คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิมเกียรติ ชาญศิลป์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5745/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลเมื่อศาลจำหน่ายคดี และอำนาจแก้ไขคำสั่งผิดระเบียบ
ป.วิ.พ. มาตรา 151 (เดิม) ไม่ได้กำหนดให้คืนค่าธรรมเนียมศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามมาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 132 (1) ศาลจึงไม่อาจสั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้แก่ผู้ร้องได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งครั้งแรกให้คืนค่าขึ้นศาลให้ผู้ร้อง 190,000 บาท จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เมื่อศาลชั้นต้นตรวจพบเหตุผิดระเบียบดังกล่าวแม้จะเกินกว่า 8 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งครั้งแรก ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจสั่งแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามมาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5675/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีทุนทรัพย์: คำขอให้บังคับทำและการชดใช้ค่าเสียหายในอนาคต ไม่ทำให้คดีมีทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กกั้นที่ดิน และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันปรับถมที่ดินของโจทก์ เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองกระทำการ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ราคาที่ดินของโจทก์ที่พังทลายเป็นเงิน 150,000 บาทด้วย ก็เป็นคำขอบังคับเมื่อไม่อาจบังคับตามคำขอข้อแรกและข้อที่สองได้ ซึ่งถือว่าเป็นคำขอรอง ส่วนที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหายเป็นเงินเดือนละ 4,000 บาท ก็เป็นการขอให้ชำระค่าเสียหายนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป อันเป็นค่าเสียหายในอนาคต ไม่อาจนำมาคิดคำนวณเป็นทุนทรัพย์ได้ จึงไม่ทำให้คดีของโจทก์กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ คดีของโจทก์ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด/ตัวการ: ความรับผิดในสัญญาซื้อขายปลา การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายภายในอายุความ
การผลิตปลากระป๋อง การสั่งปลาและการรับมอบปลาจากโจทก์ จำเลยรับว่าเกิดในที่ทำการของจำเลย แต่อ้างว่าเป็นการกระทำโดยส่วนตัวของ พ. และ ร. การที่จำเลยยินยอมให้ พ. และ ร. ใช้สถานที่ของจำเลยประกอบการผลิตปลากระป๋อง โดยเครื่องมือการผลิตเครื่องมือสื่อสารติดต่อกับโจทก์ทั้งเครื่องโทรศัพท์และเครื่องโทรสาร รวมทั้งแบบฟอร์มใบสำคัญจ่ายซึ่งเป็นหลักฐานแสดงการยอมรับว่าเป็นหนี้ของจำเลย ประกอบกับวัตถุประสงค์ของจำเลยตามที่จดทะเบียนระบุว่า จำเลยประกอบกิจการค้าอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าใจโดยสุจริตว่า พ. และ ร. กระทำการในนามของจำเลยหรืออีกนัยหนึ่งจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการดังกล่าวเอง เป็นการที่จำเลยเชิด พ. และ ร. ออกเป็นตัวแทนหรือยินยอมให้ พ. และ ร. เชิดตัวเองเป็นตัวแทน จำเลยจึงต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำของ พ. และ ร. ในฐานะตัวการ ต้องชำระค่าปลาให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821
แม้ฟ้องจะมิได้กล่าวเกี่ยวกับการเป็นตัวการตัวแทน โจทก์ก็นำสืบเรื่องนี้ได้เพราะเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงในรายละเอียด เนื่องจากในการติดต่อทำสัญญาซื้อขายกันอาจทำได้โดยตนเองหรือมีตัวแทนไปติดต่อทำสัญญาซื้อขายแทนกันก็ได้ และศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ประกอบธุรกิจขายปลา ทำสัญญาขายปลาให้จำเลยนำไปใช้ผลิตปลากระป๋องออกจำหน่ายอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย จึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) การฟ้องเรียกค่าปลาจากจำเลยจึงต้องใช้อายุความห้าปีตามมาตรา 193/33 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นผู้จัดการมรดกแยกส่วน: คำร้องใหม่ต้องยื่นเป็นคดีใหม่ ไม่ใช่คำร้องเพิ่มเติมในคดีเดิม
สิทธิของผู้ร้องที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากในธนาคาร เป็นคนละส่วนกับสิทธิในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในที่ดินที่ผู้ร้องได้รับตามพินัยกรรม การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในบัญชีเงินฝากดังกล่าว จึงเป็นการยื่นคำร้องขอใหม่เข้ามาในคดีเดิม มิใช่เป็นคำร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้น ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำร้องขอเป็นคดีใหม่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอในคดีเดิมจึงเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5349/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีร้องขัดทรัพย์เนื่องจากไม่วางประกันตามมาตรา 288 วรรคสอง (1) และผลกระทบต่อค่าฤชาธรรมเนียม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอให้นำเงินมาวางเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องก่อนวันสืบพยาน จึงอยู่ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาคำร้องจนกระทั่งโจทก์แถลงขอให้มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์หลังจากสืบพยานผู้ร้องแล้วจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ยื่นคำร้องเข้ามาใหม่
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีกรณีร้องขัดทรัพย์เพราะเหตุที่ผู้ร้องไม่นำเงินมาวางต่อศาลเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) ประกอบมาตรา 132 (2) โดยเฉพาะ มิใช่เป็นการไม่รับคำร้องขัดทรัพย์ไว้เสียทีเดียวไม่เหมือนอย่างกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องหรือมีการถอนคำฟ้องตามมาตรา 151 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องมีคำสั่งเรื่องค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เสียไว้ในเวลายื่นคำฟ้อง กรณีตามมาตรา 288 วรรคสอง (1) จึงเป็นการจำหน่ายคดีตามมาตรา 132 วรรคหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร มิใช่เป็นการบังคับให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลจึงคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5313/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกหนี้จากการกู้ยืม และผลของการบอกเลิกสัญญา
ตามสัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้จะชำระหนี้ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญา โดยผู้กู้ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน ทุกๆ เดือน ติดต่อกันภายในวันที่สิ้นสุดของเดือน ถ้าผู้กู้ผิดนัดข้อหนึ่งข้อใด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งสัญญานี้ให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้เรียกหนี้ทั้งหมดคืนได้ทันที แต่ตามสัญญาข้อต่อไประบุว่า เมื่อสัญญานี้ครบกำหนดหากผู้ให้กู้หรือผู้กู้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้บอกเลิกสัญญานี้ให้ถือว่าสัญญาฉบับนี้มีผลใช้บังคับต่อไปอีกคราวละ 1 ปี ตลอดไป โดยมีเงื่อนไขและข้อตกลงเดิมทุกประการจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้บอกเลิกสัญญา และหากผู้ให้กู้บอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ตาม ผู้กู้จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดในทันที แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาที่จะให้สัญญาสิ้นสุดลงในทันทีที่ครบกำหนดในแต่ละปี แต่ถือเอาการบอกเลิกสัญญาของแต่ละฝ่ายเป็นสำคัญ การที่ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดตามสัญญา คงมีผลทำให้ผู้ให้กู้มีสิทธิที่จะถือว่าผู้กู้ผิดนัดทั้งหมด และเรียกหนี้ทั้งหมดคืนได้ทันทีตามสัญญาเท่านั้น แต่ตราบใดที่ผู้ให้กู้ยังมิได้บอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมด สัญญากู้ก็ยังมีผลต่อไป คู่สัญญาต้องผูกพันกันตามสัญญาดังกล่าว
โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวลงวันที่ 27 มกราคม 2538 ให้จำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ภายใน 7 วัน เป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวของโจทก์เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2538 จึงมีผลให้สัญญาเลิกกันในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2538 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 จำเลยที่ 1 ต้องชำระต้นเงินแก่โจทก์ในวันดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ โจทก์ย่อมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินแก่โจทก์ได้นับแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2538 เป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 โจทก์ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2546 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ ฟ้องโจทก์สำหรับต้นเงินจึงไม่ขาดอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้มีกำหนดอายุความ 5 ปี (1) ดอกเบี้ยค้างชำระ" จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2534 จำนวน 28.99 บาท โจทก์นำไปหักชำระดอกเบี้ยก่อน คงมีดอกเบี้ยค้างชำระจำนวน 212.91 บาท ในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ต้นเงินจำนวน 19,361.41 บาท จำเลยที่ 1 ต้องชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2534 เป็นต้นไป แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตลอดมา โจทก์สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้นับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2534 เป็นต้นไป ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 นับแต่วันดังกล่าวจนถึงวันฟ้อง ดังนั้น ฟ้องโจทก์ในส่วนดอกเบี้ยที่มีกำหนดเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังขึ้นไปย่อมขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระดอกเบี้ยค้างชำระเพียง 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังขึ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5313/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาเงินกู้ การบอกเลิกสัญญา และดอกเบี้ยค้างชำระ
ตามสัญญากู้เงินระบุว่า เมื่อสัญญาครบกำหนดหากผู้ให้กู้หรือผู้กู้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้บอกเลิกสัญญานี้ให้ถือว่าสัญญาฉบับนี้มีผลใช้บังคับต่อไปอีกคราวละ 1 ปี ตลอดไป แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาที่จะให้สัญญาสิ้นสุดลงในทันทีที่สัญญาครบกำหนดในแต่ละปี แต่ถือเอาการบอกเลิกสัญญาของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายเป็นสำคัญ การที่ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดตามสัญญา คงมีผลทำให้ผู้ให้กู้มีสิทธิที่จะถือว่าผู้กู้ผิดนัดทั้งหมด และเรียกหนี้ทั้งหมดคืนได้ทันทีตามสัญญาเท่านั้น แต่ตราบใดที่ผู้ให้กู้ยังมิได้บอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมด สัญญากู้ยังมีผลต่อไป เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ภายใน 7 วัน ถือเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 มีผลให้สัญญาเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 และเริ่มนับอายุความเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
จำเลยที่ 1 มีดอกเบี้ยค้างชำระนับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2534 เป็นต้นมาตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 นับตั้งแต่วันดังกล่าวจนถึงวันฟ้อง ดังนั้น ฟ้องโจทก์ในส่วนดอกเบี้ยที่มีกำหนดเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังขึ้นไปย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระดอกเบี้ยค้างชำระเพียง 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังขึ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าครบกำหนดแล้วอยู่ต่อถือเป็นการละเมิด สัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษต้องมีหลักฐานชัดเจน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยโดยบรรยายฟ้องว่า สัญญาเช่าที่จำเลยเช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองได้ครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าอยู่อีกต่อไป จึงฟ้องขับไล่จำเลย ขอให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหาย ส่วนจำเลยให้การว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีข้อตกลงเช่ากันเป็นเวลา 20 ปี จำเลยไม่ได้ค้างชำระค่าเช่า สัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนด ประเด็นข้อพิพาทข้อแรกจึงมีว่า ในขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องคดีนี้นั้น สัญญาเช่าอาคารพิพาทระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้วหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ให้เหตุผลในคำวินิจฉัยโดยยกข้อต่อสู้ของจำเลยในทำนองที่ว่า หากฟังได้ตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่ามีสิทธิเช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองได้ 20 ปี นับจากวันทำสัญญาก็ตามขณะที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาอยู่ระยะเวลาการเช่าก็ครบกำหนดแล้ว เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าอีกต่อไป จำเลยจึงต้องออกจากอาคารพิพาทนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยโดยใช้ระยะเวลาในการตั้งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองและข้อต่อสู้ของจำเลยไม่ตรงกับเหตุในคดี แต่เพื่อมิให้คดีต้องล่าช้าออกไปเกินสมควร เนื่องจากข้อเท็จจริงในคดีพอวินิจฉัยได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ข้อตกลงที่จะยินยอมให้โจทก์ทั้งสองระบุจำนวนค่าเช่าให้ต่ำกว่าความเป็นจริงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเงินได้ซึ่งเป็นหน้าที่ของพลเมืองไทยตามกฎหมายนั้น ย่อมเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จำเลยจึงไม่อาจยกข้อตกลงดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อเป็นข้อต่อสู้ในคดีได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะมิได้มาเบิกความหักล้างข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวก็ตาม จำเลยและสามีเช่าอาคารพิพาทเพื่อทำเป็นห้องอาหารและห้องเล่นสนุกเกอร์ แม้จะใช้เงินลงทุนปรับปรุงอาคารถึง 7,000,000 บาท แต่ก็เป็นการลงทุนปรับปรุงอาคารเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของจำเลยและสามีเองยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
เมื่อสัญญาเช่าตามฟ้องครบกำหนดระยะเวลาและโจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไปแล้ว การอยู่ในอาคารพิพาทต่อมาของจำเลยจึงเป็นการละเมิดโจทก์ทั้งสอง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายนับแต่วันผิดสัญญาถึงวันฟ้องและนับจากวันฟ้องไปจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกจากอาคารพิพาทตามคำขอของโจทก์ทั้งสองนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องบังคับโอนทะเบียนรถยนต์: ไม่ใช่ฟ้องชำระค่าเสียหาย, ใช้บังคับอายุความทั่วไป 10 ปี
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยดำเนินการโอนทะเบียนรถยนต์พิพาทมาเป็นชื่อโจทก์ เพื่อให้โจทก์สามารถใช้รถยนต์พิพาทได้ตามวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาซื้อขาย หาใช่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายเพราะความชำรุดบกพร่องของรถยนต์พิพาทไม่ ความรับผิดของจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 แต่ต้องอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์ดัดแปลง ผู้ขายมีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตเพื่อให้ผู้ซื้อจดทะเบียนได้
จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพที่เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน และมีที่นั่ง 7 ที่นั่ง ซึ่งเป็นรถยนต์ดัดแปลงอันจะต้องเสียภาษีสรรสามิตด้วย โดยจำเลยเป็นผู้ดำเนินการดัดแปลง จึงมีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าจากการดัดแปลงตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 144 เบญจ และต้องชำระภาษีดังกล่าวเมื่อการดัดแปลงสิ้นสุดลงตามมาตรา 144 จัตวา แม้หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์ระบุให้เป็นสิทธิของผู้ซื้อที่จะดำเนินการใด ๆ ในการยื่นคำร้องขอโอนทะเบียนและเปลี่ยนแปลงชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนของทางราชการเอง ก็มิได้มีข้อตกลงว่าโจทก์จะเป็นผู้ชำระภาษีสรรพสามิตเอง โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระภาษีดังกล่าว แต่เป็นหน้าที่ของจำเลย ทั้งนี้เพื่อให้โจทก์สามารถจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถเป็นชื่อโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยดำเนินการโอนทะเบียนรถยนต์มาเป็นชื่อโจทก์ เพื่อให้โจทก์สามารถใช้รถยนต์ได้ตามวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาซื้อขาย มิใช่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายเพราะความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 แต่ต้องอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามมาตรา 193/30 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี
of 31