พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5772/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเพิกถอนการขายทอดตลาดซ้ำ ศาลยกคำร้องตามมาตรา 144 ว.พ.พ.
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทอดตลาดได้ โดยให้เหตุผลว่า สถานที่ตั้งทรัพย์ไม่ตรงกับแผนที่ประกอบประกาศขายทอดตลาดศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง เพราะผู้ร้องไม่ไปศาล ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าอุทธรณ์ของผู้ร้องไม่เป็นสาระสำคัญแก่คดี ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดในลักษณะเดิมอีก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จากข้อเท็จจริงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องในการตรวจสอบรายละเอียดที่ตั้งของทรัพย์ตามแผนที่ในประกาศขายทอดตลาด การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง การที่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นดังกล่าวข้างต้นก็ดี การไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้องในเวลาต่อมาก็ดี ทำให้ประเด็นตามข้อกล่าวอ้างของผู้ร้องในการขอเพิกถอนการขายทอดตลาดถึงที่สุดโดยคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้โดยเหตุผลเดียวกันอีก จึงเป็นการขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเอกสารใหม่เข้าสู่ชั้นฎีกาโดยมิชอบ และน้ำหนักพยานหลักฐานการรับจ้างก่อสร้าง
จำเลยเพิ่งจะอ้างส่งบันทึกคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาและใบเสนอราคาเป็นเอกสารท้ายฎีกา โจทก์ไม่มีโอกาสหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งเอกสารดังกล่าวได้ทำให้โจทก์เสียเปรียบในการต่อสู้คดี ทั้งจำเลยรู้ถึงความมีอยู่ของเอกสารดังกล่าวตั้งแต่แรกที่โจทก์ฟ้องคดี การที่จำเลยยื่นเอกสารดังกล่าวในชั้นฎีกาเป็นการนำเอกสารเข้าสู่สำนวนคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5660/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการควบคุมงานก่อสร้างบกพร่อง, อายุความเริ่มนับเมื่อทราบตัวผู้รับผิด
แม้อธิบดีกรมโจทก์จะทราบความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชดใช้ทางแพ่งที่ให้จำเลยทั้งสองรับผิดเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2537 ตามที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นวันเริ่มนับอายุความ แต่อธิบดีกรมโจทก์ก็ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชดใช้ทางแพ่งดังกล่าว จึงยังไม่ถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว และเมื่อต่อมามีการนำเรื่องสู่คณะกรรมการที่ปรึกษาความรับผิดทางแพ่งของกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นหน่วยงานชี้ขาดสุดท้าย และเมื่อคณะกรรมการที่ปรึกษาความรับผิดทางแพ่งของกระทรวงการคลังชี้ขาดให้จำเลยทั้งสองรับผิดและแจ้งคำชี้ขาดให้อธิบดีกรมโจทก์ทราบเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2538 จึงถือว่าเป็นวันที่โจทก์รู้ตัวผู้พึงจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โจทก์ฟ้องวันที่ 22 ธันวาคม 2538 ยังไม่เกิน 1 ปี จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: แม้เข้าใจผิดว่าเป็นของตนเอง หากเข้าครอบครองโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของ เกิน 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์
การที่ผู้ร้องทั้งห้าได้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของผู้อื่นแม้จะเข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของตนเองก็ตาม หากแต่ผู้ร้องทั้งห้าได้ยึดถือครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องรู้มาก่อนว่าที่ดินนั้นเป็นของผู้อื่นแล้วแย่งการครอบครองมาเป็นเวลา 10 ปี จึงจะได้กรรมสิทธิ์ แม้ผู้ร้องทั้งห้าเข้าครอบครองที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านทั้งสามโดยเข้าใจผิดว่าเป็นของผู้ร้องทั้งห้าเองก็ถือได้ว่าเป็นการเข้ายึดถือครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แล้ว หากผู้ร้องทั้งห้าเข้าครอบครองโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกิน 10 ปี ผู้ร้องทั้งห้าย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5514/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: ยกเว้นตาม พ.ร.ฎ. และค่าขึ้นศาลกรณีอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
แม้ว่าบทบัญญัติตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ หมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรมีข้อกำหนดว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้ปิดอากรแสตมป์ในอัตราอากรแสตมป์ 1 บาทต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แต่ได้มีพ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 มาตรา 6 (33) ให้ยกเว้นอากรแสตมป์ในตราสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 374) พ.ศ. 2543 มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ยกเว้นอากรแสตมป์ ตามหมวด 6 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรแก่...(33) อนุญาโตตุลาการเฉพาะตราสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ" กรณีจึงทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบทกฎหมายดังกล่าว
ผู้ร้องอุทธรณ์ข้อกฎหมายต่อศาลฎีกาตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เช่นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ. ตาราง 1 (2) (ก)
ผู้ร้องอุทธรณ์ข้อกฎหมายต่อศาลฎีกาตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เช่นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ. ตาราง 1 (2) (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5514/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตาม พ.ร.ฎ.ยกเว้นรัษฎากร ศาลรับฟังเป็นพยานได้
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ หมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้ปิดอากรแสตมป์ในอัตราอากรแสตมป์ 1 บาทต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แต่ได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2500 มาตรา 6 (33) ให้ยกเว้นอากรแสตมป์ในตราสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 374) พ.ศ.2543 มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติว่า ให้ยกเว้นอากรแสตมป์ตามหมวด 6 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรแก่ (33) อนุญาโตตุลาการเฉพาะตราสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลย่อมรับฟังคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นพยานหลักฐานได้
ผู้ร้องอุทธรณ์ข้อกฎหมายต่อศาลฎีกาตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เช่นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
ผู้ร้องอุทธรณ์ข้อกฎหมายต่อศาลฎีกาตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เช่นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5451/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากศาลอุทธรณ์แก้โทษจำคุก ศาลฎีกาแก้เป็นรอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้โทษจำคุกจำเลย 4 เดือน จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่าข้อเท็จจริงน่าเชื่อตามพยานหลักฐานจำเลยว่า โจทก์ร่วมได้ลงมือประทุษร้ายร่างกายจำเลย เป็นเหตุให้จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันและหากฟังว่าจำเลยกระทำความผิดก็มีเหตุสมควรรอการลงโทษเป็นการโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานและการลงโทษจำเลย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เว้นแต่ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา หรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ก็ให้รับฎีกานั้นไว้พิจารณาต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ซึ่งขั้นตอนในการที่จะขอให้ผู้พิพากษาอนุญาตให้ฎีกาดังกล่าว มิได้มีบัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะใน ป.วิ.อ. จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 กล่าวคือ จำเลยต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ แต่ตามคำร้องคงเพียงขอเฉพาะผู้พิพากษาสองคนซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยระบุชื่อให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาคนอื่นซึ่งพิจารณาในศาลชั้นต้นหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ดังนี้ การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลชั้นต้นคนหนึ่งไม่ใช่ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุชื่อตามคำร้องมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยลำพังจึงไม่มีผลเป็นการอนุญาตให้ฎีกาที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 221 เพราะมิได้ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยในการที่จะขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลชั้นต้นคนนั้นเป็นผู้อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตลอดทั้งมิได้ผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5026/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องเรียนทนายต่อสภาทนายความจากความเข้าใจผิดเรื่องค่าเสียหาย ไม่ถือเป็นการละเมิด
สาเหตุที่จำเลยร้องเรียนโจทก์ต่อสภาทนายความเกิดจากความเข้าใจของจำเลยว่า จำเลยไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการทำหน้าที่ของโจทก์ เนื่องจากโจทก์บรรยายคำฟ้องคดีแรงงานโดยระบุว่านายจ้างของจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า เงินพักผ่อนประจำปีในปีที่ถูกเลิกจ้าง เงินโบนัสประจำปีที่ถูกเลิกจ้าง เงินกองทุนเลี้ยงชีพตามกฎหมาย ค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างก่อนเกษียณอายุในการทำงานของจำเลย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,165,395 บาท แต่ตามคำขอท้ายฟ้องคดีแรงงานโจทก์ขอให้นายจ้างของจำเลยปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานโดยจ่ายค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า เงินพักผ่อนประจำปี เงินโบนัสประจำปีในปีที่ถูกเลิกจ้าง ค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างก่อนเกษียณอายุในการทำงานของจำเลย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 475,041 บาท และศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นายจ้างของจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าเสียหาย และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแล้ว แม้ศาลฎีกาจะพิพากษาให้นายจ้างของจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าเสียหาย และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเพิ่มจากที่ศาลแรงงานกลางพิพากษา แต่จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นก็เป็นจำนวนตามที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องนั่นเอง เมื่อจำนวนเงินดังกล่าวแตกต่างจากจำนวนเงินตามคำบรรยายฟ้องเป็นอย่างมาก ย่อมทำให้จำเลยเข้าใจว่าการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ทำให้จำเลยได้รับชดใช้เงินน้อยกว่าที่ควรจะเป็น และเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ การที่จำเลยร้องเรียนโจทก์ต่อสภาทนายความโดยระบุถึงการกระทำของโจทก์ตามที่ปรากฏแก่จำเลย โดยไม่มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากความเป็นจริง จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ไม่ใช่เป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม โดยมีเจตนาให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงเกียรติคุณหรือทางทำมาหาได้ดังที่โจทก์กล่าวอ้าง จำเลยหาได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำโดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายไม่ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบเนื่องจากไม่วางค่าธรรมเนียม ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น และศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางภายในกำหนด จึงไม่รับอุทธรณ์จำเลย จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นและให้สืบพยานใหม่เท่ากับขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ให้ยกคำร้อง เท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4270/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าและการกระทำโดยบันดาลโทสะ: กรณีตำรวจยิงผู้ตาย
การที่จำเลยอ้างว่าผู้ตายใช้ให้จำเลยไปยืมเงินผู้อื่นมาให้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนเกิดเหตุ และจำเลยชอบที่จะต้องดำเนินการเรียกร้องบังคับให้ผู้ตายชำระหนี้ให้จำเลยตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ส่วนถ้อยคำที่ผู้ตายพูดกับจำเลยที่เป็นคำก้าวร้าว หยาบคายเป็นเรื่องที่ไม่สมควรที่จะกล่าวออกมา และเป็นที่ระคายเคืองแก่จำเลยอยู่บ้างก็ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจึงมิใช่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72