พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5634/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีนี้ไม่ใช่คดีมรดก แต่เป็นคดีเจ้าของรวมพิพาทกัน จึงไม่อาจใช้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
การฟ้องคดีมรดกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1754 หมายถึงคดีที่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งทรัพย์มรดก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาและเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ซึ่งมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลยในที่ดินและมีคำขอบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งทางด้านทิศตะวันตกตามที่ ม. มีสิทธิครอบครอง จำเลยให้การว่า ม. ยกที่ดินส่วนของ ม. ให้แก่จำเลย และจำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่ ม. ยกให้จนได้สิทธิครอบครองแล้ว ซึ่งเท่ากับเป็นการต่อสู้ว่า ม. มิใช่เจ้าของรวม แม้จำเลยจะให้การว่า ม. กับโจทก์ไม่มีบุตรด้วยกันและจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ ม. ก็เป็นการยกขึ้นอ้างเพื่อสนับสนุนว่า ม. ยกที่ดินส่วนของ ม. ให้แก่จำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การว่าจำเลยเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ม. ด้วยผู้หนึ่ง จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งทรัพย์มรดก แต่พิพาทกันในเรื่องความเป็นเจ้าของรวมที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความหาใช่การฟ้องคดีมรดกไป จึงไม่อาจนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาและเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ซึ่งมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลยในที่ดินและมีคำขอบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งทางด้านทิศตะวันตกตามที่ ม. มีสิทธิครอบครอง จำเลยให้การว่า ม. ยกที่ดินส่วนของ ม. ให้แก่จำเลย และจำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่ ม. ยกให้จนได้สิทธิครอบครองแล้ว ซึ่งเท่ากับเป็นการต่อสู้ว่า ม. มิใช่เจ้าของรวม แม้จำเลยจะให้การว่า ม. กับโจทก์ไม่มีบุตรด้วยกันและจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ ม. ก็เป็นการยกขึ้นอ้างเพื่อสนับสนุนว่า ม. ยกที่ดินส่วนของ ม. ให้แก่จำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้ให้การว่าจำเลยเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ม. ด้วยผู้หนึ่ง จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งทรัพย์มรดก แต่พิพาทกันในเรื่องความเป็นเจ้าของรวมที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความหาใช่การฟ้องคดีมรดกไป จึงไม่อาจนำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5578/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตฟ้องแย้ง: ประเด็นไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม และกระทบสิทธิบุคคลภายนอก ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยได้ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการรังวัดสอบเขตเพื่อแก้ไขรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินของจำเลยให้ถูกต้องแต่โจทก์ไปคัดค้าน จึงขอให้บังคับโจทก์ยินยอมรับการสอบเขตที่ดินของจำเลย เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลย มูลคดีที่จำเลยฟ้องแย้งจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทตามประเด็นในคำฟ้องเดิมของโจทก์ซึ่งเป็นเรื่องขับไล่จำเลยผู้บุกรุกที่ดินของโจทก์ไม่อาจฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ส่วนที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาประทาย แก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ดินของโจทก์และจำเลยให้ตรงกับความจริงเป็นฟ้องแย้งที่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาประทายซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ศาลจะรับฟ้องแย้งในส่วนนี้ของจำเลยไว้พิจารณาไม่ได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามเรื่องการอ้างเหตุเดิมเพื่อขอให้ศาลพิจารณาคดีซ้ำหลังศาลฎีกาชี้ขาดแล้ว
เดิมศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ว่าโรงเรือนพิพาทปลูกสร้างอยู่บนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบ จำเลยไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวมาสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโดยเหตุว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยใหม่ในประเด็นข้ออื่น ไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้องว่าโรงเรือนพิพาทปลูกสร้างอยู่บนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาใหม่แล้ว จำเลยกลับยื่นฎีกาเข้ามาใหม่ขอให้ศาลฎีกายกฟ้องโจทก์โดยอ้างเหตุเดิมอีกว่า โรงเรือนพิพาทปลูกสร้างอยู่บนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาชี้ขาดคดีไปแล้ว ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5484/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องมีคู่ความและเหตุเดียวกัน หากจำเลยเป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการบังคับคดี ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
การที่จะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดในประเด็นใดโดยอาศัยเหตุอย่างใดแล้ว คู่ความเดียวกันจะรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นนั้น โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันนั้นอีกไม่ได้ แต่สำหรับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ธ.9861/2544 ของศาลชั้นต้นเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับ พ. ชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยและบังคับจำนองเนื่องจาก พ. ผิดนัดไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยเป็นเพียงผู้ซื้อทรัพย์จำนองจากการขายทอดตลาดของศาลในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 11353/2534 ที่ ส. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ พ. ขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์จำนองเพื่อนำเงินชำระหนี้แก่ ส. แม้จำเลยจะเป็นผู้ซื้อทรัพย์จำนอง แต่จำเลยก็มิได้เป็นคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ธ.9861/2544 ที่โจทก์ฟ้อง พ. ทั้งจำเลยมีสิทธิที่จะไถ่จำนองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 736 เมื่อจำเลยไม่ไถ่จำนองและโจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยตามมาตรา 735 แล้วแต่จำเลยเพิกเฉยถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ธ.9861/2544 ของศาลชั้นต้นแล้ว มูลคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้จึงเป็นคนละอย่างกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ธ.9861/2544 ของศาลชั้นต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5301/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความโมฆะจากข้อมูลเท็จ การฟ้องซ้ำ และการหลอกลวง
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่อยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองและสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนเป็นโมฆะ และให้จำเลยทั้งสามชำระเงินค่าที่ดินงวดที่ 1 จำนวน 2,100,000 บาท ที่โจทก์ชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยคืนแก่โจทก์ตามคำฟ้องดังกล่าวหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์กล่าวอ้าง สัญญาจะซื้อจะขายและข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่อาจบังคับให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญาได้ และมีผลทำให้คู่สัญญากลับคืนสู่สถานะเดิม จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินค่าที่ดินงวดที่ 1 ที่ได้รับชำระแล้วแก่โจทก์ และโจทก์ซึ่งได้รับความเสียหายมีสิทธิฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้อง ขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีก่อนไม่ผูกพันโจทก์ได้และโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวด้วย
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องขอให้บังคับโจทก์ชำระเงินตามเช็คซึ่งโจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยทั้งสามได้จัดให้จำเลยที่ 3 เข้าแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ได้สิทธิเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองแล้ว เมื่อครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเกินกว่า 5 ปี มีสิทธิได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) หลังจากนั้นสามารถออกโฉนดที่ดินได้ทันที ทำให้โจทก์หลงเชื่อว่าได้รับโอนที่ดินมาจากจำเลยที่ 1 โดยชอบ และสามารถออกโฉนดที่ดินได้โจทก์จึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันมีลักษณะทำนองว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะ คู่สัญญาปราศจากข้อผูกพันในอันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา และเงินค่าที่ดินงวดที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปแล้วเป็นลักษณะลาภมิควรได้ จำเลยที่ 1 ต้องคือแก่โจทก์และการที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 1 เป็นเพราะจำเลยทั้งสามหลอกลวงโจทก์และกระทำละเมิดต่อโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่เกิดขึ้นใหม่ หลังจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลบังคับได้ ดังนั้น ถือไม่ได้ว่าคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีนี้ จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องขอให้บังคับโจทก์ชำระเงินตามเช็คซึ่งโจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยทั้งสามได้จัดให้จำเลยที่ 3 เข้าแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ได้สิทธิเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองแล้ว เมื่อครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเกินกว่า 5 ปี มีสิทธิได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) หลังจากนั้นสามารถออกโฉนดที่ดินได้ทันที ทำให้โจทก์หลงเชื่อว่าได้รับโอนที่ดินมาจากจำเลยที่ 1 โดยชอบ และสามารถออกโฉนดที่ดินได้โจทก์จึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันมีลักษณะทำนองว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะ คู่สัญญาปราศจากข้อผูกพันในอันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา และเงินค่าที่ดินงวดที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปแล้วเป็นลักษณะลาภมิควรได้ จำเลยที่ 1 ต้องคือแก่โจทก์และการที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 1 เป็นเพราะจำเลยทั้งสามหลอกลวงโจทก์และกระทำละเมิดต่อโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่เกิดขึ้นใหม่ หลังจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลบังคับได้ ดังนั้น ถือไม่ได้ว่าคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีนี้ จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5264/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง แม้ไม่ได้นำสืบซ้ำ หากจำเลยยอมรับ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ โดยมิได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบในข้อนี้อีก แม้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 มิได้เป็นนายจ้างหรือใช้จำเลยที่ 1 ให้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้าง แต่เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ไปแล้ว คดีย่อมไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 อีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5144/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการตั้งวาง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ประกอบกิจการรับขนส่งตู้คอนเทนเนอร์และรับจ้างจากจำเลยที่ 1 ให้นำตู้คอนเทนเนอร์ของโจทก์ไปบรรจุสินค้าที่โรงงานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการตั้งวางตู้คอนเทนเนอร์ที่รับขนส่งให้มั่นคงปลอดภัยเพื่อการนำสินค้าเข้าบรรจุ การที่ ป. ขับรถไปจอดภายในโรงงานของจำเลยที่ 1 จากนั้นได้ปลดขาค้ำยันของหางลากที่บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ลง และปลดล็อกระหว่างรถบรรทุกหัวลากกับหางลาก เมื่อบริเวณที่ตั้งวางหางลากเป็นพื้นลาดเอียง ทำให้ด้านท้ายของหางลากซึ่งรับน้ำหนักด้วยล้ออยู่สูงกว่าด้านหน้า แต่ ป. ไม่นำแผ่นเหล็กคล้ายโต๊ะที่นำติดรถไปวางรองรับน้ำหนักของตู้คอนเทนเนอร์ที่อยู่บนหางลากให้มั่นคงแข็งแรง การที่ตู้คอนเทนเนอร์ของโจทก์ล้มลงจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของ ป. จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างจะปัดความรับผิดโดยอ้างว่าเป็นความผิดของพนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่ได้จัดเรียงสินค้าตามแนวยาวของตู้คอนเทนเนอร์และแม้พนักงานของจำเลยที่ 1 นำบันไดไปพาดวางไว้ที่ตู้คอนเทนเนอร์และบันไดดังกล่าวกระแทกถูกอุปกรณ์ทำความเย็นขณะตู้คอนเทนเนอร์ล้มลง ก็ต้องถือว่าความเสียหายดังกล่าวเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของ ป. อยู่นั่นเอง ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5071/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-อำนาจฟ้อง: ศาลชอบที่จะยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้ แม้ไม่เป็นไปตามรูปแบบ ป.วิ.พ. มาตรา 141
แม้ศาลจะยกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องโดยมิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 ที่บัญญัติไว้ว่าให้ทำเป็นหนังสือและต้องกล่าวหรือแสดงชื่อศาลที่พิพากษา ชื่อคู่ความทุกฝ่าย รายการแห่งคดี เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีตลอดทั้งค่าฤชาธรรมเนียมก็ตาม แต่ในชั้นตรวจคำฟ้อง เมื่อปรากฏจากคำฟ้องกับคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่อาจจะพิพากษาให้ได้เช่นนี้ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 (จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้) เป็นฟ้องซ้ำ ส่วนจำเลยที่ 2 (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) ไม่ใช่คู่สัญญา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) แล้ว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลชั้นต้นย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้ และการที่โจทก์ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งในคำฟ้องย่อมถือว่าทราบคำพิพากษาแล้วด้วย หาจำต้องสั่งรับฟ้องก่อนแล้วกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษาและอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังก่อนดังที่โจทก์ฎีกาไม่
เมื่อศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีก แม้จะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
เมื่อศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีก แม้จะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์ไม่ครบถ้วน ถือเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลจำหน่ายคดีชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงนอกฟ้องและคำให้การไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. ทั้งมิได้นั่งพิจารณาให้ครบองค์คณะไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี หากศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีใหม่ ย่อมมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นอันถูกยกเลิกเพิกถอนไป ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิด จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าว การที่จำเลยอุทธรณ์โดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท อย่างคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงไม่ถูกต้อง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มและจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว แต่ไม่ยอมชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4997/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในวัตถุแห่งนิติกรรม-อายุความ-ละเมิด: ศาลปรับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้-สิทธิติดตามทรัพย์สินไม่มีอายุความ
ในวันนัดจดทะเบียนขายฝากที่ดิน โจทก์ให้จำเลยที่ 1 พาโจทก์ไปดูที่ดินที่จะขายฝาก จำเลยที่ 1 กลับชี้ให้โจทก์ดูที่ดินของผู้อื่นซึ่งอยู่ติดถนนลาดยางแปลงเดียวกับที่จำเลยที่ 2 เคยพาบุคคลอื่นไปดู ซึ่งมิใช่ที่ดินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 2 หลอกลวงโจทก์ให้รับซื้อฝากที่ดินต่อโจทก์ ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงนายหน้าของจำเลยที่ 1 หรือเป็นผู้ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 แล้วนำไปขายต่อให้แก่โจทก์ และไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์หวังผลกำไรจากการรับซื้อฝากที่ดินหรือไม่ เพราะมิใช่สาระสำคัญที่จะทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป การที่โจทก์หลงเชื่อและรับฝากที่ดินไว้จากจำเลยที่ 1 โดยเข้าใจว่าเป็นที่ดินแปลงที่อยู่ติดถนนลาดยางตามที่จำเลยที่ 1 นำชี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และเป็นกรณีที่โจทก์แสดงเจตนารับซื้อฝากที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม อันเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 มีผลเท่ากับการขายฝากที่ดินมิได้เกิดมีขึ้น และไม่ก่อสิทธิใด ๆ แก่จำเลยที่ 1 ที่จะยึดถือเอาเงินของโจทก์ไว้ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
โจทก์ตั้งเรื่องฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองสมคบกันหลอกลวงโจทก์โดยนำชี้และอ้างว่าที่ดินของผู้อื่นซึ่งอยู่ติดถนนลาดยางเป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อ จึงรับซื้อฝากและมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง ความจริงแล้วที่ดินโฉนดดังกล่าวอยู่ห่างไกลถนนและมีราคาต่ำกว่าที่โจทก์รับซื้อฝากไว้มากหากโจทก์ทราบความจริงจะไม่รับซื้อฝาก การบรรยายฟ้องดังกล่าวเป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงในลักษณะเล่าเรื่องให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงเข้ากับตัวบทกฎหมายเพื่อวินิจฉัยคดี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงและฟังว่าโจทก์แสดงเจตนารับซื้อฝากที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 ก็ดี หรือศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยข้อเท็จจริงและฟังว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 ก็ดี จึงเป็นการปรับข้อเท็จจริงที่ได้ความเข้ากับตัวบทกฎหมายเพื่อวินิจฉัยถึงสิทธิของคู่ความแต่ละฝ่าย ซึ่งหากจำเลยทั้งสองมิได้หลอกลวงโจทก์และโจทก์มิได้แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดแล้ว จำเลยทั้งสองก็ไม่ต้องรับผิดคืนเงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง กรณีมิใช่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องหรือพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงโจทก์ให้รับซื้อฝากที่ดินของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์หลงเชื่อและเสียเงินให้แก่จำเลยทั้งสองไป 1,500,000 บาท และมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ 1,500,000 บาท เท่ากับราคาที่ดินที่ซื้อฝากซึ่งโจทก์ได้มอบให้แก่จำเลยทั้งสองไปนั้น มิใช่คำฟ้องในเรื่องละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี เพียงอย่างเดียว แต่มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืนจากจำเลยทั้งสองผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ด้วย ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ ส่วนดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นค่าเสียหายนั้นคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในความผิดฐานฉ้อโกง โจทก์ฟ้องคดีในระหว่างที่คดีอาญายังไม่เด็ดขาด จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง
โจทก์ตั้งเรื่องฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองสมคบกันหลอกลวงโจทก์โดยนำชี้และอ้างว่าที่ดินของผู้อื่นซึ่งอยู่ติดถนนลาดยางเป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อ จึงรับซื้อฝากและมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง ความจริงแล้วที่ดินโฉนดดังกล่าวอยู่ห่างไกลถนนและมีราคาต่ำกว่าที่โจทก์รับซื้อฝากไว้มากหากโจทก์ทราบความจริงจะไม่รับซื้อฝาก การบรรยายฟ้องดังกล่าวเป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงในลักษณะเล่าเรื่องให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงเข้ากับตัวบทกฎหมายเพื่อวินิจฉัยคดี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงและฟังว่าโจทก์แสดงเจตนารับซื้อฝากที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 ก็ดี หรือศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยข้อเท็จจริงและฟังว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 ก็ดี จึงเป็นการปรับข้อเท็จจริงที่ได้ความเข้ากับตัวบทกฎหมายเพื่อวินิจฉัยถึงสิทธิของคู่ความแต่ละฝ่าย ซึ่งหากจำเลยทั้งสองมิได้หลอกลวงโจทก์และโจทก์มิได้แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดแล้ว จำเลยทั้งสองก็ไม่ต้องรับผิดคืนเงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง กรณีมิใช่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องหรือพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงโจทก์ให้รับซื้อฝากที่ดินของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์หลงเชื่อและเสียเงินให้แก่จำเลยทั้งสองไป 1,500,000 บาท และมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ 1,500,000 บาท เท่ากับราคาที่ดินที่ซื้อฝากซึ่งโจทก์ได้มอบให้แก่จำเลยทั้งสองไปนั้น มิใช่คำฟ้องในเรื่องละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี เพียงอย่างเดียว แต่มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืนจากจำเลยทั้งสองผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ด้วย ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ ส่วนดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นค่าเสียหายนั้นคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในความผิดฐานฉ้อโกง โจทก์ฟ้องคดีในระหว่างที่คดีอาญายังไม่เด็ดขาด จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง