พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความหลังตัวการตาย และการจำหน่ายคดีเมื่อไม่มีผู้มาแทน
การที่จำเลยที่ 2 แต่งตั้ง พ. ทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 นั้น เป็นการแต่งตั้งตัวแทนตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่ความตายไปจะเป็นผลให้สัญญาตัวแทนระงับไปก่อนที่ พ. ทนายจำเลยที่ 2 จะยื่นอุทธรณ์ก็ตาม แต่ พ. ก็ยังคงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของจำเลยที่ 2 จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ได้ อำนาจทนายความหาหมดสิ้นไปทันทีเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายไม่ พ. จึงมีอำนาจลงนามในฐานะทนายจำเลยที่ 2 ในอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 2 ได้ แต่เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2542 จนถึงบัดนี้เกินกำหนด 1 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าเป็นเพราะเหตุใด จึงสมควรให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความหลังคู่ความถึงแก่ความตาย: การปกป้องประโยชน์ทางกฎหมายจนกว่าจะมีผู้แทน
จำเลยที่ 2 แต่งตั้ง พ. ทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 เป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่ความตายไปจะเป็นผลให้สัญญาตัวแทนระงับไปก่อนที่ พ. จะยื่นอุทธรณ์ แต่ พ. ก็ยังคงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของจำเลยที่ 2 จะเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ได้ อำนาจทนายความหาหมดสิ้นไปทันทีเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายไม่ พ. จึงมีอำนาจลงนามในฐานะทนายจำเลยที่ 2 ในอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนในคดีผิดสัญญาหมั้นและการห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
โจทก์ที่ 1 อ้างว่าการผิดสัญญาหมั้นของจำเลยทั้งสามทำให้โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายต่อกายและชื่อเสียงของโจทก์ที่ 1 จึงเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้ค่าทดแทนความเสียหายเป็นเงิน 50,000 บาท ส่วนโจทก์ที่ 2 อ้างว่าจำเลยทั้งสามไปสู่ขอโจทก์ที่ 1 โดยตกลงให้สินสอดแก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 50,000 บาท แต่จำเลยทั้งสามผิดสัญญาหมั้นและไม่ชำระค่าสินสอด จึงเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าสินสอดจำนวนดังกล่าว แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองต่างเกิดจากการผิดสัญญาหมั้น แต่โจทก์ที่ 1 เรียกร้องให้รับผิดใช้ค่าทดแทนความเสียหายต่อกายและชื่อเสียงของโจทก์ที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1440 (1) ส่วนโจทก์ที่ 2 เรียกร้องให้ชำระค่าสินสอดแก่โจทก์ที่ 2 ตามมาตรา 1437 วรรคสาม จึงเป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 50,000 บาท และให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ว่า จำเลยทั้งสามไม่ต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสอง ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามต่อโจทก์แต่ละคนไม่เกินห้าหมื่นบาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามที่ว่า จำเลยทั้งสามผิดสัญญาหมั้นตั้งแต่วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปี 2543 แต่โจทก์ทั้งสองเพิ่งจะยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2544 พ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันผิดสัญญาหมั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาว่า จำเลยทั้งสามผิดสัญญาหมั้นเมื่อวันขึ้น 10 ค่ำ เดือนหก หรือเดือนมิถุนายน 2544 เพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามที่ว่า จำเลยทั้งสามผิดสัญญาหมั้นตั้งแต่วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปี 2543 แต่โจทก์ทั้งสองเพิ่งจะยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2544 พ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันผิดสัญญาหมั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาว่า จำเลยทั้งสามผิดสัญญาหมั้นเมื่อวันขึ้น 10 ค่ำ เดือนหก หรือเดือนมิถุนายน 2544 เพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659-660/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องขอให้สืบพยานเพิ่มเติม ศาลต้องดำเนินการตามขั้นตอน ป.วิ.พ. ก่อนวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า ทนายจำเลยที่ 2 จำเวลานัดสืบพยานคลาดเคลื่อน มิได้มีเจตนาประวิงคดี ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 2 และมีคำสั่งให้สืบพยานจำเลยที่ 2 ต่อไป หากเป็นจริงดังอ้างจำเลยที่ 2 ก็มิได้จงใจขาดนัดพิจารณา กรณีจึงต้องไต่สวนคำร้องเสียก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) และ (4) ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องโดยไม่ทำการไต่สวน เป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ชอบที่จะต้องมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 เสียก่อนแล้วมีคำสั่ง ไม่สมควรก้าวล่วงข้ามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยวินิจฉัยตามคำร้องและอุทธรณ์คำสั่งคำร้องของจำเลยที่ 2 เลยไปว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ประวิงคดี ฟังยังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ติดใจสืบพยาน และสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยที่ 2 ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ กรณีไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ (2) ประกอบด้วย มาตรา 247 และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องทายาทค้ำประกัน – การจำหน่ายคดีเมื่อทายาทถูกพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 6 และยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตตามคำร้อง แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 6 ได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานเจ้าหน้าที่ว่าให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกา พอแปลได้ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว และแม้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้แก่โจทก์ก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาในคดีคนละส่วนไม่เกี่ยวข้องกัน อย่างไรก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทิ้งอุทธรณ์ไปแล้ว คดีตามอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนนี้จึงขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลโดยชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 6 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ ส. ทำไว้กับโจทก์เพื่อประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ อันเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกของ ส. ฟ้องกองมรดกเพื่อบังคับสิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว ซึ่งโจทก์จะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 6 หรือทายาทคนใดของ ส. ก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1737 โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยที่ 6 ให้รับผิดในฐานะส่วนตัว ดังนั้น แม้จำเลยที่ 6 จะถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่เมื่อไม่มีเจ้าหนี้รายใดฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ส. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 82 และศาลมิได้พิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของ ส. ตามมาตรา 84 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการทรัพย์สินในกองมรดกของ ส. หรือเข้ามาต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของ ส. แทนจำเลยที่ 6 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) (3) ได้ จำเลยที่ 6 จึงยังคงมีอำนาจต่อสู้คดีนี้ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 6 จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 6 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ ส. ทำไว้กับโจทก์เพื่อประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ อันเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกของ ส. ฟ้องกองมรดกเพื่อบังคับสิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว ซึ่งโจทก์จะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 6 หรือทายาทคนใดของ ส. ก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1737 โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยที่ 6 ให้รับผิดในฐานะส่วนตัว ดังนั้น แม้จำเลยที่ 6 จะถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่เมื่อไม่มีเจ้าหนี้รายใดฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ส. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 82 และศาลมิได้พิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของ ส. ตามมาตรา 84 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการทรัพย์สินในกองมรดกของ ส. หรือเข้ามาต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของ ส. แทนจำเลยที่ 6 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) (3) ได้ จำเลยที่ 6 จึงยังคงมีอำนาจต่อสู้คดีนี้ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 6 จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดสัญญาเงินกู้: ข้อตกลงดอกเบี้ยเดิมเป็นโมฆะ ใช้ดอกเบี้ยตามกฎหมายและเริ่มนับผิดนัดจากวันที่ถูกต้อง
สัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 ทำกับธนาคารมีข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระบุไว้ในสัญญาข้อ 2 ว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และยอมให้ธนาคารมีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยใหม่ได้ตามแต่ธนาคารจะเห็นสมควรโดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้กู้ก่อน ทั้งสัญญาข้อ 3 ด้วยว่า หากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ตกลงตามข้อ 2 และค้างชำระดอกเบี้ยไม่น้อยกว่าปีหนึ่ง ผู้กู้ตกลงให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับเงินต้น และให้คิดดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันกับที่กล่าวมาในข้อ 2 สัญญากู้เงินดังกล่าวมิได้มีข้อตกลงให้ธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดในอัตราที่สูงขึ้นหรือแยกต่างหากจากอัตราตามสัญญาข้อ 2 กรณีจึงไม่ต้องด้วยความในตอนท้ายของมาตรา 224 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่จะนำมาปรับแก่คดีเพื่อให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดตามอัตราที่ธนาคารประกาศกำหนด
ตามสัญญากู้เงินจำเลยที่ 1 ต้องผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนภายในวันสิ้นเดือนของทุกเดือน เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้งวดเดือนธันวาคม 2540 แล้ว การชำระหนี้งวดต่อไปต้องชำระภายในวันสิ้นเดือนของเดือนมกราคม 2541 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไป
จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคารโดยไม่เคยโต้แย้งว่าธนาคารคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่การคิดดอกเบี้ยและการประกาศหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นเรื่องที่ธนาคารกระทำไปฝ่ายเดียว โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เพียงแต่ชำระเงินเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 กระทำการอันใดตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ เมื่อธนาคารไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเนื่องจากข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ กรณีจึงต้องนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่ธนาคารไปแล้วทั้งหมดหักออกจากต้นเงิน
ตามสัญญากู้เงินจำเลยที่ 1 ต้องผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนภายในวันสิ้นเดือนของทุกเดือน เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้งวดเดือนธันวาคม 2540 แล้ว การชำระหนี้งวดต่อไปต้องชำระภายในวันสิ้นเดือนของเดือนมกราคม 2541 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไป
จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคารโดยไม่เคยโต้แย้งว่าธนาคารคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่การคิดดอกเบี้ยและการประกาศหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นเรื่องที่ธนาคารกระทำไปฝ่ายเดียว โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เพียงแต่ชำระเงินเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 กระทำการอันใดตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ เมื่อธนาคารไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเนื่องจากข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ กรณีจึงต้องนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่ธนาคารไปแล้วทั้งหมดหักออกจากต้นเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าดอกเบี้ยที่เรียกเก็บไม่ถือเป็นเบี้ยปรับ
หนังสือสัญญากู้เงิน ข้อ 1 วรรคสอง มีใจความว่า ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญาในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของธนาคารฯ สัญญาข้อนี้เป็นข้อตกลงที่ให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสามในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันทำสัญญาได้อยู่แล้วแม้ยังมิได้มีการผิดนัดหรือผิดสัญญา อันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม แม้จะปรากฏว่าในทางปฏิบัติโจทก์คิดดอกเบี้ยครั้งแรกเพียงอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และต่อมาในระหว่างสัญญาโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นและต่ำลงหลายครั้ง โดยครั้งสุดท้ายโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นจากอัตราร้อยละ 7.25 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2544 เป็นต้นมาก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยทั้งสามนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาโดยยังไม่คิดดอกเบี้ยถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เท่านั้น ข้อตกลงตามสัญญาข้อ 1 วรรคสอง ดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และแม้ว่าสัญญาข้อ 3 จะระบุว่าหากผู้กู้ผิดนัดยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าที่กำหนดในข้อ 1 ได้ก็ตาม ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ก็มิใช่ดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเพิ่มขึ้นเพราะเหตุผิดนัดตามสัญญาข้อ 3 เพราะโจทก์มิได้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 1 แต่อย่างใด จึงหาใช่เบี้ยปรับที่ศาลจะที่ศาลจะมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยคัดค้านก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นและยื่นคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์คำสั่งว่า "รับฎีกาคำสั่ง สำเนาให้จำเลย ให้โจทก์นำส่ง การส่งไม่มีผู้รับให้ปิดหมาย" และสั่งในคำร้องขออุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า "อนุญาต" โดยไม่ได้สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องแก่จำเลย ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ดังกล่าวแก่จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้จำเลยอุทธรณ์มีโอกาสคัดค้านก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: คดีครอบครองที่ดินที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท องค์การบริหารส่วนตำบลจำเลยขออนุญาตนำรถแบ็กโฮเข้าไปขุดหน้าดินในที่ดินดังกล่าวเพื่อนำไปถมทางเกวียนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ให้ประชาชนสัญจรไปมา โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อจำเลยขุดหน้าดินแล้ว จำเลยยอมให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้เหมือนเดิม แต่เมื่อจำเลยได้ขุดหน้าดินเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยได้นำป้ายปักไว้ว่า ห้ามจับปลาในร่องน้ำ และห้ามมิให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องกับร่องน้ำ กับได้นำราษฎรเข้าไปจับปลาที่โจทก์เลี้ยงไว้ในร่องน้ำ การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เพราะไม่สามารถทำนาในที่ดินส่วนที่จำเลยขุดหน้าดินไป ไม่สามารถใช้น้ำในร่องน้ำปลูกผักสวนครัวและเลี้ยงปลาในร่องน้ำได้ ขอให้พิพากษาว่าที่ดินส่วนที่จำเลยขุดเป็นร่องน้ำเป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง และเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดผลประโยชน์ในการใช้ที่ดินที่จำเลยขุดเป็นร่องน้ำ แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่พฤติการณ์ของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้โต้แย้งว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นที่ดินสาธารณะ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ โดยถือทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์เรียกร้อง
ที่ดินพิพาทมีราคา 81,648 บาท ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นเงิน 80,000 บาท เมื่อราคาที่ดินและค่าเสียหายรวมกันเป็นเงิน 161,648 บาท ไม่เกิน 300,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุรินทร์ที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 24 (4) ศาลจังหวัดสุรินทร์ชอบที่จะโอนคดีเรื่องนี้ไปให้ศาลแขวงสุรินทร์พิจารณาพิพากษาต่อไปตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย การที่ศาลแขวงสุรินทร์มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับโอนคดี แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับโอนคดี และให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความ จึงไม่ชอบ
ที่ดินพิพาทมีราคา 81,648 บาท ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นเงิน 80,000 บาท เมื่อราคาที่ดินและค่าเสียหายรวมกันเป็นเงิน 161,648 บาท ไม่เกิน 300,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุรินทร์ที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 24 (4) ศาลจังหวัดสุรินทร์ชอบที่จะโอนคดีเรื่องนี้ไปให้ศาลแขวงสุรินทร์พิจารณาพิพากษาต่อไปตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย การที่ศาลแขวงสุรินทร์มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับโอนคดี แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับโอนคดี และให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความ จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: คดีครอบครองที่ดินพิพาท (ทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 แสน) ศาลจังหวัดมีอำนาจโอนให้ศาลแขวงพิจารณา
พฤติการณ์ของจำเลยทั้งหกตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมา เห็นได้ชัดว่าจำเลยทั้งหกได้โต้แย้งว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นที่ดินสาธารณะ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีทุนทรัพย์ โดยถือทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์เรียกร้อง ราคาที่ดินพิพาทในคดีนี้เมื่อรวมกับค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งหกแล้ว ไม่เกิน 300,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุรินทร์ที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฯ มาตรา 17 ประกอบมาตรา 24 (4) ศาลจังหวัดสุรินทร์ชอบที่จะโอนคดีเรื่องนี้ไปให้ศาลแขวงสุรินทร์พิจารณาพิพากษาต่อไปตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฯ มาตรา 16 วรรคท้าย