พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันระงับเมื่อมีการประนีประนอมยอมความกับลูกหนี้หลัก ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายของ ก. ต่อโจทก์ แต่เมื่อโจทก์และ ก. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ ก. จะต้องรับผิด ความรับผิดของ ก. ที่เกิดจากสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายและความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงระงับสิ้นไป และทำให้ ก. ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และ 852 เมื่อความรับผิดของ ก. ต่อโจทก์เปลี่ยนเป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยเนื่องจากหนี้ของ ก. ตามสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายระงับสิ้นไปแล้วตามมาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดก: บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย/พินัยกรรม/เจตนาผู้ตาย
ผู้คัดค้านที่ 1 มิได้จดทะเบียนสมรสกับผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตาย และไม่ได้อยู่กินฉันสามีภริยากันก่อนมีการบังคับใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 ซึ่งใช้บังคับโดย พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้ผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับรองแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 ก็ตาม แต่ผลของบทกฎหมายดังกล่าวเพียงแต่ให้ถือว่าผู้ตายซึ่งเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาเท่านั้น หาได้มีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 ด้วยไม่ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิคัดค้านหรือร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และไม่อาจฎีกาโต้แย้งว่าพินัยกรรมเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่มีผลบังคับได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ต. ตามพินัยกรรม ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำคัดค้านว่า พินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมปลอมเพราะลายมือชื่อในช่องผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ตายและไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด จึงใช้บังคับไม่ได้ การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ฎีกาว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ ซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นโต้เถียงเป็นประเด็นไว้ในคำคัดค้าน จึงเป็นการฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พินัยกรรมของผู้ตายมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และ ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคท้าย ก็บัญญัติให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามเจตนาของผู้ตาย แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะเป็นมารดาและทายาทของผู้ตายก็ไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ต. ตามพินัยกรรม ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำคัดค้านว่า พินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมปลอมเพราะลายมือชื่อในช่องผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ตายและไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด จึงใช้บังคับไม่ได้ การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ฎีกาว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ ซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นโต้เถียงเป็นประเด็นไว้ในคำคัดค้าน จึงเป็นการฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พินัยกรรมของผู้ตายมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และ ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคท้าย ก็บัญญัติให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามเจตนาของผู้ตาย แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะเป็นมารดาและทายาทของผู้ตายก็ไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากการใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินสด ธนาคารมีลักษณะทดรองจ่ายเงิน
โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ โจทก์ทำสัญญาให้สินเชื่อแก่จำเลยโดยให้จำเลยสมัครเป็นสมาชิก โจทก์เป็นผู้กำหนดวงเงินสินเชื่อซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามดุลพินิจของโจทก์ โจทก์ออกบัตรเครดิตพร้อมกำหนดรหัสประจำตัวให้แก่จำเลยเพื่อสามารถนำไปถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) ได้ตามความต้องการของจำเลยภายใต้วงเงินที่โจทก์กำหนดให้ สัญญาดังกล่าวมีกำหนดเวลา 1 ปี โดยโจทก์คิดค่าธรรมเนียมจากจำเลยปีละ 500 บาท หากมีการต่อสัญญาออกไปจำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีในอัตราเดียวกันทุกปี การใช้สินเชื่อดังกล่าวจำเลยต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 26 ต่อปี และต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ภายใน 15 วัน นับจากวันที่โจทก์ออกใบแจ้งยอดบัญชีส่งให้จำเลยในแต่ละเดือน แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ได้ความว่าจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ดังกล่าวไปซื้อสินค้าหรือบริการแทนเงินสดได้โดยตรงก็ตาม แต่ลักษณะที่โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์อำนวยความสะดวกให้แก่จำเลยในการถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติได้ตามความต้องการของจำเลยโดยโจทก์เป็นผู้ควบคุมวงเงินที่จำเลยจะเบิกถอนได้ และคิดค่าธรรมเนียมจากการใช้บริการดังกล่าวเป็นรายปีจากการที่จำเลยสมัครเป็นสมาชิกของโจทก์เพื่อใช้บริการสินเชื่อในลักษณะนี้ จึงมีลักษณะที่โจทก์ทดรองจ่ายเงินสดให้แก่จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกเพื่อให้จำเลยสามารถเบิกเงินสดได้ตามเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติไปใช้จ่ายได้ตามความต้องการของจำเลยเองเช่นกัน โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ ให้สมาชิก การที่โจทก์ให้สมาชิกนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติได้แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลัง ถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีนี้จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) จำเลยใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2542 และต้องชำระเงินให้โจทก์ภายในวันที่ 7 เมษายน 2542 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงตั้งต้นนับแต่นั้น เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2545 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการบังคับคดีและการอุทธรณ์คำสั่ง กรณีศาลหนึ่งมอบหมายให้ศาลอื่นดำเนินการแทน
ศาลจังหวัดชลบุรีได้รับมอบหมายจากศาลแพ่งให้ดำเนินการบังคับคดี ยึดทรัพย์และขายทอดตลาดแทน จึงมีอำนาจสั่งไต่สวนเพื่อมีคำสั่งคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ สำหรับการยื่นอุทธรณ์นั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 คู่ความจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เมื่อศาลจังหวัดชลบุรีเป็นศาลที่ดำเนินการไต่สวนและมีคำสั่งคำร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงยื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นศาลชั้นต้นที่ไต่สวนและมีคำสั่งคำร้องได้ ศาลจังหวัดชลบุรีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนอง vs. สิทธิที่ยังมิได้จดทะเบียน: การบังคับคดีไม่กระทบสิทธิผู้ที่จะจดทะเบียนได้ก่อน
ป.วิ.พ. มาตรา 287 หมายถึงการที่เจ้าหนี้สามัญจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้นไม่ได้เท่านั้น แต่โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีหลักประกันพิเศษ และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 บุริมสิทธิที่จะใช้ได้ก่อนสิทธิจำนองจะต้องเป็นบุริมสิทธิที่ได้จดทะเบียนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 285 มาตรา 286 และมาตรา 287 เท่านั้น เมื่อตามป.พ.พ. มาตรา 1300 ผู้ร้องเป็นเพียงผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ซึ่งเป็นสิทธิอื่น ๆ ตามมาตรา 287 ดังกล่าว และเป็นสิทธิที่ยังมิได้จดทะเบียน จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนอง การบังคับคดีของโจทก์จึงไม่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้อง จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการบังคับคดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิจากการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน กับ สิทธิจำนอง: เจ้าหนี้จำนองมีสิทธิเหนือกว่า
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 288 และ 289 บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย" ก็คงมีความหมายถึงการที่เจ้าหนี้สามัญจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้นไม่ได้เท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีหลักประกันพิเศษ และตามมาตรา 287 ดังกล่าว บุริมสิทธิที่จะใช้ได้ก่อนสิทธิจำนองจะต้องเป็นบุริมสิทธิที่ได้จดทะเบียนแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 285 มาตรา 286 และมาตรา 287 เท่านั้น ผู้ร้องเป็นเพียงผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ซึ่งเป็นสิทธิอื่นๆ และเป็นสิทธิที่ยังมิได้จดทะเบียน จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์ เมื่อโจทก์บังคับคดีโดยชอบและไม่กระทบถึงสิทธิอื่นๆ จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 292-293 การอ้างเหตุวิกฤตเศรษฐกิจไม่เป็นเหตุงดบังคับคดี
กรณีที่จะงดการบังคับคดีได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 292 และ 293 แห่ง ป.วิ.พ. แต่ตามคำร้องของจำเลยหาได้อ้างเหตุตามบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลงดการบังคับดคีไม่ กลับอ้างวิกฤติเศรษฐกิจของไทยและเศรษฐกิจของโลกเป็นเหตุที่อ้างว่าตนไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ และของดการบังคับคดีอ้างว่าตนยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่ โดยอ้าง ป.พ.พ. มาตรา 205 และ 219 อันเป็นกฎหมายในส่วนสารบัญญัติซึ่งไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับการงดการบังคับคดีไว้ จึงไม่มีเหตุที่จะงดการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำพิพากษา
การที่จำเลยยกเหตุคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับค่าธรรมเนียมศาลทั้งสองครั้งรวมมาในคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ หามีผลทำให้จำเลยไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติมาตรา 234 ไม่ และแม้ว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนเป็นผลให้จำเลยไม่ต้องนำค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนมาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 ก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติมาตรา 234 ให้ครบถ้วน คำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 234 และการคืนค่าขึ้นศาลกรณีคำร้องไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 หากจำเลยที่ 3 ประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งก็ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แม้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จะเป็นเรื่องที่ขอให้ศาลรับค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์เกี่ยวเนื่องกับการขอขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลดังกล่าว แต่ก็เป็นการยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์ย่อมทำให้การบังคับคดีต้องล่าช้าออกไป อาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยที่ 3 จึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 234 ในกรณีเช่นนี้ให้ครบถ้วนด้วย การที่จำเลยที่ 3 ยกเหตุคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับค่าธรรมเนียมศาลทั้งสองครั้งรวมมาในคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ หามีผลทำให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 234 ไม่
จำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน เป็นผลให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องนำค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนมาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษา
ฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 นำมาวางศาลด้วยนั้นเป็นปัญหาตามอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์โดยทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งและเสียค่าขึ้นศาลมา 200 บาท ซึ่งที่ถูกต้องแล้วต้องทำเป็นอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งฉบับดังกล่าวมีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนนี้แก่จำเลยที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน เป็นผลให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องนำค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนมาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษา
ฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ซึ่งจำเลยที่ 3 นำมาวางศาลด้วยนั้นเป็นปัญหาตามอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์โดยทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งและเสียค่าขึ้นศาลมา 200 บาท ซึ่งที่ถูกต้องแล้วต้องทำเป็นอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งฉบับดังกล่าวมีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนนี้แก่จำเลยที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีจากทรัพย์สินอื่น แม้มีจำนองเฉพาะบางแปลง
การจำนองเป็นสัญญาเอาทรัพย์สินตราไว้เป็นการประกันหนี้โดยมีหนี้ประธานและจำนองอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้นั้น ซึ่งอาจแยกออกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ เจ้าหนี้จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญ คือ บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินทั่วไปของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 หรือจะบังคับจำนอง คือ ใช้บุริมสิทธิ์บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองตามมาตรา 728 ก็ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับว่าในกรณีซึ่งเป็นหนี้จำนองแล้ว ผู้เป็นเจ้าหนี้จะฟ้องร้องบังคับลูกหนี้อย่างหนี้สามัญตามมาตรา 214 ไม่ได้ เป็นแต่เพียงกฎหมายบังคับว่า ในกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบังคับจำนองสิทธิของโจทก์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 733 เท่านั้น ประกอบกับมาตรา 733 มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินได้ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลยรวมทั้งทรัพย์ที่จำนองได้ มิใช่โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้แต่เฉพาะที่ดินที่จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้เท่านั้น