พบผลลัพธ์ทั้งหมด 482 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4588/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ลิขสิทธิ์ผู้อื่นเป็นเครื่องหมายการค้าขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม แม้ไม่มีข้อห้ามโดยตรง
การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะไม่ปรากฏข้อห้ามในกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าโดยตรง แต่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 8 ได้บัญญัติห้ามมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะดังนี้... (9) เครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย เมื่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ต้องการที่จะให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ และเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าก็มุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริตเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่บุคคลใดทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคอื่นโดยวิธีใดๆ อันไม่สุจริต และนำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของตนเช่นนี้ ย่อมเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย และขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนี้จึงมีหรือประกอบด้วยลักษณะอันต้องห้ามไม่ให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 8 (9) และไม่อาจรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6 ประกอบมาตรา 16 ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4588/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้รูปภาพมีลิขสิทธิ์เป็นเครื่องหมายการค้าเป็นการขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม
การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะไม่ปรากฏข้อห้ามในกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าโดยตรง แต่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (9) ห้ามมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบายเมื่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ต้องการที่จะให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ และเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าก็มุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริตเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่บุคคลใดทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคอื่นโดยวิธีใดๆ อันไม่สุจริต และนำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของตน ย่อมเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐประศาสโนบายนั่นเอง เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนจึงมีหรือประกอบด้วยลักษณะอันต้องห้ามไม่ให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (9) และไม่อาจรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 16
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเสียหายจากสัญญาสิทธิการดำเนินงานสถานีน้ำมัน: ไม่เข้าข่ายสินค้าซื้อมาขายไป อายุความ 10 ปี
โจทก์ฟ้องคดีตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีน้ำมัน โดยเรียกเงินค่าเสียหายจากจำเลย คือ เงินค้างชำระเกี่ยวกับค่าใช้สิทธิ ค่าซื้อสินค้า ค่าส่งเสริมการขาย และค่าซ่อมอุปกรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องจากสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิทั้งสิ้น นอกจากนี้น้ำมันซึ่งโจทก์ส่งมอบให้จำเลยก็มิใช่สินค้าที่มีลักษณะเป็นการซื้อมาขายไปเป็นปกติธุระของโจทก์ เพราะต้องมีการควบคุมปริมาณและคุณภาพตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ค่าเสียหายดังกล่าวจึงไม่ตกอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์เรื่องผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ส่งมอบ ตามป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี เมื่อสัญญาให้ใช้สิทธิดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีทรัพย์สินทางปัญญา และอายุความของค่าเสียหายจากสัญญา
ในคำให้การของจำเลยก็ดี ในทางนำสืบของจำเลยก็ดี ปรากฏข้อเท็จจริงเพียงว่ากิจการสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันของจำเลยตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิที่ทำกับโจทก์นั้นประสบภาวะขาดทุนโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าสาเหตุเกิดจากอะไร สัญญาดังกล่าวไม่เป็นธรรมอย่างไร และโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตอย่างไร ดังนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์โดยให้รายละเอียดว่า การที่โจทก์คิดค่าใช้สิทธิจากจำเลยเพิ่มเติมในส่วนจำนวนน้ำมันที่จำเลยซื้อจากโจทก์ไม่ถึงปริมาณที่กำหนดไว้ในสัญญาอีก จึงไม่เป็นธรรมต่อจำเลยและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กิจการของจำเลยประสบกับภาวะขาดทุนเพราะสภาพเศรษฐกิจนั้น อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ประกอบด้วยมาตรา 225 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีน้ำมัน โดยเรียกเงินค่าเสียหายจากจำเลยคือ เงินค้างชำระเกี่ยวกับค่าใช้สิทธิ ค่าซื้อสินค้า ค่าส่งเสริมการขาย และค่าซ่อมอุปกรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องจากสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิทั้งสิ้น นอกจากนี้น้ำมันซึ่งโจทก์ส่งมอบให้จำเลยก็มิใช่สินค้าที่มีลักษณะเป็นการซื้อมาขายไปเป็นปกติธุระของโจทก์ เพราะต้องมีการควบคุมปริมาณและคุณภาพตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ค่าเสียหายตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ตกอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์เรื่องผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี สัญญาให้ใช้สิทธิดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องคดีนี้ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีน้ำมัน โดยเรียกเงินค่าเสียหายจากจำเลยคือ เงินค้างชำระเกี่ยวกับค่าใช้สิทธิ ค่าซื้อสินค้า ค่าส่งเสริมการขาย และค่าซ่อมอุปกรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องจากสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิทั้งสิ้น นอกจากนี้น้ำมันซึ่งโจทก์ส่งมอบให้จำเลยก็มิใช่สินค้าที่มีลักษณะเป็นการซื้อมาขายไปเป็นปกติธุระของโจทก์ เพราะต้องมีการควบคุมปริมาณและคุณภาพตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ค่าเสียหายตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ตกอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์เรื่องผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี สัญญาให้ใช้สิทธิดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4108/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนอง แม้โอนสิทธิไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้รับจำนองมีสิทธิหากโจทก์ไม่เพิกถอน
แม้จำเลยที่ 1 จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทกับผู้ร้องด้วย โจทก์ผู้มีสิทธิได้รับมรดกและอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ร้องได้ ซึ่งหากพิสูจน์ได้ว่า การจดทะเบียนจำนองไม่มีค่าตอบแทนหรือกระทำไปโดยไม่สุจริต ศาลย่อมมีคำพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองในที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด ดังนั้น สัญญาจำนองดังกล่าวจึงมีผลผูกพันตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทในส่วนที่เป็นของโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3730/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวต้องสอดคล้องกับคำขอท้ายฟ้องและประเด็นแห่งคดี
วัตถุประสงค์ของการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 ก็เพื่อให้โจทก์สามารถบังคับคดีได้เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ดังนั้น สิ่งที่จะขอคุ้มครองจะต้องตรงกับการกระทำของจำเลยที่ถูกฟ้องร้องหรืออยู่ในประเด็นแห่งคดีและเป็นเรื่องที่อยู่ในคำขอท้ายฟ้องด้วย โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โดยหลังจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้โจทก์แล้วกลับไปทำสัญญาจะซื้อจะขายและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แต่ท้ายฟ้องของโจทก์ไม่มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากโจทก์ไป คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ที่ขอห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับที่ดินและมีคำสั่งอายัดที่ดินไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 มาใช้บังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3730/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต้องสอดคล้องกับคำขอท้ายฟ้องและประเด็นแห่งคดี
วัตถุประสงค์ของการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 ก็เพื่อให้โจทก์สามารถบังคับคดีได้เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ดังนั้น สิ่งที่จะขอคุ้มครองจะต้องตรงกับการกระทำของจำเลยที่ถูกฟ้องร้องหรืออยู่ในประเด็นแห่งคดีและเป็นเรื่องที่อยู่ในคำขอท้ายฟ้องด้วย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโดยหลังจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้โจทก์แล้วกลับไปทำสัญญาจะซื้อจะขายและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แต่ท้ายฟ้องของโจทก์ไม่มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากโจทก์ไป คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ที่ขอห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทและมีคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 มาใช้บังคับได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโดยหลังจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้โจทก์แล้วกลับไปทำสัญญาจะซื้อจะขายและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แต่ท้ายฟ้องของโจทก์ไม่มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากโจทก์ไป คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ที่ขอห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทและมีคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าไฟฟ้า-การชำระหนี้-เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าชำรุด-สิทธิเรียกร้อง-อายุความ 5 ปี
เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงหน่ายการใช้ไฟฟ้าไม่ตรงกับที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไปจริง แต่มิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ทั้งการติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเปรียบเทียบก็ไม่ได้แสดงแน่ชัดว่าเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงค่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าคลาดเคลื่อนมาแต่เมื่อใด การที่โจทก์คิดค่าไฟฟ้าย้อนหลังโดยดูจากประวัติการใช้ไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงแต่คาดคะเนเอง ไม่อาจฟังเอาแน่นอนว่าเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าคลาดเคลื่อนมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2537 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดค่าไฟฟ้าย้อนหลังตั้งแต่เดือนดังกล่าวจนถึงวันที่ 12 มกราคม 2538 ที่พบความชำรุดบกพร่อง โจทก์คงมีสิทธิคิดค่าไฟฟ้าย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2538 ถึงวันที่ 21 เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องใหม่ให้จำเลยที่ 1
โจทก์ขายกระแสไฟฟ้าแก่จำเลยที่ 1 เพื่อใช้ในการประกอบกิจการโรงงานผลิตฟิล์มของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าของโจทก์จึงเข้าข้อยกเว้นไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามความในตอนท้ายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (1) แต่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)
โจทก์ขายกระแสไฟฟ้าแก่จำเลยที่ 1 เพื่อใช้ในการประกอบกิจการโรงงานผลิตฟิล์มของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าของโจทก์จึงเข้าข้อยกเว้นไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามความในตอนท้ายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (1) แต่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน, การลวงขาย, ค่าเสียหาย
เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.78846 ของจำเลยที่ 1 เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.27202 ของจำเลยที่ 1 เช่นกันซึ่งเป็นอักษรญี่ปุ่นแล้ว จะเห็นได้ว่า อักษรญี่ปุ่น อ่านว่า "นายาโก้ เปปาร์" และกรอบลวดลายดังกล่าวมีลักษณะเหมือนกัน เพียงแต่ว่าเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.78846 จะมีส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น อักษรญี่ปุ่นและอักษรโรมันซึ่งเป็นคำบรรยายของสินค้า และอักษรโรมัน คำว่า "Na" ขนาดใหญ่จำนวน 7 คำ อยู่ตรงกลางของเครื่องหมายการค้าด้วย ซึ่งแม้จะมีการนำข้อความอื่น ๆ มาประกอบเช่นนี้ก็ยังเห็นได้จากตัวเครื่องหมายการค้า หาใช่ข้อความที่มีลักษณะเป็นการบรรยายของสินค้า หรือแม้แต่ตัวอักษรโรมัน "Na" ก็หาได้เป็นสาระสำคัญแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น การที่มีอักษรโรมัน "Na" ในเครื่องหมายการค้าถึง 8 แห่ง ก็ไม่ทำให้สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าแตกต่างไป คดีเป็นอันรับฟังว่าสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.78846 คือ อักษรญี่ปุ่นเหมือนกับเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.27202 ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของได้ กับให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.27202 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ที่ 1 ยื่นคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.78846 และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งภายหลังจากที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5269/2542 แล้ว โดยมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะใช้เครื่องหมายการค้าซึ่งมีสาระสำคัญคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือว่าเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.78846 เป็นเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบายอันไม่พึงรับจดทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 จึงร้องขอต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเพื่อให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้
สำหรับเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.97406 ของจำเลยที่ 1 นั้นมีสาระสำคัญอยู่ที่อักษรญี่ปุ่น อ่านว่า "เอ็นเอ เปปาร์" ซึ่งคำดังกล่าวไม่มีความหมายและจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุดกับเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.78846 ส่อแสดงว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็เห็นอยู่แล้วว่าเครื่องหมายการค้าทั้ง 2 เครื่องหมายคล้ายกันมาก เพียงแต่จำเลยที่ 1 เปลี่ยนอักษรญี่ปุ่น 3 ตัวแรกให้แตกต่างจากเดิมเท่านั้น โดยตัวอักษรที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังคงมีลักษณะใกล้เคียงกันมากเท่ากับว่าเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.97406 มีส่วนสาระสำคัญคล้ายกับเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.27202 ที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้แล้ว ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.97406 เป็นเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบายและไม่พึงรับจดทะเบียนให้เช่นกัน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.78846 เป็นเครื่องหมายการค้าที่ห้ามมิให้รับจดทะเบียน ย่อมไม่สมควรนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 410468 ของโจทก์ทั้งสองอีกต่อไป และเมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองมีลักษณะบ่งเฉพาะ และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองในคดีดังกล่าวกับคดีนี้เป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวต้องผูกพันตามผลแห่งคำพิพากษานั้น และมีผลให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นหน่วยงานและเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่พิจารณาการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องถือตามผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว
สำหรับคำขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 410468 ของโจทก์ทั้งสองต่อไปนั้น เป็นการขอให้บังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองไปเลย ทั้งที่นายทะเบียนยังจักต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าในประการอื่นต่อไปเสียก่อน ในชั้นนี้ย่อมไม่อาจก้าวล่วงพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองตามคำขอได้
สำหรับเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.97406 ของจำเลยที่ 1 นั้นมีสาระสำคัญอยู่ที่อักษรญี่ปุ่น อ่านว่า "เอ็นเอ เปปาร์" ซึ่งคำดังกล่าวไม่มีความหมายและจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุดกับเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.78846 ส่อแสดงว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็เห็นอยู่แล้วว่าเครื่องหมายการค้าทั้ง 2 เครื่องหมายคล้ายกันมาก เพียงแต่จำเลยที่ 1 เปลี่ยนอักษรญี่ปุ่น 3 ตัวแรกให้แตกต่างจากเดิมเท่านั้น โดยตัวอักษรที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังคงมีลักษณะใกล้เคียงกันมากเท่ากับว่าเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.97406 มีส่วนสาระสำคัญคล้ายกับเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.27202 ที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้แล้ว ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.97406 เป็นเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบายและไม่พึงรับจดทะเบียนให้เช่นกัน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค.78846 เป็นเครื่องหมายการค้าที่ห้ามมิให้รับจดทะเบียน ย่อมไม่สมควรนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 410468 ของโจทก์ทั้งสองอีกต่อไป และเมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองมีลักษณะบ่งเฉพาะ และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองในคดีดังกล่าวกับคดีนี้เป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวต้องผูกพันตามผลแห่งคำพิพากษานั้น และมีผลให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นหน่วยงานและเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่พิจารณาการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องถือตามผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว
สำหรับคำขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 410468 ของโจทก์ทั้งสองต่อไปนั้น เป็นการขอให้บังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองไปเลย ทั้งที่นายทะเบียนยังจักต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าในประการอื่นต่อไปเสียก่อน ในชั้นนี้ย่อมไม่อาจก้าวล่วงพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองตามคำขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องใหม่และไม่เคยมีใช้มาก่อน การเพิกถอนสิทธิบัตรเมื่อแบบไม่ใหม่
เมื่อโจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายช้อนส้อมเช่นเดียวกับที่จำเลยได้รับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์และต้องหยุดดำเนินการไป นับได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกกระทบหรือถูกโต้แย้งสิทธิแต่ผู้เดียวในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะกล่าวอ้างว่าสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และฟ้องคดีเพื่อขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 64 วรรคสอง ได้ความว่าช้อนส้อมของโจทก์มีการผลิตและจำหน่ายในประเทศไทยมาก่อนที่จำเลยจะขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งการตรวจคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่ได้พิจารณาถึงแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในประเทศไทยก่อนวันขอรับสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (1) และเมื่อไม่ปรากฏว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยแตกต่างจากช้อนส้อมของโจทก์ เท่ากับว่าแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีหรือใช้กันแพร่หลายอยู่แล้วในประเทศไทยก่อนวันขอรับสิทธิบัตรและถือว่าไม่มีความใหม่ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (1)
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 56 ต้องประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้
การที่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่มีความใหม่ ย่อมจะไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของจำเลยจึงได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ ถือเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 64
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 56 ต้องประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้
การที่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่มีความใหม่ ย่อมจะไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของจำเลยจึงได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ ถือเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 64