พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล ทำให้คดีขาดอายุความและศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 1,042,857.79 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2529 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ต้องชำระดอกเบี้ยทั้งหมด จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาตามจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกา 200 บาท อย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นการไม่ถูกต้อง เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่จากจำเลยให้ครบถ้วน และศาลชั้นต้นได้มีหมายแจ้งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่แล้ว แต่จำเลยไม่ยอมชำระ ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาภายในกำหนดถือเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามกฎหมาย
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาไม่ถูกต้อง เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่จากจำเลยให้ครบถ้วน และศาลชั้นต้นได้มีหมายแจ้งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ยังขาดอยู่แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ยอมชำระกรณีถือได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ยอมชำระ กรณีถือได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีพิพาททรัพย์สิน: ทุนทรัพย์และปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองให้การว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสอง แต่เป็นที่สาธารณประโยชน์โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้ใหญ่บ้านได้รับมอบอำนาจจากองค์การบริหารส่วนตำบลให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสองในข้อหาบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ และโต้แย้งคัดค้านการที่โจทก์ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้เป็นการพิพาทกันในตัวทรัพย์คือที่ดินพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ จึงเป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
โจทก์ระบุไว้ในคำฟ้องว่า ที่ดินที่พิพาทมีราคาไม่น้อยกว่า 100,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับให้โจทก์ชนะคดี จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ทุนทรัพย์แห่งคดีในชั้นฎีกาจึงมีจำนวน 100,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ระบุไว้ในคำฟ้องว่า ที่ดินที่พิพาทมีราคาไม่น้อยกว่า 100,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับให้โจทก์ชนะคดี จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ทุนทรัพย์แห่งคดีในชั้นฎีกาจึงมีจำนวน 100,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4787/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความรับผิดของผู้ขนส่งและการสะดุดหยุดของอายุความจากหนังสือรับสภาพหนี้
โจทก์เดินทางจากกรุงเทพมหานครไปถึงจังหวัดอุดรธานีในวันที่ 25 กรกฎาคม 2541 อันเป็นวันที่จำเลยควรจะส่งมอบกระเป๋าเดินทางสูญหายให้แก่โจทก์ อายุความย่อมเริ่มตั้งแต่วันดังกล่าว แม้โจทก์จะฟ้องคดีวันที่ 9 สิงหาคม 2542 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว แต่เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2541 จำเลยได้มีหนังสือยินยอมชดใช่ค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน 400 ดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้จะไม่เต็มตามจำนวนที่โจทก์เรียกร้อง ก็เป็นหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2542 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การประเมินราคาทรัพย์สินใหม่เพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมเมื่อราคาเดิมสูงเกินไป
ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง และตาราง 5 หมายเลข 3 (เดิม) ท้าย ป.วิ.พ. ที่กำหนดว่า ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย โจทก์ผู้นำยึดและขอถอนการยึดต้องเสียในอัตราร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึด ส่วนการคำนวณราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กำหนด ถ้าไม่ตกลงกันให้คู่ความที่เกี่ยวข้องเสนอเรื่องต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 นั้น หมายถึงเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึด แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวยังให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กำหนดราคมทรัพย์สินที่ยึดเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย ส่วนการประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวเป็นการประเมินราคาเบื้องต้นเท่านั้น ยังถือเป็นราคาทรัพย์สินที่แน่นอนแล้วไม่ได้ ดังนั้น หากพฤติการณ์ต่างๆ ปรากฏในภายหลังว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในขณะทำการยึดนั้นไม่เหมาะสมหรือสูงเกินไป เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินใหม่นี้ถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดีคำนวณจากราคาประเมินทรัพย์สินใหม่ที่เหมาะสม ไม่ใช่ยอดหนี้ตามคำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง ตาราง 5 หมายเลข 3 (เดิม) ท้าย ป.วิ.พ. ที่กำหนดให้ผู้นำยึดและขอถอนการยึดต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในอัตราร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึด หมายถึงเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึดแต่ไม่เกินจำนวนที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวยังให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กำหนดราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย ส่วนการประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวเป็นการประเมินราคาเบื้องต้นเท่านั้น ยังถือเป็นราคาทรัพย์สินที่แน่นอนแล้วไม่ได้ ดังนั้น หากปรากฏในภายหลังว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในขณะทำการยึดนั้นไม่เหมาะสมหรือสูงเกินไป เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเสียใหม่ให้เหมาะสมได้
เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาที่ดินที่ยึดตารางวาละ 10,000 บาท เป็นเงิน 1,160,000 บาท และประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างที่ยึดเป็นเงิน 15,000 บาท ต่อมาได้ประกาศขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแล้วรวม 17 ครั้ง เป็นเวลานานถึง 2 ปีเศษ แต่ไม่มีผู้ใดเสนอราคาสูงถึงราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ แสดงว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในครั้งแรกเป็นราคาที่สูงเกินไป เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินใหม่นี้ถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์ที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดใหม่เป็นเงิน 595,000 บาท โจทก์จึงต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่ง จากเงินจำนวนดังกล่าว
เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาที่ดินที่ยึดตารางวาละ 10,000 บาท เป็นเงิน 1,160,000 บาท และประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างที่ยึดเป็นเงิน 15,000 บาท ต่อมาได้ประกาศขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแล้วรวม 17 ครั้ง เป็นเวลานานถึง 2 ปีเศษ แต่ไม่มีผู้ใดเสนอราคาสูงถึงราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ แสดงว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในครั้งแรกเป็นราคาที่สูงเกินไป เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินใหม่นี้ถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์ที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดใหม่เป็นเงิน 595,000 บาท โจทก์จึงต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่ง จากเงินจำนวนดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4399/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลกรณีร้องสอด - การโอนสิทธิเรียกร้องจากผู้ล้มละลาย - ค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ไม่ถูกต้อง
ผู้ร้องเป็นผู้ชนะการประมูลขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ผู้ล้มละลาย และได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้องกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งได้ชำระราคาต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จึงรับโอนสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยตามคำพิพากษาในคดีนี้ด้วย การที่ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาในคดีก็เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่แล้ว หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ทำให้ผู้ร้องได้ทรัพย์สินใด ๆ เพิ่มเติมขึ้น ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าคำร้อง 20 บาท ตามที่ระบุไว้ในตาราง 2 (3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: โอนคดีจากศาลจังหวัดไปศาลแขวงเมื่อมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท
การที่โจทก์จะนำคดีขึ้นสู่ศาลใดนั้นจะต้องพิจารณาว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดเป็นสำคัญ เมื่อคดีอยู่ในอำนาจของศาลใดแล้ว อีกศาลหนึ่งไม่มีอำนาจรับคดีเรื่องนั้นไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่จะมีบทกฎหมายบัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะรับคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษาได้ ซึ่งคดีเรื่องนี้แม้ศาลจังหวัดพิษณุโลกได้รับฟ้องโจทก์ไว้และมีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จนเสร็จและอยู่ระหว่างนัดสืบพยานจำเลยดังที่โจทก์อุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงพิษณุโลกตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดพิษณุโลกเสียแล้ว ศาลจังหวัดพิษณุโลกย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดพิษณุโลกที่จะใช้ดุลพินิจรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ด้วย ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดพิษณุโลกมีคำสั่งให้โอนคดีเรื่องนี้ไปยังศาลแขวงพิษณุโลกซึ่งเป็นศาลที่เขตอำนาจพิพากษาคดีได้นั้นเป็นการชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4091/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต การฟ้องบังคับชำระหนี้ขัดต่อหลักความยุติธรรม
จำเลยติดต่อขอชำระหนี้ และส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่รับชำระหนี้กลับยื่นฟ้องจำเลย การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์เพื่อบังคับจำเลยชำระหนี้ทั้งหมดเป็นการอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้โจทก์ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4091/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จะมีการผิดนัดชำระหนี้บางส่วน
ตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ โจทก์ให้จำเลยผ่อนชำระเงินเป็นงวด งวดละ 7,000 บาท โดยโจทก์หักเงินเดือนจำเลยทุก ๆ สิ้นเดือน และจะหักเงินโบนัสประจำปีของทุก ๆ ปี เป็นเงื่อนไขสำคัญในการชำระหนี้ เมื่อโจทก์เลิกจ้างจำเลย วิธีการชำระหนี้ตามที่ตกลงกันย่อมไม่สามารถกระทำต่อไปได้อีก แต่ก่อนหนี้จะถึงกำหนดชำระในงวดเดือนกันยายน 2541 จำเลยได้มีหนังสือถึงโจทก์เพื่อขอชำระหนี้โดยการโอนเงินค่างวดเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ โดยให้โจทก์แจ้งหมายเลขบัญชีและธนาคารที่โจทก์ให้โอนเงินให้จำเลยทราบเพื่อจะได้โอนเงินให้ทุกวันสิ้นเดือน โจทก์ได้รับหนังสือแล้ว แต่หาแจ้งให้จำเลยทราบไม่ จำเลยจึงต้องแจ้งโจทก์อีก 2 ครั้ง แต่โจทก์กลับเพิกเฉยเช่นเดิม จำเลยจึงได้ชำระหนี้โจทก์โดยส่งเงินทางไปรษณีย์ธนาณัติ แต่โจทก์กลับปฏิเสธไม่ยอมรับ ซ้ำกลับทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดโดยอ้างว่าจำเลยผิดนัดจนจำเลยต้องนำเงินไปวางชำระหนี้ที่สำนักงานวางทรัพย์ แสดงให้เห็นถึงความขวนขวายที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์เพื่อขอบังคับจำเลยชำระหนี้ทั้งหมดเป็นการอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้โจทก์ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่อีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง