับเดิม โดยไม่จำต้องทำสัญญาให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงกันใหม่เป็นหนังสืออีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10707/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความ: การคิดค่าจ้างตามผลสำเร็จ แม้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่ตกลง
ปัญหาว่าสัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์รับเอาส่วนแบ่งจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้รับจากลูกความขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ จึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยมีสิทธิยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ตามสัญญาจ้างว่าความกำหนดหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าทนายความระหว่างโจทก์จำเลย โดยจำเลยจะต้องชำระค่าทนายความแก่โจทก์ตามผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกา ปรากฏว่าหากศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี คงมีผลเพียงว่าจำเลยไม่ต้องแบ่งที่ดินให้แก่ ช. เท่านั้น ที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นทรัพย์สินของจำเลยเช่นเดิม จำเลยหาได้ทรัพย์สินเพิ่มเติมจากการเป็นฝ่ายชนะคดีไม่ การที่คิดค่าทนายความตามผลคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี จึงมิใช่เป็นการคิดค่าทนายความตามส่วนแบ่งจากทรัพย์สินที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเป็นความ สัญญาว่าจ้างความจึงไม่ได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ถือเอาผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญและการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือจ่ายสินจ้างตามที่ตกลงกันไว้ แม้จะตกลงค่าจ้างว่าความไว้ในอัตราสูงก็หาได้ทำให้สัญญาดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับได้ โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าว่าความเต็มจำนวน
ตามสัญญาจ้างว่าความกำหนดหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าทนายความระหว่างโจทก์จำเลย โดยจำเลยจะต้องชำระค่าทนายความแก่โจทก์ตามผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกา ปรากฏว่าหากศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี คงมีผลเพียงว่าจำเลยไม่ต้องแบ่งที่ดินให้แก่ ช. เท่านั้น ที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นทรัพย์สินของจำเลยเช่นเดิม จำเลยหาได้ทรัพย์สินเพิ่มเติมจากการเป็นฝ่ายชนะคดีไม่ การที่คิดค่าทนายความตามผลคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี จึงมิใช่เป็นการคิดค่าทนายความตามส่วนแบ่งจากทรัพย์สินที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเป็นความ สัญญาว่าจ้างความจึงไม่ได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ถือเอาผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญและการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือจ่ายสินจ้างตามที่ตกลงกันไว้ แม้จะตกลงค่าจ้างว่าความไว้ในอัตราสูงก็หาได้ทำให้สัญญาดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับได้ โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าว่าความเต็มจำนวน