พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5256/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในสัญญาประกันตัว: กรรมการบริษัทลงนามในฐานะตัวแทนบริษัท ไม่ต้องรับผิดส่วนตัว
แม้การประกันตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาจะไม่อยู่ในวัตถุประสงค์ข้อ 35 ที่ว่าจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการรับค้ำประกันหนี้ ความรับผิด หรือการปฏิบัติตามสัญญา ดังที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็ยอมรับว่าได้ทำสัญญาประกัน ซ. ตามสัญญาประกันอันเป็นการให้สัตยาบันการทำสัญญาประกันนั้นแล้ว สัญญาประกันดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตาม ป.พ.พ. มาตรา 823
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5206/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามสัญญาประกัน และการกำหนดเวลาชำระหนี้ กรณีผู้ต้องหาไม่มาตามนัด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ยื่นคำร้องและลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกันตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวน โจทก์มีหน้าที่ต้องจัดหาหลักประกันเมื่อไม่มีกฎหมายบังคับว่าหลักประกันต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกันแต่ผู้เดียว การที่จำเลยที่ 2 จัดหาหลักประกันเป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ยินยอมให้นำมาวางต่อโจทก์โดยทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ มิได้แปลว่าจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องและทำสัญญาประกันในฐานะที่เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น แต่แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาเข้าทำสัญญาประกันในนามของจำเลยที่ 2 เองด้วย สัญญาประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันต่อโจทก์
การที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ในวันนัดส่งตัว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกันอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับได้นับแต่วันดังกล่าว แต่จะถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดชำระเบี้ยปรับนับแต่วันนั้นหาได้ไม่ สัญญาประกันมิได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้ดังกล่าวต่อกันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาชำระหนี้ก่อนหากจำเลยทั้งสองไม่ชำระจึงได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น
การที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ในวันนัดส่งตัว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกันอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับได้นับแต่วันดังกล่าว แต่จะถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดชำระเบี้ยปรับนับแต่วันนั้นหาได้ไม่ สัญญาประกันมิได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้ดังกล่าวต่อกันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาชำระหนี้ก่อนหากจำเลยทั้งสองไม่ชำระจึงได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5096/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: แม้เปลี่ยนฐานความรับผิดเป็นละเมิด หากมูลเหตุยังคงเป็นการว่าจ้างเดิม ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้เรื่องจ้างทำของโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างและเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้โจทก์พิมพ์งาน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้โดยบรรยายฟ้องในเรื่องมูลหนี้ที่เกิดจากการพิมพ์งานของโจทก์เช่นเดียวกับในคดีเดิม โดยบรรยายอีกว่าเป็นการว่าจ้างจากจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทน แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องเป็นเรื่องละเมิดก็เพียงเพื่อให้ความรับผิดของจำเลยทั้งสองอยู่ในรูปแบบของนายจ้างลูกจ้างเท่านั้น การกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 กรอกรายการในใบเสร็จรับเงินให้เป็นของบริษัท ด. เป็นการประทุษร้ายต่อสิทธิในการรับเงินค่าจ้างของโจทก์ก็มีผลเท่ากับโจทก์ยังคงกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างให้โจทก์พิมพ์งานเช่นในคดีเดิม จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5023/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างการครอบครองปรปักษ์ต้องไม่ขัดแย้งกับความเป็นเจ้าของเดิม และคำพิพากษาถึงที่สุด
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาของศาลแพ่งธนบุรีไม่ถูกต้องตรงกับความจริง ขณะเดียวกันก็เป็นการยืนยันว่าโจทก์ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก ป. โดยชอบ และโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่ปี 2502 ตลอดมาจนกระทั่งทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของตนเองได้ เพราะการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จะเกิดขึ้นได้ก็เฉพาะแต่ในทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ทั้งคำพิพากษาของศาลแพ่งธนบุรีก็ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ผลของคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินย่อมทำให้ที่ดินพิพาทมีได้เพียงสิทธิครอบครองซึ่งไม่อาจอ้างการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ได้เช่นเดียวกัน กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมิได้ย้อนกลับไปเป็นของ ป. หรือของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
เมื่อตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่อาจพิพากษาให้ได้ ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ได้ในชั้นตรวจคำฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) ไม่ต้องรอให้จำเลยยื่นคำให้การหรือให้โจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบเสียก่อน
เมื่อตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่อาจพิพากษาให้ได้ ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ได้ในชั้นตรวจคำฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) ไม่ต้องรอให้จำเลยยื่นคำให้การหรือให้โจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4832/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การไม่ชัดเจน ศาลต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์เนื้อที่เช่า, ที่ตั้ง และผลผูกพันสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยถมดินและปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ 80 ตารางวา ต่อมาจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยจำเลยขอเช่าที่ดินส่วนที่รุกล้ำโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการเช่า และจะยอมรื้อถอนออกไปเมื่อโจทก์ต้องใช้ประโยชน์ แต่จำเลยไม่ยอมรื้อถอนโรงเรือนออกไปภายในระยะเวลาที่โจทก์กำหนด ขอให้ศาลบังคับจำเลยรื้อถอนโรงเรือนออกจากที่ดินของโจทก์และห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยเคยเช่าที่ดินของโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจริง แต่เป็นการเช่าที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและปลูกบ้าน ที่ดินที่จำเลยครอบครองและปลูกบ้านมีเนื้อที่ประมาณ 150 ตารางเมตร อยู่นอกเขตที่ดินที่เช่าและนอกเขตที่ดินของโจทก์ ที่ดินที่จำเลยครอบครองจึงไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกับเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ก็ไม่มีผลให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
จำเลยให้การตอนแรกว่า จำเลยเคยเช่าที่ดินของโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจริง แต่เป็นการเช่าที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและปลูกบ้านและเป็นการเช่าที่ดินเนื้อที่เพียง 5 ตารางวา มิใช่ประมาณ 80 ตารางวา ต่อมาทางราชการได้ขยายเขตถนนสาธารณะครอบที่ดินที่เช่าทั้งหมด สัญญาประนีประนอมยอมความจึงสิ้นผลบังคับไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ดินที่จำเลยครอบครองและปลูกบ้านมีเนื้อที่ประมาณ 150 ตารางวา อยู่นอกเขตที่ดินที่เช่าและนอกเขตที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยให้การในตอนหลังว่า ถึงอย่างไรจำเลยก็ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี หากศาลจะฟังว่าที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่ในโฉนดที่ดินของโจทก์ จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว คำให้การของจำเลยในประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ขัดแย็งกันไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยจึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติได้ ศาลจำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยเสียก่อน
จำเลยให้การตอนแรกว่า จำเลยเคยเช่าที่ดินของโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจริง แต่เป็นการเช่าที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและปลูกบ้านและเป็นการเช่าที่ดินเนื้อที่เพียง 5 ตารางวา มิใช่ประมาณ 80 ตารางวา ต่อมาทางราชการได้ขยายเขตถนนสาธารณะครอบที่ดินที่เช่าทั้งหมด สัญญาประนีประนอมยอมความจึงสิ้นผลบังคับไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ดินที่จำเลยครอบครองและปลูกบ้านมีเนื้อที่ประมาณ 150 ตารางวา อยู่นอกเขตที่ดินที่เช่าและนอกเขตที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยให้การในตอนหลังว่า ถึงอย่างไรจำเลยก็ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี หากศาลจะฟังว่าที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่ในโฉนดที่ดินของโจทก์ จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว คำให้การของจำเลยในประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ขัดแย็งกันไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยจึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติได้ ศาลจำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4784/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนข้อหา โจทก์ต้องพิสูจน์ความผิดฐานใดฐานหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรย่อมแสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเท่านั้น หากจำเลยทั้งสองกระทำความผิดในข้อหาหนึ่งแล้ว จำเลยทั้งสองย่อมไม่มีความผิดในอีกข้อหาหนึ่ง การที่จำเลยทั้งสองให้การว่ารับสารภาพตามฟ้องทุกประการ จึงเป็นคำรับสารภาพที่ไม่สามารถรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดในข้อหาใด โจทก์ต้องนำพยานเข้าสืบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดในข้อหาใดข้อหาหนึ่ง แต่โจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความเช่นว่านั้น คดีจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจร แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 (1) และจำเลยทั้งสองยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ว่า จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานลักทรัพย์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือคำฟ้องอุทธรณ์มิใช่คำให้การของจำเลยทั้งสองที่ได้ให้การไว้ต่อศาลชั้นต้นก่อนเริ่มพิจารณา ถึงแม้จะมีถ้อยคำหรือข้อความที่อาจแสดงว่ารับสารภาพในความผิดฐานลักทรัพย์ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำให้การของจำเลยทั้งสองว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับฟังได้โดยปริยายว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ เมื่อคำให้การของจำเลยทั้งสองไม่สามารถรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4703/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์จากการบังคับคดี: ระยะเวลาการยื่นคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ำอีก แต่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเช่นว่านี้มีอำนาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" จากบทบัญญัติดังกล่าวยังมีกำหนดเงื่อนเวลาไว้ด้วย ตามมาตรา 290 วรรคห้า ซึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีที่อายัดทรัพย์สิน ให้ยื่นคำขอเสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้"
คดีนี้โจทก์ชนะคดีและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีโดยยึดหรืออายัดและขายทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระหนี้ได้ เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออายัดไปยังศาลแพ่งนั้น เป็นเงินที่บุคคลภายนอกนำส่งไว้เนื่องจากมีคำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาอันเป็นวิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) ประกอบมาตรา 266 มิใช่ทรัพย์ที่ถูกอายัดไว้จากการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในเงินจำนวนดังกล่าวยังเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้อยู่ในขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออายัด การอายัดทรัพย์ในคดีนี้จึงเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาโดยอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่มีต่อมหาวิทยาลัย อ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั่นเอง ส่วนศาลแพ่งนั้นเป็นเพียงสถานที่ที่เก็บรักษาทรัพย์ที่ขออายัดไว้เท่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินตามที่อายัดไว้เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2541 ซึ่งถือได้ว่ามีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2542 จึงล่วงระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ผู้ร้องจึงไม่สามารถร้องขอเฉลี่ยทรัพย์จากจำนวนเงินดังกล่าวได้
คดีนี้โจทก์ชนะคดีและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีโดยยึดหรืออายัดและขายทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระหนี้ได้ เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออายัดไปยังศาลแพ่งนั้น เป็นเงินที่บุคคลภายนอกนำส่งไว้เนื่องจากมีคำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาอันเป็นวิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) ประกอบมาตรา 266 มิใช่ทรัพย์ที่ถูกอายัดไว้จากการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในเงินจำนวนดังกล่าวยังเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้อยู่ในขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออายัด การอายัดทรัพย์ในคดีนี้จึงเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาโดยอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่มีต่อมหาวิทยาลัย อ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั่นเอง ส่วนศาลแพ่งนั้นเป็นเพียงสถานที่ที่เก็บรักษาทรัพย์ที่ขออายัดไว้เท่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินตามที่อายัดไว้เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2541 ซึ่งถือได้ว่ามีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2542 จึงล่วงระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ผู้ร้องจึงไม่สามารถร้องขอเฉลี่ยทรัพย์จากจำนวนเงินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ส.ค.1 ไม่สร้างสิทธิเด็ดขาด จำเลยยึดถือครอบครองมีผลทางกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) แต่แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เป็นหลักฐานที่รับฟังได้แต่เพียงว่าขณะแจ้งการครอบครองผู้แจ้งอ้างว่าที่ดินเป็นของผู้แจ้ง ที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) หาใช่อสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดินตามนัยที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1373 อันจะทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองแต่อย่างใดไม่ จำเลยเป็นฝ่ายยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1369 ว่าจำเลยยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตน จึงตกเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
การที่จำเลยนำสืบว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากโจทก์และ ถ. มิใช่เป็นการนำสืบว่าจำเลยแย่งการครอบครอง และแม้ว่าคำให้การของจำเลยจะไม่มีประเด็นนำสืบว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากโจทก์และ ถ. เนื่องจากจำเลยมิได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทได้อย่างไรก็ตาม แต่การที่จำเลยให้การว่าจำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทและได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วนั้น เท่ากับเป็นการให้การปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่เจ้าของที่ดินพิพาทตามฟ้อง โจทก์จึงต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้อง เมื่อโจทก์นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1369 ให้รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมิได้ยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตน จึงต้องฟังว่าจำเลยยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตน และได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367
ฟ้องแย้งนอกจากจะต้องเป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมอย่างไร รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อเช่นว่านั้นแล้ว ยังต้องมีคำขอบังคับ คือจะให้ศาลบังคับโจทก์ให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างไรในเรื่องที่ถูกโต้แย้งสิทธินั้นด้วยตามนัย แห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง และมาตรา 177 วรรคสาม คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งโดยเพียงแต่ขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท มิใช่คำขอให้บังคับโจทก์ทั้งเป็นเรื่องที่ศาลวินิจฉัยได้ตามฟ้องเดิมอยู่แล้ว จึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
การที่จำเลยนำสืบว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากโจทก์และ ถ. มิใช่เป็นการนำสืบว่าจำเลยแย่งการครอบครอง และแม้ว่าคำให้การของจำเลยจะไม่มีประเด็นนำสืบว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากโจทก์และ ถ. เนื่องจากจำเลยมิได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทได้อย่างไรก็ตาม แต่การที่จำเลยให้การว่าจำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทและได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วนั้น เท่ากับเป็นการให้การปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่เจ้าของที่ดินพิพาทตามฟ้อง โจทก์จึงต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้อง เมื่อโจทก์นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1369 ให้รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมิได้ยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตน จึงต้องฟังว่าจำเลยยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตน และได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367
ฟ้องแย้งนอกจากจะต้องเป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมอย่างไร รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อเช่นว่านั้นแล้ว ยังต้องมีคำขอบังคับ คือจะให้ศาลบังคับโจทก์ให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างไรในเรื่องที่ถูกโต้แย้งสิทธินั้นด้วยตามนัย แห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง และมาตรา 177 วรรคสาม คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งโดยเพียงแต่ขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท มิใช่คำขอให้บังคับโจทก์ทั้งเป็นเรื่องที่ศาลวินิจฉัยได้ตามฟ้องเดิมอยู่แล้ว จึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4487/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษีจากการขายทอดตลาดทรัพย์บังคับคดี: ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกคืนภาษีที่ทดรองจ่ายได้
ในการรับจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ ประมวลรัษฎากร มาตรา 50 (5) บัญญัติให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ให้หักภาษีเงินได้ไว้และมาตรา 52 วรรคสอง ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนและห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่ลงนามรับรู้ ยอมให้ทำหรือบันทึกไว้จนกว่าจะได้รับเงินภาษีที่นำส่งไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้จ่ายเงินได้จากการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดมาจากจำเลย จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ดังกล่าวซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) และ 50 (5) ก่อนที่จะจ่ายให้โจทก์รับไปเมื่อผู้ซื้อทรัพย์ไปขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อได้จากการขายทอดตลาด แต่ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าว ผู้ซื้อทรัพย์จึงมีสิทธิที่จะเรียกคืนเงินภาษีที่ได้ทดรองจ่ายไปคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคิดดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา และการใช้สิทธิโดยสุจริตของเจ้าหนี้
สัญญากู้เงินที่โจทก์และจำเลยทำไว้ต่อกันมีข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระบุไว้ในสัญญาข้อ 1 และข้อ 2 วรรคแรกระบุว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตรา เอ็ม.แอล.อาร์. ต่อปี (ปัจจุบันร้อยละ 13.75 ต่อปี) วรรคสอง ระบุว่า หากภายหลังจากวันทำสัญญาผู้ให้กู้ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่ผู้กู้ยังค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญาตามที่ผู้ให้กู้กำหนด แต่ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้า โดยเพียงแต่ผู้ให้กู้แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้น ส่วนสัญญาข้อ 2 ระบุไว้ในย่อหน้าสุดท้ายว่า ผู้กู้ตกลงว่าหากผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่งผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ โดยให้คิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่คงค้างทั้งจำนวน ดังนี้ จึงเห็นได้ว่า สัญญาข้อ 1 เป็นข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยก่อนผิดนัดโดยใช้อัตรา เอ็ม.แอล.อาร์. และให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดกันไว้แต่แรกได้ ส่วนสัญญาข้อ 2 เป็นเรื่องที่ให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นในกรณีที่จำเลยผิดนัดซึ่งโจทก์ได้กล่าวมาในคำฟ้องแล้วว่าโจทก์ใช้สิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยกรณีผิดนัดในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปี โดยถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2540 เป็นต้นมา ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า นับแต่จำเลยผิดนัดโจทก์มีสิทธิคิดอัตราดอกเบี้ยในอัตรา เอ็ม.แอล.อาร์. ตามอัตราที่โจทก์ประกาศเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นดอกเบี้ยก่อนผิดนัดเท่านั้น จึงไม่ชอบ
ตามสัญญากู้เงินเพื่อที่อยู่อาศัยข้อ 2.1 กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ต้องผ่านชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนไม่น้อยกว่าเดือนละ 5,300 บาท โดยต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2553 แม้จะมีข้อตกลงกำหนดไว้ในข้อ 4 ว่าหากจำเลยผิดนัดในข้อใดข้อหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของสัญญาให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด และจำเลยยอมให้โจทก์เรียกหนี้ทั้งหมดคืนได้ทันทีก็ตามก็หาใช่เป็นการบังคับว่าเมื่อจำเลยผิดนัดแล้วโจทก์จะต้องฟ้องเรียกหนี้คืนจากจำเลยทันทีไม่ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผ่อนผันให้โอกาสแก่จำเลยผ่อนชำระหนี้ ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจลดอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัด เพราะเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ดังนั้น เมื่อปรากฏตามสำเนาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและสำเนาประกาศของโจทก์ว่า ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปี ที่โจทก์คิดจากจำเลยกรณีผิดนัดนับแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2540 เป็นต้นมานั้นไม่สูงเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์ประกาศกำหนดโดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตรา ดังกล่าว นับแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2540 ได้ตามสัญญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าเบี้ยประกันรวม 7 จำนวน คืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไปแต่ละครั้ง โดยมิได้ระบุว่าดอกเบี้ยในส่วนนี้เมื่อคำนวณถึงวันฟ้องแล้วต้องไม่เกินจำนวนเงินตามคำขอของโจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดไว้ด้วยว่าต้องไม่เกินคำขอของโจทก์
ตามสัญญากู้เงินเพื่อที่อยู่อาศัยข้อ 2.1 กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ต้องผ่านชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนไม่น้อยกว่าเดือนละ 5,300 บาท โดยต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2553 แม้จะมีข้อตกลงกำหนดไว้ในข้อ 4 ว่าหากจำเลยผิดนัดในข้อใดข้อหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของสัญญาให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด และจำเลยยอมให้โจทก์เรียกหนี้ทั้งหมดคืนได้ทันทีก็ตามก็หาใช่เป็นการบังคับว่าเมื่อจำเลยผิดนัดแล้วโจทก์จะต้องฟ้องเรียกหนี้คืนจากจำเลยทันทีไม่ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผ่อนผันให้โอกาสแก่จำเลยผ่อนชำระหนี้ ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจลดอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัด เพราะเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ดังนั้น เมื่อปรากฏตามสำเนาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและสำเนาประกาศของโจทก์ว่า ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปี ที่โจทก์คิดจากจำเลยกรณีผิดนัดนับแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2540 เป็นต้นมานั้นไม่สูงเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์ประกาศกำหนดโดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตรา ดังกล่าว นับแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2540 ได้ตามสัญญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าเบี้ยประกันรวม 7 จำนวน คืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไปแต่ละครั้ง โดยมิได้ระบุว่าดอกเบี้ยในส่วนนี้เมื่อคำนวณถึงวันฟ้องแล้วต้องไม่เกินจำนวนเงินตามคำขอของโจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดไว้ด้วยว่าต้องไม่เกินคำขอของโจทก์