พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และสิทธิในการฎีกา
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งงดสืบพยานจำเลย โดยมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้น แล้วให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยและมีคำพิพากษาใหม่จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 กล่าวคือ จำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เพราะหากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้น แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีใหม่ตามคำขอของจำเลย ก็จะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของสิทธิครอบครองและกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยถูกยกเลิกเพิกถอน ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอยู่ในตัวนั่นเอง จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการรับวินิจฉัยโดยไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247 และถือไม่ได้ว่าฎีกาของโจทก์เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินที่เป็นมรดกส่วนตัว แม้เป็นส่วนหนึ่งของสินสมรส สิทธิในทรัพย์สินนั้นยังคงเป็นของทายาท
โจทก์ขอให้บังคับคดีและนำยึดบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของผู้ร้องออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าบ้านเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องแต่ผู้เดียว มิใช่สินสมรสของจำเลยกับผู้ร้อง แม้ตามคำร้องขอจะมิได้อ้างว่าเป็นบ้านที่ผู้ร้องได้มาโดยการรับมรดกร่วมกับพี่น้องตามที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างมาในฎีกาก็ตาม แต่ก็เป็นการอ้างถึงที่มาเพื่อแสดงให้เห็นว่าบ้านดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธินำยึดนั่นเอง ผู้ร้องจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในฎีกาได้ เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในประเด็นตามคำร้อง มิใช่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
บ้านที่โจทก์นำยึดออกขายทอดตลาดซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของผู้ร้องเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาโดยการรับมรดกร่วมกับทายาทอื่นของ ล. สิทธิของผู้ร้องในบ้านจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 (3) มิใช่สินสมรสที่โจทก์จะมีสิทธินำยึดได้ และผู้ร้องในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งย่อมใช้สิทธิครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนได้ตามมาตรา 1359 จึงมีอำนาจร้องขัดทรัพย์
บ้านที่โจทก์นำยึดออกขายทอดตลาดซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของผู้ร้องเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาโดยการรับมรดกร่วมกับทายาทอื่นของ ล. สิทธิของผู้ร้องในบ้านจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 (3) มิใช่สินสมรสที่โจทก์จะมีสิทธินำยึดได้ และผู้ร้องในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งย่อมใช้สิทธิครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนได้ตามมาตรา 1359 จึงมีอำนาจร้องขัดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตขายทรัพย์สินยึดโดยลูกหนี้ตามมาตรา 307 ป.วิ.พ. ต้องเป็นไปเพื่อชำระหนี้จากรายได้ประจำปี ไม่ใช่การขายแทนการบังคับคดี
คำร้องของจำเลยอ้างว่า จำเลยมีรายได้ประจำปีจากการพาณิชยกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของหมู่บ้านจัดสรร ที่ดินพร้อมบ้านที่โจทก์นำยึดมีลูกค้าตกลงจะซื้อจากจำเลยแล้ว ซึ่งจะทำให้ได้รับเป็นรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา อันเป็นข้อที่กล่าวอ้างเพื่อขอให้ศาลอนุญาตให้จำเลยเป็นผู้ขายทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดให้แก่ลูกค้าของจำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขาย โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ซึ่งหากศาลอนุญาตย่อมมีผลเป็นการงดการบังคับคดีไปในตัว แม้จำเลยจะกล่าวอ้างในคำร้องต่อไปว่าโจทก์ไม่แจ้งเรื่องดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีหมายแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้ลูกค้าของจำเลยทราบ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยและการบังคับคดี ทั้งได้อ้างมาตรา 296 มาในคำร้องด้วย แต่จำเลยก็มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งตามมาตรา 296 เพียงแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีและอนุญาตให้จำเลยเป็นผู้ขายทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดให้แก่ลูกค้าของจำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น ซึ่งเห็นได้ว่าจำเลยประสงค์ที่จะขอให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งตามมาตรา 307 เป็นสำคัญ คำร้องของจำเลยจึงมิได้ขัดแย้งกันเอง
ป.วิ.พ. มาตรา 307 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น เป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษา ให้มีโอกาสชำระหนี้จากรายได้ประจำปีโดยไม่ต้องขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกยึด การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลเพื่ออนุญาตให้จำเลยเป็นผู้ขายทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์นำยึดซึ่งยังคงต้องขายทรัพย์สินดังกล่าว จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 307 ทั้งมีผลเท่ากับให้จำเลยเป็นผู้ขายทรัพย์สินดังกล่าวเสียเองแทนการขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งไม่อาจกระทำได้โดยชอบ จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียโดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน ไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 21
ป.วิ.พ. มาตรา 307 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น เป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษา ให้มีโอกาสชำระหนี้จากรายได้ประจำปีโดยไม่ต้องขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกยึด การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลเพื่ออนุญาตให้จำเลยเป็นผู้ขายทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์นำยึดซึ่งยังคงต้องขายทรัพย์สินดังกล่าว จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 307 ทั้งมีผลเท่ากับให้จำเลยเป็นผู้ขายทรัพย์สินดังกล่าวเสียเองแทนการขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งไม่อาจกระทำได้โดยชอบ จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียโดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน ไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 21
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตขายทรัพย์สินที่ถูกยึดเพื่อชำระหนี้ตามมาตรา 307 ป.วิ.พ. ศาลไม่อนุญาตหากไม่เข้าเงื่อนไข
ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 มีรายได้ประจำปีจากการพาณิชยกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของหมู่บ้านจัดสรร ที่ดินพร้อมบ้านที่โจทก์นำยึดทั้งสองแปลงมีลูกค้าตกลงจะซื้อจากจำเลยที่ 1 แล้ว ซึ่งจะทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับเงินเป็นรายได้รวม 7,875,000 บาท เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา อันเป็นข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างเพื่อขอให้ศาลอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ซึ่งหากศาลอนุญาตย่อมมีผลเป็นการงดการบังคับคดีไปในตัว แม้จำเลยที่ 1 จะกล่าวอ้างในคำร้องต่อไปว่า โจทก์ไม่แจ้งเรื่องดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีหมายแจ้งประกาศขายทอดตลาดให้ลูกค้าของจำเลยที่ 1 ทราบ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 และการบังคับคดี ทั้งได้อ้างมาตรา 296 แห่ง ป.วิ.พ. มาในคำร้องด้วยก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 เพียงแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีและอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น ซึ่งเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ที่จะขอให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งตามมาตรา 307 เป็นประการสำคัญ คำร้องของจำเลยที่ 1 จึงมิได้ขัดแย้งกันเอง แต่อย่างไรก็ตาม มาตรา 307 แห่ง ป.วิ.พ. ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น เป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีรายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์หรือมีการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกสิกรรม อยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดนั้น ให้มีโอกาสชำระหนี้จากรายได้ประจำปีโดยไม่จำต้องขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกยึด การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่ออนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์นำยึดซึ่งยังคงต้องขายทรัพย์สินดังกล่าว จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 307 ทั้งมีผลเท่ากับให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายทรัพย์สินดังกล่าวเสียเองแทนการขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งไม่อาจกระทำโดยชอบ ดังนั้น แม้ศาลจะไต่สวนได้ความตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องนั้นได้ จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียโดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน หาเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 21 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีประกันภัยค้ำจุน: นับแต่วันเกิดเหตุวินาศภัย ตามมาตรา 882 มิใช่นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้สิทธิ
การประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 เป็นการประกันวินาศภัยอย่างหนึ่ง ซึ่งบัญญัติแยกไว้ในส่วนที่ 3 ของหมวด 2 อายุความฟ้องร้องให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิด จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 ซึ่งบัญญัติเป็นบทเบ็ดเสร็จทั่วไปในส่วนที่ 1 ของหมวดเดียวกัน อันเป็นกำหนดอายุความที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจเทียบได้กับกรณีประกันชีวิตซึ่งบัญญัติไว้ในหมวดอื่นและไม่อาจนำอายุความทั่วไปตามมาตรา 193/30 มาใช้บังคับแก่กรณีประกันภัยค้ำจุนได้
การเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดในค่าสินไหมทดแทนนั้น ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง บัญญัติว่า "บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง...ฯลฯ" โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในค่าสินไหมทดแทนได้โดยไม่จำต้องแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาก่อน ทั้งอายุความฟ้องร้องตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันวินาศภัยก็เป็นการบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าให้นับแต่วันเกิดวินาศภัย จึงไม่อาจนำหลักทั่วไปในการนับอายุความตามมาตรา 193/12 มาบังคับใช้แก่กรณีนี้หรือนำมาตีความเป็นอย่างอื่นได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันวินาศภัยคดีของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 4 จึงขาดอายุความ
การเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดในค่าสินไหมทดแทนนั้น ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง บัญญัติว่า "บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง...ฯลฯ" โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในค่าสินไหมทดแทนได้โดยไม่จำต้องแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาก่อน ทั้งอายุความฟ้องร้องตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันวินาศภัยก็เป็นการบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าให้นับแต่วันเกิดวินาศภัย จึงไม่อาจนำหลักทั่วไปในการนับอายุความตามมาตรา 193/12 มาบังคับใช้แก่กรณีนี้หรือนำมาตีความเป็นอย่างอื่นได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันวินาศภัยคดีของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 4 จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรวมคดีมูลหนี้หลายราย การจำหน่ายคดี และสิทธิในการฟ้องใหม่
มูลหนี้ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้ง 7 ข้อหา เป็นมูลหนี้ที่โจทก์ได้ซื้อและรับโอนสิทธิเรียกร้องรวมทั้งหนี้สินที่จำเลยทั้งสี่มีอยู่กับเจ้าหนี้เดิมจำนวน 7 ราย แต่เจ้าหนี้เดิมของจำเลยทั้งสี่เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน มูลหนี้ที่จำเลยทั้งสี่จะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เดิมแต่ละรายไม่มีความเกี่ยวข้องกัน และมีจำนวนเงินที่แยกออกจากกันได้ จึงมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับแตกต่างกัน ไม่เกี่ยวข้องกันและสามารถแยกจากกันได้ การที่โจทก์รวมข้อหาทั้ง 7 ข้อหาเป็นคดีเดียว และเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดเพียงจำนวนเดียว จึงไม่ถูกต้อง ศาลล่างชอบที่จะจำหน่ายคดีโดยให้โจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ในมูลหนี้แต่ละรายได้ และการที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าวเป็นอำนาจทั่วไปของศาล เมื่อเห็นว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบที่จะฟ้องรวมกัน ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งให้จำหน่ายคดีเสียได้ เพื่อให้โจทก์นำคดีไปฟ้องใหม่ให้ถูกต้องภายในอายุความ มิใช่ต้องยกฟ้องโจทก์ และการที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีโจทก์มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นถึงอำนาจฟ้องของโจทก์หรือเป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาของคดี โจทก์ย่อมสามารถนำคดีมาฟ้องใหม่ได้โดยเสียค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อทรัพย์สินจากการล้มละลาย: การเข้าเป็นคู่ความบังคับคดีเพื่อคุ้มครองสิทธิเรียกร้อง
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ส่วนที่ 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่รวบรวมได้มา เป็นการดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวสิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจึงควรได้รับความรับรองคุ้มครอง และบังคับตาม ดังนั้น หากผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้ โดยไม่จำต้องให้มีผู้ใดมาโต้แย้งสิทธิก่อนและเมื่อผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกคดี การขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนที่มีอยู่ผู้ร้องจึงต้องร้องขอเข้ามาในคดีตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ โดยผู้ร้องไม่จำต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ซ้ำซ้อนกับที่โจทก์เคยเสียไว้แล้วอีก ที่ศาลชั้นต้นด่วนวินิจฉัยและมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องมานั้น ศาลฎีกามีอำนาจส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย: สิทธิของผู้ซื้อและขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ว่าด้วยวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนที่ 4 ว่าด้วยการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดโดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่รวบรวมได้มาโดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่อยู่ในอำนาจจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 ไม่ ทั้งตามมาตรา 22 (1) ก็ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป ส่วนมาตรา 111 และ 112 ที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นอ้างก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับในกรณีที่ลูกหนี้ตกเป็นบุคคลล้มละลาย หาได้ใช้บังคับในกรณีที่เจ้าหนี้ตกเป็นบุคคลล้มละลายเช่นนี้ด้วยไม่ ดังนั้น หากเป็นความจริงตามข้ออ้างของผู้ร้องว่า ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าวย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดี, จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ, ไม่มีสิทธิขอพิจารณาคดีใหม่, ฟ้องคดีใหม่
โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยแถลงไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีต่อไป ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 202 กรณีเช่นนี้แม้มาตรา 203 มิได้บัญญัติห้ามมิให้โจทก์มีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ แต่การที่โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้จะต้องมีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวเป็นสำคัญ เมื่อโจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสร็จสิ้นไปแล้ว จึงไม่มีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ สิทธิของโจทก์มีอยู่ทางเดียวคือต้องฟ้องคดีใหม่ภายในอายุความตามาตรา 203 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1643/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องจากผู้ล้มละลาย: การเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี
โจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครองและบังคับตาม ดังนั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้