คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิมเกียรติ ชาญศิลป์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4108/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนอง แม้โอนสิทธิไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้รับจำนองมีสิทธิหากโจทก์ไม่เพิกถอน
แม้จำเลยที่ 1 จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทกับผู้ร้องด้วย โจทก์ผู้มีสิทธิได้รับมรดกและอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ร้องได้ ซึ่งหากพิสูจน์ได้ว่า การจดทะเบียนจำนองไม่มีค่าตอบแทนหรือกระทำไปโดยไม่สุจริต ศาลย่อมมีคำพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองในที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด ดังนั้น สัญญาจำนองดังกล่าวจึงมีผลผูกพันตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทในส่วนที่เป็นของโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3851/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์ตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ หากมีคู่ความอื่นคัดค้าน
ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ ในกรณีที่ไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ คดีนี้โจทก์ได้ยื่นคำแถลงคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกามาพร้อมคำแก้อุทธรณ์ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3730/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวต้องสอดคล้องกับคำขอท้ายฟ้องและประเด็นแห่งคดี
วัตถุประสงค์ของการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 ก็เพื่อให้โจทก์สามารถบังคับคดีได้เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ดังนั้น สิ่งที่จะขอคุ้มครองจะต้องตรงกับการกระทำของจำเลยที่ถูกฟ้องร้องหรืออยู่ในประเด็นแห่งคดีและเป็นเรื่องที่อยู่ในคำขอท้ายฟ้องด้วย โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โดยหลังจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้โจทก์แล้วกลับไปทำสัญญาจะซื้อจะขายและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แต่ท้ายฟ้องของโจทก์ไม่มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากโจทก์ไป คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ที่ขอห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับที่ดินและมีคำสั่งอายัดที่ดินไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 มาใช้บังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3730/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต้องสอดคล้องกับคำขอท้ายฟ้องและประเด็นแห่งคดี
วัตถุประสงค์ของการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 ก็เพื่อให้โจทก์สามารถบังคับคดีได้เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ดังนั้น สิ่งที่จะขอคุ้มครองจะต้องตรงกับการกระทำของจำเลยที่ถูกฟ้องร้องหรืออยู่ในประเด็นแห่งคดีและเป็นเรื่องที่อยู่ในคำขอท้ายฟ้องด้วย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโดยหลังจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้โจทก์แล้วกลับไปทำสัญญาจะซื้อจะขายและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แต่ท้ายฟ้องของโจทก์ไม่มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากโจทก์ไป คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ที่ขอห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทและมีคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้หลังมีคำสั่งอายัด - ผู้ร้องแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้หลังรับทราบคำสั่งอายัด จึงไม่มีสิทธิ
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดเงินค่าปรับและเงินชดเชยงานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ โดยห้ามมิให้ผู้ร้องจำหน่ายจ่ายโอนเงินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นใด แต่ให้จัดส่งเงินดังกล่าวไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้ร้องได้รับหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตอบข้อหารือว่า ผู้ร้องมีสิทธินำเงินค่าปรับที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 1,347,666 บาท ไปชำระหนี้จำนวน 6,244,185.80 บาท ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่ผู้ร้องได้ โดยผู้ร้องต้องแจ้งขอใช้สิทธิหักลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 หากผู้ร้องไม่แจ้งการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ก็จะต้องส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่ได้แจ้งอายัด ผู้ร้องจึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าปรับส่วนที่เหลือจำนวน 4,896,519.80 บาท ซึ่งถือได้ว่าผู้ร้องได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 และ 342 แล้ว แต่ผู้ร้องเพิ่งจะแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 หลังจากวันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งอายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้ได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้หลังมีคำสั่งอายัด: สิทธิของผู้ร้องในการนำเงินค่าปรับไปชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดเงินค่าปรับและเงินชดเชยงานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2542 โดยห้ามมิให้ผู้ร้องจำหน่ายจ่ายโอนเงินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นใด แต่ให้จัดส่งเงินดังกล่าวไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าวหลังจากผู้ร้องได้รับหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2543 และสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตอบข้อหาลือลงวันที่ 26 มกราคม 2544 ว่า ผู้ร้องมีสิทธินำเงินค่าปรับที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ไปชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่ผู้ร้องได้โดยผู้ร้องต้องมีหนังสือแจ้งขอใช้สิทธิหักลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 หากผู้ร้องไม่แจ้งการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ก็จะต้องส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่ได้แจ้งอายัด ผู้ร้องจึงมีหนังสือลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงผลการหารือกับสำนักงานอัยการสูงสุด และแจ้งให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าปรับส่วนที่เหลือ ซึ่งถือได้ว่าผู้ร้องได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 และ 342 แล้ว แต่เนื่องจากผู้ร้องเพิ่งจะแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 หลังจากวันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งอายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้ได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าไฟฟ้า-การชำระหนี้-เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าชำรุด-สิทธิเรียกร้อง-อายุความ 5 ปี
เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงหน่ายการใช้ไฟฟ้าไม่ตรงกับที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไปจริง แต่มิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ทั้งการติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเปรียบเทียบก็ไม่ได้แสดงแน่ชัดว่าเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงค่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าคลาดเคลื่อนมาแต่เมื่อใด การที่โจทก์คิดค่าไฟฟ้าย้อนหลังโดยดูจากประวัติการใช้ไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงแต่คาดคะเนเอง ไม่อาจฟังเอาแน่นอนว่าเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าคลาดเคลื่อนมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2537 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดค่าไฟฟ้าย้อนหลังตั้งแต่เดือนดังกล่าวจนถึงวันที่ 12 มกราคม 2538 ที่พบความชำรุดบกพร่อง โจทก์คงมีสิทธิคิดค่าไฟฟ้าย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2538 ถึงวันที่ 21 เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องใหม่ให้จำเลยที่ 1
โจทก์ขายกระแสไฟฟ้าแก่จำเลยที่ 1 เพื่อใช้ในการประกอบกิจการโรงงานผลิตฟิล์มของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าของโจทก์จึงเข้าข้อยกเว้นไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามความในตอนท้ายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (1) แต่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3473/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง แม้เกิดละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่
ขณะเกิดเหตุคดีนี้ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มีผลใช้บังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ในการฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐให้รับผิดทางละเมิดต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ฉะนั้น เมื่อคดีปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคฯ เป็นหน่วยงานของรัฐ ส่วนจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 และที่ 9 เป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ อันเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4ถึงที่ 6 และที่ 9 ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ดังกล่าว ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3339/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร: ความรู้ในการกระทำความผิดและลักษณะฉกรรจ์ตามกฎหมายอาญา
แม้ตามทางพิจารณาจะได้ความว่า การกระทำความผิดฐานรับของโจรของจำเลยที่ 2 ได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการชิงทรัพย์ ซึ่งต้องด้วยลักษณะฉกรรจ์ในความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสอง ก็ตาม แต่การจะลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักขึ้นตามลักษณะฉกรรจ์ดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อได้ความว่าในขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 2 ได้รู้อยู่ว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ทั้งนี้ตามมาตรา 62 วรรคท้าย ซึ่งในข้อนี้ตามทางพิจารณาได้ความเพียงว่า จำเลยที่ 2 รับรถยนต์กระบะของกลางมาจาก ข. เท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าขณะกระทำความผิด จำเลยที่ 2 ได้รู้อยู่แล้วว่ารถยนต์กระบะของกลางเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสอง ได้ การกระทำของจำเลยที่ 2 คงเป็นความผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 357 วรรคแรก เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และเมื่อศาลฎีกาไม่ได้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสอง แล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 2 ต่อไปว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 357 วรรคสอง นั้นชอบหรือไม่ เพราะไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3300/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริง และการวินิจฉัยความผิดฐานบุกรุกและทำร้ายร่างกาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 297, 364, 365 (1) (2) ประกอบมาตรา 83 เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 297 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดฐานบุกรุก ให้ยกฟ้องในความผิดฐานนี้ และพิพากษาลดโทษจำเลยที่ 1 ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส คงจำคุก 4 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แก้โทษของความผิดในบทหนักอันเป็นบทที่ศาลชั้นต้นลงโทษแม้จะยกฟ้องความผิดในบทที่เบากว่า ก็ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาพอฟังว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานบุกรุกเป็นการโต้แย้งดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
of 31