พบผลลัพธ์ทั้งหมด 482 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเรียกหน่วยงานรัฐเข้ามาในคดีละเมิด และประเด็นความประมาทของผู้ขับขี่
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเรียกบุคคลภายนอกให้เข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้ เมื่อความปรากฎแก่ศาลว่า จำเลยร่วมซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นเห็นเป็นการสมควรและเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมย่อมมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามที่โจทก์ร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) ได้ ไม่จำเป็นต้องให้โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า หลักสำคัญอยู่ที่การบ่งบอกแหล่งที่มาและลักษณะสินค้า
หน้าที่หลักของเครื่องหมายการค้า คือหน้าที่บอกแหล่งที่มาของสินค้าและความแตกต่างระหว่างสินค้า หมายความว่า เครื่องหมายการค้าจะต้องบ่งบอกได้ว่า สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้ามีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใดและสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่ง
เสียงเรียกขานบางคำในเครื่องหมายการค้าซ้ำกันมิใช่เหตุให้เครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันจนไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ได้ เพราะการเรียกขานสินค้าย่อมจะขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเรียกขานเช่นใด ทั้งการเรียกขานก็ไม่ใช่สาระสำคัญประการเดียวที่จะใช้ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์สามารถทำหน้าที่บ่งบอกว่า สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด และสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่งเช่นใด
เสียงเรียกขานบางคำในเครื่องหมายการค้าซ้ำกันมิใช่เหตุให้เครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันจนไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ได้ เพราะการเรียกขานสินค้าย่อมจะขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเรียกขานเช่นใด ทั้งการเรียกขานก็ไม่ใช่สาระสำคัญประการเดียวที่จะใช้ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์สามารถทำหน้าที่บ่งบอกว่า สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด และสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่งเช่นใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า คำสามัญทั่วไป ไม่ทำให้สับสน
หน้าที่หลักของเครื่องหมายการค้า คือ หน้าที่บอกแหล่งที่มาของสินค้า และหน้าที่บอกความแตกต่างระหว่างสินค้า หมายความว่า เครื่องหมายการค้าจะต้องบ่งบอกได้ว่า สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด และสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่ง
การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหยิบยกเครื่องหมายการค้าหลายเครื่องหมายมาพิจารณาประกอบกันในการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังและอยู่ภายใต้กรอบหน้าที่ของเครื่องหมายการค้า
ที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรโรมันคำว่า "California" และ "WOW" ซึ่งเป็นคำเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ย่อมจะเกิดความสับสนหลงผิดได้ แต่เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเห็นได้ว่า อักษรโรมันคำว่า "California" และ "WOW" เป็นคำสามัญทั่วไปที่มีความหมายในพจนานุกรมโดยคำว่า "California" เป็นชื่อมลรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนคำว่า "WOW" เป็นคำอุทานแสดงความสำเร็จยอดเยี่ยม ดังนั้น บุคคลทั่วไปจึงสามารถนำคำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าได้ตราบเท่าที่ไม่เป็นการลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น หรือเหมือนหรือคล้ายกันจนเป็นเหตุให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งเครื่องหมายมีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายกขึ้นเปรียบเทียงเป็นอย่างมาก แม้เครื่องหมายการค้าเหล่านี้มีคำซ้ำกันอยู่บ้าง ซึ่งก็เป็นคำสามัญที่มีการใช้อยู่ทั่วไป ไม่ได้เป็นคำเฉพาะพิเศษและไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าสำหรับเสียงเรียกขาน การจะถือว่าเสียงเรียกขานบางคำซ้ำกันจนเป็นเหตุให้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันจนไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้น่าจะไม่ได้ เพราะการเรียกขานสินค้าย่อมขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเรียกขานเช่นใด ทั้งการเรียกขานก็ไม่ใช่สาระสำคัญประการเดียวที่จะใช้ในการพิจารณา
การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหยิบยกเครื่องหมายการค้าหลายเครื่องหมายมาพิจารณาประกอบกันในการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังและอยู่ภายใต้กรอบหน้าที่ของเครื่องหมายการค้า
ที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรโรมันคำว่า "California" และ "WOW" ซึ่งเป็นคำเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ย่อมจะเกิดความสับสนหลงผิดได้ แต่เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเห็นได้ว่า อักษรโรมันคำว่า "California" และ "WOW" เป็นคำสามัญทั่วไปที่มีความหมายในพจนานุกรมโดยคำว่า "California" เป็นชื่อมลรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนคำว่า "WOW" เป็นคำอุทานแสดงความสำเร็จยอดเยี่ยม ดังนั้น บุคคลทั่วไปจึงสามารถนำคำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าได้ตราบเท่าที่ไม่เป็นการลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น หรือเหมือนหรือคล้ายกันจนเป็นเหตุให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งเครื่องหมายมีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายกขึ้นเปรียบเทียงเป็นอย่างมาก แม้เครื่องหมายการค้าเหล่านี้มีคำซ้ำกันอยู่บ้าง ซึ่งก็เป็นคำสามัญที่มีการใช้อยู่ทั่วไป ไม่ได้เป็นคำเฉพาะพิเศษและไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าสำหรับเสียงเรียกขาน การจะถือว่าเสียงเรียกขานบางคำซ้ำกันจนเป็นเหตุให้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันจนไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้น่าจะไม่ได้ เพราะการเรียกขานสินค้าย่อมขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเรียกขานเช่นใด ทั้งการเรียกขานก็ไม่ใช่สาระสำคัญประการเดียวที่จะใช้ในการพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาคำที่สื่อความหมายโดยตรงหรือไม่
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 65 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง มิใช่เกี่ยวกับอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้อง และเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงหรือไม่ ต้องพิจารณาจากคำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าว่าจะสามารถสื่อให้สาธารณชนทราบหรือเข้าใจถึงสินค้าได้เพียงใด หากสามารถทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีเพราะคำดังกล่าวเป็นคำสามัญทั่วไปสำหรับสินค้าหรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นสินค้าประเภทหรือชนิดใด เพราะคำดังกล่าวเป็นคำพรรณนาสำหรับสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง แต่หากสาธารณชนยังต้องใช้วิจารณญาณพอสมควรในการพิจารณาจึงจะเข้าใจได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้ทราบถึงสินค้าประเภทหรือชนิดใด เพราะคำดังกล่าวเป็นเพียงคำแนะนำของสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวยังไม่อาจถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า "AQUAFEED" ไม่มีคำแปลในพจนานุกรม แต่เป็นการนำคำ 2 คำ มารวมกัน คือคำว่า "AQUA" กับ "FEED" คำว่า "AQUA" มีความหมายว่า "น้ำ" ส่วนคำว่า "FEED" มีความหมายว่า "ให้อาหาร, เลี้ยง, เลี้ยงให้อ้วน" เมื่อนำมารวมกันแล้วจะมีความหมายหรือคำแปลเพียงในทำนองว่า "การให้อาหารสำหรับ/เกี่ยวกับ/ของน้ำ" จึงไม่ใช่คำสามัญทั่วไปของสินค้าอาหารสัตว์ และไม่อาจถือว่าเป็นคำพรรณนาสำหรับสินค้าอาหารสัตว์ด้วย เพราะไม่ได้พรรณาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอาหารสัตว์โดยตรง หาใช่ว่าจะสามารถทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีหรือเมื่อใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยไม่ ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า "AQUAFEED" จึงไม่ถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงและถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงหรือไม่ ต้องพิจารณาจากคำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าว่าจะสามารถสื่อให้สาธารณชนทราบหรือเข้าใจถึงสินค้าได้เพียงใด หากสามารถทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีเพราะคำดังกล่าวเป็นคำสามัญทั่วไปสำหรับสินค้าหรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นสินค้าประเภทหรือชนิดใด เพราะคำดังกล่าวเป็นคำพรรณนาสำหรับสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง แต่หากสาธารณชนยังต้องใช้วิจารณญาณพอสมควรในการพิจารณาจึงจะเข้าใจได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้ทราบถึงสินค้าประเภทหรือชนิดใด เพราะคำดังกล่าวเป็นเพียงคำแนะนำของสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวยังไม่อาจถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า "AQUAFEED" ไม่มีคำแปลในพจนานุกรม แต่เป็นการนำคำ 2 คำ มารวมกัน คือคำว่า "AQUA" กับ "FEED" คำว่า "AQUA" มีความหมายว่า "น้ำ" ส่วนคำว่า "FEED" มีความหมายว่า "ให้อาหาร, เลี้ยง, เลี้ยงให้อ้วน" เมื่อนำมารวมกันแล้วจะมีความหมายหรือคำแปลเพียงในทำนองว่า "การให้อาหารสำหรับ/เกี่ยวกับ/ของน้ำ" จึงไม่ใช่คำสามัญทั่วไปของสินค้าอาหารสัตว์ และไม่อาจถือว่าเป็นคำพรรณนาสำหรับสินค้าอาหารสัตว์ด้วย เพราะไม่ได้พรรณาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอาหารสัตว์โดยตรง หาใช่ว่าจะสามารถทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีหรือเมื่อใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยไม่ ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า "AQUAFEED" จึงไม่ถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงและถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า: 'AQUAFEED' ไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะสินค้าโดยตรง
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 65 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง มิใช่บทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้อง และเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากคำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าว่าจะสามารถสื่อให้สาธารณชนทราบหรือเข้าใจถึงสินค้าได้เพียงใด หากสาธารณชนสามารถทราบหรือเข้าใจได้ทันทีเพราะคำดังกล่าวเป็นคำสามัญทั่วไปสำหรับสินค้าหรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นสินค้าประเภทหรือชนิดใด เพราะคำดังกล่าวเป็นคำพรรณนาสำหรับสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง แต่หากสาธารณชนยังต้องใช้วิจารณญาณพอสมควรในการพิจารณาจึงจะเข้าใจได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้ทราบถึงสินค้าประเภทหรือชนิดใด เพราะคำดังกล่าวเป็นเพียงคำแนะนำของสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวยังไม่อาจถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า "AQUAFEED" ไม่มีความหายหรือคำแปลในพจนานุกรม แต่เป็นการนำคำ 2 คำ มารวมกัน คือคำว่า "AQUA" กับ "FEED" ซึ่งจำเลยเองนำสืบว่า "AQUA" มีความหมายว่า "น้ำ" ส่วนคำว่า "FEED" มีความหมายว่า "ให้อาหาร, เลี้ยง, เลี้ยงให้อ้วน" เมื่อนำมารวมกันแล้ว หากให้ความหมายหรือคำแปลเพียงในทำนองว่า "การให้อาหารสำหรับ/เกี่ยวกับ/ของน้ำ" จึงเห็นได้ชัดเจนว่าคำนี้ไม่ใช่คำสามัญทั่วไปของสินค้าอาหารสัตว์ และไม่อาจถือว่าเป็นคำพรรณนาสำหรับสินค้าอาหารสัตว์ด้วย เพราะไม่ได้พรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอาหารสัตว์โดยตรง หากจะคิดพิจารณาต่อไปว่าเป็นคำที่กล่าวถึง "อาหารสำหรับสัตว์น้ำ" ก็จะต้องเชื่อมโยงคำว่า "AQUA" กับสัตว์น้ำ หาใช่ว่าจะสามารถทราบหรือเข้าใจได้ในทันที หรือเมื่อใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยตามที่จำเลยอุทธรณ์ไม่ ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า "AQUAFEED" จึงไม่ถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง และถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากคำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าว่าจะสามารถสื่อให้สาธารณชนทราบหรือเข้าใจถึงสินค้าได้เพียงใด หากสาธารณชนสามารถทราบหรือเข้าใจได้ทันทีเพราะคำดังกล่าวเป็นคำสามัญทั่วไปสำหรับสินค้าหรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นสินค้าประเภทหรือชนิดใด เพราะคำดังกล่าวเป็นคำพรรณนาสำหรับสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง แต่หากสาธารณชนยังต้องใช้วิจารณญาณพอสมควรในการพิจารณาจึงจะเข้าใจได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้ทราบถึงสินค้าประเภทหรือชนิดใด เพราะคำดังกล่าวเป็นเพียงคำแนะนำของสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวยังไม่อาจถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า "AQUAFEED" ไม่มีความหายหรือคำแปลในพจนานุกรม แต่เป็นการนำคำ 2 คำ มารวมกัน คือคำว่า "AQUA" กับ "FEED" ซึ่งจำเลยเองนำสืบว่า "AQUA" มีความหมายว่า "น้ำ" ส่วนคำว่า "FEED" มีความหมายว่า "ให้อาหาร, เลี้ยง, เลี้ยงให้อ้วน" เมื่อนำมารวมกันแล้ว หากให้ความหมายหรือคำแปลเพียงในทำนองว่า "การให้อาหารสำหรับ/เกี่ยวกับ/ของน้ำ" จึงเห็นได้ชัดเจนว่าคำนี้ไม่ใช่คำสามัญทั่วไปของสินค้าอาหารสัตว์ และไม่อาจถือว่าเป็นคำพรรณนาสำหรับสินค้าอาหารสัตว์ด้วย เพราะไม่ได้พรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอาหารสัตว์โดยตรง หากจะคิดพิจารณาต่อไปว่าเป็นคำที่กล่าวถึง "อาหารสำหรับสัตว์น้ำ" ก็จะต้องเชื่อมโยงคำว่า "AQUA" กับสัตว์น้ำ หาใช่ว่าจะสามารถทราบหรือเข้าใจได้ในทันที หรือเมื่อใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยตามที่จำเลยอุทธรณ์ไม่ ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า "AQUAFEED" จึงไม่ถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง และถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทต้องพิจารณาจากคำฟ้องและคำให้การ การเสนอค่าทดแทนนอกฟ้องถือเป็นเรื่องนอกประเด็น
ประเด็นข้อพิพาทในคดีจะต้องพิจารณาจากคำฟ้อง คำให้การ เป็นข้อสำคัญมิใช่พิจารณาจากข้อเท็จจริงและการนำสืบพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา แม้พยานโจทก์จะได้เบิกความถึงว่าเสนอว่าจะให้ค่าทดแทนแก่จำเลยแล้วก็ตาม แต่ในคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้เสนอค่าทดแทนให้แก่จำเลยแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1352 หรือไม่ เมื่อคดีไม่มีประเด็นดังกล่าวเสียแล้ว ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาให้จำเลยปฏิบัติตามฟ้องโจทก์ และกำหนดค่าทดแทนเพื่อให้โจทก์ชำระแก่จำเลยได้ เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์อุทธรณ์ในคดีครอบครองที่ดินเป็นส่วนๆ และข้อจำกัดการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
แม้โจทก์ทั้งสามร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคู่ความเดียวกันเพราะโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามส่วนที่แต่ละคนขอรังวัด อันเป็นการที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ทั้งสามจะถือราคาที่ดินทั้งแปลงเป็นทุนทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์หาได้ไม่ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์สำหรับโจทก์แต่ละคนไม่เกิน 50,000 บาท และอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามจึงต้องห้ามอุทธรณ์
โจทก์ทั้งสามฎีกาเฉพาะเพียงขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และให้พิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม(
โจทก์ทั้งสามฎีกาเฉพาะเพียงขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และให้พิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม(
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์พิพาทในคดีที่โจทก์หลายคนครอบครองที่ดินแยกส่วน การอุทธรณ์ต้องพิจารณาทุนทรัพย์ของแต่ละคน
โจทก์ทั้งสามร่วมกันฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีเดียวกันเพราะโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 แต่โจทก์ที่ 1 อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ม. บิดาโจทก์ที่ 1 เมื่อ ม. ถึงแก่ความตายที่ดินเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ที่ 1 ต่อมาโจทก์ที่ 1 แบ่งที่ดินออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 เนื้อที่ 9 ไร่ 93 ตารางวา ราคาประมาณ 45,000 บาท โจทก์ที่ 1 ครอบครองทำประโยชน์ ส่วนที่ 2 เนื้อที่ 7 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา ราคาประมาณ 40,000 บาท โจทก์ที่ 1 โอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ 2 และส่วนที่ 3 เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา ราคาประมาณ 40,000 บาท โจทก์ที่ 1 โอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ 3 หลังจากนั้นโจทก์ทั้งสามขอออกโฉนดที่ดินแต่ละส่วนของแต่ละคน เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามส่วนที่แต่ละคนขอรังวัดออกโฉนด อันเป็นการที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามมาตรา 55 การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
โจทก์ทั้งสามฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไปเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (เดิม)
โจทก์ทั้งสามฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไปเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยหนังสือมอบอำนาจปลอมและความประมาทเลินเล่อของเจ้าของที่ดิน ทำให้บุคคลภายนอกสุจริตได้สิทธิ
โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 และมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) หนังสือสำคัญที่ดินพิพาท หนังสือมอบอำนาจให้จดทะเบียนโอนของ ค. เจ้าของที่ดินเดิมและลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยที่ยังไม่กรอกข้อความให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 เป็นประกันหนี้กู้ยืมต่อมาจำเลยที่ 1 ปลอมหนังสือมอบอำนาจดังวกล่าวด้วยการกรอกข้อความโดยไม่ได้รับความยินยอมและฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้บุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ในที่ดินพิพาททั้งการที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่กรอกข้อความถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์ไม่อาจยกเอาความผิดของตนดังกล่าวมาปฏิเสธความผิดต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1151/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยโมฆะและการหักเงินชำระออกจากต้นเงิน: กรณีธนาคารคิดดอกเบี้ยเกินสิทธิ
ธนาคาร ก. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิ แต่เป็นการคิดดอกเบี้ยและนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระไปชำระดอกเบี้ยที่โจทก์กระทำไปฝ่ายเดียว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่เพียงแต่ชำระเงินให้ธนาคาร ก. เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 กระทำการอันใดตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ หรือเป็นการชำระหนี้โดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย เมื่อธนาคาร ก. ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเนื่องจากข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จึงต้องนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระให้ไปแล้วทั้งหมดหักออกจากต้นเงินที่ค้างชำระ