พบผลลัพธ์ทั้งหมด 482 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9823/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีต้องดำเนินการให้ครบถ้วนภายใน 10 ปี การของดการยึดทรัพย์ถือว่ายังไม่ได้บังคับคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการบังคับคดีให้ครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี ประการแรก เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ประการที่สอง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องแถลงหรือแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว ประการที่สาม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ดำเนินการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาบ้าง คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2537 ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน 506,425 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จ เฉพาะจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในต้นเงินไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนดอกเบี้ยเมื่อคิดคำนวณถึงวันฟ้อง (วันที่ 25 พฤษภาคม 2536) ต้องไม่เกิน 40,344 บาท ต่อมาจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2547 แต่ในวันดังกล่าวโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการยึดทรัพย์ดังกล่าวไว้ก่อนเพราะชื่อสถานที่ไม่ตรงกับจำเลยที่ 3 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ได้ยึดทรัพย์ดังกล่าว ดังนี้ แม้โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ภายในกำหนดระยะเวลา 10 ปี นับแต่คดีถึงที่สุดก็ตาม แต่การนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ แต่ของดการยึดทรัพย์ย่อมเท่ากับไม่มีการยึดทรัพย์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 แล้ว เมื่อโจทก์ยื่นคำแถลงใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2550 ซึ่งพ้นกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9317/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สิน (เรือประมง) ในความผิดคนเข้าเมือง: ต้องเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเรือประมงของกลางว่าเป็นยานพาหนะในการหลบหนีแก่บุคคลต่างด้าว ดังนั้นเรือประมงของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะในการหลบหนีเท่านั้น มิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการนำหรือพาคนต่างด้าวเข้ามาโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ที่โจทก์อ้างในฎีกาว่า เรือประมงของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง เพราะหากไม่มีเรือประมงของกลาง การนำและพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรทางทะเลย่อมไม่อาจทำได้นั้น ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้อง จึงไม่อาจรับฟังได้ส่วนความผิดฐานให้ที่พักอาศัย ซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม โดยให้คนต่างด้าวเข้าอยู่และหลบซ่อนอยู่ในเรือนั้น ก็คงฟังได้เพียงว่าเรือเป็นสถานที่เกิดเหตุเท่านั้น มิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8222/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของกฎหมายใหม่ต่อโทษที่รับไปแล้ว: สิทธิการขอคืนค่าปรับเมื่อความผิดหมดไป
ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง บทบัญญัติดังกล่าวได้แยกผลของการกระทำความผิดและการบังคับโทษตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วจากกันต่างหาก กล่าวคือ ในส่วนของการบังคับตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้นหากมีส่วนใดที่ยังค้างอยู่ระหว่างการบังคับ ก็ให้การบังคับนั้นสิ้นสุดลง ไม่มีการบังคับในส่วนที่ค้างอยู่อีกต่อไปเท่านั้น หาได้มีผลให้รื้อฟื้นการบังคับโทษที่เสร็จสิ้นไปแล้วขึ้นมาพิจารณาใหม่อีกแต่อย่างใด โทษที่ได้รับมาแล้วต้องถือว่ายุติไปตามผลของคำพิพากษา ดังนั้นค่าปรับที่จำเลยชำระไปตามคำพิพากษาจนครบถ้วนแล้วจึงถือว่าการบังคับโทษปรับเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจถอนคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7364/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารราชการเพื่อรับเงินชดเชยพิเศษ และการสนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีเจ้าพนักงานร่วมกันเป็นตัวการในการกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดดังกล่าวแต่เป็นราษฎรจึงเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริตของเจ้าพนักงานดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะยกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน เนื่องจากพยานหลักฐานของโจทก์ยังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 1 ร่วมเป็นตัวการกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม ศาลก็ลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทิน: การเพิ่มโทษหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ มิชอบ
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณความผิดนั้นๆ ดังนั้น เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้ต้องโทษและพ้นโทษแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับอันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว แม้ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และคดีจำเลยที่ 1 จะถึงที่สุดไปก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ปัญหาว่าเมื่อมี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ ใช้บังคับแล้วจะเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด กรณีมีเหตุที่จะไม่เพิ่มโทษจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2850/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสีย, การส่งหมาย, ราคาขายทอดตลาด, และคำสั่งศาลถึงที่สุด
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 3 ซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนสิ้นเชิง แต่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดนั้นเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ไม่ได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้มีชื่อตามทะเบียนบ้านในทรัพย์สินที่ยึดดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่ยึดดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 306 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่จำต้องแจ้งการขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบก็ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าการขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าที่สมควร โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่กระทำการตรวจสอบให้รอบคอบก่อนเคาะไม้ขายทอดตลาดว่าราคาที่มีผู้เสนอสูงสุดนั้นเพียงพอแล้วหรือไม่ เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคท้าย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าการขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าที่สมควร โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่กระทำการตรวจสอบให้รอบคอบก่อนเคาะไม้ขายทอดตลาดว่าราคาที่มีผู้เสนอสูงสุดนั้นเพียงพอแล้วหรือไม่ เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าเสียหายกรณีผู้รับขนส่งไม่ได้ส่งมอบสินค้า ถือเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องทรัพย์คืน ไม่มีอายุความ
โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยรับขนสินค้าไปส่งมอบให้วิทยาลัยการอาชีพ ท. จำเลยรับมอบสินค้าจากโจทก์แล้วแต่มิได้นำสินค้าไปส่งมอบให้ตามสัญญา โจทก์ต้องจัดส่งสินค้าอย่างเดียวกันให้แก่วิทยาการอาชีพ ท. อีกครั้ง และนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ แม้ตามฟ้องโจทก์จะเรียกเอาค่าเสียหายแต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกก็เท่ากับราคาสินค้าของโจทก์ที่ได้มอบให้จำเลยไป จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความฟ้องร้องอีกทั้งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าได้นำสินค้าของโจทก์ไปส่งมอบให้แก่ผู้รับแล้ว มิได้ต่อสู้ว่าสินค้าของโจทก์สูญหายระหว่างการขนส่ง จึงไม่อาจนำอายุความในเรื่องความรับผิดของผู้ขนส่งในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามทรัพย์สินคืนจากผู้ขนส่งที่นำไปเป็นของตนเอง ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยขนส่งสินค้าของโจทก์ไปให้ลูกค้า จำเลยนำสินค้าไปเป็นของตนเอง โจทก์ต้องจัดส่งสินค้าอย่างเดียวกันให้ลูกค้าอีกครั้งทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าว แม้ตามฟ้องโจทก์จะเรียกเอาค่าเสียหายแต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกเอาก็เท่ากับราคาสินค้าที่ได้มอบให้จำเลยไปจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความฟ้องร้อง ทั้งจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสินค้าของโจทก์สูญหายระหว่างการขนส่ง จึงไม่อาจนำอายุความตามมาตรา 624 มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเช็คเลิกกันเมื่อมูลหนี้ระงับด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง
กรณีคดีอาญาเลิกกันตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 เป็นกรณีที่มูลหนี้ที่ผู้กระทำความผิดได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา โดยไม่จำเป็นที่โจทก์และจำเลยทั้งสองต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีอาญา
มูลหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชดใช้เงินเป็นคดีแพ่งของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ต่อมาโจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามมูลหนี้ในเช็คพิพาท เป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก ดังนั้น หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
มูลหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชดใช้เงินเป็นคดีแพ่งของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ต่อมาโจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามมูลหนี้ในเช็คพิพาท เป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก ดังนั้น หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าขึ้นศาล: การใช้ดุลพินิจของศาล
ในกรณีที่โจทก์ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1) แต่บทบัญญัติมาตรา 132 (1) นี้มิได้บังคับเด็ดขาดว่า ศาลต้องจำหน่ายคดีทุกกรณี แต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่จำหน่ายคดีแล้วกำหนดเวลาให้โจทก์นำเงินมาเสียค่าขึ้นศาลใหม่ จึงชอบแล้ว