คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชัชลิต ละเอียด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6116-6117/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี: ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 734 วรรคสอง เป็นกรณีที่มีการจำนองทรัพย์หลายสิ่งเพื่อประกันหนี้รายหนึ่งรายเดียวโดยมิได้ระบุลำดับไว้ เมื่อผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับแก่ทรัพย์สินทั้งหมดพร้อมกันจึงแบ่งกระจายภาระแห่งหนี้ไปตามจำนวนเงินจำนองที่ระบุไว้เฉพาะทรัพย์สินนั้นๆ แต่ผู้ร้องมิใช่ผู้รับจำนองที่ใช้สิทธิดังกล่าว เมื่อโจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ต่อเมื่อชำระหนี้จำนองให้แก่ผู้ร้องแล้วยังคงมีเงินเหลือจากการขายทอดตลาดเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิยกเหตุตามมาตราดังกล่าวขึ้นอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6116-6117/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุริมสิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี และลำดับการชำระหนี้
ผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองทรัพย์พิพาทย่อมมีบุริมสิทธิที่จะบังคับเหนือทรัพย์พิพาทเพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์พิพาทก่อนเจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วย และการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์พิพาทได้ ดังนั้น เมื่อเอาทรัพย์พิพาทขายทอดตลาดโดยปลอดจำนอง ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองทรัพย์พิพาทจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วย โจทก์จะอ้างว่าจำเลยจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ผู้ร้องหลายแปลงโดยมิได้ระบุลำดับไว้ภาระแห่งหนี้จึงต้องกระจายไปตามส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 734 วรรคสอง นั้น หาได้ไม่ เนื่องจากมาตราดังกล่าวเป็นการจำนองทรัพย์หลายสิ่งเพื่อประกันหนี้รายหนึ่งรายเดียวโดยมิได้ระบุลำดับไว้ เมื่อผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับแก่ทรัพย์สินทั้งหมดพร้อมกันจึงให้แบ่งกระจายภาระแห่งหนี้ไปตามจำนวนเงินจำนองที่ระบุไว้เฉพาะทรัพย์สิ่งนั้น ๆ แต่คดีนี้ผู้ร้องมิใช่ผู้รับจำนองที่ใช้สิทธิดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อโจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญซึ่งจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ต่อเมื่อชำระหนี้จำนองให้แก่ผู้รับจำนองแล้วยังคงมีเงินเหลือจากการขายทอดตลาดเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิยกเหตุตามมาตราดังกล่าวขึ้นอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6028/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้เช็ค, การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย, และขอบเขตอำนาจศาล
จำเลยที่ 1 ยกข้อต่อสู้เรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความเป็นประเด็นไว้ในคำให้การ แม้จำเลยที่ 3 ให้การไม่ชัดแจ้งทำให้คำให้การของจำเลยที่ 3 ไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ และจำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ว่า พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญดังเช่นที่จำเลยที่ 1 ให้การไว้ก็ตาม แต่คดีนี้มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ป.วิ.พ. มาตรา 59 บัญญัติให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน กระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ย่อมถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะมิใช่เป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่นๆ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) จำเลยที่ 3 จึงมีสิทธิฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่าเช็คธนาคาร ธ. เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลดให้แก่บริษัท ง. ตามสัญญาขายลดเช็ค จำเลยที่ 1 ให้การว่าได้ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คเสร็จสิ้นแล้ว เช็คธนาคาร ธ. เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ประเภทอื่น แต่พยานจำเลยที่ 1 คงมีเพียง พ. ทนายจำเลยที่ 1 ปากเดียวเบิกความว่าเช็คธนาคาร ธ. เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ให้แก่บริษัท ง. หลังจากมีการเดินบัญชีตามสัญญาขายลดเช็คแล้วเท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้นำสืบปฏิเสธว่าเช็คธนาคาร ธ. เป็นเช็คที่สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ประเภทอื่นดังที่ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัท ง. กับจำเลยที่ 1 มีหนี้ประเภทอื่นที่ต้องชำระต่อกันอีก ดังนั้น แม้หากจะฟังข้อเท็จจริงตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ว่า เช็คธนาคาร ธ. ไม่ใช่เช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลด แต่เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายภายหลังเพื่อชำระหนี้ให้แก่บริษัท ง. ก็ตาม ก็ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คธนาคาร ธ. เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค และหนี้เงินต้นจำนวน 185,908.46 บาท ที่ค้างชำระอยู่ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2542 เป็นหนี้ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คตามที่โจทก์ฟ้องนั่นเองซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/30 กรณีไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ซึ่งเป็นกำหนดอายุความที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็คมาบังคับแก่คดีดังที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 อ้างมาในฎีกาได้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้อำนาจในการสั่งรับหรือไม่รับคำโต้แย้งของคู่ความตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ไว้พิจารณาจะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 264 วรรคสอง แต่อำนาจในการวินิจฉัยว่าคำโต้แย้งของคู่ความเข้าหลักเกณฑ์ที่จะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่นั้นย่อมเป็นอำนาจของศาลยุติธรรมตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง หาใช่ว่าเมื่อคู่ความมีคำโต้แย้งอย่างไรแล้วศาลยุติธรรมจะต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยทุกกรณีไม่ คดีนี้จำเลยที่ 1 ให้การมีใจความสำคัญเพียงว่า พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่ของรัฐสั่งปิดกิจการและขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินได้โดยไม่มีเหตุสมควรและกำหนดราคาขายได้ตามอำเภอใจ ทำให้ขายสินทรัพย์ได้ในราคาต่ำโดยที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินยังคงเป็นหนี้เท่าเดิม เป็นการจำกัดและลิดรอนสิทธิของประชาชนไม่ให้เป็นไปโดยอิสระตามกลไกตลาด ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน คำโต้แย้งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าบทบัญญัติแห่ง พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตราใดที่ให้อำนาจหน้าที่ของรัฐสั่งปิดกิจการและขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินได้ โดยไม่มีเหตุสมควรและกำหนดราคาขายได้ตามอำเภอใจ และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตราใดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 จึงไม่อาจพิจารณาได้ว่าเป็นกรณีที่ยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 การที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ส่งคำโต้แย้งของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง จึงชอบแล้ว และคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวก็มิใช่เป็นการวินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5874/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลให้วางเงินประกันเพื่อคัดค้านการขายทอดตลาด หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง คำสั่งยกคำร้องถือเป็นที่สุด
การที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด โดยอ้างว่าราคาที่ได้มีจำนวนต่ำเกินสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสองนั้น ในวรรคสามของมาตราดังกล่าวให้นำวรรคห้าของมาตรา 296 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยวางเงินจำนวน 50,000 บาท ภายใน 15 วัน เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่จำเลยโต้แย้งและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นแล้ว คำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5816/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: การพักยอดเรียกเก็บชั่วคราวไม่ตัดอายุความ เริ่มนับเมื่อโจทก์แจ้งเรียกเก็บใหม่
จำเลยเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ โดยจำเลยมีสิทธินำบัตรไปใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าและบริการจากสถานประกอบการและถอนเงินสดจากธนาคารที่เป็นสมาชิกของโจทก์ และโจทก์ตกลงออกเงินทดรองจ่ายให้แก่สถานประกอบการและธนาคารแทนจำเลยไปก่อนแล้วจึงรวบรวมหลักฐานเรียกเก็บเงินจากจำเลย จำเลยจะต้องชำระเงินที่เรียกเก็บแก่โจทก์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ส่งใบเรียกเก็บเงิน หากผิดนัดโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับในรูปของค่าทดแทนการออกเงินทุนไปก่อนและค่าปรับเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายในการเรียกเก็บ โจทก์ส่งใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยระบุยอดเงินที่จำเลยจะต้องชำระซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวได้รวมรายการซื้อสินค้าที่ร้าน จ. 11 รายการ รวมอยู่ด้วย จำเลยคัดค้านว่าไม่ได้ใช้จ่ายตามรายการซื้อสินค้าที่ร้าน จ. ทั้ง 11 รายการ โจทก์พักยอดเรียกเก็บเงินดังกล่าวเป็นการชั่วคราวเพื่อตรวจสอบกับร้านค้าตามใบเรียกเก็บเงิน เมื่อโจทก์ตรวจสอบกับร้านค้าเสร็จแล้ว โจทก์ได้ยกเลิกการพักยอดเรียกเก็บชั่วคราวและได้ส่งใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยอีกโดยให้จำเลยชำระภายในกำหนดแต่จำเลยไม่ชำระเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาการใช้บัตรของจำเลยและเรียกให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ภายใน 10 วัน แต่จำเลยไม่ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ การที่โจทก์พักยอดเรียกเก็บเงินไว้ก่อนเพื่อตรวจสอบนี้เหตุผลหนึ่งก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับจนกว่าจะได้ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงแล้วเสร็จและมีการเรียกเก็บเงินใหม่ และจำเลยไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามกำหนดอายุความจึงจะเริ่มนับตั้งแต่พ้นกำหนดเวลาที่โจทก์กำหนดให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นต้นไป โจทก์มีใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยลงวันที่ 2 เมษายน 2540 โดยระบุยกเลิกการพักยอดเรียกเก็บเงินชั่วคราว และให้จำเลยชำระค่าซื้อสินค้าต่างๆ รวมทั้งสินค้าจากร้าน จ. 11 รายการ ที่พักยอดเรียกเก็บชั่วคราวภายใน 30 วัน ตามใบเรียกเก็บเงินซึ่งจำเลยจะต้องชำหนี้แก่โจทก์ภายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยไม่ชำระหนี้จำนวนดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้นับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2542 จึงยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)
แม้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ โดยไม่ได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้น อันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ ป.วิ.พ. มาตรา 132 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจำหน่ายคดีจากสารบบความหรือไม่ หาใช่เป็นบทบังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสมอไปไม่ เมื่อคำแก้อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์มีเนื้อหาที่เป็นการแก้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วยแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งของจำเลยแล้วพิพากษาคดีนี้ไปโดยไม่จำต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความดังที่โจทก์ฎีกา คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5816/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต เริ่มนับเมื่อใด? ศาลฎีกาชี้ การพักยอดเรียกเก็บเพื่อตรวจสอบเอกสาร ยังไม่ถือเป็นการเริ่มนับอายุความ
จำเลยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาและคำสั่ง จำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์คำพิพากษาให้แก่โจทก์อันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจจำหน่ายคดีจากสารบบความหรือไม่ก็ได้ เมื่อคำแก้อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์มีเนื้อหาที่เป็นการแก้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งของจำเลยแล้วพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
จำเลยนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปซื้อสินค้ารวม 11 รายการจากร้าน จ. แต่ตามใบเรียกเก็บเงินมีการนำเงินค่าสินค้ามาจากร้านดังกล่าวทั้งหมดคืนเข้าบัญชีเป็นเครดิตของจำเลย เนื่องจากจำเลยโต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้นำบัตรไปใช้ โจทก์จึงพักการเรียกเก็บเงินเป็นการชั่วคราวเพื่อตรวจสอบก่อน เหตุผลหนึ่งก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้อายุความจึงยังไม่เริ่มนับจนกว่าได้ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงแล้วเสร็จและมีการเรียกเก็บเงินใหม่ และจำเลยไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามกำหนด อายุความจึงจะเริ่มนับตั้งแต่พ้นกำหนดเวลาที่โจทก์กำหนดให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นต้นไป
โจทก์มีใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยลงวันที่ 2 เมษายน 2540 โดยระบุเลิกการพักยอดเรียกเก็บเงินชั่วคราว และให้จำเลยชำระค่าซื้อสินค้าต่างๆ รวมทั้งสินค้าจากร้าน จ. 11 รายการ ที่พักยอดเรียกเก็บชั่วคราวภายใน 30 วัน ซึ่งจำเลยจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ภายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมสามารถบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้นับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 เมษายน 2542 จึงยังไม่เกิน 2 ปี ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5532/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเช่าซื้อ/กู้ยืม, การขยายเวลาชำระหนี้ไม่กระทบอายุความ, ดอกเบี้ยในดอกเบี้ยเป็นโมฆะ
สัญญาข้อ 8 ที่ว่า "เมื่อสัญญานี้ครบกำหนดหากผู้ให้กู้หรือผู้กู้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้บอกเลิกสัญญา ให้ถือว่าสัญญาฉบับนี้มีผลใช้บังคับต่อไปอีกคราวละ 1 ปี ตลอดไป โดยมีเงื่อนไขและข้อตกลงคงเดิมทุกประการจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญา..." มีผลเพียงว่า เมื่ออายุสัญญาเป็นอันต่อออกไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้แล้ว กำหนดเวลาที่จำเลยต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี ก็ขยายตามไปด้วย กำหนดเวลาชำระหนี้ซึ่งทำให้โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเปลี่ยนแปลงไปเฉพาะเวลาขณะเริ่มนับอายุความ ส่วนอายุความมิได้เปลี่ยนแปลงไปโดยข้อสัญญาดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการขยายอายุความ
ข้อตกลงตามสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏที่ให้โจทก์มีสิทธิหักชำระหนี้จากเงินเดือนที่นายจ้างของจำเลยโอนเข้าบัญชี ไม่มีผลทำให้เงินที่จำเลยเบิกถอนจากบัญชีกลายเป็นเงินที่โจทก์ได้ทดรองจ่าย ส่วนบัตรกรุงไทยเอทีเอ็มที่โจทก์ออกให้แก่จำเลย ก็เพื่อความสะดวกในการเบิกถอนเงิน ซึ่งหากจำเลยมีเงินฝากอยู่ในบัญชีเกินจำนวนที่เบิกถอน ก็เป็นการเบิกถอนเงินฝาก แต่หากจำเลยไม่มีเงินฝากอยู่ในบัญชี เงินที่เบิกถอนไปก็เป็นเงินกู้ที่ตกลงไว้กับโจทก์นั่นเอง สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้รับผิดตามสัญญากู้ที่ทำขึ้นเช่นนี้กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
สัญญากู้กรุงไทยธนวัฏไม่มีข้อตกลงที่ให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระได้ การที่โจทก์นำหนี้ที่รวมดอกเบี้ยอยู่ด้วยมาเป็นต้นเงินในการคิดดอกเบี้ยต่อไป ย่อมมีผลเป็นการคิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ จึงฝ่าฝืนข้อห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สถานที่ปฏิเสธการจ่ายเช็คเป็นสถานที่เกิดมูลคดี แม้จำเลยไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาญาจักรหรือไม่ ตามบทบัญญัติดังกล่าว คำว่า มูลคดี หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทระบุชื่อ อ. เป็นผู้รับเงินเพื่อคืนเงินที่ อ. ได้ร่วมลงทุนซื้อที่ดินกับจำเลยจำนวน 140,000 บาท ให้แก่ อ. เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดวันสั่งจ่าย อ. นำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้จะถือว่า อ. เป็นผู้เสียหายในขณะที่เช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า อ. ได้โอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ โดยสลักหลังเช็คพิพาทและส่งมอบแก่โจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงและมีสิทธิเช่นเดียวกับ อ. ในอันที่จะบังคับเอาแก่จำเลยซึ่งมีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 967 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายให้ชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ได้ ความรับผิดของจำเลยเกิดขึ้นเมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น สถานที่ที่เช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงินย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดด้วย เมื่อธนาคารตามเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ย่อมถือได้ว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สถานที่ธนาคารปฏิเสธเช็คเป็นสถานที่เกิดมูลคดี ผู้รับโอนเช็คมีสิทธิฟ้อง
ความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น สถานที่ที่เช็คพิพาทถูกปฏิเสธการจ่ายเงินย่อมเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดด้วย เมื่อธนาคารตามเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นย่อมถือได้ว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น โจทก์จึงเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5394/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคัดค้านราคาขายทอดตลาดของลูกหนี้ร่วม และอำนาจศาลในการพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอาจคัดค้านว่าราคาดังกล่าวมีจำนวนต่ำเกินสมควร ในกรณีเช่นว่านี้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อนการขายทอดตลาดทรัพย์สินไป ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ฟังคำคัดค้านของจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี เป็นเหตุให้มีการอนุมัติขายทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้แก่ผู้ซื้อในราคาสูงสุดซึ่งต่ำกว่าราคาประเมิน ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีไปโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าว ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวง หรือวิธีการบังคับใดๆ โดยเฉพาะ หรือขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการใดๆ ตามที่เห็นสมควร เมื่อจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ แม้ทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดจะเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่จำเลยที่ 1 ก็มีฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกการชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ได้ การขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในราคาที่สมควรหรือไม่ ย่อมมีผลกระทบโดยตรงกับภาระหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 โดยตรง และมีสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่จะคัดค้านว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นมีราคาต่ำจำนวนเกินสมควร ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ฟังคำคัดค้านของจำเลยที่ 1 ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด จึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดในทางทรัพย์สินที่บังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
จำเลยที่ 1 ฎีกาในทำนองโต้แย้งคัดค้านว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีราคาต่ำจำนวนเกินสมควรนั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยที่ 1 ไม่อาจยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยให้ได้ และตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ที่ใช้บังคับในขณะจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ ให้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ ดังนั้น ปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาทรัพย์ในการขายทอดตลาดชอบหรือไม่ จึงเป็นอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในปัญหาดังกล่าวตามรูปคดี
of 25