คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญรอด ตันประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 482 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6675/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ลงนามไม่ต่อหน้าศาล ถือเป็นการสัตยาบัน ไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนกระบวนพิจารณา
การยกข้อค้านเรื่องผิดระเบียบขึ้นกล่าวอ้างนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง บัญญัติว่า คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นๆ คดีนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ศาลออกนั่งพิจารณาเพื่อพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาและมีคำพิพากษาตามยอมในวันเดียวกัน โดยศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงร่วมกันว่าสามารถทำยอมกันได้ พร้อมกับเสนอสัญญาประนีประนอมยอมความให้ศาลชั้นต้นตรวจพิจารณา ศาลชั้นต้นตรวจดูแล้วเห็นว่าไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงพิพากษาตามยอมและออกคำบังคับแก่จำเลย ซึ่งปรากฏว่าจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับดังกล่าว ทั้งได้ลงลายมือชื่อรับทราบการอ่านคำพิพากษาและคำบังคับไว้ที่ปกสำนวนด้วย ข้อเท็จจริงในส่วนนี้จำเลยมิได้โต้แย้งมาในคำร้องว่าศาลชั้นต้นบันทึกไม่ถูกต้องตรงกับความจริงแต่อย่างใด ดังนั้น แม้จะฟังตามคำร้องของจำเลยว่า จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าศาลตามที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยขณะลงลายมือชื่อจำเลยอยู่นอกห้องพิจารณาคดีและไม่พบเห็นผู้พิพากษาก็ตาม แต่การที่จำเลยยังคงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมและออกคำบังคับแก่จำเลย ถือได้ว่าจำเลยยอมรับความถูกต้องของสัญญาประนีประนอมยอมความและได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำที่อ้างว่าผิดระเบียบนั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกเอาเหตุที่จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลขึ้นเป็นข้อค้านเรื่องผิดระเบียบได้อีก ทั้งการที่โจทก์มิได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยในกรณีเช่นนี้ก็หาใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6675/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันต่อสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีข้อบกพร่องในการทำสัญญาและส่งหมายเรียก จำเลยไม่อาจอ้างผิดระเบียบได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ต่อมาศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาและมีคำพิพากษาตามยอม โดยศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงร่วมกันว่าสามารถทำยอมกันได้ พร้อมกับเสนอสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลชั้นต้นตรวจดูแล้วเห็นว่าไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงพิพากษาตามยอมและออกคำสั่งบังคับแก่จำเลย จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทั้งได้ลงลายมือชื่อรับทราบการอ่านคำพิพากษาและคำบังคับไว้ที่ปกสำนวนด้วย แม้จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าศาลตามที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยขณะลงลายมือชื่อจำเลยอยู่นอกห้องพิจารณาคดีและไม่พบเห็นผู้พิพากษา แต่การที่จำเลยดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมและออกคำบังคับแก่จำเลย ถือได้ว่าจำเลยยอมรับความถูกต้องของสัญญาประนีประนอมยอมความและได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำที่อ้างว่าเป็นการผิดระเบียบนั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกเอาเหตุที่จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลขึ้นเป็นข้อค้านเรื่องผิดระเบียบมาในคำร้องได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6651/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาป่าไม้ และการลงโทษกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
การแจ้งข้อหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นั้น แม้พนักงานสอบสวนจะมิได้แจ้งข้อหาจำเลยทุกข้อหากระทงความผิดก็ตาม แต่เมื่อภายหลังได้ดำเนินการสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วย ก็ถือได้ว่าได้มีการสอบสวนในข้อหาฐานอื่นที่มิได้แจ้งข้อหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้ว เมื่อพนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟัองว่า จำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกเข้ายึดถือครอบครอง ก่นสร้างและแผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติด้วยโดยบรรยายฟ้องว่าได้มีการสอบสวนความผิดฐานดังกล่าวแล้ว อีกทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดที่แสดงว่าการสอบสวนไม่ชอบ จึงถือได้ว่ามีการสอบสวนในข้อหาตามฟ้องทุกข้อหาแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครอง แผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติ และทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่ความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามยังมิได้แปรรูปไว้โดยไม้ดังกล่าวไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขาย และจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นไม้ที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นการกระทำต่างวาระกันกับการกระทำความผิดสองฐานดังกล่าว จึงเป็นความผิดต่างกรรมกันกับความผิดสองฐานดังกล่าวต้องลงโทษต้องลงโทษจำเลยอีกกระทงความผิดหนึ่งรวมแล้วลงโทษจำเลยเป็น 2 กระทงความผิด หาใช่ลงโทษจำเลยเป็น 3 กระทงความผิดดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6391-6392/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิทายาทนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และการยินยอมให้เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 3 ได้ยื่นคำแถลงว่าผู้ร้อง และผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ตกลงกันได้ โดยให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีผลเป็นการตกลงกันในประเด็นเพียงบางข้อ เพราะมีประเด็นที่ศาลจำต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงในสำนวนแล้ววินิจฉัยถึงสิทธิและคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายเสียก่อนดังนั้น ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามยอมให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (1) มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตามมาตรา 1713 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6382/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์หลังขาดนัดยื่นคำให้การ: ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่ในคดีแพ่งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จำเลยต้องยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ ทั้งจะต้องให้การโดยแจ้งชัดด้วยว่าฟ้องเคลือบคลุมอย่างไร มิฉะนั้นจะไม่เป็นประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยถึง ปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องการมอบอำนาจให้บอกกล่าวขับไล่จำเลยก็เช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงไม่มีประเด็นทั้งสองเรื่องดังกล่าวในศาลชั้นต้น การที่จำเลยยกขึ้นเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6228/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้กู้เงินมีกำหนดเวลาชำระหนี้ไม่แน่นอน เจ้าหนี้ฟ้องได้ & คิดดอกเบี้ยผิดนัดได้
สัญญากู้เงินที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ข้อ 1 มีข้อความว่า "ผู้กู้ตกลงกู้และผู้ให้กู้ตกลงให้กู้เงินจำนวนทั้งสิ้น 160,000 บาท และในวันนี้ผู้กู้ได้รับเงินสดจำนวนดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว" ข้อ 2 มีข้อความว่า "ผู้กู้ตกลงส่งมอบเงินกู้ตามสัญญาในข้อ 1 โดยไม่มีดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้ภายในระยะเวลาที่ผู้กู้ได้ขายที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนของผู้กู้เรียบร้อยแล้ว" ดังนี้เห็นได้ว่า หนี้ตามสัญญาได้เกิดขึ้นแล้วตามสัญญาข้อ 1 ส่วนสัญญาข้อ 2 เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาชำระหนี้อันเป็นเงื่อนไขให้จำเลยต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนที่แบ่งแยกเป็นของจำเลยได้ก่อนตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อ 2 ดังกล่าว ไม่เป็นการแน่ชัดว่าเมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินเสร็จแล้วจำเลยจะสามารถขายที่ดินได้หรือไม่ หรือจะขายที่ดินนั้นได้เมื่อใดเพราะเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่มิใช่ว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่แท้ กำหนดเวลาชำระหนี้โดยการกำหนดเงื่อนไขไว้เช่นนี้จึงไม่แน่นอน ผลเท่ากับเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง
ก่อนฟ้องโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ แต่จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นการคิดดอกเบี้ยโดยผลของกฎหมาย ไม่จำต้องมีข้อตกลงต่อกันไว้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6228/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน: กำหนดเวลาชำระหนี้ไม่แน่นอน ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกหนี้ได้ทันที
จำเลยทำสัญญากู้เงินจากโจทก์โดยมีข้อตกลงในสัญญาระบุว่า "ข้อ 1 ผู้กู้ตกลงกู้และผู้ให้กู้ตกลงให้กู้เงินจำนวนทั้งสิ้น 160,000 บาท (หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถ้วน) และในวันนี้ผู้กู้ได้รับเงินสดจำนวนดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว ข้อ 2 ผู้กู้ตกลงส่งมอบเงินกู้ตามสัญญาในข้อ 1 โดยไม่มีดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้ภายในระยะเวลาที่ผู้กู้ได้ขายที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนของผู้กู้ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5027 ระวางที่ เลขที่ดิน 329 หน้าสำรวจที่ 943 ตำบลบางแค (บางเชือกหนังฝั่งใต้) อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามจำนวนที่ดินที่แบ่งแยกโดยประมาณ 4 ไร่ เรียบร้อยแล้ว" แสดงว่าหนี้ตามสัญญากู้เงินได้เกิดขึ้นแล้วตามสัญญาข้อ 1 ส่วนสัญญาข้อ 2 เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาชำระหนี้อันเป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 191 วรรคหนึ่ง แต่การกำหนดเวลาชำระหนี้ตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อ 2 ดังกล่าว ไม่เป็นการแน่ชัดว่าเมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินเสร็จสิ้นแล้วจำเลยจะสามารถขายที่ดินได้หรือไม่ หรือจะขายที่ดินนั้นได้เมื่อใด เพราะเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่มิใช่ว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่แท้ กำหนดเวลาชำระหนี้โดยการกำหนดเงื่อนไขไว้เช่นนี้จึงไม่แน่นอน ผลเท่ากับเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ย่อมเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6204/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องตามหมายบังคับคดีที่ศาลอนุญาตตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติถึงการอายัดสิทธิเรียกร้องซึ่งระบุไว้ในมาตรา 310 ทวิ ว่า ให้อายัดได้โดยคำสั่งอายัดซึ่งศาลได้ออกให้ตามที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องฝ่ายเดียว แต่ในวรรคสองของมาตรานี้ก็บัญญัติให้อำนาจแก่ศาลไว้ด้วยว่า เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจกำหนดไว้ในหมายบังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจอายัดสิทธิเรียกร้องนั้นก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ถือว่าคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นคำสั่งอายัดของศาล ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีระบุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการยึดอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ทรัพย์สินที่ให้จัดการอายัดตามหมายบังคับคดีฉบับดังกล่าว ย่อมหมายรวมถึงสิทธิเรียกร้องที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีต่อบุคคลภายนอก จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในหมายบังคับคดีแล้วว่าให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจอายัดสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีต่อบุคคลภายนอกได้ คำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีเช่นนี้ย่อมเท่ากับเป็นคำสั่งอายัดของศาลโดยผลของมาตรา 311 วรรคสองดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ไปถึงผู้คัดค้านจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6124/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ข้อจำกัดสิทธิฎีกาภายหลังแก้ไข ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ
จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกิดสมควรอันเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาและเกิดความไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฎิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 21)ฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2548 คดีนี้จำเลยทั้งสองยื่นฎีกาวันที่ 17 พฤศจิกายน 2548 ภายหลังจากบทบัญญัติ มาตรา 309 ทวิ มีผลบังคับใช้แล้ว คำร้องของจำเลยทั้งสองจึงตกอยู่ภายใต้บังคับของวรรคสี่แห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวซึ่งบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในกรณีนี้เป็นที่สุด ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฎีกาได้อีก ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสองมาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6116-6117/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุริมสิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี และลำดับการชำระหนี้
ผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองทรัพย์พิพาทย่อมมีบุริมสิทธิที่จะบังคับเหนือทรัพย์พิพาทเพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์พิพาทก่อนเจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วย และการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์พิพาทได้ ดังนั้น เมื่อเอาทรัพย์พิพาทขายทอดตลาดโดยปลอดจำนอง ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองทรัพย์พิพาทจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วย โจทก์จะอ้างว่าจำเลยจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ผู้ร้องหลายแปลงโดยมิได้ระบุลำดับไว้ภาระแห่งหนี้จึงต้องกระจายไปตามส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 734 วรรคสอง นั้น หาได้ไม่ เนื่องจากมาตราดังกล่าวเป็นการจำนองทรัพย์หลายสิ่งเพื่อประกันหนี้รายหนึ่งรายเดียวโดยมิได้ระบุลำดับไว้ เมื่อผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับแก่ทรัพย์สินทั้งหมดพร้อมกันจึงให้แบ่งกระจายภาระแห่งหนี้ไปตามจำนวนเงินจำนองที่ระบุไว้เฉพาะทรัพย์สิ่งนั้น ๆ แต่คดีนี้ผู้ร้องมิใช่ผู้รับจำนองที่ใช้สิทธิดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อโจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญซึ่งจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ต่อเมื่อชำระหนี้จำนองให้แก่ผู้รับจำนองแล้วยังคงมีเงินเหลือจากการขายทอดตลาดเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิยกเหตุตามมาตราดังกล่าวขึ้นอ้างได้
of 49