คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญรอด ตันประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 482 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมบังคับคดีคำนวณจากราคาประเมินทรัพย์สินใหม่ที่เหมาะสม ไม่ใช่ยอดหนี้ตามคำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง ตาราง 5 หมายเลข 3 (เดิม) ท้าย ป.วิ.พ. ที่กำหนดให้ผู้นำยึดและขอถอนการยึดต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในอัตราร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึด หมายถึงเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึดแต่ไม่เกินจำนวนที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวยังให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กำหนดราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย ส่วนการประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวเป็นการประเมินราคาเบื้องต้นเท่านั้น ยังถือเป็นราคาทรัพย์สินที่แน่นอนแล้วไม่ได้ ดังนั้น หากปรากฏในภายหลังว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในขณะทำการยึดนั้นไม่เหมาะสมหรือสูงเกินไป เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเสียใหม่ให้เหมาะสมได้
เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาที่ดินที่ยึดตารางวาละ 10,000 บาท เป็นเงิน 1,160,000 บาท และประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างที่ยึดเป็นเงิน 15,000 บาท ต่อมาได้ประกาศขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแล้วรวม 17 ครั้ง เป็นเวลานานถึง 2 ปีเศษ แต่ไม่มีผู้ใดเสนอราคาสูงถึงราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ แสดงว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในครั้งแรกเป็นราคาที่สูงเกินไป เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินใหม่นี้ถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์ที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดใหม่เป็นเงิน 595,000 บาท โจทก์จึงต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่ง จากเงินจำนวนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4407/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.ความลับทางการค้า ต้องได้มาซึ่งความลับจากการปฏิบัติงานตามกฎหมาย หรือการปฏิบัติราชการ/สอบสวน
การกระทำของบุคคลใดจะเป็นความผิดและต้องรับโทษตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาตรา 35 นั้น จะต้องมีองค์ประกอบความผิดที่ว่า บุคคลนั้นได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าดังกล่าวเนื่องจากการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ หรือบุคคลนั้นได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าเนื่องในการปฏิบัติราชการหรือการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีด้วย เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 เคยเป็นลูกจ้างของโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 5 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการผู้จัดการ โดยไม่ปรากฏว่า จำเลยทั้งห้าได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าดังกล่าวเนื่องจากการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ หรือบุคคลนั้นได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าเนื่องในการปฏิบัติราชการหรือการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4399/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมศาลกรณีร้องสอด - การโอนสิทธิเรียกร้องจากผู้ล้มละลาย - ค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ไม่ถูกต้อง
ผู้ร้องเป็นผู้ชนะการประมูลขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ผู้ล้มละลาย และได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้องกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งได้ชำระราคาต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จึงรับโอนสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยตามคำพิพากษาในคดีนี้ด้วย การที่ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาในคดีก็เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่แล้ว หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ทำให้ผู้ร้องได้ทรัพย์สินใด ๆ เพิ่มเติมขึ้น ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าคำร้อง 20 บาท ตามที่ระบุไว้ในตาราง 2 (3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: โอนคดีจากศาลจังหวัดไปศาลแขวงเมื่อมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท
การที่โจทก์จะนำคดีขึ้นสู่ศาลใดนั้นจะต้องพิจารณาว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดเป็นสำคัญ เมื่อคดีอยู่ในอำนาจของศาลใดแล้ว อีกศาลหนึ่งไม่มีอำนาจรับคดีเรื่องนั้นไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่จะมีบทกฎหมายบัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะรับคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษาได้ ซึ่งคดีเรื่องนี้แม้ศาลจังหวัดพิษณุโลกได้รับฟ้องโจทก์ไว้และมีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จนเสร็จและอยู่ระหว่างนัดสืบพยานจำเลยดังที่โจทก์อุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงพิษณุโลกตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดพิษณุโลกเสียแล้ว ศาลจังหวัดพิษณุโลกย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดพิษณุโลกที่จะใช้ดุลพินิจรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ด้วย ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดพิษณุโลกมีคำสั่งให้โอนคดีเรื่องนี้ไปยังศาลแขวงพิษณุโลกซึ่งเป็นศาลที่เขตอำนาจพิพากษาคดีได้นั้นเป็นการชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4091/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต การฟ้องบังคับชำระหนี้ขัดต่อหลักความยุติธรรม
จำเลยติดต่อขอชำระหนี้ และส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่รับชำระหนี้กลับยื่นฟ้องจำเลย การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์เพื่อบังคับจำเลยชำระหนี้ทั้งหมดเป็นการอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้โจทก์ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4091/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จะมีการผิดนัดชำระหนี้บางส่วน
ตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ โจทก์ให้จำเลยผ่อนชำระเงินเป็นงวด งวดละ 7,000 บาท โดยโจทก์หักเงินเดือนจำเลยทุก ๆ สิ้นเดือน และจะหักเงินโบนัสประจำปีของทุก ๆ ปี เป็นเงื่อนไขสำคัญในการชำระหนี้ เมื่อโจทก์เลิกจ้างจำเลย วิธีการชำระหนี้ตามที่ตกลงกันย่อมไม่สามารถกระทำต่อไปได้อีก แต่ก่อนหนี้จะถึงกำหนดชำระในงวดเดือนกันยายน 2541 จำเลยได้มีหนังสือถึงโจทก์เพื่อขอชำระหนี้โดยการโอนเงินค่างวดเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ โดยให้โจทก์แจ้งหมายเลขบัญชีและธนาคารที่โจทก์ให้โอนเงินให้จำเลยทราบเพื่อจะได้โอนเงินให้ทุกวันสิ้นเดือน โจทก์ได้รับหนังสือแล้ว แต่หาแจ้งให้จำเลยทราบไม่ จำเลยจึงต้องแจ้งโจทก์อีก 2 ครั้ง แต่โจทก์กลับเพิกเฉยเช่นเดิม จำเลยจึงได้ชำระหนี้โจทก์โดยส่งเงินทางไปรษณีย์ธนาณัติ แต่โจทก์กลับปฏิเสธไม่ยอมรับ ซ้ำกลับทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดโดยอ้างว่าจำเลยผิดนัดจนจำเลยต้องนำเงินไปวางชำระหนี้ที่สำนักงานวางทรัพย์ แสดงให้เห็นถึงความขวนขวายที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์เพื่อขอบังคับจำเลยชำระหนี้ทั้งหมดเป็นการอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้โจทก์ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่อีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4009-4010/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าเป็นคนละกรรมต่างกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด
ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ชักชวนผู้เสียหายนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปรับประทานข้าวต้มด้วยกัน ระหว่างทางจำเลยที่ 3 จอดรถและรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั่งรถไปด้วยโดยเปลี่ยนให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับ เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มาจอดในที่เกิดเหตุ และจำเลยที่ 3 วิ่งหนีออกไป จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันรุมชกต่อยผู้เสียหายจนล้มลง ผู้เสียหายแกล้งทำเป็นสลบ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันปลดเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายไปได้แล้วจึงช่วยกันจับผู้เสียหายโยนลงไปในคลองโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหายเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ซึ่งสำเร็จเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว มิได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายมาแต่แรก การพยายามฆ่าผู้เสียหายเพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง จึงเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างหาก การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม และต้องแสดงการโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยตรง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ดังนั้น การบรรยายฟ้องจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 172 วรรคสอง กล่าวคือ ต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น และต้องบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 อย่างไรตามมาตรา 55 ทั้งต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งอ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจพิจารณารวมไปกับคำฟ้องเดิมได้และการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและแสดงสิทธิของจำเลยที่ 2 เอง ไม่ใช่สิทธิของผู้อื่น
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง การบรรยายฟ้องแย้งจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 172 วรรคสอง และต้องบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยอย่างไรตามมาตรา 55 ทั้งต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคสุดท้าย
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 อ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วโจทก์มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่ความตายแล้วโจทก์จึงต้องจดทะเบียนให้เด็กชาย ก. ทายาทของจำเลยที่ 1 และมีคำขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนใส่ชื่อเด็กชาย ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น คงมีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งจนสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยตรง สัญญาค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมไม่ทำให้มีสิทธิฟ้องแทน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ดังนั้น การบรรยายฟ้องจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 172 วรรคสอง กล่าวคือ ต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น และต้องบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 อย่างไรตามมาตรา 55 ทั้งต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งอ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทของจำเลยที่ 1 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจพิจารณารวมไปกับคำฟ้องเดิมได้ และการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วยไม่
of 49