คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญรอด ตันประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 482 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยคัดค้านก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นและยื่นคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์คำสั่งว่า "รับฎีกาคำสั่ง สำเนาให้จำเลย ให้โจทก์นำส่ง การส่งไม่มีผู้รับให้ปิดหมาย" และสั่งในคำร้องขออุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า "อนุญาต" โดยไม่ได้สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องแก่จำเลย ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ดังกล่าวแก่จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้จำเลยอุทธรณ์มีโอกาสคัดค้านก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวง: คดีครอบครองที่ดินที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท องค์การบริหารส่วนตำบลจำเลยขออนุญาตนำรถแบ็กโฮเข้าไปขุดหน้าดินในที่ดินดังกล่าวเพื่อนำไปถมทางเกวียนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ให้ประชาชนสัญจรไปมา โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อจำเลยขุดหน้าดินแล้ว จำเลยยอมให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้เหมือนเดิม แต่เมื่อจำเลยได้ขุดหน้าดินเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยได้นำป้ายปักไว้ว่า ห้ามจับปลาในร่องน้ำ และห้ามมิให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องกับร่องน้ำ กับได้นำราษฎรเข้าไปจับปลาที่โจทก์เลี้ยงไว้ในร่องน้ำ การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เพราะไม่สามารถทำนาในที่ดินส่วนที่จำเลยขุดหน้าดินไป ไม่สามารถใช้น้ำในร่องน้ำปลูกผักสวนครัวและเลี้ยงปลาในร่องน้ำได้ ขอให้พิพากษาว่าที่ดินส่วนที่จำเลยขุดเป็นร่องน้ำเป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง และเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดผลประโยชน์ในการใช้ที่ดินที่จำเลยขุดเป็นร่องน้ำ แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่พฤติการณ์ของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้โต้แย้งว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นที่ดินสาธารณะ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ โดยถือทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์เรียกร้อง
ที่ดินพิพาทมีราคา 81,648 บาท ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นเงิน 80,000 บาท เมื่อราคาที่ดินและค่าเสียหายรวมกันเป็นเงิน 161,648 บาท ไม่เกิน 300,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุรินทร์ที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 24 (4) ศาลจังหวัดสุรินทร์ชอบที่จะโอนคดีเรื่องนี้ไปให้ศาลแขวงสุรินทร์พิจารณาพิพากษาต่อไปตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย การที่ศาลแขวงสุรินทร์มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับโอนคดี แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับโอนคดี และให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความ จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวง: คดีครอบครองที่ดินพิพาท (ทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 แสน) ศาลจังหวัดมีอำนาจโอนให้ศาลแขวงพิจารณา
พฤติการณ์ของจำเลยทั้งหกตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมา เห็นได้ชัดว่าจำเลยทั้งหกได้โต้แย้งว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นที่ดินสาธารณะ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีทุนทรัพย์ โดยถือทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์เรียกร้อง ราคาที่ดินพิพาทในคดีนี้เมื่อรวมกับค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งหกแล้ว ไม่เกิน 300,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุรินทร์ที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฯ มาตรา 17 ประกอบมาตรา 24 (4) ศาลจังหวัดสุรินทร์ชอบที่จะโอนคดีเรื่องนี้ไปให้ศาลแขวงสุรินทร์พิจารณาพิพากษาต่อไปตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฯ มาตรา 16 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบอาคารพิพาทและขอบเขตการบังคับคดีค่าเสียหาย รวมถึงข้อยกเว้นภาษีเงินได้จากค่าสินไหมทดแทน
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองพร้อมบริวารออกจากอาคารพิพาทของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบอาคารดังกล่าวแก่โจทก์ในสภาพซ่อมแซมดีแล้วและใช้ค่าเสียหายจนกว่าจะส่งมอบเสร็จแก่โจทก์ ชั้นบังคับคดีปรากฏว่า ต. เช่าอาคารพิพาทบางส่วนจากจำเลยทั้งสอง ต. จึงเป็นบริวารของจำเลยทั้งสองและถือได้ว่า ต. ได้ครอบครองอาคารพิพาทแทนจำเลยทั้งสองตลอดมาถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ส่งมอบอาคารพิพาทให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น ต่อมา ต. ได้นำกุญแจห้องในอาคารพิพาทมอบให้แก่โจทก์ต่อหน้าศาล จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ส่งมอบอาคารพิพาทให้แก่โจทก์เสร็จสิ้นในวันดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้จนถึงวันดังกล่าว
เงินหรือประโยชน์จากการให้เช่าทรัพย์สินเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (5) (ก) ที่จะนำไปคำนวณภาษีเงินได้ แต่เงินค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับตามคำพิพากษาถือเป็นเงินค่าสินไหมทดแทนกรณีละเมิดที่จำเลยทั้งสองอยู่อาศัยในอาคารพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา มาตรา 42 (13) จำเลยทั้งสองจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีแทนโจทก์และไม่มีสิทธิหักภาษีเงินได้ดังกล่าวจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาซื้อขาย: ศาลฎีกาแก้ไขอัตราดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. ม.7 และวินิจฉัยประเด็นนอกคำให้การ
ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินฝากประเภทประจำ (12 เดือน) ของธนาคารพาณิชย์ที่ให้แก่ผู้ฝากเงิน เพื่อความสะดวกในการคิดคำนวณให้ใช้อัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันฟ้องนั้น ตามทางพิจารณาไม่ได้ความจากการนำสืบของโจทก์และจำเลยว่าดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำของธนาคารพาณิชย์ หรืออัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันฟ้อง มีอัตราร้อยละเท่าใด จึงกำหนดให้จำเลยเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการโอนคดี: การแบ่งแยกคดีที่มีทุนทรัพย์ต่างกันและการครอบครองที่ดินแยกส่วน
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท นาย ล. ได้ขอออกโฉนดที่ดินดังกล่าวโดยไม่ชอบ และมีคำขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 13401 ตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ที่มีชื่อ นาย ล. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าว โดยเสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณราคาเป็นเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 2 มีราคาไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลแขวงสุรินทร์ที่จะพิจารณาพิพากษา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) แม้โจทก์ทั้งสองจะยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นรวมเป็นคดีเดียวกัน แต่ได้ความตามแผนที่พิพาทเอกสารท้ายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองได้ครอบครองที่ดินพิพาทแยกกันเป็นส่วนสัด การครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสองไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย โจทก์ทั้งสองจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงชอบที่โจทก์ทั้งสองจะยื่นฟ้องจำเลยมาคนละสำนวน การที่โจทก์ทั้งสองรวมฟ้องมาในสำนวนเดียวกันและศาลชั้นต้นรับฟ้องของโจทก์ทั้งสองไว้พิจารณา ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์แต่ละคนมีมากกว่าที่จะยื่นฟ้องแยกกันมาเป็นแต่ละสำนวน
เมื่อคดีในสำนวนของโจทก์ที่ 2 มีทุนทรัพย์ 140,000 บาท อยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุรินทร์ที่จะพิจารณาพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ไปยังศาลแขวงสุรินทร์ ทั้งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย หาได้บังคับให้ศาลชั้นต้นต้องโอนคดีไปทั้งคดีดังที่ศาลแขวงสุรินทร์วินิจฉัยไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โอนคดีเฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 2 ไปยังศาลแขวงสุรินทร์ และศาลแขวงสุรินทร์มีคำสั่งให้รับโอนคดีดังกล่าวไว้พิจารณาจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมแล้ว การที่ศาลแขวงสุรินทร์มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับโอนคดี แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับโอนคดีและให้ส่งสำนวนคืนศาลจังหวัดสุรินทร์เพื่อพิจารณาพิพากษาจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจวินิจฉัย ต้องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัย
การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางและได้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาเป็นคำสั่งใหม่ว่า ไม่รับฟ้องโจทก์ให้จำหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความนั้น แสดงว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้วว่าคดีนี้จะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานหรือไม่ ซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นอำนาจของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่จะวินิจฉัยแต่เพียงผู้เดียว ศาลชั้นต้นหามีอำนาจวินิจฉัยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8698/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ซื้อที่ยังมิได้จดทะเบียน: ป้องกันการบังคับคดีกระทบสิทธิ
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 และได้ชำระราคาครบถ้วนรวมทั้งมีการเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทที่ซื้อแล้ว คงเหลือแต่การจดทะเบียนสิทธิเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ร้องเท่านั้น กรณีเช่นนี้ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และโดยเหตุที่การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธินำยึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีอันเป็นการกระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8698/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายก่อนจดทะเบียน: การคุ้มครองสิทธิเหนือทรัพย์สินจากการบังคับคดี
ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ได้ชำระราคาครบถ้วนและเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว คงเหลือแต่การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ร้องเท่านั้น ถือได้ว่า ผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และโดยเหตุที่การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 โจทก์จึงไม่มีสิทธินำยึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีอันเป็นการกระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8613/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการโต้แย้งคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ของบุคคลภายนอกคดีที่อ้างสิทธิเหนือทรัพย์สิน
แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า ก่อนไต่สวนคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดินของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นได้สั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องแก่ผู้คัดค้านเพื่อให้มีโอกาสคัดค้านแล้วก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านมิได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ ก็ต้องถือว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกคดีมีสิทธิพิสูจน์ในชั้นนี้ได้ว่าผู้คัดค้านมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ร้อง และคำสั่งศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) เพราะผู้คัดค้านเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ และชอบที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวนคำร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านเพื่อวินิจฉัยถึงข้อโต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านให้ตามรูปคดี
of 49