พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีจัดการมรดก: เริ่มนับเมื่อการจัดการสิ้นสุด และผู้จัดการมรดกต้องรับผิดในฐานะตัวแทน
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ตามคำสั่งศาล อ้างว่าจำเลยจัดการมรดกโดยทำบัญชีทรัพย์มรดกและแบ่งมรดกไม่ถูกต้อง จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก กำหนดอายุความต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง เมื่อยังมีทรัพย์มรดกที่จำเลยจะต้องแบ่งให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง จึงยังไม่เริ่มนับอายุความตามบทกฎหมายดังกล่าว และโดยเหตุที่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 ในลักษณะตัวการตัวแทนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 809 ถึง 812, 819 และมาตรา 823 การที่จำเลยครอบครองที่ดินซึ่งมีส่วนเป็นทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยจะยกอายุความตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3715/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการเพิกถอนการยึดทรัพย์: ต้องรอคำขอโจทก์หรือคำสั่งศาล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งเพิกถอนการยึดทรัพย์ด้วยตนเอง คงมีแต่เรื่องถอนการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าทรัพย์ที่ยึดมิใช่ทรัพย์ของจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งไปยังโจทก์ผู้ทำการยึดว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินการต่อไปอย่างไร ซึ่งการถอนการยึดเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะยื่นคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการให้ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งไปยังศาลเพื่อให้มีคำสั่งเพิกถอนการยึด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งเพิกถอนการยึดเสียเองจึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าทรัพย์ที่ยึดมิใช่ทรัพย์ของจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งไปยังโจทก์ผู้ทำการยึดว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินการต่อไปอย่างไร ซึ่งการถอนการยึดเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะยื่นคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการให้ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งไปยังศาลเพื่อให้มีคำสั่งเพิกถอนการยึด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งเพิกถอนการยึดเสียเองจึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3636/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารสิทธิปลอมเพื่อฉ้อโกง: ศาลแก้ไขบทมาตราที่อ้างผิดตามกฎหมายอาญา
การกระทำความผิดของจำเลยฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมและฉ้อโกงนั้น เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก, 341 การกระทำความผิดของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (1) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง แต่โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่าจำเลยปลอมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสม จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาชอบที่แก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: ผลของพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2547
ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า "คำสั่งศาลตามวรรคสองให้เป็นที่สุด" ซึ่งแก้ไขใหม่โดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2547 นั้น มาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปโดยไม่มีบทเฉพาะกาลกำหนดว่ามิให้ใช้บังคับแก่คดีที่ฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่โดยพระราชบัญญัตินี้จึงผูกพันใช้บังคับแก่คู่ความทันที
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ว่า การขายทอดตลาดมีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ มิใช่ประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แต่เป็นประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุอื่นตามมาตรา 309 ทวิ และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นตามวรรคสองของมาตรานี้เป็นที่สุด
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องมีผู้เข้าแข่งขันกันในการประมูลราคา แม้จะมีผู้ซื้อทรัพย์เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปได้โดยชอบ ไม่จำต้องรอให้มีผู้ประมูลราคารายอื่นเข้ามาแข่งขันก่อน
ป.วิ.พ. มาตรา 306 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งวันขายทอดตลาดแก่บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดซึ่งทราบได้ตามทะเบียนหรือโดยประการอื่น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 มิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่แจ้งวันขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบก็ได้
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ว่า การขายทอดตลาดมีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ มิใช่ประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แต่เป็นประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุอื่นตามมาตรา 309 ทวิ และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นตามวรรคสองของมาตรานี้เป็นที่สุด
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องมีผู้เข้าแข่งขันกันในการประมูลราคา แม้จะมีผู้ซื้อทรัพย์เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปได้โดยชอบ ไม่จำต้องรอให้มีผู้ประมูลราคารายอื่นเข้ามาแข่งขันก่อน
ป.วิ.พ. มาตรา 306 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งวันขายทอดตลาดแก่บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดซึ่งทราบได้ตามทะเบียนหรือโดยประการอื่น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 มิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่แจ้งวันขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: ศาลฎีกาชี้ขาดเรื่องการแจ้งเจ้าหนี้, ผู้เข้าสู้ราคา และผลของ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงขายทรัพย์สินในราคาต่ำเกินสมควร เป็นอุทธรณ์ในประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุตาม ป.วิ.อ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งแล้วย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ซึ่งแก้ไขใหม่ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2548 เป็นต้นไป โดยไม่มีบทเฉพาะกาลกำหนดว่าบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่โดย พ.ร.บ. นี้มิให้ใช้บังคับแก่คดีที่ฟ้องก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้มีผลใช้บังคับแต่อย่างใด จึงผูกพันใช้บังคับแก่คู่ความทันที
การขายทอดตลาดที่มีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียว มิใช่ประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แต่เป็นประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 309 ทวิ และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นตามวรรคสองของมาตรานี้เป็นที่สุด กรณีมิได้มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องมีผู้เข้าแข่งขันกันในการประมูลราคา ดังนั้น แม้การขายทอดตลาดทรัพย์สินคดีนี้จะมีผู้ซื้อทรัพย์เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปได้โดยชอบ
ป.วิ.พ. มาตรา 306 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งวันขายทอดตลาดแก่บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดซึ่งทราบได้ตามทะเบียนหรือโดยประการอื่น คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 มิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องแจ้งวันขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบก็ได้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุดังกล่าว
การขายทอดตลาดที่มีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียว มิใช่ประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แต่เป็นประเด็นที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 309 ทวิ และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นตามวรรคสองของมาตรานี้เป็นที่สุด กรณีมิได้มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องมีผู้เข้าแข่งขันกันในการประมูลราคา ดังนั้น แม้การขายทอดตลาดทรัพย์สินคดีนี้จะมีผู้ซื้อทรัพย์เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปได้โดยชอบ
ป.วิ.พ. มาตรา 306 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งวันขายทอดตลาดแก่บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดซึ่งทราบได้ตามทะเบียนหรือโดยประการอื่น คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 มิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องแจ้งวันขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 1 ทราบก็ได้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3209/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญากู้ยืม และความผูกพันตามสัญญา
ป. กับโจทก์เป็นหุ้นส่วนในการขายที่ดินให้แก่จำเลย จำเลยไม่มีเงินชำระค่าที่ดินในส่วนของที่ดินที่เพิ่มขึ้น แต่จำเลยตกลงรับโอนกรรมสิทธิ์โดยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินให้ผู้จะขายไว้ โดยระบุว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เท่ากับเป็นการกู้เงินจากผู้จะขายมาชำระราคาที่ดินในส่วนเนื้อที่ที่เกินไปจากสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อในสัญญากู้ในฐานะผู้ให้กู้ได้และผูกพันจำเลย
หนี้เดิมเป็นการตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกัน ฝ่ายจำเลยไม่มีเงินพอจะจ่ายในส่วนของเนื้อที่ดินที่เกิน จึงตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินขึ้นเพื่อชำระหนี้ค่าที่ดินส่วนที่เกิน ถือว่าเป็นการแปลงสาระสำคัญแห่งหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่จากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมาเป็นสัญญากู้ยืมเงินโดยผู้ให้กู้อยู่ในฐานะผู้จะขายเช่นกัน การแปลงหนี้ใหม่ในครั้งนี้จึงมิได้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ จึงมิใช่การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ที่จะต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องจำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์
หนี้เดิมเป็นการตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกัน ฝ่ายจำเลยไม่มีเงินพอจะจ่ายในส่วนของเนื้อที่ดินที่เกิน จึงตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินขึ้นเพื่อชำระหนี้ค่าที่ดินส่วนที่เกิน ถือว่าเป็นการแปลงสาระสำคัญแห่งหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่จากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมาเป็นสัญญากู้ยืมเงินโดยผู้ให้กู้อยู่ในฐานะผู้จะขายเช่นกัน การแปลงหนี้ใหม่ในครั้งนี้จึงมิได้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ จึงมิใช่การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ที่จะต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องจำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับสิทธิที่ถูกโต้แย้งในคำฟ้องเดิม ศาลฎีกาพิพากษายืนคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 นอกจากจะต้องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้แล้ว ต้องเป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 3 ในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมอย่างไรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์อ้างว่าประมูลซื้อมาจากการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินในฐานะที่โจทก์เป็นกองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 3 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลไม่อาจเป็นโจทก์ฟ้องคดี และไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากการดำเนินการตั้งแต่การจัดตั้งกองทุนรวม การถือหน่วยลงทุน การจดทะเบียนกองทุนรวมต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตลอดจนการลงนามในสัญญาขายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น ดังนี้ หากศาลรับฟังและวินิจฉัยว่า การจัดตั้งกองทุนรวมโจทก์และการลงนามในสัญญาขายเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องที่อ้างว่าประมูลซื้อมาได้และศาลย่อมพิพากษายกฟ้องอยู่แล้ว โดยไม่ต้องคำนึงว่าการจดทะเบียนกองทุนรวมโจทก์ยังคงมีอยู่หรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ผู้รับจดทะเบียนซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 3 มิได้มีส่วนได้เสียถึงกับจะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกองทุนรวมโจทก์จึงไม่มีสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 3 แต่เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึงไม่อาจฟ้องแย้งรวมเข้ามาในคำให้การได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม
ฟ้องแย้งเป็นคำคู่ความซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจและมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 18 ถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในมาตรา 177 วรรคสามที่ว่า ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก จึงมีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับฟ้องแย้งอันเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 นั่นเอง การที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้จำเลยที่ 3 ฟ้องเป็นคดีต่างหาก จึงไม่มีผลทำให้เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์อ้างว่าประมูลซื้อมาจากการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินในฐานะที่โจทก์เป็นกองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 3 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลไม่อาจเป็นโจทก์ฟ้องคดี และไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากการดำเนินการตั้งแต่การจัดตั้งกองทุนรวม การถือหน่วยลงทุน การจดทะเบียนกองทุนรวมต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตลอดจนการลงนามในสัญญาขายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น ดังนี้ หากศาลรับฟังและวินิจฉัยว่า การจัดตั้งกองทุนรวมโจทก์และการลงนามในสัญญาขายเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิจะฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องที่อ้างว่าประมูลซื้อมาได้และศาลย่อมพิพากษายกฟ้องอยู่แล้ว โดยไม่ต้องคำนึงว่าการจดทะเบียนกองทุนรวมโจทก์ยังคงมีอยู่หรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ผู้รับจดทะเบียนซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 3 มิได้มีส่วนได้เสียถึงกับจะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกองทุนรวมโจทก์จึงไม่มีสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 3 แต่เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึงไม่อาจฟ้องแย้งรวมเข้ามาในคำให้การได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม
ฟ้องแย้งเป็นคำคู่ความซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจและมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 18 ถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในมาตรา 177 วรรคสามที่ว่า ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก จึงมีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับฟ้องแย้งอันเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 นั่นเอง การที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้จำเลยที่ 3 ฟ้องเป็นคดีต่างหาก จึงไม่มีผลทำให้เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของทายาท: ทายาทมีสิทธิฟ้องคดีแทนผู้ตายได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการจัดการมรดกก่อน
โจทก์เป็นบุตรของ ส. ผู้ให้กู้ เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของ ส. ย่อมตกอยู่แก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1600 โจทก์เป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ส. ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีได้โดยไม่จำต้องร้องขอจัดการทรัพย์มรดกก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินชำระหนี้ต่อศาล: ผลของการไม่รับรองการชำระหนี้ และการตกเป็นของแผ่นดิน
คำแถลงขอวางเงินของจำเลยฉบับลงวันที่ 22 ธันวาคม 2540 คงปรากฏเพียงลายมือชื่อของหัวหน้าฝ่ายการเงิน บัญชี และพัสดุใต้ข้อความว่า "รับลงบัญชีแล้ว" กับมีใบเสร็จรับเงินแนบติดอยู่ โดยไม่ปรากฎว่ามีการเสนอคำแถลงของจำเลยต่อศาลเพื่อมีคำสั่งว่าจะให้รับเงินนั้นไว้เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ต่อไปตามที่จำเลยขอมาในคำแถลงหรือไม่ เมื่อโจทก์ขอให้ออกหมายบังคับคดีโดยอ้างว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ออกหมายบังคับคดีให้ตามคำขอของโจทก์ แสดงว่าขณะนั้นศาลชั้นต้นยังไม่ถือเอาว่าเงินที่จำเลยนำมาวางศาลนั้นศาลได้รับไว้เพื่อให้โจทก์มาขอรับไป มิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะออกหมายบังคับคดีเพื่อให้โจทก์ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยอีก ดังนั้น เมื่อโจทก์มาขอรับเงินในวันที่ 21 เมษายน 2547 ศาลชั้นต้นจะกลับมาถือเอาในชั้นหลังนี้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลซึ่งผู้มีสิทธิได้เรียกเอาภายใน 5 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 ย่อมเป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองไม่ตกเป็นโมฆะแม้จำนวนเงินกู้จริงไม่ตรงกับที่ระบุในสัญญา, ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 150,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2540 จนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ให้หักเงินที่จำเลยนำเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2540 วันที่ 7 สิงหาคม 2540 วันที่ 10 กันยายน 2540 วันที่ 26 ธันวาคม 2540 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2541 วันที่ 15 มิถุนายน 2541 และวันที่ 9 กันยายน 2541 ครั้งละ 6,000 บาท ออกจากยอดเงินที่ต้องชำระ โดยหักใช้เป็นค่าดอกเบี้ยก่อน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงเท่ากับจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยหักด้วยเงินที่จำเลยชำระแล้วตามวิธีคำนวณที่กำหนดในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งคำนวณต้นเงินรวมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องแล้วเป็นเงิน 194,052.11 บาท คดีจึงมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกากล่าวอ้างถึงความไม่สุจริตของโจทก์ในการดำเนินคดีและว่าจำเลยไม่ควรต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าฤชาธรรมเนียมตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาที่โต้แย้งการใช้ดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในการกำหนดความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยกู้เงินโจทก์เพียง 150,000 บาท แม้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่จำเลยให้การ ก็เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องชี้ขาดตัดสินให้จำเลยรับผิดในจำนวนหนี้เท่าที่มีอยู่จริง และสิทธิของโจทก์ที่จะบังคับตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ก็ย่อมมีอยู่เพียงเท่าที่จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญากู้เงิน สัญญาจำนองไม่ตกเป็นโมฆะ
การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยกู้เงินโจทก์เพียง 150,000 บาท แม้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่จำเลยให้การ ก็เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องชี้ขาดตัดสินให้จำเลยรับผิดในจำนวนหนี้เท่าที่มีอยู่จริง และสิทธิของโจทก์ที่จะบังคับตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ก็ย่อมมีอยู่เพียงเท่าที่จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญากู้เงิน สัญญาจำนองไม่ตกเป็นโมฆะ